คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงื่อนไข

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 479 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินมือเปล่า: เงื่อนไขการสละสิทธิและผลของการครอบครองต่อเนื่อง
การที่บิดาจำเลยไปทำบันทึกไว้ที่อำเภอว่าถ้าที่นาหนองสระพังเป็นที่สาธารณะก็ยอมสละการครอบครองเฉพาะส่วนของตน ต่อมาโจทก์ซึ่งมีส่วนในนาหนองสระพังได้ไปหาหลักฐานมายันจนอำเภอสั่งว่าที่นาหนองสระพังไม่ใช่ที่สาธารณะ เช่นนี้ ถือว่าบิดาจำเลยได้ให้บันทึกโดยมีเงื่อนไข เมื่อที่ไม่เป็นสาธารณะก็ย่อมไม่ผูกพัน
เมื่อเจ้าของที่มือเปล่ายกที่ให้ผู้ใด ต้องพิเคราะห์ดูว่าผู้ได้รับยกให้เข้าปกครองตลอดมาหรือไม่ ปรากฏจากหลักฐานพยานเชื่อได้ว่า บิดาจำเลยได้รับยกให้ได้เข้าครอบครองเมื่อได้รับยกให้ตลอดมา และเมื่อบิดาจำเลยตายจำเลยก็เข้าครอบครองที่นั้นตลอดมา เช่นนี้ ย่อมฟังได้ว่าที่พิพาทยังเป็นของจำเลยครอบครอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าและโอนสิทธิการเช่า: สัญญาที่มีเงื่อนไขและอำนาจฟ้องของผู้ให้เช่า
ฟ้องว่า จำเลยอาศัยห้องที่โจทก์เช่ามาแล้วตกลงจะโอนการเช่าให้จำเลยต่อเมื่อโจทก์เซ้งห้องอื่นได้ แต่โจทก์เซ้งห้องไม่ได้จึงขอให้ขับไล่และแสดงว่าสัญญาโอนการเช่าเป็นโมฆะ ดังนี้ ข้อที่ศาลวินิจฉัยว่าสัญญาไม่ผูกพัน เพราะเงื่อนไขบังคับก่อนไม่เป็นผลสำเร็จไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์เช่าห้องมาแล้วให้จำเลยอาศัย ภริยาโจทก์ทำสัญญาจะโอนการเช่าให้จำเลยเมื่อสัญญาจะโอนไม่มีผลบังคับโจทก์ฟ้องขับไล่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละที่ดินเพื่อสร้างมหาวิทยาลัย: เงื่อนไขการสละและการพิสูจน์เจตนา
โจทก์อ้างว่าที่พิพาทนี้จำเลยที่ 1 สละสิทธิยกให้แก่ทางราชการเพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับจัดตั้งมหาวิทยาลัย แต่จำเลยที่ 1 โต้เถียงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ตกลงกันว่าถ้าทางราชการได้สร้างมหาวิทยาลัยขึ้นโดยแท้จริงแล้วจำเลยที่ 1 ยอมยกที่พิพาทให้เปล่าโดยไม่คิดมูลค่าและจะได้ทำนิติกรรมต่อคณะกรมการอำเภอเจ้าของท้องที่ให้เป็นการถูกต้องภายหลัง แต่ก็หาได้สร้างมหาวิทยาลัยขึ้นไม่เช่นนี้ถือว่าข้อเท็จจริงในคดีนี้ยังฟังเป็นยุติไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้สละสิทธิยกที่พิพาทให้แก่ทางราชการเพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับตั้งมหาวิทยาลัยจึงจำเป็นจะต้องฟังหลักฐานพยานต่อไปจนสิ้นกระแสความ ศาลจะสั่งงดสืบพยานเสียยังไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องรับรองบุตรต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด มิเช่นนั้นศาลยกฟ้อง
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรนั้นจะมีได้แต่ในกรณีที่แจ้งไว้ตาม ป.พ.พ. ม.1529
เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องใจความว่า "ข้าพเจ้ากับจำเลยได้เสียเป็นสามีภรรยากันเอง ฯลฯ" ดังนี้ไม่เข้าเกณฑ์ตาม ม.1529(4).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขอรับรองบุตรต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด หากไม่เป็นไปตามเงื่อนไขฟ้องไม่รับ
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรนั้นจะมีได้แต่ในกรณีที่แจ้งไว้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1529
เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องใจความว่า 'ข้าพเจ้ากับจำเลยได้เสียเป็นสามีภรรยากันเอง ฯลฯ 'ดังนี้ไม่เข้าเกณฑ์ตามมาตรา1529(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 341/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำไม้เคลื่อนที่ต้องมีใบเบิกทางเมื่อเข้าเงื่อนไขตามมาตรา 38 เท่านั้น
การนำไม้เคลื่อนที่ที่จะต้องมีใบเบิกทางตามความใน มาตรา39นั้น คือการนำเคลื่อนที่ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 38
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยนำไม้สักเคลื่อนที่โดยไม่มีใบเบิกทางตาม มาตรา 39 แต่ตามฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏข้อความตาม มาตรา 38 แต่ประการใดเลย ดังนี้ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 957/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้ที่มีเงื่อนไขขายที่ดิน สิทธิของโจทก์จำกัดเมื่อพ้นกำหนดสัญญา
สัญญากู้เงินกันมอบที่ดินให้ผู้ให้กู้ครอบครองทำกินต่างดอกเบี้ย และตามสัญญามีเงื่อนไขด้วยว่าถ้าผู้กู้ประสงค์จะขายที่ดินที่ประกันนั้นแก่ผู้ให้กู้ภายในกำหนด 6 ปี ผู้ให้กู้ยินยอมรับซื้อเป็นเงินจำนวนหนึ่ง ถ้าพ้นกำหนด 6 ปี แล้ว ผู้กู้ต้องชำระหนี้เงินกู้ให้ผู้ให้กู้จนครบถ้วน หรือมิฉะนั้นก็ต้องมีการตกลงกันใหม่ ดังนี้เมื่อพ้นกำหนด 6 ปี แล้ว ผู้กู้ไม่ประสงค์จะขายที่ดิน แต่เลือกเอาทางชำระหนี้เงินกู้ได้ ผู้ให้กู้จะฟ้องขอให้ผู้กู้ขายที่ดินให้ตนเหมือนสัญญาจะซื้อขายธรรมดา ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรวม vs. สัญญาซื้อขาย: การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์และเงื่อนไขสัญญา
เจ้าของรวมตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1357 นั้นต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินอันรวมกันอยู่ไม่ทราบว่าส่วนของใครเท่าไร ตรงไหนในทรัพย์นั้นๆ กฎหมายจึงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมมีส่วนเท่ากัน
โฉนดที่ดินมีชื่อบุคคล 2 คนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ แต่ได้จดทะเบียนบรรยายส่วนของใครไว้ในโฉนดแล้วว่าของใครอยู่ตอนไหน เป็นจำนวนเนื้อที่เท่าไรชัดแจ้งแล้วเช่นนี้หาใช่เป็นเจ้าของรวมไม่
เงื่อนไขแห่งนิติกรรมนั้นหมายถึงเหตุการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจะเกิดขึ้นในอนาคตและ ไม่แน่นอน
สัญญาจะซื้อขายมีข้อตกลงกันว่าผู้ซื้อผู้ขายจะมาทำการโอนซื้อขายกันในวันมาทำการจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินนั้น หาใช่เป็นเงื่อนไขไม่
แม้สัญญาจะซื้อขายที่ดินได้ กำหนดเบี้ยปรับกันไว้ในเมื่อผู้ขายผิดสัญญาก็ดี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 บัญญัติให้สิทธิแก่เจ้าหนี้เลือกเรียกเอาเบี้ยปรับหรือเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้แต่อย่างหนึ่งอย่างใดได้ ฉะนั้นถ้าผู้ขายทำผิดสัญญาโดยไม่ยอมขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อผู้ซื้อก็ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องผู้ขายขอให้ศาลบังคับให้โอนขายตามสัญญาได้(อ้างฎีกาที่ 131/2489)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1924/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความกับการบังคับจำนอง: สิทธิในทรัพย์สินยังไม่หลุดจนกว่าจะผิดนัด
เจ้าหนี้ฟ้องเรียกเงินกู้และดอกเบี้ยจากจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ จำเลยทำยอมชำระหนี้โดยดี ในระหว่างนั้นผู้รับจำนองได้ฟ้องบังคับจำนองเอากับจำเลยบ้าง จำเลยทำยอมต่อศาลว่ายอมชำระหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยให้ภายในกำหนด ถ้าไม่ชำระภายในกำหนดยอมให้ที่นา 2 แปลงที่จำนองไว้ หลุดเป็นสิทธิแก่ผู้รับจำนอง ดังนี้ตามสัญญาประนีประนอมดังกล่าวยังหามีผลให้นา 2 แปลงหลุดเป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้รับจำนองทันทีไม่ หากแต่มีเงื่อนไขยอมให้หลุดเป็นสิทธิเมื่อไม่ใช้หนี้ภายในกำหนด ฉะนั้นถ้าเจ้าหนี้เงินกู้นำยึดนา 2 แปลงนี้ เพื่อขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ของตนก่อนกำหนดในสัญญาประนีประนอมยอมความ ระหว่างผู้รับจำนองและจำเลยแล้ว ผู้รับจำนองก็จะมาร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่นา 2 แปลงนั้นไม่ได้ เพราะขณะนำยึดนา 2 แปลงนั้นยังเป็นของจำเลยอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 277/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไถ่ถอนการขายฝาก: ใช้สิทธิได้ทั้งทางศาลและนอกศาล กำหนด 10 ปีเป็นเงื่อนไข ไม่ใช่อายุความ
การที่ผู้ขายฝากไปขอไถ่ถอนต่อกันเอง และไปร้องขอไถ่ถอนต่ออำเภอก่อนครบ 10 ปี แต่ผู้ซื้อฝากไม่ยอมและหลบตัวไปเสียกลับมาต่อเมื่อเกิน 10 ปีแล้ว ดังนี้ถือว่าผู้ขายฝากได้ใช้สิทธิไถ่ถอนในกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้ว จึงมาฟ้องศาล ขอไถ่ถอนทรัพย์ที่ขายฝากได้
การใช้สิทธิไถ่ทรัพย์ที่ขายฝากตามมาตรา 494 มิได้บังคับว่าต้องใช้สิทธิทางศาล อาจขอไถ่ถอนกันเองก็ได้ และกำหนดเวลา 10 ปีไม่ใช่อายุความฟ้องร้อง เป็นเงื่อนไขแห่งเวลาสำหรับไถ่ถอนเมื่อผู้ซื้อฝากผิดเงื่อนไขสัญญาขายฝากจึงเกิดอายุความฟ้องร้องในเรื่องผิดสัญญา
of 48