คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อสังหาริมทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 440 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 316/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายหุ้นห้างหุ้นส่วนสามัญที่มีทรัพย์สินเป็นอสังหาริมทรัพย์ ไม่ถือเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์
การโอนขายหุ้นในห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งมีทรัพย์สินเป็นอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่ถือว่าเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ทำหนังสือสัญญากันเองก็ใช้ได้(อ้างฎีกาที่ 143/2475)
ผู้ใช้อำนาจปกครองทำนิติกรรมขายหุ้นของผู้เยาว์ในห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งมีทรัพย์เป็นอสังหาริมทรัพย์ได้โดยไม่ต้องรับอนุญาตจากศาล
สัญญาจะซื้อขายมีเงื่อนไขว่าจะต้องขออนุญาตต่อศาลเสียก่อนจึงจะขายได้โดยคู่สัญญาเข้าใจผิดคิดว่าจะต้องขออนุญาตจากศาล เมื่อตามกฎหมายไม่ต้องขออนุญาตดังนี้ เงื่อนไขนี้ก็ไม่มีผล ผู้ซื้อมีสิทธิฟ้องบังคับให้ผู้ขายปฏิบัติตามสัญญาได้ทีเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์: การสนองรับและอำนาจผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมฤดกของผู้ตายมีอำนาจนำคดีขึ้นสู่ศาลฟ้องผู้ทำสัญญาจะขายอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้ตาย ให้บังคับโอนขายอสังหาริมทรัพย์นั้น แก่กองมฤดกได้
ฟ้องบรรยายมีใจความว่า จำเลยได้เสนอขายที่ดินซึ่งจำนองไว้แก่ผู้ตายเป็นราคา 80000 บาท ผู้ตายได้จ่ายเงินแก่จำเลย และรับใช้หนี้ของจำเลย เมื่อคิดรวมกับหนี้จำนองแล้วเป็นเงิน 80000 บาทพอดี ที่จำเลยเสนอขาย ดังนี้ เป็นฟ้องที่มีข้อความพอให้เข้าใจได้ว่า ได้มีการสนองรับแล้ว แม้ในคำฟ้องจะมิได้กล่าวคำว่าผู้ตายตกลงรับซื้อก็ดี ถือว่าเป็นฟ้องที่สมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการมรดกฟ้องบังคับโอนอสังหาริมทรัพย์ และการสมบูรณ์ของฟ้องสัญญาจะซื้อขาย
ผู้จัดการมรดกของผู้ตายมีอำนาจนำคดีขึ้นสู่ศาลฟ้องผู้ทำสัญญาจะขายอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้ตาย ให้บังคับโอนขายอสังหาริมทรัพย์นั้น แก่กองมรดกได้
ฟ้องบรรยายมีใจความว่าจำเลยได้เสนอขายที่ดินซึ่งจำนองไว้แก่ผู้ตายเป็นราคา 80,000 บาท ผู้ตายได้จ่ายเงินแก่จำเลย และรับใช้หนี้ของจำเลย เมื่อคิดรวมกับหนี้จำนองแล้ว เป็นเงิน 80,000 บาทพอดีที่จำเลยเสนอขายดังนี้ เป็นฟ้องที่มีข้อความพอให้เข้าใจได้ว่าได้มีการสนองรับแล้ว แม้ในคำฟ้องจะมิได้กล่าวคำว่าผู้ตายตกลงรับซื้อก็ดี ถือว่าเป็นฟ้องที่สมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1059/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมจากการทำสัญญาแบ่งมรดกต้องจดทะเบียนจึงบริบูรณ์ การบังคับรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทำไม่ได้จนกว่าจะจดทะเบียน
โจทก์ฟ้องอ้างว่า ได้ภารจำยอมทั้งโดยอายุความ 10 ปีและโดยนิติกรรมด้วย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้โดยนิติกรรมก็ใช้ได้
โจทก์เป็นทายาท จำเลยเป็นทายาทและเป็นผู้จัดการมรดก ทำสัญญาแบ่งปันมรดกกันซึ่งตามสัญญานี้ผูกพันทางเดินรายพิพาทซึ่งอยู่ในโฉนดของจำเลยให้ตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ดังนี้ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยในฐานะที่เป็นเจ้าของภารยทรัพย์และเป็นคู่สัญญา ในสัญญาแบ่งปันมรดกให้ไปจดทะเบียนทางรายพิพาทเป็นภารจำยอมได้
ภารจำยอมซึ่งเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางนิติกรรมทำเป็นหนังสือ เมื่อไม่ได้จดทะเบียนก็ยังไม่บริบูรณ์ตาม มาตรา 1299 โจทก์จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างจากทางเดินซึ่งตกอยู่ในภารจำยอมนั้นยังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 474/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่ากำหนดเวลาเกิน 3 ปีต้องทำเป็นหนังสือจดทะเบียน หากไม่จดทะเบียนให้ถือเป็นการเช่าไม่มีกำหนดเวลา
สัญญาเช่าที่มีข้อความว่าเช่ากันมีกำหนด 3 ปี เมื่อครบสัญญาแล้วถ้าเช่ากันต่อไปให้ถือสัญญานั้นปฏิบัติกันต่อไปอีก 3 ปีนั้น ถือว่าสัญญานั้นไม่มีผลสมบูรณ์ที่จะใช้บังคับกันได้ในส่วนที่ตกลงให้เช่ากันกำหนด 3 ปีหลัง การเช่าหลังจากครบ 3 ปีแล้ว ถือว่าเช่ากันโดยไม่มีกำหนดเวลาตาม ม. 570
เมื่อสิ้นสัญญาเช่าก่อนใช้ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า 2489 แล้ว การอยู่ต่อมาย่อมเป็นการอยู่โดยละเมิด พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า 2489 ย่อมไม่คุ้มครองถึง
การเช่าซึ่งมีค่าเช่าเกินเดือนละ 40 บาท และสิ้นสัญญาเช่าต่อกันก่อนใช้ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า 2489 แล้ว ย่อมนำ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า 2490 ไปใช้บังคับคดีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 462/2488

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำสัญญาขาย/จะขายอสังหาริมทรัพย์ของบุตรโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล และการคาดเห็นความเสียหายพิเศษ
บิดาจะเอาที่ดินของบุตร์ไปทำสัญญาขายหรือทำสัญญาจะขาย โดยไม่รับอนุญาตจากศาลไม่ได้
ในกรณีผิดสัญญาซื้อขายผู้ซื้ออ้างว่าจะต้องเสียเบี้ยปรับในการไปทำสัญญาขายให้ผู้อื่นและตนขาดกำไรนั้น ถือว่าเป็นค่าเสียหายพิเศษตาม ป.ม. แพ่งฯ ม.222 วรรค 2 ผู้ขายต้องคาดเห็นความเสียหายนั้นจึงจะต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขายฝากก่อนเวนคืน สิทธิไถ่ถอนยังคงมี แม้มีการเวนคืน
ขายฝากที่ดินไว้แล้วภายหลังมี พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ผู้ขายฝากก็ขอไถ่ถอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2487

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไถ่ถอนขายฝากหลังมี พ.ร.บ.เวนคืน
ขายฝากที่ดินไว้แล้วภายหลังมี พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ผู้ขายฝากก็ขอไถ่ถอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 654/2482

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ข้อตกลงเพิ่มเติมด้วยวาจาใช้ไม่ได้ และจำเลยจะอ้างว่าโจทก์ไม่มีสิทธิให้เช่าไม่ได้หากได้ใช้ทรัพย์สินไปแล้ว
สัญญาเช่าโกดัง เป็นสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 538 ฉะนั้น ผู้เช่าจะขอนำสืบพยานบุคคลว่านอกจากที่ปรากฎในข้อสัญญาเช่า ที่ทำกันไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว ยังมีข้อตกลงด้วยวาจาเพิ่มเติมต่อไปอีก รวม 4 ข้อ หาได้ไม่เพราะข้อตกลงนั้นย่อมเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้นเอง จึงต้องห้ามตามมาตรา 44 แห่งป.ม.วิ.แพ่ง.
จำเลยผู้เช่าได้ทำสัญญาเช่าโกดังจากโจทก์ และจำเลยได้ใช้ทรัพย์ที่เช่าคือโกดังและได้ชำระค่าเช่า แก่โจทก์ตามสัญญาแล้ว จำเลยจะต่อสู้ว่าโกดังเป็นของผู้อื่น โจทก์ไม่มีสิทธิให้เช่านั้น ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 254/2480

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแลกเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์ต้องทำตามรูปแบบกฎหมาย หากสัญญาไม่สมบูรณ์ สัญญาเดิมย่อมไม่ผูกพัน
สัญญาจะแลกเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์แก่กันนั้น จักต้องมีหลักฐานดังที่บัญญัติไว้ใน ม.456 วรรค 2 จึงจะฟ้องร้องให้บังคับกันได้ การฟ้องคดีเพื่อเพิกถอนสัญญายกให้นั้นจักต้องอาศัยเหตุบกพร่องต่าง ๆ ตามลักษณทั่วไปของสัญญา เช่น ถูกข่มขู่หรือสำคัญผิดหรืออาศัยเหตุเนรคุณตาม ม.531 แห่งประมวลแพ่งฯ ประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง ม.94 (ข) โจทก์ฟ้องคดีว่าได้ตกลงจะแลกเปลี่ยนที่ดินและตึกแถวกับจำเลยด้วยปากเปล่า โจทก์จึงไปทำหนังสือสัญญายกตึกแถวส่วนของโจทก์ให้จำเลย แต่ในหนังสือยกให้ไม่ปรากฎความข้อนี้เลย โจทก์จะสืบพะยานหลักฐานตามข้ออ้างในฟ้องของโจทก์มิได้เพราะเป็นการสืบเพิ่มเติมหรือแก็ไขสัญญายกให้
of 44