พบผลลัพธ์ทั้งหมด 490 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์มรดกก่อนสมรสเป็นสินเดิม แม้มีการแบ่งปันระหว่างสมรส
ทรัพย์ซึ่งเป็นมฤดกตกทอดแก่สามีก่อนสมรสกับภรรยาและทายาทตกลงแบ่งปันกันในระหว่างสมรส ทรัพย์นั้นเป็นสินเดิมของสามี หาใช่เป็นสินสมรสไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินเดิมก่อนสมรส: ทรัพย์มรดกที่แบ่งร่วมกันระหว่างสมรส ไม่ถือเป็นสินสมรส
ทรัพย์ซึ่งเป็นมรดกตกทอดแก่สามีก่อนสมรสกับภรรยาและทายาทตกลงแบ่งปันกันในระหว่างสมรส ทรัพย์นั้นเป็นสินเดิมของสามี หาใช่เป็นสินสมรสไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 759/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์มรดก: สิทธิเรียกร้องแบ่งทรัพย์ยังไม่ขาดอายุความ แม้มีการตกลงแบ่งกันไว้ แต่ยังไม่ได้แบ่งจริง
เมื่อเจ้ามฤดกตายแล้ว ผู้รับมฤดกได้ทำสัญญาตกลงแบ่งทรัพย์กันคนละส่วน แต่ยังไม่ได้แบ่งปันกัน และมอบเงินประกันการค้าน้ำมันกับบริษัทน้ำมัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองมฤดก ให้อยู่ในความควบคุมดูแลของจำเลย ดั่งนี้ ถือว่าทายาทต่างยังเป็นเจ้าของรวมในเงินประกันนั้น จะนำมาตรา 1754 ป.พ.พ.มาใช้บังคับไม่ได้
ป.พ.พ.มาตรา 1748 วรรค 2 บัญญัติว่า สิทธิที่จะเรียกให้แบ่งทรัพย์มฤดกตามวรรคก่อนจะตัดโดยนิติกรรมเกินคราวละสิบปีไม่ได้นั้น หมายความว่าทายาทจะทำความตกลงกันห้ามไม่ให้ใครเรียกให้แบ่งทรัพย์มฤดกก็ย่อมทำได้ แต่ในการที่จะทำนิติกรรมห้ามเรียกแบ่งทรัพย์มฤดกนั้น จะห้ามได้แต่เพียงคราวละสิบปี เมื่อพ้นกำหนด 10 ปีแล้ว ทายาทย่อมมีสิทธิจะเรียกให้แบ่งได้เสมอตามทรัพย์สิทธิของเขา จะแปลกลับเป็นว่า ทายาทจะเรียกให้แบ่งทรัพย์ไม่ได้ เมื่อเกินสิบปีแล้วนั้น ไม่ได้
ป.พ.พ.มาตรา 1748 วรรค 2 บัญญัติว่า สิทธิที่จะเรียกให้แบ่งทรัพย์มฤดกตามวรรคก่อนจะตัดโดยนิติกรรมเกินคราวละสิบปีไม่ได้นั้น หมายความว่าทายาทจะทำความตกลงกันห้ามไม่ให้ใครเรียกให้แบ่งทรัพย์มฤดกก็ย่อมทำได้ แต่ในการที่จะทำนิติกรรมห้ามเรียกแบ่งทรัพย์มฤดกนั้น จะห้ามได้แต่เพียงคราวละสิบปี เมื่อพ้นกำหนด 10 ปีแล้ว ทายาทย่อมมีสิทธิจะเรียกให้แบ่งได้เสมอตามทรัพย์สิทธิของเขา จะแปลกลับเป็นว่า ทายาทจะเรียกให้แบ่งทรัพย์ไม่ได้ เมื่อเกินสิบปีแล้วนั้น ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 505/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของบุคคลที่สามในคดีมรดก: การคุ้มครองสิทธิในการเรียกร้องทรัพย์มรดกเมื่อมีการฟ้องหนี้สิน
ผู้ร้องยื่นคำร้องเข้ามา เพื่อขอให้ได้รับความคุ้มครองสิทธิในการรับมรดกของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)ซึ่งบัญญัติให้บุคคลที่ 3 ได้รับความคุ้มครองสิทธิของตนที่มีอยู่โดยทันที ไม่จำต้องฟ้องคดีหลายเรื่องและไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากคู่ความเช่นอนุมาตรา 2 แม้คู่ความจะคัดค้าน ศาลก็สั่งอนุญาตได้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจำเลยในฐานะส่วนตัว และในฐานะผู้จัดการมรดก และผู้รับมรดกของภริยาผู้วายชนม์ผู้ร้องสอดผู้เป็นมารดาผู้ตายร้องสอดว่า โจทก์จำเลยสมยอมสร้างหนี้สินขึ้นโดยไม่เป็นความจริง ทำให้ผู้ร้องสอดเสียหาย เนื่องจากผู้ร้องสอดกำลังฟ้อง จำเลยเรียกทรัพย์มรดกรายนี้อยู่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องสอดเสีย แล้วดำเนินคดีไปพิพากษาให้จำเลยในส่วนตัวและในฐานผู้จัดการและรับมรดกนางเลี๊ยบ ใช้ต้นเงินและดอกเบี้ยให้โจทก์ตามฟ้อง ดังนี้ เมื่อผู้ร้องสอดอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นขึ้นมา ศาลสูงก็มีอำนาจยกคำสั่งและคำพิพากษาศาลล่าง ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ ตามรูปความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1)
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจำเลยในฐานะส่วนตัว และในฐานะผู้จัดการมรดก และผู้รับมรดกของภริยาผู้วายชนม์ผู้ร้องสอดผู้เป็นมารดาผู้ตายร้องสอดว่า โจทก์จำเลยสมยอมสร้างหนี้สินขึ้นโดยไม่เป็นความจริง ทำให้ผู้ร้องสอดเสียหาย เนื่องจากผู้ร้องสอดกำลังฟ้อง จำเลยเรียกทรัพย์มรดกรายนี้อยู่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องสอดเสีย แล้วดำเนินคดีไปพิพากษาให้จำเลยในส่วนตัวและในฐานผู้จัดการและรับมรดกนางเลี๊ยบ ใช้ต้นเงินและดอกเบี้ยให้โจทก์ตามฟ้อง ดังนี้ เมื่อผู้ร้องสอดอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นขึ้นมา ศาลสูงก็มีอำนาจยกคำสั่งและคำพิพากษาศาลล่าง ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ ตามรูปความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 430/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำลายทรัพย์มรดก แม้มีส่วนได้ร่วม ก็ไม่มีอำนาจกระทำ
บังอาจทำลายทรัพย์ มฤดกที่ยังไม่ได้แบ่ง แม้ภริยาจำเลยจะมีส่วนได้อยู่ในทรัพย์รายนี้ด้วย จำเลยก็ไม่มีอำนาจทำลาย จึงต้องมีผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 324.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 430/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำลายทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง แม้มีส่วนได้ร่วม ก็ไม่มีอำนาจกระทำ
บังอาจทำลายทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง แม้ภริยาจำเลยจะมีส่วนได้อยู่ในทรัพย์รายนี้ด้วย จำเลยก็ไม่มีอำนาจทำลายจึงต้องมีผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา324
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์มรดก: บุตรผู้รับมรดกอยู่ร่วมเรือนกับตา ย่อมถือว่าครอบครองทรัพย์มรดก
มารดาและตาเป็นเจ้าของที่ดินและเรือนร่วมกัน เมื่อมารดาตายแล้ว บุตรผู้ตายซึ่งเป็นผู้รับมรดกได้อยู่ร่วมเรือนนี้มากับตา ย่อมถือได้ว่าบุตรผู้ตายได้ครอบครองทรัพย์มรดกตาจะอ้างอายุความมรดกมายันบุตรผู้ตายไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 630/2489 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สามีไม่มีอำนาจฟ้องอาญาแทนภรรยา หากความเสียหายเกิดขึ้นก่อนสมรส และไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก
สามีไม่มีอำนาจฟ้องความผิดทางอาญา ที่ภรรยาของตนเป็นผู้เสียหาย ในเมื่อมูลความผิดนั้นมีมาก่อนที่ตนได้เป็นสามีภริยากัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 480/2489
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทรัพย์มรดกแทนผู้อื่น: สัญญาเป็นโมฆะเมื่อผู้ขายไม่มีอำนาจ
ที่ดินมรดกตกได้แก่มารดาและบุตร เมื่อเจ้ามรดกตายแล้วทายาทก็เก็บค่าเช่าแบ่งกัน ต่อมาประมาณ 4 ปีมารดาโอนขายที่มรดกในนามของตนและแทนเด็กไปตามลำพัง ดังนี้ อัยการเป็นโจทก์ฟ้องแทนเด็กขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายได้
การเพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งผู้ขายขายในนามของตนเองและขายแทน เมื่อมีการเพิกถอนสัญญาโดยขายแทนเด็กไม่ได้ ก็ต้องเพิกถอนทั้งหมด ส่วนผู้ขายจะต้องรับผิดชอบต่อผู้ซื้ออย่างไรก็คงมีอยู่ตามกฎหมาย
มารดาขายที่ดินแทนเด็กตามลำพังนั้นถ้าผู้ซื้อทราบอยู่แล้วว่าเด็กทั้งสองมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นด้วย ผู้ซื้อจะยกเอาความสุจริตขึ้นต่อสู้ไม่ได้ ฝ่ายเด็กก็ขอให้เพิกถอนสัญญานั้นได้
การเพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งผู้ขายขายในนามของตนเองและขายแทน เมื่อมีการเพิกถอนสัญญาโดยขายแทนเด็กไม่ได้ ก็ต้องเพิกถอนทั้งหมด ส่วนผู้ขายจะต้องรับผิดชอบต่อผู้ซื้ออย่างไรก็คงมีอยู่ตามกฎหมาย
มารดาขายที่ดินแทนเด็กตามลำพังนั้นถ้าผู้ซื้อทราบอยู่แล้วว่าเด็กทั้งสองมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นด้วย ผู้ซื้อจะยกเอาความสุจริตขึ้นต่อสู้ไม่ได้ ฝ่ายเด็กก็ขอให้เพิกถอนสัญญานั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 134/2488
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกทรัพย์ผิดประเด็น เมื่อทรัพย์สินเป็นของมรดกบุตร
ฟ้องเรียกทรัพย์อ้างว่าเป็นทรัพย์ของตนเอง ทางพิจารณาได้ความว่าเป็นทรัพย์มรดกของบุตรโจทก์ ดังนี้ ศาลจะพิพากษาให้จำเลยส่งมอบทรัพย์ไม่ได้ โดยถือว่าเป็นการฟ้องนอกประเด็น