คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เวนคืน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 555 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณค่าทดแทนตามราคาซื้อขายจริง และดอกเบี้ยนับแต่วันที่ประกาศใช้กฎหมาย
ที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืน อยู่ในแนวเขตที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอกพ.ศ. 2524 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบการดำเนินการก่อสร้างให้แก่กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 และตามพระราชกฤษฎีกากำหนด แนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 มาตรา 4 กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295ข้อ 64(2) และมีหน้าที่จ่ายค่าทดแทน ตามข้อ 67 และข้อ 74ถึง 77 ดังนั้น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 และในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีสิทธิมอบอำนาจให้ ก. ดำเนินการสำรวจออกแบบและก่อสร้างทางหลวงเพื่ออนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรีได้ เมื่อ โจทก์เห็นว่าที่ 1 กำหนดเงินค่าทดแทนไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มจากจำเลยที่ 1 ได้ และถือว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย กรณีฟ้องเรียกเอาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนไม่มี กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ไม่ใช่คดีฟ้อง บังคับตามสัญญาซื้อขาย จึงไม่อยู่ในบังคับที่ไม่ให้สืบพยาน บุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนวนเงินในสัญญาซื้อขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1438/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าทดแทนเวนคืน: เริ่มนับแต่วันรับเงินค่าทดแทน แม้ยังมิยินยอม
ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 269 ลงวันที่28 มิถุนายน 2515 ข้อ 67 วรรคสอง ให้สิทธิเจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนที่จะฟ้องเรียกเงินส่วนที่ตนเห็นว่าควรจะได้รับภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ตนรับเงินค่าทดแทนจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เกี่ยวกับอายุความ มาตรา 169ให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปโจทก์ที่ 2 มอบอำนาจให้ ส. รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนตามที่จำเลยทั้งสองกำหนดเป็นค่าทดแทนให้โดยรับเช็คจากเจ้าหน้าที่ของจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่21 มิถุนายน 2528 สั่งจ่าย วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2528ซึ่งโจทก์ที่ 2 สามารถนำเช็คไปเรียกเก็บเงินได้ทันทีเพราะสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่ 2 เริ่มนับแต่วันที่ได้รับเช็คคือวันที่ 21 มิถุนายน 2528 แล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์ที่ 2 ได้รับเงินค่าทดแทนจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน 2528 อายุความ1 ปีย่อมเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าว เมื่อโจทก์ที่ 2 ฟ้องเรียกเงินส่วนที่เห็นว่าควรจะได้รับเพิ่มเมื่อวันที่11 กรกฎาคม 2529 คดีของโจทก์ที่ 2 จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1281/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ราคาค่าทดแทนที่ดินเวนคืน: ศาลยืนราคาตลาดตามการซื้อขายที่ดินแปลงใกล้เคียง แม้ผู้ซื้อมีวัตถุประสงค์จัดสรร
ที่ดินแปลงที่จำเลยอ้างว่าจะนำมาเปรียบเทียบกับราคาที่ดินแปลงที่ถูกเวนคืนของโจทก์ไม่ได้นั้นไม่มีอาณาเขตด้านใดติดทางสาธารณะแต่อยู่ติดกับที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนเรื่องที่ผู้ซื้อที่ดินแปลงนั้นจะซื้อไปเพื่อจัดสรรหรือไม่อย่างใดนั้นไม่ใช่ข้ออ้างที่จะยกขึ้นอ้างว่าราคาที่ซื้อขายกันจะต้องสูงกว่าราคาท้องตลาด เพราะผู้ซื้อซื้อที่ดินไปเพื่อวัตถุประสงค์ใดก็เป็นเรื่องของผู้ซื้อเอง เมื่อปรากฏว่าวันที่ 28 เมษายน 2523 มีการจดทะเบียนขายที่ดินแปลงที่จำเลยอ้างราคาตารางวาละ 900 บาท วันที่ 25กรกฎาคม 2523 มีการจดทะเบียนขายที่ดินใกล้เคียงกันราคาตารางวาละ849 บาท ทั้งตามสำเนาบันทึกการประชุมของคณะกรรมการปรองดองฯของจำเลยก็ยอมรับว่าการซื้อขายที่ดินบริเวณนี้น่าจะมีแนวโน้มของราคาตลาดค่อนข้างสูง ราคาซื้อขายที่ดินดังกล่าวอยู่ในราคาที่ใกล้เคียงกันราคาซื้อขายที่ดินแปลงที่จำเลยอ้างเฉลี่ยตารางวาละ 900บาท จึงเป็นราคาที่ซื้อขายในท้องตลาด ดังนั้นที่ดินของโจทก์ซึ่งอยู่ติดกันน่าจะมีราคาใกล้เคียงกัน ดังนั้นในวันที่ 3 กรกฎาคม 2523อันเป็นวันที่ พระราชกฤษฎีกา กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงพิเศษฯ มีผลใช้บังคับ ที่ดินของโจทก์มีราคาซื้อขายในท้องตลาดตารางวาละ 900 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1057/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเวนคืน: การกระทำครบถ้วนตามประกาศคปช. และการกำหนดเจ้าหน้าที่เวนคืนตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องจำเลยโดยอ้างเหตุสิทธิในการฟ้องว่าเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2524 ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 ใช้บังคับโดยบัญญัติให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการของกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ และวันที่ 30 มีนาคม 2525 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศกำหนดให้ทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอกเป็นทางหลวงที่มีความจำเป็นต้องสร้างโดยเร่งด่วน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีอำนาจเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ ที่ดินของโจทก์ทุกแปลงตั้งอยู่ที่แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา (พระโขนง) กรุงเทพมหานครซึ่งอยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ตามพระราชกฤษฎีกานี้ตามมาตรา 3 ซึ่งมีพื้นที่เขตยานนาวาตรงตามโฉนดที่ดินของโจทก์ดังกล่าวในฟ้องและเจ้าหน้าที่ของจำเลยทั้งสอง ได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปร่วมประชุมกับคณะกรรมการปรองดองฯเพื่อพิจารณาไกล่เกลี่ยค่าทดแทน แต่ตกลงกันไม่ได้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้ทำการสำรวจที่ดินซึ่งถูกเวนคืน มีที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนด้วย แต่ตกลงค่าทดแทนกันไม่ได้ จำเลยที่ 1 ได้นำเงินค่าทดแทนไปวางณ สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี เพื่อชดใช้ให้แก่โจทก์ และจำเลยที่ 2 ได้เข้าครอบครองที่ดินของโจทก์แล้วจึงเห็นได้ชัดว่าจำเลยทั้งสองได้ทำการหรือได้ปฏิบัติครบถ้วน แห่งเงื่อนไขตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67แล้วที่ดินของโจทก์ถูกสร้างเป็นทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกช่วงถนนนางลิ้นจี่ถึงถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วมิใช่ถูกสร้างเป็นทางด่วนพิเศษสายดาวคะนอง-ท่าเรือที่ดินของโจทก์จึงมิได้ถูกเวนคืนโดยพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสายดาวคะนอง-ท่าเรือแม้จำเลยที่ 1 มิได้เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ก็ตาม แต่คณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบการดำเนินการก่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกให้แก่จำเลยที่ 1 และต่อมาอนุมัติให้ทางการพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการสำรวจออกแบบและก่อสร้างถนนรัชดาภิเษกช่วงถนนนางลิ้นจี่ถึงถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา โดยให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ตั้งงบประมาณ ความรับผิดชอบในการดำเนินการก่อสร้างถนนเทศบาลสายรัชดาภิเษกช่วงถนนนางลิ้นจี่ถึงถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยายังคงเป็นของจำเลยที่ 1 และตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 64 ได้กำหนดเงื่อนไข ในการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนต้องระบุ (1) ความประสงค์ของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์(2) เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ (3) ท้องที่ที่จะเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้นที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 ข้อ 4 ให้จำเลยที่ 2เป็นเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกานี้ก็คือเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 64(2) นั่นเอง และมีหน้าที่จ่ายค่าทดแทนตามข้อ 67 และข้อ 74 ถึงข้อ 77 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท เมื่อโจทก์เห็นว่าเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยทั้งสองกำหนดยังไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 916/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ค่าทดแทนตามราคาตลาดในวันพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ มิใช่ราคาปัจจุบัน
ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงจังหวัดสายสันทราย-พร้าว พ.ศ. 2513 ซึ่งตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515ข้อ 87 กำหนดให้นำบทบัญญัติในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวส่วนที่ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างและขยายทางหลวงมาใช้บังคับแก่การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังดำเนินอยู่ในวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวใช้บังคับด้วย การกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์จึงต้องเป็นไปตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295ข้อ 76 ค่าทดแทนสำหรับที่ดินของโจทก์จึงต้องกำหนดเท่ากับราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงจังหวัดสายสันทราย-พร้าว พ.ศ. 2513 ใช้บังคับคือ ในวันที่ 14 ตุลาคม 2513 หาใช่ราคาปัจจุบันของที่ดินในขณะฟ้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903-904/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การคำนวณราคาธรรมดาในตลาด ดอกเบี้ย และขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายเฉพาะ
ที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนอยู่ในแนวเขตที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสาย รัชดาภิเษกตอนแขวง วัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ.2524และอยู่ในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขต บางขุนเทียนเขตราษฎร์บูรณะและเขตยานนาวากรุงเทพมหานครพ.ศ.2525ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่295ข้อ76จะต้องกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์ให้เท่าราคาของที่ดินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่20ธันวาคม2524และวันที่2พฤษภาคม2525ซึ่งเป็นวันที่พระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับดังกล่าวใช้บังคับตามลำดับมิใช่กำหนดค่าทดแทนโดยถือตามอัตราในบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมอันเป็นราคาคงที่ตลอดเวลาที่ใช้บัญชีดังกล่าว เรื่องเกี่ยวกับการสร้างทางพิเศษต้องนำประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่290มาใช้บังคับแต่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวข้อ24มิได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดค่าทำขวัญไว้จึงต้องนำบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยทางหลวงในส่วนที่ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงอันได้แก่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่295ข้อ67และข้อ76ในเรื่องค่าทดแทนและดอกเบี้ยสำหรับจำนวนเงินที่ศาลพิพากษาให้เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ชำระเพิ่มขึ้นมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่290ข้อ23วรรคสองกำหนดไว้เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินบริเวณที่ที่จะเวนคืนในเขตท้องที่เขต บางขุนเทียนเขตราษฎร์บูรณะและเขตยานนาวา กรุงเทพมหานครพ.ศ.2525กำหนดค่าทดแทนให้เท่าราคาของที่ดินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับตามที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่295ข้อ76(1)กำหนดแล้วดอกเบี้ยสำหรับเงินค่าทดแทนที่ศาลพิพากษาให้เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ชำระเพิ่มขึ้นตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่295ข้อ67วรรคสองจึงต้องนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับเพื่อให้สอดคล้องกันด้วยจะนับแต่วันที่ได้มีพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสาย ดาวคะนอง-ท่าเรือ ในเขตท้องที่เขต บางขุนเทียนเขตราษฎร์บูรณะและเขตยานนาวา กรุงเทพมหานครพ.ศ.2530ซึ่งใช้บังคับเมื่อวันที่25กรกฎาคม2530มาใช้บังคับตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่290ข้อ24วรรคสองตอนท้ายบัญญัติไว้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินเวนคืนในที่ดินจัดสรร: ค่าทดแทนสมเหตุสมผลเมื่อเป็นภาระจำยอม
ที่พิพาทที่ถูกเวนคืนเป็นถนนคอนกรีตในที่ดินจัดสรร ที่โจทก์ ทำขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันสำหรับบุคคลที่อาศัยในที่ดินจัดสรร ที่ดินพิพาทจึงตกอยู่ในภารจำยอมตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการควบคุมการ จัดสรรที่ดินให้เลิกจัดสรรที่พิพาทย่อมตกอยู่ในภารจำยอมตามกฎหมาย โจทก์ไม่ สามารถนำที่พิพาทไปแสวงหาประโยชน์อื่นได้ ที่พิพาทจึงมี ราคาซื้อขายต่ำกว่าราคาตลาดมาก การที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนโดย คำนึงถึงตำแหน่งของที่พิพาท จึงเป็นการสมควรและเป็นธรรม แก่โจทก์แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าทดแทนเวนคืน: การวางทรัพย์ต่อสำนักงานวางทรัพย์กลางถือเป็นการวางต่อศาล
การวางทรัพย์ต่อศาลเป็นงานที่เกี่ยวกับการศาลยุติธรรมที่ไม่ใช่การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 ข้อ 21แม้จะมี พ.ร.ฎ. ให้สำนักงานวางทรัพย์กลางเป็นส่วนราชการ ของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม การวางทรัพย์ก็ยังคงเป็นงาน ที่เกี่ยวกับการศาลยุติธรรมอยู่ ตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการวางทรัพย์ สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดีฯ ข้อ 2 กำหนดว่า ลูกหนี้ หรือบุคคลภายนอกอาจวางทรัพย์ต่อสำนักงานวางทรัพย์ได้ในกรณี ต่อไปนี้...(5) กรณีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น (6) กรณีตามคำสั่ง ศาลภายใต้บทบัญญัติแห่ง กฎหมาย เช่นป.วิ.พ. มาตรา 264 ดังนั้น การวางเงินค่าทดแทนต่อศาลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 วรรคแรก ย่อมหมายถึงการวางเงินค่าทดแทนต่อสำนักงาน วางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน อสังหาริมทรัพย์นำเงินค่าทดแทนที่โจทก์ไม่ยอมรับไปวางต่อสำนักงานวางทรัพย์กลางดังกล่าวถือว่าเป็นการวางเงินค่าทดแทนต่อศาลโจทก์รับเงินแล้ว โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนส่วนที่โจทก์เห็นว่า ควรจะได้เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันวางเงินค่าทดแทนต่อศาล ดังนี้คดีจึงขาดอายุความตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 514/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าทำขวัญ: การวางเงิน ณ สำนักงานวางทรัพย์กลางถือเป็นการวางต่อศาล
การวางเงินค่าทำขวัญต่อศาลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290ข้อ 24 วรรคแรก ย่อมหมายถึงการวางเงินค่าทำขวัญต่อ สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม เมื่อจำเลย ที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์กระทำในนามของ จำเลยที่ 1 นำเงินค่าทำขวัญสำหรับที่ดินที่โจทก์ถูกเวนคืนที่โจทก์ ไม่ยอมรับไปวางต่อสำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี ย่อมถือว่า เป็นการวางเงินค่าทำขวัญต่อศาลแล้วดังนี้เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกเงิน ค่าทำขวัญที่โจทก์ควรจะได้เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์วางเงินค่าทำขวัญต่อศาล คดีโจทก์ จึงขาดอายุความตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 ข้อ 24 วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 514/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าทำขวัญเวนคืน: การวางเงินต่อสำนักงานวางทรัพย์กลางถือเป็นการวางต่อศาล
การวางเงินค่าทำขวัญต่อศาลอันเนื่องมาจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ข้อ 24 วรรคแรกหมายถึงการวางเงินค่าทำขวัญต่อสำนักงานวางทรัพย์กลางกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ นำเงินค่าทำขวัญสำหรับที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนที่โจทก์ไม่ยอมรับไปวางต่อสำนักงานวางทรัพย์กลางเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2528 ถือได้ว่าเป็นการวางเงินค่าทำขวัญต่อศาลแล้ว โจทก์ได้รับเงินจำนวนดังกล่าวไปแล้ว และฟ้องเรียกเงินค่าทำขวัญส่วนที่โจทก์ควรจะได้เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2529พ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์วางเงินค่าทำขวัญต่อศาล จึงขาดอายุความตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 ข้อ 24 วรรคสอง
of 56