พบผลลัพธ์ทั้งหมด 393 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6045/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค่าทดแทนที่ดิน: คำนวณตามอัตราสูงสุดที่เปลี่ยนแปลงตามธนาคารออมสิน ไม่ใช้อัตราคงที่ 12 เดือน
ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินพร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคาร อ. แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 12 ต่อปี ซึ่งหมายความว่า จะต้องคิดดอกเบี้ยอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคาร อ. ที่ธนาคาร อ. มีการประกาศเปลี่ยนแปลงขึ้นลงในแต่ละช่วงทุกครั้งไป หาใช่ใช้อัตราดอกเบี้ยสูงสุดในวันเริ่มต้นคิดคำนวณเป็นหลักตลอดระยะเวลา 12 เดือน เพราะมิฉะนั้นแล้ว หากในช่วงเวลาดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงก็จะมีการได้เปรียบเสียเปรียบในส่วนต่างของดอกเบี้ยอัตราที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1504/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การเปลี่ยนแปลงได้หากไม่ขัดแย้งชัดเจนและยังอยู่ในอำนาจต่อสู้คดี ศาลต้องพิจารณาตามพฤติการณ์
จำเลยให้การตอนต้นว่า โจทก์ได้ขายรถยนต์พิพาทให้แก่ พ. แล้ว พ. นำรถยนต์พิพาทมาขายให้จำเลย แต่ตอนหลังกลับให้การว่า พ. เป็นตัวแทนหรือตัวแทนเชิดของโจทก์ โจทก์ต้องรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตและเสียค่าตอบแทน เป็นคำให้การปฏิเสธข้ออ้างคำฟ้องของโจทก์ในข้อเท็จจริง ซึ่งมีผลทำให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทตามกฎหมาย เมื่อข้อเท็จจริงตามที่จำเลยให้การต่อสู้เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับ พ. โดยเฉพาะไม่เกี่ยวกับจำเลย จำเลยย่อมมีสิทธิให้การต่อสู้คดีไปตามพฤติการณ์แห่งข้อเท็จจริงเท่าที่จำเลยพึงให้การได้ ทั้งในการซื้อขาย เจ้าของทรัพย์อาจทำสัญญาซื้อขายโดยตนเองหรือโดยมีตัวแทนไม่ว่าโดยชัดแจ้งหรือปริยายทำการขายทรัพย์สินนั้นแทนก็ได้ คำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงมิใช่เป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันหรือไม่ชัดแจ้งจนถึงขนาดที่ไม่อาจนำสืบไปในทางหนึ่งทางใดได้ ถือว่าเป็นคำให้การที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10458/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจาก พ.ร.บ.เทป/วีดีโอ เป็น พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ และการใช้บทกฎหมายเดิมบังคับใช้
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มี พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ฯ ออกใช้บังคับให้ยกเลิก พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ฯ ทั้งฉบับ แต่การที่จำเลยให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวิดีโอซีดีภาพยนตร์โดยไม่ได้รับอนุญาตยังคงเข้าลักษณะเป็นการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ฯ กรณีไม่อาจถือได้ว่ามีการยกเลิกการกระทำความผิดดังกล่าวของจำเลย ส่วนแผ่นวิดีโอซีดีเพลง แผ่นซีดีเพลงเอ็มพีสาม และแผ่นวิดีโอซีดีนั้น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องในส่วนนี้โดยไม่ปรากฏว่าเป็นวัสดุที่มีการบันทึกภาพ หรือภาพและเสียงซึ่งสามารถนำมาฉายให้เห็นเป็นภาพที่เคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่องอันเป็นภาพยนตร์ หรือเป็นวัสดุที่มีการบันทึกภาพหรือภาพและเสียงซึ่งสามารถนำมาฉายให้เป็นภาพที่เคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่องในลักษณะที่เป็นเกมการเล่น คาราโอเกะที่มีภาพประกอบ หรือลักษณะอื่นใดตามที่กำหนดในกฎกระทรวงอันเป็นวีดิทัศน์ตาม พ.ร.บ.ภาพยนต์และวีดิทัศน์ฯ จึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ฯ มาตรา 38 วรรคหนึ่ง และไม่เป็นความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวีดิทัศน์ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง แห่งกฎหมายเดียวกัน ดังนั้นการกระทำของจำเลยในส่วนนี้ ซึ่งเดิมเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ฯ จึงไม่เป็นความผิดอีกต่อไป ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง โทษปรับตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ฯ มาตรา 79 มีระวางโทษหนักกว่าจึงไม่เป็นคุณแก่จำเลย ต้องใช้โทษปรับตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ฯ มาตรา 34 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดมาบังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้ปรับจำเลย 6,000 บาท ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงปรับ 3,000 บาท จึงเป็นกรณีที่จำเลยต้องคำพิพากษาให้ปรับไม่เกินห้าพันบาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 39(4) จำเลยอุทธรณ์เรื่องดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางอันเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามบทบัญญัติดังกล่าว
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้ปรับจำเลย 6,000 บาท ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงปรับ 3,000 บาท จึงเป็นกรณีที่จำเลยต้องคำพิพากษาให้ปรับไม่เกินห้าพันบาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 39(4) จำเลยอุทธรณ์เรื่องดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางอันเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9020/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อกล่าวหาจากทำร้ายร่างกายเป็นเข้าร่วมชุลมุนต่อสู้: ศาลไม่อาจลงโทษตามฟ้องเดิมได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยใช้อาวุธมีดปลายแหลมแทง ร. ถึงแก่ความตาย และ ช. ผู้เสียหายจนได้รับอันตรายแก่กาย ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกับพวกฝ่ายหนึ่ง ผู้ตายและผู้เสียหายกับพวกอีกฝ่ายหนึ่ง ได้ชุลมุนต่อสู้ทำร้ายกัน ผู้ตายและผู้เสียหายถูกแทงโดยฟังไม่ได้ว่าจำเลยหรือผู้ใดเป็นคนแทงในการชุลมุนต่อสู้ สาระสำคัญในการกระทำความผิดตามที่พิจารณาได้ความคือ มีการชุลมุนต่อสู้กันระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป แต่ตามฟ้องไม่มีข้อความตอนใดบรรยายถึงข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญของความผิดฐานเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้เป็นเหตุให้บุคคลถึงแก่ความตาย ซึ่งจะมีผลให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 294 ได้ด้วย ต้องถือว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ จึงลงโทษจำเลยตามทางพิจารณาที่ได้ความไม่ได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8719/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือ & อายุความฟ้องร้องเอาคืน
โจทก์บรรยายฟ้องยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตอนต้นว่า โจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยได้มาตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 ตอนหลังโจทก์บรรยายฟ้องอีกว่า หลังจากศาลฎีกามีคำพิพากษาในคดีที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทในคดีที่นาง ท. เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์บังคับคดียึดที่ดินพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมเมื่อปี 2535 คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษายกคำร้อง นั้น คำให้การของจำเลยในตอนแรกที่ต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย โดยอ้างว่าได้รับยกให้จาก น. ซึ่งได้ซื้อมาจากโจทก์ในทำนองเดียวกับที่จำเลยยกขึ้นกล่าวอ้างในคดีร้องขัดทรัพย์ จึงเป็นการยกข้อต่อสู้คำฟ้องของโจทก์ตอนต้นที่กล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ส่วนคำให้การตอนหลังของจำเลยที่ต่อสู้ว่า เมื่อโจทก์ได้รับคำร้องขัดทรัพย์ของจำเลยในคดีที่ ท. เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์บังคับคดียึดที่ดินพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมแล้ว โจทก์มิได้คัดค้านหรือโต้แย้งการครอบครองของจำเลย โจทก์จึงขาดสิทธิฟ้องเอาคืนการครอบครองเพราะเกินกว่า 1 ปี นับแต่ถูกแย่งการครอบครอง จึงเป็นการยกข้อต่อสู้คำฟ้องของโจทก์ตอนหลังที่กล่าวอ้างถึงสิทธิของโจทก์ตามคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีร้องขัดทรัพย์ดังกล่าว เมื่อคำฟ้องของโจทก์ยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาหลายข้อและแต่ละข้ออาจแยกกันได้เช่นนี้ จำเลยก็ชอบที่จะให้การโดยชัดแจ้งปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นคำให้การที่ชัดแจ้ง หาใช่เป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันจนถึงกับไม่มีประเด็นในเรื่องแย่งการครอบครองไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7550/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชี้ช่องการขายที่ดินเปลี่ยนเป็นลงทุน ไม่ถือสำเร็จการขายค่านายหน้า
จำเลยทั้งห้าตกลงมอบหมายให้โจทก์ไปติดต่อขายที่ดินทั้งห้าแปลง โจทก์จึงได้ไปติดต่อขายที่ดินให้แก่ ส. แต่ที่โจทก์นำสืบว่า ส. ไปตรวจดูที่ดินแล้วพอใจ ส. และจำเลยทั้งห้าจึงตกลงทำสัญญาซื้อขายกันที่บ้านของ ส. โดยโจทก์ลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญาซื้อขายด้วยนั้นไม่น่าเชื่อ เพราะโจทก์ไม่มีหลักฐานสัญญาซื้อขายที่กล่าวอ้างมาแสดง คงมีแต่คำเบิกความลอยๆ เท่านั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทำงานเสร็จเรียบร้อย หลังจากนั้นโจทก์ยอมรับว่าโจทก์ไม่ได้ติดต่อกับ ส. และจำเลยทั้งห้าเกี่ยวกับเรื่องซื้อขายที่ดินนี้อีก ข้อเท็จจริงจึงเชื่อตามที่จำเลยทั้งห้านำสืบต่อมาโดยมีหลักฐานเป็นพยานเอกสารสนับสนุนว่า อ. บุตรเขยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการติดต่อกับ ส. ต่อมา โดย ส. อ้างว่าไม่มีเงินมาซื้อที่ดินทั้งห้าแปลงของจำเลยทั้งห้า แต่ถ้าจะนำที่ดินมาร่วมลงทุนกันและหากำไรมาแบ่งกันก็สามารถทำได้ ข้อตกลงที่ว่าให้นำที่ดินมาร่วมลงทุนและหากำไรมาแบ่งกัน จึงเป็นข้อตกลงและวัตถุประสงค์ใหม่ซึ่งจำเลยทั้งห้าต้องนำไปปรึกษาหาหรือกันและตัดสินใจกันใหม่ว่าจะรับข้อเสนอใหม่นี้หรือไม่ แสดงว่าการชี้ช่องของโจทก์ที่ต้องการให้จำเลยทั้งห้าขายที่ดินให้แก่ ส. นั้นไม่เป็นผลสำเร็จเนื่องจาก ส. ไม่มีเงินซื้อ การตกลงนำที่ดินเข้าร่วมลงทุนกับ ส. แล้วนำกำไรมาแบ่งกันภายหลัง จึงเป็นวัตถุประสงค์ใหม่ของจำเลยทั้งห้าไม่เกี่ยวข้องกับโจทก์และไม่อยู่ในกรอบวัตถุประสงค์เดิม เพราะการเข้าร่วมลงทุนนั้นเป็นการนำเอาที่ดินของจำเลยทั้งห้ามาเข้าร่วมกับ ส. และให้ ส. เป็นผู้บริหารจัดการโดยจำเลยทั้งห้าได้เข้าร่วมเป็นเจ้าของโดยรับหุ้นของบริษัท บ. ของ ส. ซึ่งเป็นข้อตกลงใหม่ การเข้าร่วมลงทุนกับ ส. ตามข้อตกลงใหม่ดังกล่าวไม่อาจถือได้ว่าจำเลยทั้งห้าขายที่ดินได้สำเร็จแล้วด้วยการชี้ช่องของโจทก์ แต่เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงวิธีการขายที่ดินในรูปแบบใหม่ ซึ่งในที่สุดข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่าจำเลยทั้งห้าทราบว่าถูก ส. หลอกลวง จำเลยทั้งห้าจึงได้ฟ้องเรียกที่ดินทั้งห้าแปลงคืนจากบริษัท บ. และ ส. กับพวก และศาลพิพากษาตามยอมให้คืนที่ดินทั้งห้าแปลงดังกล่าวแก่จำเลยทั้งห้าแล้ว ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์สามารถชี้ช่องให้จำเลยทั้งห้าขายที่ดินตามฟ้องจนสำเร็จวัตถุประสงค์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่านายหน้าจากจำเลยทั้งห้าตามที่ตกลงกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5102/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบังคับการทำงานเปลี่ยนแปลงได้หากลูกจ้างยินยอม และรับทราบการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีข้อโต้แย้ง
จำเลยที่ 1 แก้ไขข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ฉบับปี 2517 เป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ฉบับปี 2528 แล้ว หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ก็ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอีก 3 ครั้ง ซึ่งการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนับแต่ฉบับปี 2528 เป็นต้นมาได้มีการกำหนดเรื่องการเกษียณอายุที่ 55 ปีบริบูรณ์ไว้ทุกฉบับและปรากฏว่า โจทก์ได้ลงลายมือชื่อยินยอมปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและเงื่อนไขเกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงานไว้ตั้งแต่ปี 2535 และนับแต่ปี 2533 เป็นต้นมาก็ได้มีพนักงานของจำเลยที่ 1 เกษียณอายุตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเมื่ออายุ 55 ปี ซึ่งโจทก์รับทราบมาโดยตลอดโดยไม่ได้โต้แย้งใด ๆ จึงเป็นกรณีที่ลูกจ้างของจำเลยรวมทั้งโจทก์ตกลงยินยอมปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในส่วนของการเกษียณอายุเมื่อ 55 ปีบริบูรณ์ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 กำหนดเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานจากฉบับปี 2517 เป็นฉบับปี 2528 โดยเปลี่ยนแปลงและเพิ่มการเกษียณอายุเมื่ออายุ 55 ปีบริบูรณ์ และฉบับต่อมาซึ่งกำหนดไว้เช่นเดียวกัน จึงมีผลผูกพันโจทก์ การเลิกจ้างโจทก์เป็นไปตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10287/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน ต้องอิงค่ารายปีที่ศาลเคยตัดสิน และพิจารณาปัจจัยเปลี่ยนแปลงที่สมเหตุผล
การพิจารณากำหนดค่ารายปีสำหรับปีภาษีพิพาทต้องเป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 18 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฯ คือ นำค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วนั้นมาเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีที่จะต้องเสียในปีต่อมาซึ่งต้องเป็นค่ารายปีที่ศาลได้มีคำพิพากษาแล้ว และหากพนักงานเก็บภาษีของจำเลยจะประเมินค่ารายปีโดยกำหนดให้แตกต่างจากค่ารายปีและค่าภาษีที่ล่วงมาแล้วได้ จะต้องมีพฤติการณ์อื่นที่มีผลทำให้เปลี่ยนแปลงค่ารายปีเพิ่มขึ้นหรือลดลง ที่จำเลยนำสืบว่าได้เทียบเคียงกับสถานีบริการน้ำมันรายอื่นในบริเวณใกล้เคียงก็ปรากฏตามแผนที่ซึ่งจำเลยจัดทำขึ้นว่าสถานีบริการน้ำมันดังกล่าวห่างจากสถานีบริการน้ำมันพิพาทของโจทก์ประมาณ 2 กิโลเมตร และ 3.4 กิโลเมตร ทำเลที่ตั้ง ขนาด และสภาพพื้นที่ของโรงเรือนทั้งสองไม่อาจเทียบเคียงกับสถานีบริการน้ำมันพิพาทได้ ดังนั้น การที่พนักงานเก็บภาษีของจำเลยจะนำค่าเช่าของสถานีบริการน้ำมัน 2 แห่งดังกล่าวเปรียบเทียบแล้วประเมินเป็นค่ารายปีของโรงเรือนพิพาท จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เห็นได้ว่าการพิจารณากำหนดค่ารายปีของสถานีบริการน้ำมันพิพาทเป็นกรณีที่ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาโดยคำนึงถึงมาตรา 8 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฯ ด้วย นอกจากนี้โจทก์มีพยานมาเบิกความว่าสำหรับปีภาษี 2544 โรงเรือนซึ่งเป็นสถานีบริการน้ำมันพิพาทของโจทก์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมขึ้น สภาพเศรษฐกิจในขณะนั้นยังอยู่ในสภาวะตกต่ำและชะลอตัวซึ่งก็ปรากฏว่าพนักงานเก็บภาษีของจำเลยประเมินค่ารายปีสำหรับปีภาษี 2544 เท่ากับปีภาษี 2543 และปีภาษี 2542 โดยมิได้ประเมินค่ารายปีเพิ่มขึ้นตามที่อ้างว่าบริเวณที่ตั้งของสถานีบริการน้ำมันพิพาทมีความเจริญเพิ่มขึ้นมากและปีภาษีพิพาทเศรษฐกิจไม่ได้ตกต่ำแล้ว จึงเจือสมกับคำเบิกความของพยานโจทก์ว่าค่ารายปีและค่าภาษีสำหรับปีภาษี 2544 ควรเท่ากับปีภาษี 2543 ค่ารายปีและค่าภาษีที่ศาลภาษีอากรกลางกำหนดจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3851/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดูหมิ่นผู้อื่นและการเปลี่ยนแปลงฐานะหน่วยงาน: ผลกระทบต่อความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงาน
ภายหลังจากจำเลยกระทำความผิดคดีนี้ ได้มี พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ.2559 มาตรา 3 ให้ยกเลิก พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ.2541 โดยมาตรา 5 วรรคสอง ให้มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมีฐานะเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ที่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ และกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น ดังนั้น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒจึงเป็นองค์การมหาชนที่แยกออกจากระบบราชการ หาใช่ส่วนราชการที่สังกัดกระทรวง ทบวง กรมของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอีกต่อไปไม่ และตาม ป.อ. มาตรา 1 (16) บัญญัติว่า "เจ้าพนักงาน" หมายความว่า บุคคลซึ่งกฎหมายบัญญัติว่าเป็นเจ้าพนักงานหรือได้รับแต่งตั้งตามกฎหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ ไม่ว่าเป็นประจำหรือครั้งคราว และไม่ว่าจะได้รับค่าตอบแทนหรือไม่ ดังนี้ เมื่อ พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ.2559 มิได้กำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และการปฏิบัติหน้าที่ของผู้เสียหายซึ่งเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยที่ทำหน้าที่ตรวจข้อมูลข่าวสารก็หาใช่การปฏิบัติหน้าที่ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการไม่ ผู้เสียหายจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ดังนั้น แม้จำเลยจะดูหมิ่นผู้เสียหาย จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยดูหมิ่นผู้เสียหายในฐานะบุคคลธรรมดา ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องครบองค์ประกอบของความผิดฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าตาม ป.อ. มาตรา 393 (เดิม) แล้ว ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 215 และ 225 แต่โจทก์ฟ้องคดีและได้ตัวจำเลยมายังศาลเกิน 1 ปี นับแต่วันกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ปัญหาเรื่องสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป เป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยดูหมิ่นผู้เสียหายในฐานะบุคคลธรรมดา ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องครบองค์ประกอบของความผิดฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าตาม ป.อ. มาตรา 393 (เดิม) แล้ว ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 215 และ 225 แต่โจทก์ฟ้องคดีและได้ตัวจำเลยมายังศาลเกิน 1 ปี นับแต่วันกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ปัญหาเรื่องสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป เป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7073/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร: ศาลฎีกาพิจารณาภาระหนี้สินและการเปลี่ยนแปลงฐานะทางการเงินของจำเลย
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดู ป. ที่ค้างชำระจำนวน 10,000 บาท และให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เป็นรายเดือน เดือนละ 5,000 บาท ทุกวันที่ 30 ของเดือน ต่อมาจำเลยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จึงขอให้บังคับคดี จำเลยยื่นคำร้องว่า จำเลยมีภาระหนี้สินมากและมีภาระต้องเลี้ยงดูบิดาและครอบครัว เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2559 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอลดเงิน ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดไว้เป็นค่าอุปการะเลี้ยงดู ต่อมาจำเลยขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ยื่นภายในวันที่ 17 มิถุนายน 2559 จำเลยยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2559 จึงถือได้ว่าจำเลยยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด ส่วนคำร้องของจำเลยที่ขอลดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรนั้น จำเลยอ้างว่า จำเลยมีภาระต้องเลี้ยงดูบุตรซึ่งเกิดจากโจทก์และบุตรกับภริยาคนใหม่ ทั้งจำเลยยังกู้ยืมเงินจากธนาคาร ก. จำนวน 1,500,000 บาท พฤติการณ์รายได้หรือฐานะของจำเลยเปลี่ยนแปลงไปซึ่งเป็นกรณีที่เกิดขึ้นภายหลัง แม้หนี้เงินกู้ดังกล่าวจำเลยอ้างว่าเพื่อสร้างบ้านให้แก่บิดาที่จังหวัดเชียงรายและต่อเติมตกแต่งบ้านที่จังหวัดสุรินทร์ ทั้ง ๆ ที่จำเลยรู้ว่ามีภาระต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรให้แก่โจทก์เดือนละ 5,000 บาท แต่จำเลยกลับไปสร้างภาระหนี้สินจำนวนมากมายดังกล่าว กรณีจึงไม่อาจนำมาอ้างเป็นเหตุผลให้กระทบเสียหายต่อค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรและค่าใช้จ่ายอื่นแก่โจทก์