พบผลลัพธ์ทั้งหมด 391 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2566/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนพิเศษ, สัญญากู้, การคิดดอกเบี้ย, และการจำนอง: ศาลฎีกาตัดสินคดีพิพาทสัญญา
สัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาธรรมดา ต้องเป็นสัญญาที่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภาระผูกพันเพิ่มขึ้นต่างหากจากการปฏิบัติตามสัญญาโดยปกติทั่วไป การที่จำเลยอนุมัติสินเชื่อให้โจทก์เพื่อจัดทำโครงการศูนย์การค้าในวงเงิน 27,000,000 บาท แต่จำเลยก็ตกลงยินยอมให้โจทก์ขอสินเชื่อได้เป็นคราว ๆ ไป โดยให้โจทก์ทำสัญญากู้ไว้แก่จำเลย ดังนั้น จำนวนวงเงินที่โจทก์ได้รับอนุมัติจากจำเลย เป็นแต่เพียงจำนวนเงินขั้นสูงสุดที่โจทก์มีสิทธิได้รับการสนับสนุนจากจำเลยเท่านั้น ไม่ใช่จำนวนเงินที่กำหนดไว้แน่นอนเพื่อผูกพันจำเลยตามที่ได้อนุมัติไว้แต่อย่างใด จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าสัญญาสนับสนุนโครงการศูนย์การค้าของโจทก์เป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญากู้ธรรมดา
หนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับหนี้ตามสัญญากู้เงินเป็นหนี้ต่างประเภทกัน มีเงื่อนไขและวิธีการในการคิดดอกเบี้ยแตกต่างกันตามที่คู่กรณีตกลงกัน เมื่อโจทก์กับจำเลยตกลงกันให้จำเลยหักเงินในบัญชีกระแสรายวันเพื่อชำระหนี้เงินกู้ จึงเป็นข้อตกลงที่มีผลผูกพันใช้บังคับกันได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่มีเงินเหลืออยู่ในบัญชีกระแสรายวันที่จะให้จำเลยหักชำระหนี้เงินกู้ จำเลยจึงตกลงยินยอมให้โจทก์เบิกเงินเกินบัญชีตามบัญชีกระแสรายวันเพื่อนำไปชำระหนี้เงินกู้ การคิดดอกเบี้ยของจำเลยในกรณีนี้จึงเป็นการคิดดอกเบี้ยตามข้อตกลง หาใช่การคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยแต่อย่างใดไม่
หนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับหนี้ตามสัญญากู้เงินเป็นหนี้ต่างประเภทกัน มีเงื่อนไขและวิธีการในการคิดดอกเบี้ยแตกต่างกันตามที่คู่กรณีตกลงกัน เมื่อโจทก์กับจำเลยตกลงกันให้จำเลยหักเงินในบัญชีกระแสรายวันเพื่อชำระหนี้เงินกู้ จึงเป็นข้อตกลงที่มีผลผูกพันใช้บังคับกันได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่มีเงินเหลืออยู่ในบัญชีกระแสรายวันที่จะให้จำเลยหักชำระหนี้เงินกู้ จำเลยจึงตกลงยินยอมให้โจทก์เบิกเงินเกินบัญชีตามบัญชีกระแสรายวันเพื่อนำไปชำระหนี้เงินกู้ การคิดดอกเบี้ยของจำเลยในกรณีนี้จึงเป็นการคิดดอกเบี้ยตามข้อตกลง หาใช่การคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5860/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีอาญาเกี่ยวกับเอกสารปลอม: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากสัญญากู้เป็นเอกสารปลอม ทำให้ไม่เกิดความเสียหาย
โจทก์เคยฟ้องขอให้บังคับจำเลยกับ ม. ร่วมกันชำระหนี้พร้อมด้วยดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยเชื่อว่าสัญญากู้ที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์ในคดีดังกล่าวเป็นเอกสารที่โจทก์ทำปลอมขึ้น ผลแห่งคำพิพากษานั้นย่อมผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง โจทก์ไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยกับ ม. รับผิดต่อโจทก์ได้ แม้จะได้ความว่าจำเลยปลอมสัญญาค้ำประกันอันเป็นเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม ก็ไม่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงไม่เป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ไม่มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 28 (2) ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7229/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ที่ไม่สมบูรณ์และการบังคับชำระหนี้เฉพาะส่วนที่สมบูรณ์ รวมถึงดอกเบี้ยจากสัญญาขายลดเช็ค
หนังสือสัญญากู้เงินซึ่งจำเลยลงลายมือชื่อไว้ระบุจำนวนเงิน 500,000 บาท โดยจำเลยไม่ได้รับเงินจำนวนดังกล่าวจากโจทก์ แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่ามีมูลหนี้เดิมเหลืออยู่เพียง 192,111.28 บาท จึงเป็นการทำให้จำนวนหนี้ในสัญญากู้ไม่สมบูรณ์จำนวน 192,111.28 บาท ได้ มิใช่ว่าสัญญากู้ไม่สมบูรณ์ทั้งหมด
สัญญาขายลดเช็คไม่มีกฎหมายห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราไว้เหมือนเช่นการกู้ยืมเงิน ดังนั้น การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 3 ต่อเดือนในมูลหนี้เดิมจึงมิใช่เป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย
สัญญาขายลดเช็คไม่มีกฎหมายห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราไว้เหมือนเช่นการกู้ยืมเงิน ดังนั้น การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 3 ต่อเดือนในมูลหนี้เดิมจึงมิใช่เป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยสัญญากู้, สิทธิสวัสดิการข้าราชการ, การปรับอัตราดอกเบี้ยผิดสัญญา, เบี้ยปรับ, ลดค่าปรับ
พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ.2523 มาตรา 6 บัญญัติเป็นนัยว่า เมื่อรัฐมนตรีกำหนดดอกเบี้ยตามมาตรา 4 แล้ว มิให้นำมาตรา 654 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาบังคับใช้ จึงมีผลให้ข้อตกลงในสัญญากู้ ข้อ 1 ที่ว่า "ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้เป็นรายเดือนสำหรับเงินกู้ตามสัญญานี้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี และผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่กำหนดดังกล่าวเมื่อใดก็ได้ แต่ไม่เกินอัตราสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้" เป็นข้อตกลงที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 654
เมื่อปรากฏรายละเอียดตามรายการปรับอัตราดอกเบี้ยว่า โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยครั้งแรกเพียงร้อยละ 4.75 ต่อปี แสดงว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับกระทรวงยุติธรรม จึงบ่งชี้ว่าจำเลยกู้เงินจากโจทก์โดยได้รับสิทธิเงินกู้สวัสดิการตามข้อตกลงดังกล่าว เมื่อโจทก์กลับกำหนดอัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้ถึงร้อยละ 19 ซึ่งแม้ไม่เป็นโมฆะ แต่ก็ไม่เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับกระทรวงยุติธรรม จึงไม่อาจบังคับเอาแก่จำเลย คงบังคับกันได้ตามอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตามที่กำหนด โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี
จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2540 หลังจากนั้นจำเลยก็ไม่ได้ชำระหนี้แก่โจทก์ และโจทก์ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 19 ต่อปี การที่โจทก์ปรับใช้อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี ดังกล่าว เป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นเนื่องจากจำเลยผิดสัญญาอันเป็นการใช้สิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้ ซึ่งเป็นข้อตกลงกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีที่จำเลยไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้อง จึงเข้าลักษณะเป็นเบี้ยปรับและศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับดังกล่าวลงได้ถ้าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383
เมื่อปรากฏรายละเอียดตามรายการปรับอัตราดอกเบี้ยว่า โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยครั้งแรกเพียงร้อยละ 4.75 ต่อปี แสดงว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับกระทรวงยุติธรรม จึงบ่งชี้ว่าจำเลยกู้เงินจากโจทก์โดยได้รับสิทธิเงินกู้สวัสดิการตามข้อตกลงดังกล่าว เมื่อโจทก์กลับกำหนดอัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้ถึงร้อยละ 19 ซึ่งแม้ไม่เป็นโมฆะ แต่ก็ไม่เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับกระทรวงยุติธรรม จึงไม่อาจบังคับเอาแก่จำเลย คงบังคับกันได้ตามอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตามที่กำหนด โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี
จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2540 หลังจากนั้นจำเลยก็ไม่ได้ชำระหนี้แก่โจทก์ และโจทก์ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 19 ต่อปี การที่โจทก์ปรับใช้อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี ดังกล่าว เป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นเนื่องจากจำเลยผิดสัญญาอันเป็นการใช้สิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้ ซึ่งเป็นข้อตกลงกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีที่จำเลยไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้อง จึงเข้าลักษณะเป็นเบี้ยปรับและศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับดังกล่าวลงได้ถ้าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5715/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ที่มิได้ปิดอากรแสตมป์ถูกต้อง ไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ แม้จะขอแก้ไขภายหลัง
สัญญากู้ที่โจทก์อ้างส่งมีลักษณะเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องครบถ้วนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 เมื่อโจทก์มิได้ปิดอากรแสตมป์ให้ครบถ้วนตามบัญชีอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร จึงไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ตามบทบัญญัติดังกล่าวแม้โจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องขออนุญาตปิดอากรแสตมป์ให้ครบถ้วนในภายหลังได้ แต่ต้องกระทำเสียก่อนหรือในขณะที่ได้นำสัญญากู้มาอ้างเป็นพยานหลักฐาน หรือก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษา การที่โจทก์เพิ่งมาร้องขอต่อศาลฎีกาหลังจากที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีไปแล้ว ย่อมล่วงเลยเวลาที่จะอนุญาตให้ทำการแก้ไขได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6823/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยบัตรเอทีเอ็มและการนำสืบพยานหลักฐานการชำระหนี้
จำเลยนำสืบถึงการชำระหนี้เงินกู้คืนโจทก์ว่า จำเลยมอบบัตรเอทีเอ็มของธนาคาร ก. ให้โจทก์ไปถอนเงินจากบัญชีของจำเลยทุกเดือน และโจทก์ยอมรับว่าได้รับบัตรเอทีเอ็มดังกล่าวไว้ถอนเงินจากบัญชีของจำเลย จึงถือได้ว่าเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคหนึ่ง จึงไม่ต้องห้ามที่จำเลยจะนำสืบพยานบุคคลให้ศาลเห็นถึงวิธีการชำระหนี้ว่าได้ปฏิบัติต่อกันเช่นใด ไม่อยู่ในบทบังคับเฉพาะตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7334/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้เรื่องสัญญากู้ไม่สมบูรณ์ จำเลยต้องแสดงเหตุแห่งการปฏิเสธชัดเจน มิฉะนั้นจะไม่มีประเด็นนำสืบ
จำเลยให้การรับว่า จำเลยทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องจริง แต่ปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้รับเงินกู้ เนื่องจากจำเลยและ ท. มารดาโจทก์ ไม่มีเจตนาที่จะให้มีผลผูกพันกันเป็นการต่อสู้ว่าสัญญากู้ไม่สมบูรณ์ จำเลยจึงมีภาระการพิสูจน์ แต่จำเลยไม่ได้อ้างเหตุตั้งประเด็นไว้ว่าที่จำเลยและ ท. ไม่มีเจตนาให้มีผลผูกพันกันเป็นเพราะเหตุใด แม้จำเลยจะกล่าวอ้างมาในคำให้การว่า จำเลยมีฐานะทางการเงินดีกว่า ท. ก็ไม่อาจทำให้เข้าใจได้ว่าเหตุใดจำเลยและ ท. จึงทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินโดยจำเลยไม่ได้รับเงินกู้ จึงเป็นคำให้การปฏิเสธที่ไม่ได้แสดงเหตุแห่งการปฏิเสธโดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง จำเลยย่อมไม่มีประเด็นที่จะนำสืบ แม้จำเลยจะนำสืบในชั้นพิจารณาก็เป็นการสืบนอกคำให้การ ต้องห้ามมิให้รับฟังตามมาตรา 87 ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า จำเลยกู้ยืมเงิน ท. และรับเงินกู้แล้วตามที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5740/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ไม่มีผลผูกพันเมื่อโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์การจ่ายเงินกู้ให้แก่ผู้รับประโยชน์ได้จริง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ช. เป็นผู้ดำเนินคดีแทน เท่ากับวินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 1 ไม่อุทธรณ์โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น ข้อเท็จจริงจึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 จะฎีกาโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องโดยอ้างเหตุใหม่ว่าสัญญากู้ตามที่ระบุในหนังสือมอบอำนาจไม่ตรงกับสัญญากู้ที่โจทก์นำสืบโดยไม่ได้ให้การในข้อนี้ไว้หาได้ไม่ เนื่องจากเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาโดยชอบในชั้นอุทธรณ์และไม่ใช่ข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ขณะทำสัญญากู้จำเลยที่ 1 ถูกจับกุมในข้อหากระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ และถูกควบคุมตัวอยู่ที่สถานีตำรวจ ตามที่ ส. ร้องทุกข์ไว้ต่อพนักงานสอบสวนแล้ว ย่อมเป็นการควบคุมตัวของเจ้าพนักงานโดยชอบด้วยกฎหมาย การที่ทนายโจทก์กับ ส. แจ้งแก่จำเลยที่ 1 ว่า หากไม่ทำสัญญากู้กับโจทก์ก็จะดำเนินคดีอาญาในข้อหาออกเช็คโดยเจตนาไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คต่อไปนั้น เป็นการขู่ว่าจะดำเนินคดีตามกฎหมายแก่จำเลยที่ 1 อันเป็นสิทธิที่ ส. ผู้ทรงเช็คสามารถกระทำได้ ทั้งหากจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำความผิดก็มีสิทธิที่จะต่อสู้คดีไม่จำต้องกลัว และยังได้ความจากข้อนำสืบของโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินโจทก์เพื่อนำเงินไปชำระหนี้ให้แก่ ส. ตามเช็ค จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ถูกข่มขู่ให้ทำสัญญากู้ อันจะทำให้สัญญากู้เป็นโมฆียะ
โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่า โจทก์ได้ชำระเงินตามสัญญากู้ให้แก่ ส. แทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ แต่โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าโจทก์ได้ชำระเงินตามสัญญากู้ให้แก่ ส. เป็นการชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้รับเงินตามสัญญากู้แล้ว สัญญากู้ดังกล่าวจึงไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์
ขณะทำสัญญากู้จำเลยที่ 1 ถูกจับกุมในข้อหากระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ และถูกควบคุมตัวอยู่ที่สถานีตำรวจ ตามที่ ส. ร้องทุกข์ไว้ต่อพนักงานสอบสวนแล้ว ย่อมเป็นการควบคุมตัวของเจ้าพนักงานโดยชอบด้วยกฎหมาย การที่ทนายโจทก์กับ ส. แจ้งแก่จำเลยที่ 1 ว่า หากไม่ทำสัญญากู้กับโจทก์ก็จะดำเนินคดีอาญาในข้อหาออกเช็คโดยเจตนาไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คต่อไปนั้น เป็นการขู่ว่าจะดำเนินคดีตามกฎหมายแก่จำเลยที่ 1 อันเป็นสิทธิที่ ส. ผู้ทรงเช็คสามารถกระทำได้ ทั้งหากจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำความผิดก็มีสิทธิที่จะต่อสู้คดีไม่จำต้องกลัว และยังได้ความจากข้อนำสืบของโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินโจทก์เพื่อนำเงินไปชำระหนี้ให้แก่ ส. ตามเช็ค จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ถูกข่มขู่ให้ทำสัญญากู้ อันจะทำให้สัญญากู้เป็นโมฆียะ
โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่า โจทก์ได้ชำระเงินตามสัญญากู้ให้แก่ ส. แทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ แต่โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าโจทก์ได้ชำระเงินตามสัญญากู้ให้แก่ ส. เป็นการชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้รับเงินตามสัญญากู้แล้ว สัญญากู้ดังกล่าวจึงไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1932/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงอัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้, การปรับดอกเบี้ยหลังผิดนัด, และเบี้ยปรับที่ชอบด้วยกฎหมาย
เบี้ยปรับคือสัญญาที่ลูกหนี้ให้ไว้แก่เจ้าหนี้ว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร แต่ตามหนังสือสัญญากู้เงินมีใจความว่า ผู้กู้ยืมยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้เป็นรายเดือน ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี โดยมีระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันทำสัญญากู้ ส่วนระยะเวลาที่เหลือจำเลยทั้งสองยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราใหม่ตามประกาศธนาคารโจทก์ ซึ่งโจทก์อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ข้างต้น โดยโจทก์ไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบล่วงหน้า นอกจากนั้นจำเลยทั้งสองยังได้ทำบันทึกต่อท้ายสัญญากู้เงินมีใจความว่า จำเลยทั้งสองทำสัญญากู้เงินอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี โดยให้ถือบันทึกดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้เงินด้วย จากข้อสัญญาดังกล่าวแสดงว่าในระยะเวลา 3 ปีแรก นับแต่วันที่ทำสัญญากู้ โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราคงที่ได้เพียงร้อยละ 7.5 ต่อปี เท่านั้น จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นกว่านั้นไม่ได้จนกว่าจะล่วงพ้น 3 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญากู้เงินและเมื่อล่วงพ้นกำหนดเวลา 3 ปี โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ตามประกาศธนาคารโจทก์ซึ่งโจทก์อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ข้างต้น โดยโจทก์ไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบล่วงหน้า ซึ่งเมื่อพิจารณาบัญชีเงินกู้ จะเห็นว่า เมื่อล่วงพ้นกำหนดระยะเวลา 3 ปี โจทก์ทำการปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นอัตราร้อยละ 6.5 ต่อปี และ 6 ต่อปี ตามลำดับ โดยมิได้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ถือเป็นข้อปฏิบัติในลักษณะที่โจทก์ให้ประโยชน์แก่จำเลยทั้งสอง ดังนั้นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในระยะเริ่มแรกก็ดี และดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 6.5 ต่อปี และ 6 ต่อปี หลังจากล่วงพ้น 3 ปี นับแต่วันทำสัญญากู้เงินก็ดี ล้วนเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามข้อสัญญาทั้งสิ้น โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลยทั้งสองตกเป็นผู้ผิดนัดหรือไม่ และเป็นดอกผลนิตินัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 148 วรรคสาม ต่อมาจำเลยทั้งสองได้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลา โจทก์จึงทำการปรับอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 6 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2547 เป็นต้นมา และแม้ตามหนังสือสัญญากู้เงินระบุว่า หากผู้กู้ผิดนัดยินยอมให้ผู้ให้กู้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นกว่าที่กำหนดได้ก็ตาม แต่ดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2547 เป็นต้นมาดังกล่าว โจทก์เรียกจากจำเลยทั้งสองในอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี ซึ่งน้อยกว่าอัตราร้อยละ 19 ต่อปี อันเป็นอัตราตามข้อตกลงในสัญญากู้เงินและบันทึกต่อท้ายสัญญากู้เงิน ถือได้ว่าโจทก์มิได้คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตามสัญญากู้เงินแต่อย่างใด อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 13.5 ต่อปี ดังกล่าวจึงมิใช่เบี้ยปรับ ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลจะมีอำนาจลดลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองตามบัญชีเงินกู้ จึงเป็นการถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1884/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงิน: เบี้ยปรับเมื่อผิดนัดชำระหนี้ ศาลยืนตามสัญญากู้
หนังสือสัญญากู้เงิน ข้อ 2 และข้อ 4 และบันทึกต่อท้ายสัญญากู้เงินมีใจความโดยสรุปว่า ในระยะ 3 ปีแรก นับแต่วันทำสัญญากู้เงิน โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองได้ในอัตราคงที่ตามบันทึกต่อท้ายสัญญากู้เงิน โดยในปีแรกอัตราร้อยละ 3.5 ต่อปี ปีที่ 2 อัตราร้อยละ 4.5 ต่อปี และปีที่ 3 อัตราร้อยละ 5.5 ต่อปี ต่อจาก 3 ปีนั้นแล้วจึงมีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ แต่ต้องไม่เกินอัตราขั้นสูงตามกฎหมาย แต่ถ้าจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้เมื่อใด ไม่ว่าจะอยู่ในช่วง 3 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญากู้เงินหรือหลังจากนั้นก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้เสมอ ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยคงที่ในระยะ 3 ปีแรกก็ดี ดอกเบี้ยหลังจากล่วงพ้น 3 ปี นับแต่วันทำสัญญากู้เงินก็ดี ล้วนเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามข้อสัญญาทั้งสิ้น ทั้งนี้ โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดหรือไม่ และเป็นดอกผลนิตินัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 148 วรรคสาม แต่ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 14 ต่อปีที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยทั้งสองหลังจากที่จำเลยทั้งสองตกเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ เห็นได้ว่าเป็นการใช้สิทธิตามสัญญากู้เงินข้อ 4 ที่ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นได้ในกรณีที่จำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้ดอกเบี้ยจำนวนนี้จึงเป็นค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดไว้ล่วงหน้าเมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ ซึ่งถือเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ โดยคำนึงถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 373 วรรคหนึ่ง
โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายเฉพาะเรื่องดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง โดยขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 14 ต่อปี ของต้นเงินตามฟ้อง นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท และค่าขึ้นศาลสำหรับดอกเบี้ยในอนาคตอีก 100 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (2) และข้อ (4) แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาจากจำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้อง จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาสำหรับส่วนที่เกิน 300 บาท แก่โจทก์
โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายเฉพาะเรื่องดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง โดยขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 14 ต่อปี ของต้นเงินตามฟ้อง นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท และค่าขึ้นศาลสำหรับดอกเบี้ยในอนาคตอีก 100 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (2) และข้อ (4) แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาจากจำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้อง จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาสำหรับส่วนที่เกิน 300 บาท แก่โจทก์