คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนกรรมสิทธิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 556 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินผิดพลาด & ครอบครองปรปักษ์: สิทธิของเจ้าของเดิมยังคงมีผล แม้ชื่อในโฉนดผิดพลาด
โจทก์และจำเลยต่างเป็นเจ้าของที่ดินคนละแปลง ซึ่งเดิมเป็นของเจ้าของคนเดียวกัน ได้มีการโอนกรรมสิทธิ์กันมาหลายทอด โดยโอนโฉนดไขว้สับกันด้วยความเข้าใจผิด.แต่โจทก์ได้ครอบครองเป็นเจ้าของที่ดินถูกต้องตลอดมา ดังนี้ แม้จำเลยจะมีชื่อในโฉนด ก็จะอ้างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งจำเลยมิได้มีเจตนารับโอนหาได้ไม่ โจทก์ย่อมขอให้บังคับจำเลยส่งมอบโฉนดแลกเปลี่ยนกันและจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินทั้งสองแปลงให้ถูกต้องตรงตามความจริงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โอนกรรมสิทธิ์ผิดพลาด-ครอบครองปรปักษ์: แม้ชื่อในโฉนดไม่ตรง การครอบครองโดยสงบเปิดเผย ย่อมมีผลเหนือกว่า
โจทก์และจำเลยต่างเป็นเจ้าของที่ดินคนละแปลง ซึ่งเดิมเป็นของเจ้าของคนเดียวกันได้มีการโอนกรรมสิทธิ์กันมาหลายทอดโดยโอนโฉนดไขว้สับกันด้วยความเข้าใจผิดแต่โจทก์ได้ครอบครองเป็นเจ้าของที่ดินถูกต้องตลอดมาดังนี้ แม้จำเลยจะมีชื่อในโฉนด ก็จะอ้างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งจำเลยมิได้มีเจตนารับโอนหาได้ไม่โจทก์ย่อมขอให้บังคับจำเลยส่งมอบโฉนดแลกเปลี่ยนกันและจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินทั้งสองแปลงให้ถูกต้องตรงตามความจริงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินผิดพลาด ผู้ครอบครองโดยสงบและเปิดเผยมีสิทธิ แม้ชื่อในโฉนดไม่ตรง
โจทก์และจำเลยต่างเป็นเจ้าของที่ดินคนละแปลง ซึ่งเดิมเป็นของเจ้าของคนเดียวกัน. ได้มีการโอนกรรมสิทธิ์กันมาหลายทอด. โดยโอนโฉนดไขว้สับกันด้วยความเข้าใจผิด.แต่โจทก์ได้ครอบครองเป็นเจ้าของที่ดินถูกต้องตลอดมา.ดังนี้ แม้จำเลยจะมีชื่อในโฉนด ก็จะอ้างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งจำเลยมิได้มีเจตนารับโอนหาได้ไม่.โจทก์ย่อมขอให้บังคับจำเลยส่งมอบโฉนดแลกเปลี่ยนกัน.และจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินทั้งสองแปลงให้ถูกต้องตรงตามความจริงได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินของคนต่างด้าว: สัญญาซื้อขายไม่โมฆะหากยังไม่โอนกรรมสิทธิ์ และสัญญาจำนอง/เช่าไม่เป็นการหลีกเลี่ยงกฎหมาย
แม้สัญญาซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.ล. 1 ข้อ 2 มีความว่า นับแต่วันทำหนังสือสัญญาเป็นต้นไป กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ซื้อขายย่อมโอนไปเป็นของผู้ซื้อ ฯลฯ แต่สัญญาข้อ 4 ก็มีความว่า โดยที่ผู้ซื้อเป็นนิติบุคคลสัญชาติต่างด้าวจะต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงมหาดไทยเสียก่อน จึงเข้ารับการโอนกรรมสิทธิ์ตามหน้าโฉนดได้ และเมื่อผู้ซื้อได้รับอนุญาตจากทางราชการให้เข้าถือกรรมสิทธิ์ได้แล้ว ผู้ขายพร้อมที่จะโอนกรรมสิทธิ์ตามหน้าโฉนดให้เป็นของผู้ซื้อ ดังนี้ แสดงว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทยังไม่โอนไปเป็นของจำเลยผู้ซื้อซึ่งเป็นนิติบุคคลสัญชาติต่างด้าว โดยคู่สัญญามีเจตนาที่จะไปจดทะเบียนซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์กันต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อไป ถึงแม้ว่าผู้ซื้อจะได้ชำระราคาและเข้าครอบครองทรัพย์ด้วย ก็เป็นการครอบครองแทนผู้จะขาย เมื่อพิจารณาข้อความในสัญญาซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.ล. 1 ทั้งหมด สัญญานี้เป็นเพียงสัญญาจะซื้อขายเท่านั้น
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86 คนต่างด้าวซึ่งมีสนธิสัญญากับประเทศไทยอาจได้มาซึ่งที่ดินตามเงื่อนไขและวิธีการซึ่งกำหนดโดยกฎกระทรวง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับอนุญาตแล้ว จึงไม่เป็นข้อห้ามโดยเด็ดขาดที่ไม่ให้คนต่างด้าวมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินในประเทศไทย ฉะนั้น สัญญาซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.ล. 1 ซึ่งมีข้อความว่า ให้จำเลยต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงจะทำการซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์กัน จึงไม่เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหาเป็นโมฆะไม่ การที่ผู้จะขายกับผู้จะซื้อทำสัญญาจำนองและสัญญาเช่าทรัพย์พิพาทกันอีกชั้นหนึ่งนั้น เมื่อไม่มีผลทำให้กรรมสิทธิ์โอนไปจากผู้จะขาย ก็ถือไม่ได้ว่าผู้จะขายกับผู้จะซื้อมีเจตนาหลีกเลี่ยงกฎหมาย ไม่ต้องให้ผู้จะซื้อขออนุญาต เพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดิน
ผู้จะขายตกลงจำนองทรัพย์ที่จะขายไว้กับผู้จะซื้อ และในสัญญาจำนองตกลงกันให้ถือเอาเงินที่ชำระราคาตามสัญญาจะซื้อขายเป็นเงินจำนอง เมื่อมีข้อสัญญาว่าให้การจำนองนี้เป็นประกันเงินที่ผู้จะขายอาจต้องคืนผู้จะซื้อเมื่อมีการเลิกสัญญาจะซื้อขายกัน ย่อมเป็นสัญญาที่มีมูลหนี้สมบูรณ์ใช้บังคับได้ และในกรณีที่ผู้จะซื้อตกลงเช่าทรัพย์พิพาทที่จะซื้อจากผู้จะขายสัญญาเช่าก็ย่อมปฏิบัติต่อกันได้ ซึ่งผู้จะซื้อซึ่งเป็นผู้เช่าย่อมใช้สิทธิตามสัญญานี้เข้าครอบครองใช้ทรัพย์พิพาท ฉะนั้น สัญญาจำนอง สัญญาเช่าดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะ และไม่เป็นการอำพรางนิติกรรมสัญญาจะซื้อขาย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 966/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีสมาคมต่างประเทศ, การโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินโดยผู้ไม่มีอำนาจ แม้ผู้ซื้อสุจริตก็ไม่ทำให้ได้กรรมสิทธิ์
ใบมอบอำนาจของสมาคมที่ก่อตั้งในต่างประเทส กฎหมายไม่ได้บัญญัติว่าจะต้องทำ ณ ประเทศที่จดทะเบียนการก่อตั้งสมาคมหรือประเทศสัญชาติของสมาคม แม้จะได้ทำในประเทศอื่น แต่ถ้าได้มีการรับรองถูกต้องก็ย่อมใช้ได้
เมื่อผู้ขายไม่มีอำนาจที่จะขายทรัพย์พิพาท แม้ผู้ซื้อจะรับซื้อไว้โดยสุจริต ก็ไม่ทำให้ผู้ซื้อได้กรรมสิทธิ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การชำระราคาส่วนที่เหลือและการบังคับโอนกรรมสิทธิ์ จำเลยอ้างผิดสัญญา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยตกลงขายที่นาให้โจทก์ โจทก์ชำระราคาให้เป็นส่วนใหญ่แล้ว คงค้างอีก 700 บาท ซึ่งโจทก์จะชำระให้หมดในวันโอนทะเบียน จำเลยบิดพลิ้วไม่ยอมโอน จำเลยให้การว่าตกลงขายนาตามฟ้องให้โจทก์และรับเงินราคานาแล้ว 2,000 บาทจริง ที่เหลือ 1,000 บาทโจทก์จะชำระให้ในปีรุ่งขึ้น เมื่อโจทก์ปฏิบัติตามนี้ จำเลยจึงจะโอนนาให้โจทก์ และทำสัญญาซื้อขาย แต่โจทก์ผิดนัดไม่ชำระเงินที่เหลือ จำเลยจึงบอกเลิกสัญญาและไม่โอนที่ดินให้ ปัญหาที่จะต้องพิจารณาในเบื้องแรกจึงมีว่า ข้อสัญญามีว่าโจทก์ต้องชำระเงินที่เหลือ 700 บาท จำเลยจึงจะไปโอนทะเบียนหรือไม่ และถ้าเช่นนั้นใครเป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงชอบที่จะฟังพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 193/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีกับกองมรดกก่อนแบ่งมรดก: เจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์ในกองมรดก แม้จะมีการโอนกรรมสิทธิ์ให้ทายาทแล้ว
ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินกู้ตามฟ้องให้โจทก์ในฐานะที่จำเลยเป็นภริยาผู้รับมรดก บ. โดยทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาต้องรับผิดร่วมด้วย แต่ขณะโจทก์ฟ้องจำเลยนั้นยังไม่ได้แบ่งมรดกกันระหว่างทายาท โฉนดยังเป็นชื่อของ บ. เจ้ามรดกเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ผู้ร้องเพิ่งโอนรับมรดกในขณะคดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ ฉะนั้น ถึงแม้ที่ดินพิพาทโอนใส่ชื่อผู้ร้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนนายแบนเจ้ามรดกก็ตามที่พิพาทก็ยังเป็นทรัพยในกองมรดกของ บ. ซึ่งยังมิได้แบ่งอยู่นั่นเอง โจทก์จึงชอบที่จะยึดที่ดินพิพาทมาบังคับคดีได้โดยไม่ต้องฟ้องทายาทผู้รับมรดกคนอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1398/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานที่ดินปฏิเสธโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอ้างเป็นสาธารณสมบัติ ไม่ถือเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
เจ้าพนักงานที่ดินไม่ยอมจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ตามคำสั่งศาลเพราะเห็นว่าไม่อาจทำได้ตามกฎหมาย มิใช่เพราะมีสาเหตุโกรธเคืองกับโจทก์มาก่อน ยังไม่พอจะถือว่าเจ้าพนักงานที่ดินนั้นจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้โจทก์เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองผู้เช่าตามกฎหมายควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
จำเลยได้เช่าที่พิพาทซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่ พ.ศ.2502 ที่พิพาทจึงเป็นที่ดินซึ่งผู้ให้เช่าและผู้เช่าตกอยู่ในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการควบคุมเช่าในภาวะคับขันซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันประกาศพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 ฉะนั้นที่พิพาทจึงเป็น "ที่ดินควบคุม" ตามนัยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 จำเลยย่อมได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัตินี้โจทก์ไม่มีสิทธิขับไล่จำเลยและบริวาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองผู้เช่าในที่ดินควบคุมตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์
จำเลยได้เช่าที่พิพาทซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2502 ที่พิพาทจึงเป็นที่ดินซึ่งผู้ให้เช่าและผู้เช่าตกอยู่ในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขันซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันประกาศพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 ฉะนั้นที่พิพาทจึงเป็น 'ที่ดินควบคุม' ตามนัยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 จำเลยย่อมได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัตินี้ โจทก์ไม่มีสิทธิขับไล่จำเลยและบริวาร
of 56