คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประมวลกฎหมายแพ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 416 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สมรสก่อน-หลังประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์: แบ่งสินสมรสตามลักษณะผัวเมีย, แบ่งมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่ง
เป็นสามีภรรยาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5แต่ตายจากกันเมื่อใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 แล้วต้องแบ่งสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย แต่แบ่งมรดกตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6
ในชั้นฎีกาผู้ฎีกาต้องเสียค่าขึ้นศาลเฉพาะในทุนทรัพย์ที่เรียกร้องในชั้นฎีกา ไม่ต้องเสียในทุนทรัพย์ที่ศาลอุทธรณ์ตัดสินให้โจทก์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 920/2485

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มรดกก่อนประมวลกฎหมายแพ่ง: ศาลไม่ตัดสินแบ่งมรดกเมื่อมีข้อพิพาทเรื่องครอบครอง
คดีที่เจ้ามรดกได้วายชนม์มานานกว่า 10 ปีก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 ต้องใช้ กฎหมายลักษณะมรดกบังคับ. คดีที่ฟ้องขอให้ขับไล่และห้ามเกี่ยวข้องในที่รายพิพาท.เมื่อปรากฏว่าที่พิพาทนั้นเป็นมรดกที่โจทก์และจำเลยมีส่วนได้และปรากฏว่ามีผู้รับมรดกอื่นอีก. ศาลพิพากษายกฟ้องโดยไม่ตัดสินแบ่งก็ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 892/2482

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สามีภริยาแยกกันอยู่แต่ไม่หย่า: สิทธิมรดกของภริยาร้างตามประมวลกฎหมายแพ่ง
สามีภริยา (ก่อนประมวล) ต่างแยกกันอยู่ มิได้อยู่กินด้วยกันฉันท์สามีภริยาเป็นเวลานานหลายปีจนตราบเท่าสามีตาย แต่ไม่ได้ทำนิติกรรมหย่าขาดจากกัน หรือแบ่งปันทรัพย์กันระหว่างกันนั้นยังถือว่าสามีภรียามิได้ขาดจากกันตามกฎหมายสามีตายเมื่อ พ.ศ. 2481 ภริยาร้าง นั้นมีสิทธิ์ได้รับมฤดกของสามีตาม ม.1628 อ้างฎีกาที่ 494/2472 จำเลยชนะคดีในศาลชั้นต้นแต่แพ้ในชั้นอุทธรณ์ เมื่อจำเลยฏีกาจำเลยไม่ต้องวางเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องเสียแทนอีกฝ่ายหนึ่ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 690/2478

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653
กู้เงิน ป.พ.พ.ม.653

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2478

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทางเดินต้องจดทะเบียนเพื่อมีผลสมบูรณ์ แม้แต่ตามกฎหมายเก่าก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การได้มาโดยนิติกรรมในสิทธิทางเดิน แม้ตามกฎหมายเก่าก่อนใช้ประมวลแพ่งฯก็ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะสมบูรณ์มีผลได้ตามกฎหมาย ปพพม 1299-1387-1429-1349 ประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง ม.142-247 โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางในชั้นฎีกากล่าวด้วยว่าถ้าเจ้าของข้างเคียงปิดอย่างจำเลย+แล้วโจทก์ไม่มีทางออกดังนี้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2478

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38
จำนอง ป.พ.พ.ม. 38 ที่ดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 63/2475

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องชู้: กฎหมายลักษณ์รับฟ้องเฉพาะเหนือกว่าประมวลกฎหมายแพ่งทั่วไป
ผัวเมียชายชู้ อายุความต้องถือตามกฎหมายลักษณ์รับฟ้องบทที่ 11 จะยกประมวลกฎหมายแพ่งมาใช้เรื่องเช่นนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2473

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งตัวแทนกู้เงินและการพิสูจน์ความเป็นตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งฉบับก่อน
การตั้งตัวแทนไปกู้เงินเกิน 50 บาท ในระวางใช้ประมวลแพ่งแพ่งฉบับก่อนไม่จำเปนต้องทำเปนหนังสือสัญญาเล่นแชร์เปียหวย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9367/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนไขคำท้าสาบาน การกระทำไม่สุจริตของคู่กรณี และผลตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 186
ในการท้ากันนั้น โจทก์และจำเลยไม่ได้ตกลงให้จำเลยดื่มน้ำสาบานและรับศีลห้าด้วย การดื่มน้ำสาบานและรับศีลห้าจึงไม่ใช่ส่วนหนึ่งของคำท้า ส่วนการที่จำเลยต้องกล่าวคำสาบานให้โจทก์หรือผู้รับมอบอำนาจโจทก์ และผู้อำนวยการฯ ได้ยินด้วยนั้น เป็นเงื่อนไขส่วนหนึ่งของคำท้า เมื่อปรากฏว่าจำเลยกล่าวคำสาบานโดยผู้อำนวยการฯ ได้ยินถ้อยคำสาบานของจำเลยขณะอยู่ห่างจากจำเลยประมาณ 1 เมตร เมื่อผู้อำนวยการฯ แจ้งให้โจทก์เข้าไปใกล้จำเลยเพื่อจะได้ยินถ้อยคำสาบานของจำเลย ฝ่ายโจทก์กลับปฏิเสธว่าต้องการให้จำเลยพูดเสียงดังเพื่อให้ได้ยินทั่วกัน ถือว่าโจทก์ประสงค์จะให้บุคคลทั่วไปได้ยินถ้อยคำสาบานของจำเลยด้วย ซึ่งมิใช่เป็นข้อตกลงอันเป็นส่วนหนึ่งของคำท้า และก็ไม่ได้กำหนดให้จำเลยกล่าวสาบานผ่านเครื่องขยายเสียง อันจะแปลเจตนาของคำท้าได้ว่าจำเลยต้องกล่าวคำสาบานให้บุคคลทั่วไปได้ยิน โจทก์ย่อมสามารถเข้าไปใกล้จำเลยได้ แต่ฝ่ายโจทก์กลับไม่เข้าไปใกล้เพื่อให้ได้ยินเสียงถ้อยคำสาบาน จึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นคู่กรณีฝ่ายเสียเปรียบกระทำการโดยไม่สุจริตจนเป็นเหตุให้เงื่อนไขที่ฝ่ายโจทก์ต้องได้ยินถ้อยคำสาบานของจำเลยด้วยนั้นไม่สำเร็จ ถือได้ว่าจำเลยสาบานตนตรงตามคำท้าครบถ้วน โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13384/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเจ้ามรดก: การได้รู้ถึงการตายของลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม
ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม ได้ระบุห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องเจ้ามรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกซึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นการได้รู้หรือควรได้รู้อย่างแน่นอนและมีหลักฐานยืนยันได้ การที่โจทก์มีหนังสือทวงถามลงวันที่ 18 มกราคม 2545 ให้จ่าสิบตำรวจ ก. ชำระหนี้และบอกเลิกสัญญา และได้ส่งให้จ่าสิบตำรวจ ก. ที่ภูมิลำเนาเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2545 ตามใบตอบรับทางไปรษณีย์และซองจดหมาย ซึ่งไม่มีผู้รับแต่มีข้อความเขียนระบุไว้ที่ซองจดหมายว่าจ่าสิบตำรวจ ก. ถึงแก่ความตายแล้วโดยไม่ปรากฏว่าใครเป็นผู้แจ้งให้ผู้ส่งจดหมายบันทึกข้อความดังกล่าว กรณีดังกล่าวจึงยังไม่เป็นการแน่นอนว่าจ่าสิบตำรวจ ก. ถึงแก่ความตาย ต่อมาเมื่อโจทก์ตรวจสอบข้อมูลทางทะเบียนในวันที่ 1 สิงหาคม 2546 ตามแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรมีข้อความระบุว่า จำหน่ายชื่อจ่าสิบตำรวจ ก. จากทะเบียนบ้านเนื่องจากตายเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2545 จึงต้องฟังว่าโจทก์เจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงการตายของจ่าสิบตำรวจ ก. เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2546 เมื่อโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2547 ยังไม่พ้น 1 ปี สิทธิเรียกร้องต่อกองมรดกของจ่าสิบตำรวจ ก. ตามฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามมาตรา 1754 วรรคสาม
of 42