พบผลลัพธ์ทั้งหมด 555 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 416/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ราคาค่าทดแทนตามราคาตลาด และเขตอำนาจศาลที่ถูกต้อง
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางพิเศษ มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 23 วรรคท้าย ให้นำบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยทางหลวงในส่วนที่ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงมาใช้บังคับโดยอนุโลม และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515เกี่ยวกับเงินค่าทดแทนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวง บัญญัติไว้ในข้อ 76 ว่า "เงินค่าทดแทนนั้น ถ้าไม่มีบทบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63 แล้วให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันดังต่อไปนี้(1) ในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับในกรณีที่ได้ตราพระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้น ฯลฯ" จำเลยจะกำหนดเงินค่าทดแทนให้ต่ำกว่านี้โดยถือตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินหาได้ไม่
การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าทดแทนที่ดินจากจำเลยเป็นคดีนี้ มีมูลเหตุมาจากที่ดินโจทก์ถูกเวนคืน มูลคดีจึงเกิดขึ้นที่ที่ดินโจทก์ตั้งอยู่ การที่ศาลแพ่งธนบุรีซึ่งที่ดินโจทก์ตั้งอยู่ในเขตศาลอนุญาตให้โจทก์ฟ้องคดีได้นั้นชอบแล้ว
การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าทดแทนที่ดินจากจำเลยเป็นคดีนี้ มีมูลเหตุมาจากที่ดินโจทก์ถูกเวนคืน มูลคดีจึงเกิดขึ้นที่ที่ดินโจทก์ตั้งอยู่ การที่ศาลแพ่งธนบุรีซึ่งที่ดินโจทก์ตั้งอยู่ในเขตศาลอนุญาตให้โจทก์ฟ้องคดีได้นั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 416/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ราคาประเมินตามราคาตลาด และเขตอำนาจศาลที่ถูกต้อง
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางพิเศษ มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 23วรรคท้าย ให้นำบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยทางหลวงในส่วนที่ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงมาใช้บังคับโดยอนุโลม และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28พฤศจิกายน 2515 เกี่ยวกับเงินค่าทดแทนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวง บัญญัติไว้ในข้อ 76 ว่า "เงินค่าทดแทนนั้น ถ้าไม่มีบทบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63 แล้วให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันดังต่อไปนี้ (1) ในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับในกรณีที่ได้ตราพระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้น ฯลฯ" จำเลยจะกำหนดเงินค่าทดแทนให้ต่ำกว่านี้โดยถือตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินหาได้ไม่ การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าทดแทนที่ดินจากจำเลยเป็นคดีนี้ มีมูลเหตุมาจากที่ดินโจทก์ถูกเวนคืน มูลคดีจึงเกิดขึ้นที่ที่ดินโจทก์ตั้งอยู่ การที่ศาลแพ่งธนบุรีซึ่งที่ดินโจทก์ตั้งอยู่ในเขตศาลอนุญาตให้โจทก์ฟ้องคดีได้นั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2582/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนพิเศษกว่าเช่า และสิทธิเช่าเมื่อมีการเวนคืนเพื่อประโยชน์สาธารณะ
จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบแสดงว่าสัญญาเช่าตึกพิพาทที่จำเลยทำไว้ต่อโจทก์ที่แท้จริงเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาซึ่งไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94พระราชบัญญัติ ญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องให้ใช้บังคับแผนผังปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ เป็นเรื่องที่กฎหมายห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ซ่อมแซม รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคารในเขตที่มีการประกาศใช้บังคับแผนผังปรับปรุงเขตเพลิงไหม้แล้วเท่านั้นมิใช่ให้รื้อถอนทันที แม้ตึกพิพาทจะอยู่ในเขตเพลิงใหม้ซึ่งแผนผังปรับปรุงเขตเพลิงไหม้กำหนดให้มีการตัดถนนใหม่ซึ่งจำเป็นต้องซื้อตึกพิพาทแต่เมื่อสิทธิในการเช่าตึกพิพาทของจำเลยตามสัญญาที่ตกลงกับโจทก์ยังมีอยู่และตึกพิพาทยังไม่ถูกทำลายหรือสูญหาย โจทก์จะยกเงื่อนไขดังกล่าวขึ้นเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาเช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ได้การที่ทางราชการต้องการใช้ที่ดินแห่งใดเพื่อประโยชน์ของทางราชการมิใช่หน้าที่ของโจทก์ที่จะเป็นผู้ดำเนินการ เพราะตามพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 61 ได้บัญญัติไว้แล้วว่าในกรณีที่มีความจำเป็นต้องจัดให้ได้มาซึ่งที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ใดเพื่อใช้ประโยชน์ตามที่กำหนดในแผนผังปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ ให้ดำเนินการเวนคืนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์นั้นโดยให้นำกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาใช้บังคับโดยอนุโลม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2582/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่า vs. สัญญาต่างตอบแทนพิเศษ: สิทธิในการเช่าเมื่อมีเหตุเวนคืน และผลของการประกาศใช้แผนผังปรับปรุงเขตเพลิงไหม้
จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบแสดงว่าสัญญาเช่าตึกพิพาทที่จำเลยทำไว้ต่อโจทก์ที่แท้จริงเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาซึ่งไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94พระราชบัญญัติญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522และประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องให้ใช้บังคับแผนผังปรับปรุงเขตเพลิงไหม้เป็นเรื่องที่กฎหมายห้ามก่อสร้างดัดแปลงซ่อมแซมรื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคารในเขตที่มีการประกาศใช้บังคับแผนผังปรับปรุงเขตเพลิงไหม้แล้วเท่านั้นมิใช่ให้รื้อถอนทันทีแม้ตึกพิพาทจะอยู่ในเขตเพลิงใหม้ซึ่งแผนผังปรับปรุงเขตเพลิงไหม้กำหนดให้มีการตัดถนนใหม่ซึ่งจำเป็นต้องซื้อตึกพิพาทแต่เมื่อสิทธิในการเช่าตึกพิพาทของจำเลยตามสัญญาที่ตกลงกับโจทก์ยังมีอยู่และตึกพิพาทยังไม่ถูกทำลายหรือสูญหายโจทก์จะยกเงื่อนไขดังกล่าวขึ้นเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาเช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ได้การที่ทางราชการต้องการใช้ที่ดินแห่งใดเพื่อประโยชน์ของทางราชการมิใช่หน้าที่ของโจทก์ที่จะเป็นผู้ดำเนินการเพราะตามพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา61ได้บัญญัติไว้แล้วว่าในกรณีที่มีความจำเป็นต้องจัดให้ได้มาซึ่งที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ใดเพื่อใช้ประโยชน์ตามที่กำหนดในแผนผังปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ให้ดำเนินการเวนคืนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์นั้นโดยให้นำกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาใช้บังคับโดยอนุโลม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2458/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเวนคืน: แม้ผู้ว่าฯ ทำหน้าที่แทน แต่จำเลยในฐานะนิติบุคคลต้องรับผิดชอบ
ทางหลวงที่จะสร้างตามพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมถนนสุขุมวิท 39 (พร้อมพงษ์) กับถนนเพชรบุรี พ.ศ.2524 เป็นทางหลวงเทศบาลอันเป็นเรื่องที่อยู่ในกิจการของกรุงเทพมหานครจำเลยจะต้องดำเนินการ แต่จำเลยเป็นนิติบุคคลการดำเนินการต่าง ๆ จึงต้องดำเนินการโดยผู้แทนทั้งหลายของจำเลย ดังนั้น การที่พระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือบทกฎหมายกำหนดอำนาจไว้ให้เป็นของเจ้าหน้าที่ก็ดีนั้นก็เป็นการกำหนดตัวบุคคลผู้จะต้องปฏิบัติแทนนิติบุคคลนั้นในฐานะผู้แทนทั้งหลาย ในเมื่อการกระทำของผู้แทนทั้งหลายของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยตรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2458/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเวนคืน: นิติบุคคลต้องรับผิดชอบการกระทำของผู้แทน แม้กฎหมายมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่
ทางหลวงที่จะสร้างตามพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมถนนสุขุมวิท 39(พร้อมพงษ์) กับถนนเพชรบุรี พ.ศ. 2524 เป็นทางหลวงเทศบาลอันเป็นเรื่องที่อยู่ในกิจการของกรุงเทพมหานครจำเลยจะต้องดำเนินการ แต่จำเลยเป็นนิติบุคคลการดำเนินการต่าง ๆ ต้องดำเนินการโดย ผู้แทนทั้งหลายของจำเลย ดังนั้น การที่พระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือบทกฎหมายกำหนดอำนาจไว้ให้เป็นของเจ้าหน้าที่ก็ดีก็เป็นการกำหนดตัวบุคคลผู้จะต้องปฏิบัติแทนนิติบุคคลนั้นในฐานะผู้แทนทั้งหลายในเมื่อการกระทำของผู้แทนทั้งหลายของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยตรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2364/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนการใช้ที่ดินและต้นยางพารา กรณีการไฟฟ้าฯ ก่อสร้างเสาไฟฟ้า ต้องพิจารณาความเสียหายที่น้อยกว่าการเวนคืน
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ฝ่ายเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ต้องเสียไปซึ่งกรรมสิทธิ์ ส่วนการที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยใช้ที่ดินก่อสร้างเสาไฟฟ้าแรงสูงและเดินสายไฟฟ้าผ่าน เจ้าของที่ดินมิได้เสียไปซึ่งกรรมสิทธิ์ เพียงแต่เสียสิทธิเกี่ยวกับการใช้ที่ดินดังกล่าวไปบ้าง จึงเป็นการเสียหายน้อยกว่ามากการจ่ายค่าทดแทนการใช้ที่ดินย่อมต้องให้ต่ำกว่าการจ่ายค่าทดแทนการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ จึงนำบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 มาตรา 28 วรรคสามมาใช้ เช่นเดียวกับการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์โดยให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตจ่ายค่าทดแทนที่ดินตามราคาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2364/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนการใช้ที่ดินของการไฟฟ้าฯ แตกต่างจากการเวนคืน: การใช้สิทธิที่ดิน vs. การสูญเสียกรรมสิทธิ์
การที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจำเลย ใช้ที่ดินก่อสร้างเสาไฟฟ้าแรงสูงและเดินสายไฟฟ้าผ่านนั้น ฝ่ายเจ้าของที่ดินมิได้เสียไปซึ่งกรรมสิทธิ์ เพียงแต่เสียสิทธิเกี่ยวกับการใช้ที่ดินไปบ้าง เป็นการเสียหายน้อยกว่าการเวนคืนที่ดินมากการจ่ายค่าทดแทนการใช้ที่ดินย่อมต้องให้ต่ำกว่าการจ่ายค่าทดแทนการเวนคืนที่ดิน จึงนำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาใช้ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2511 มาตรา 28 มาใช้เช่นเดียวกับการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์โดย ให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนที่ดินตามราคาที่ดินที่ซื้อขายกันในท้องตลาดให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2364/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนการใช้ที่ดินกับการเวนคืน: หลักเกณฑ์การประเมินความเสียหายที่แตกต่างกัน
แม้พระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511มาตรา 28 วรรคสาม ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาใช้บังคับโดยอนุโลมซึ่งกำหนดให้จ่ายค่าทดแทนตามราคาที่ดินที่ซื้อขายกันในท้องตลาด แต่คดีนี้เจ้าของที่ดินที่ถูกการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเดินสายไฟฟ้าผ่านมิได้เสียไปซึ่งกรรมสิทธิ์ เพียงแต่เสียสิทธิเกี่ยวกับการใช้ที่ดินดังกล่าวไปบ้างจึงแตกต่างจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ต้องเสียไปซึ่งกรรมสิทธิ์ การจ่ายค่าทดแทนการใช้ที่ดินย่อมต้องให้ต่ำกว่าการจ่ายค่าทดแทนการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์การที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนค่าใช้ที่ดินของโจทก์เท่ากับอัตราร้อยละห้าสิบของราคาที่ดินจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1985/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนการเวนคืนและค่าเสียหายจากประกาศคณะปฏิวัติ พิจารณาจากราคาตลาดจริงและสภาพทรัพย์สิน
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน2515 ข้อ 23 วรรคท้าย ประกอบด้วยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่28 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 76 ที่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดนั้น หมายถึงราคาธรรมดาของที่ดินแต่ละแปลงที่อ้างซื้อขายกันในท้องตลาดตามความเป็นจริง แต่ราคาที่ดินตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจด-ทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เป็นเพียงราคาปานกลางของที่ดินในแต่ละเขตท้องที่ ซึ่งที่ดินแต่ละแปลงในท้องที่เดียวกันและตามบัญชีดังกล่าวกำหนดไว้เป็นราคาเดียวกัน อาจมีราคาแตกต่างกันตามสภาพของที่ดินแต่ละแปลง และสำหรับที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนปรากฏว่าเป็นที่ดินที่อยู่ห่างจากถนนสายธนบุรี - ปากท่อ เพียงประมาณ 15 เมตรเป็นที่ดินที่ใช้สร้างโรงภาพยนตร์ มีทางเข้าออกเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก มีลานจอดรถและอาคารพาณิชย์โดยรอบ เชื่อได้ว่าที่ดินของโจทก์ดังกล่าวมีราคาธรรมดาที่อาจซื้อขายกันในท้องตลาดตามความเป็นจริงสูงกว่าราคาตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
เครื่องปรับอากาศของโจทก์เป็นเครื่องปรับอากาศใช้สำหรับโรง-ภาพยนตร์เชื่อได้ว่าเป็นเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ การติดตั้งและรื้อถอนต้องเสียค่าแรงงานและอาจเกิดความเสียหายได้ จำเลยต้องใช้เงินค่าทดแทน
เก้าอี้นั่งชมภาพยนตร์ของโจทก์มีลักษณะที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้สำหรับโดยเฉพาะ และได้ติดตั้งยึดไว้กับพื้นของโรงภาพยนตร์ ซึ่งตามปกติโรงภาพยนตร์ต้องมีเก้าอี้เพื่อให้ผู้ชมได้นั่งชมภาพยนตร์ การรื้อถอนเก้าอี้ออกไปจะทำให้โรงภาพยนตร์เสียสภาพจากการเป็นโรงภาพยนตร์ ถือได้ว่าเก้าอี้นั่งชมภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโรงภาพยนตร์ซึ่งเป็นสิ่งปลูกสร้าง จำเลยจึงต้องใช้เงินค่าทดแทนให้โจทก์
เมื่อมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ที่คิดว่าจะเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษ และรัฐมนตรีได้ประกาศให้ทางสายนั้นเป็นทางที่มีความจำเป็นต้องสร้างโดยเร่งด่วนแล้ว แม้จะยังไม่มีการออกพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ จำเลยก็มีหน้าที่ต้องใช้เงินค่าทดแทนหรือค่าเสียหายให้โจทก์ และเมื่อนำข้อ 67 วรรคสองแห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยอาศัยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน2515 ข้อ 23 วรรคสอง แล้ว มีความหมายว่าโจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ
เครื่องปรับอากาศของโจทก์เป็นเครื่องปรับอากาศใช้สำหรับโรง-ภาพยนตร์เชื่อได้ว่าเป็นเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ การติดตั้งและรื้อถอนต้องเสียค่าแรงงานและอาจเกิดความเสียหายได้ จำเลยต้องใช้เงินค่าทดแทน
เก้าอี้นั่งชมภาพยนตร์ของโจทก์มีลักษณะที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้สำหรับโดยเฉพาะ และได้ติดตั้งยึดไว้กับพื้นของโรงภาพยนตร์ ซึ่งตามปกติโรงภาพยนตร์ต้องมีเก้าอี้เพื่อให้ผู้ชมได้นั่งชมภาพยนตร์ การรื้อถอนเก้าอี้ออกไปจะทำให้โรงภาพยนตร์เสียสภาพจากการเป็นโรงภาพยนตร์ ถือได้ว่าเก้าอี้นั่งชมภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโรงภาพยนตร์ซึ่งเป็นสิ่งปลูกสร้าง จำเลยจึงต้องใช้เงินค่าทดแทนให้โจทก์
เมื่อมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ที่คิดว่าจะเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษ และรัฐมนตรีได้ประกาศให้ทางสายนั้นเป็นทางที่มีความจำเป็นต้องสร้างโดยเร่งด่วนแล้ว แม้จะยังไม่มีการออกพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ จำเลยก็มีหน้าที่ต้องใช้เงินค่าทดแทนหรือค่าเสียหายให้โจทก์ และเมื่อนำข้อ 67 วรรคสองแห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยอาศัยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน2515 ข้อ 23 วรรคสอง แล้ว มีความหมายว่าโจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ