คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไม่เป็นธรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 476 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยเลิกจ้างเป็นหนี้ตามกฎหมาย แยกจากค่าเสียหายอันเกิดจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานเป็นหนี้ตามกฎหมายที่นายจ้างจะต้องจ่ายแก่ลูกจ้างประจำเมื่อเลิกจ้าง โดยมิต้องคำนึงถึงว่าการเลิกจ้างนั้นนายจ้างได้ฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ว่าด้วยการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ และถ้าการเลิกจ้างนั้นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำวินิจฉัยชี้ขาดว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม ให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายแก่ลูกจ้างนายจ้างก็จะต้องชำระแก่ลูกจ้างอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2234/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ภายใน 60 วันก่อนฟ้องศาล
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืน พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 121(1) ซึ่งมาตรา 124 บัญญัติไว้ให้ ผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ และต้องยื่น ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีการฝ่าฝืน เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงไม่อาจฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางในกรณีนี้ต่อไปได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 8 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2233/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากยุบหน่วยงาน ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม หากลูกจ้างไม่แสดงความจำนงทำงานอื่น
จำเลยประสงค์จะยุบหน่วยงานจึงเลิกจ้างโจทก์ ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กลั่นแกล้งแต่อย่างใด โจทก์กลับไปร้องเรียนต่อเจ้าหน้าที่แรงงานจนเป็นเหตุให้มีการตกลงเลิกจ้างกันนับว่าการเลิกจ้างของจำเลยมีเหตุอันสมควร ถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 217/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานในการพิจารณาเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และอายุความฟ้องร้อง
ศาลแรงงานมีอำนาจที่จะมีคำสั่งดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าการที่จำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากงานเป็นการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง แม้ว่าจะได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นการสอบสวนก่อนตามข้อบังคับแล้วก็ตาม มาตรา 49 มุ่งหมายที่จะให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างนอกเหนือจากที่มีอยู่แล้วตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อกฎหมายมีวัตถุที่ประสงค์ในการให้ความคุ้มครอง ก็ย่อมให้สิทธิที่จะฟ้องขอรับความคุ้มครองอยู่ในตัว
การที่โจทก์ถูกจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์เห็นว่าการเลิกจ้างนั้นไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ก็ย่อมถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามกฎหมายแพ่งแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลย
ฟ้องโจทก์แปลได้ว่า โจทก์กล่าวหาว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ ขอให้ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งตามมาตรา 49 ขณะนี้ ยังไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าอายุคามในกรณีเช่นนี้มีกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
เมื่อจำเลยดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ในข้อหาว่าโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างลักทรัพย์ของจำเลยผู้เป็นนายจ้างนั้น หากจะฟ้องขอให้บังคับในทางแพ่งด้วย ก็ได้แต่ขอให้คืนทรัพย์สินหรือใช้ราคาทรัพย์ในฐานที่จำเลยถูกโจทก์กระทำละเมิดเท่านั้น ใช่ว่าจะขอให้ศาลบังคับให้โจทก์พ้นจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยได้ไม่ การที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ต้องหาว่าลักทรัพย์ของจำเลยได้หรือไม่นั้น จึงมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลแรงงานไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 217/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานมีอำนาจคุ้มครองลูกจ้างตามมาตรา 49 แม้มีการสอบสวนแล้ว
ศาลแรงงานมีอำนาจที่จะมีคำสั่งดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าการที่จำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากงานเป็นการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง แม้ว่าจะได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนก่อนตามข้อบังคับแล้วก็ตาม มาตรา 49 มุ่งหมายที่จะให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างนอกเหนือจากที่มีอยู่แล้วตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อกฎหมายมีวัตถุที่ประสงค์ในการให้ความคุ้มครอง ก็ย่อมให้สิทธิที่จะฟ้องขอรับความคุ้มครองอยู่ในตัว
การที่โจทก์ถูกจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์เห็นว่าการเลิกจ้างนั้นไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ก็ย่อมถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามกฎหมายแพ่งแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลย
ฟ้องโจทก์แปลได้ว่า โจทก์กล่าวหาว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ ขอให้ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งตามมาตรา 49 ขณะนี้ ยังไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าอายุความในกรณีเช่นนี้มีกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164
เมื่อจำเลยดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ในข้อหาว่าโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างลักทรัพย์ของจำเลยผู้เป็นนายจ้างนั้น หากจะฟ้องขอให้บังคับในทางแพ่งด้วย ก็ได้แต่ขอให้คืนทรัพย์สินหรือใช้ราคาทรัพย์ในฐานที่จำเลยถูกโจทก์กระทำละเมิดเท่านั้น ใช่ว่าจะขอให้ศาลบังคับให้โจทก์พ้นจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยได้ไม่ การที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ต้องหาว่าลักทรัพย์ของจำเลยได้หรือไม่นั้นจึงมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลแรงงานไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1538/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติมจากค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
ในกรณีที่มีการเลิกจ้างโดยการกระทำอันไม่เป็นธรรมนั้นนอกจากค่าชดเชยที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างโดยลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดตามข้อ 47 แล้ว ลูกจ้างมีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายได้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ76 และคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ มีอำนาจตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 41(4) ที่จะกำหนดค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้าง.ในกรณีนายจ้างกระทำการอันไม่เป็นธรรมเป็นอีกส่วนหนึ่ง นอกเหนือจากค่าชดเชยที่นายจ้างจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายอยู่แล้ว
การเลิกจ้างในกรณีที่สัญญาจ้างมิได้กำหนดว่าจ้างนานเท่าใดจะต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 เมื่อนายจ้างมิได้บอกกล่าวล่วงหน้า นายจ้างจะต้องรับผิดในจำนวนค่าเสียหายดังกล่าวนี้ซึ่งเป็นคนละส่วนกับค่าชดเชยด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1458/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การฉีกใบเตือนไม่ใช่การทำลายทรัพย์สิน เหตุผลเลิกจ้างไม่ชอบธรรม
ผู้บังคับบัญชาสั่งให้โจทก์ปฏิบัติงาน โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ผู้บังคับบัญชาจึงได้ออกใบเตือนให้โจทก์รับทราบ โจทก์ฉีกใบเตือนเฉพาะฉบับที่จำเลยออกให้โจทก์เท่านั้น ซึ่งเป็นฉบับที่มอบให้ลูกจ้าง ถือว่าลูกจ้างจะเอาไปทำอะไรก็ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้จำเลยก็ไม่อาจอ้างว่าโจทก์ทำลายทรัพย์สินคือใบเตือนของจำเลย ดังที่ระบุไว้ในคำสั่งเลิกจ้าง จึงถือไม่ได้ว่าการที่จำเลยปลดโจทก์ออกจากงาน เป็นการปลดหรือเลิกจ้างเพราะเหตุได้กระทำผิดดังที่ระบุไว้ในคำสั่ง จำเลยต้องรับโจทก์กลับเข้าทำงาน และชำระค่าเสียหายให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การฟ้องต่อศาลแรงงานโดยไม่ต้องร้องเรียนก่อน และข้อยกเว้นตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์เข้าทำงานต่อไป หรือมิฉะนั้นให้จ่ายค่าชดเชยและค่าเสียหาย ข้ออ้างประการแรกที่ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยฝ่าฝืนระเบียบเป็นการกล่าวหาว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นธรรมตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการอย่างใดก่อนที่จะดำเนินการในศาลแรงงาน จึงฟ้องต่อศาลแรงงานกลางได้โดยไม่ต้องร้องเรียนหรือปฏิบัติการอย่างใดก่อน ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 8 วรรคท้าย
ส่วนข้ออ้างประการที่สองว่า จำเลยกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายโดยกกล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งโจทก์เกี่ยวข้องด้วยมีผลใช้บังคับ เป็นการกล่าวหาว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 123 ซึ่งมาตรา 124 บัญญัติไว้ให้ผู้ต้องหาต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ หากประสงค์จะเรียกร้องสิ่งใด ต้องยื่นภายใน 60 วันนับแต่วันที่มีการฝ่าฝืน เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางขอให้รับโจทก์เข้าทำงานต่อไปหรือจ่ายค่าชดเชยหรือค่าเสียหายโดยมิได้ร้องเรียนตามมาตรา 124 ก่อน จึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 8 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการปฏิบัติตามขั้นตอนทางกฎหมายแรงงานก่อนฟ้องคดี
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์เข้าทำงานต่อไปหรือมิฉะนั้นให้จ่ายค่าชดเชยและค่าเสียหาย ข้ออ้างประการแรกที่ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยฝ่าฝืนระเบียบเป็นการกล่าวหาว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นธรรมตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการอย่างใดก่อนที่จะดำเนินการในศาลแรงงาน จึงฟ้องต่อศาลแรงงานกลางได้โดยไม่ต้องร้องเรียนหรือปฏิบัติการอย่างใดก่อน ไม่ต้องห้ามตามมาตรา8 วรรคท้าย
ส่วนข้ออ้างประการที่สองว่า จำเลยกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายโดยกล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งโจทก์เกี่ยวข้องด้วยมีผลใช้บังคับเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123 ซึ่งมาตรา 124 บัญญัติไว้ให้ผู้ต้องหาต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ หากประสงค์จะเรียกร้องสิ่งใด ต้องยื่นภายใน 60 วันนับแต่วันที่มีการฝ่าฝืน เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางขอให้รับโจทก์เข้าทำงานต่อไปหรือจ่ายค่าชดเชยหรือค่าเสียหายโดยมิได้ร้องเรียนตามมาตรา 124 ก่อน จึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 8 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3123/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และคำสั่งรับกลับเข้าทำงาน
ฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรมฝ่าฝืนมาตรา 123 แห่ง พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ซึ่งตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์สั่งให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในกรณีเช่นนี้โจทก์ก็ชอบที่จะได้รับค่าเสียหายในระหว่างที่ถูกเลิกจ้างรวม 4 เดือน โดยคิดเท่ากับเงินเดือนหรือเงินอื่นตามฟ้องของโจทก์
of 48