พบผลลัพธ์ทั้งหมด 556 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1145/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเอาที่ดินใช้หนี้เงินกู้ที่จำนองเป็นประกัน ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 656 วรรคสอง โจทก์ไม่อาจบังคับให้โอนกรรมสิทธิ์ได้
หนังสือสัญญามีข้อความกล่าวเท้าถึงการจำนองที่โจทก์จำเลยทำกันไว้แต่เดิม จึงเห็นได้ว่า คู่กรณียังรับรองสัญญาจำนองที่ทำไว้เดิมแม้สัญญาจำนองจะมีกำหนดไถ่ถอนคืนกันภายใน 3 ปี เมื่อครบกำหนดโจทก์ยังมิได้ใช้สิทธิบังคับจำนอง ข้อความตามสัญญาฉบับหลังมีความว่าข้าพเจ้านายเวสขอทำสัญญารับเงินเพิ่มให้นายขาวซึ่งเป็นผู้รับจำนองที่ดินนาและสวนไว้ และมีข้อความยืนยันเพิ่มต่อไปในข้อ 1 แห่งสัญญาว่า'ขอรับเงินเพิ่มอีก 3,768 บาท' และยังมีข้อสัญญาต่อไปอีกว่า ยอมให้จำเลยนำเงินที่จำนองเดิมกับเงินที่รับเพิ่มไปใหม่อีก 3,768 บาท มาใช้คืนแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจำนองได้ต่อไปอีกภายใน 2 ปี แสดงว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยซึ่งเป็นผู้จำนองเอาเงินมาไถ่คืนไปได้ หาใช่ว่าจำเลยยอมตกลงจะขายที่ดินที่จำนองให้แก่โจทก์แต่อย่างเดียวไม่และข้อ 2 แห่งสัญญายังมีข้อความอีกว่า ให้ท่าน(โจทก์) เข้าครอบครองเก็บผลไม้ในสวนและทำนาแทนดอกเบี้ยและเงินเพิ่มต่อไป อันเห็นได้ว่าเป็นเรื่องที่จำเลยมอบที่ดินให้ไว้เพื่อเป็นประกันเงิน ที่รับไปโดยการจำนอง
การเอาที่ดินใช้หนี้เงินกู้ที่จำนองเป็นประกัน ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656 วรรคสอง ผู้รับจำนองจึงไม่อาจขอให้บังคับผู้จำนองให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จำนองไว้นั้นได้
การเอาที่ดินใช้หนี้เงินกู้ที่จำนองเป็นประกัน ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656 วรรคสอง ผู้รับจำนองจึงไม่อาจขอให้บังคับผู้จำนองให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จำนองไว้นั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินของผู้อื่น การซื้อขาย และการโอนกรรมสิทธิ์โดยไม่ต้องจดทะเบียน
ผู้ร้องปลูกตึกพิพาทอยู่ในที่ดินของจำเลย และไม่ปรากฏว่าผู้ร้องปลูกตึกพิพาทเป็นการชั่วคราว ตึกพิพาทจึงเป็นส่วนควบของที่ดินของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 107 ต่อมาผู้ร้องได้ขายตึกพิพาทให้จำเลยจำเลยชำระค่าตึกบางส่วนแล้วก็ไม่ชำระอีก ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระ ดังนี้ตามพฤติการณ์ถือได้ว่าผู้ร้องได้ขายตึกพิพาทให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเสร็จเด็ดขาดแล้ว ตึกพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยไม่จำเป็นต้องไปทำการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีก (อ้างฎีกาที่ 561/2488,1124/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 506/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ไม่อาจโอนกรรมสิทธิ์ได้ แม้จะมีการโอนโฉนดรวมถึงที่ดินนั้นก็ตาม
สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่กันไม่ได้ เว้นแต่จะอาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1305
แม้จำเลยจะได้รับโอนที่ดินมารวมทั้งคูรายพิพาทซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยก็หามีกรรมสิทธิ์ในคูรายพิพาทนั้นด้วยไม่
แม้จำเลยจะได้รับโอนที่ดินมารวมทั้งคูรายพิพาทซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยก็หามีกรรมสิทธิ์ในคูรายพิพาทนั้นด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 506/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สาธารณสมบัติของแผ่นดิน: การโอนกรรมสิทธิ์และการมีกรรมสิทธิ์
สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่กันไม่ได้ เว้นแต่จะอาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305
แม้จำเลยจะได้รับโอนที่ดินมารวมทั้งคูรายพิพาทซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยก็หามีกรรมสิทธิ์ในคูรายพิพาทนั้นด้วยไม่
แม้จำเลยจะได้รับโอนที่ดินมารวมทั้งคูรายพิพาทซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยก็หามีกรรมสิทธิ์ในคูรายพิพาทนั้นด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์หลัง 3 ปี: สิทธิโอน-ชดใช้ค่าเสียหาย
ทำสัญญาเช่าสวนมีกำหนดเวลาเช่า 10 ปีโดยไม่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญาเช่าว่า ถ้าผู้ให้เช่า (จำเลย) โอนกรรมสิทธิ์ที่เช่าไปก่อนหมดกำหนดเวลาเช่า ผู้ให้เช่าจะต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เช่า(โจทก์) เช่าสวนมาได้ 8 ปีเศษผู้ให้เช่าจึงโอนขายที่สวนแปลงนี้ไปนั้น เมื่อปรากฏว่า สิ้นกำหนดเวลาสามปีแล้ว โจทก์ยังคงเช่าอยู่ต่อไปจึงต้องถือว่าเป็นอันทำสัญญาเช่ากันใหม่โดยไม่มีกำหนดเวลาตามมาตรา 570 จริงอยู่คู่กรณีอาจต้องผูกพันตามข้อสัญญาเดิมต่อไปแต่ก็จำต้องพิจารณาข้อสัญญานั้นเป็นเรื่องๆ ไปข้อสัญญาใดมีสภาพที่จะผูกพันกันได้ ก็ย่อมผูกพันกัน แต่ถ้าข้อสัญญาใดโดยสภาพไม่อาจผูกพันกันต่อไปได้ ก็ย่อมไม่ผูกพัน เมื่อสัญญาเช่ารายนี้เปลี่ยนเป็นสัญญาเช่าที่ไม่มีกำหนดเวลาไปเสียแล้วจึงไม่มีกำหนดเวลาที่จะอาศัยเป็นหลักแห่งความรับผิดที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่กันฉะนั้น การที่จำเลย (ผู้ให้เช่า) โอนขายกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ให้เช่าให้ผู้อื่นไปเมื่อการเช่าล่วงเลยกว่าสามปีไปแล้ว จึงไม่อยู่ในบังคับของสัญญา จำเลยมีสิทธิโอนขายได้ โจทก์ไม่มีสิทธิจะเรียกเอาค่าเสียหายแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากการบังคับคดีและการลักทรัพย์: ผลต่อกรรมสิทธิ์และเจตนา
ที่ดินซึ่งเจ้าของที่ดินมีแต่เพียงสิทธิครอบครอง (ส.ค.1) เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้จัดการยึดแล้วที่ดินรายนี้ย่อมตกอยู่ในความยึดถือของเจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาล ผู้ซื้อชำระราคาแล้ว ย่อมเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้ยึดถือทรัพย์ที่ยึดนั้นต่อไป แต่เป็นที่เข้าใจว่าได้โอนความเป็นเจ้าของตลอดจนความยึดถือทรัพย์นั้นให้แก่ผู้ซื้อ ผู้ซื้อย่อมเป็นเจ้าของทรัพย์รายนี้ ส่วนการที่ศาลมีหนังสือถึงนายอำเภอท้องที่ ขอให้จัดการทำหนังสือสัญญาซื้อขายให้ผู้ซื้อนั้น เป็นเพียงให้ทางอำเภอจัดการเกี่ยวกับหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินอีกชั้นหนึ่ง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 953/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่วัดไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ แม้ครอบครองนานปี เจ้าอาวาสมีอำนาจขับไล่ผู้บุกรุก
ที่วัดจะโอนกันได้ก็แต่โดยปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2484 เท่านั้น ใครจะเอาที่วัดไปเป็นของตนไม่ได้ ไม่ว่าจะโอนไปโดยนิติกรรมหรือโดยการแย่งการครอบครอง
อำนาจที่ให้เจ้าอาวาสห้ามบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ซึ่งมิได้รับอนุญาตจากเจ้าอาวาสเข้าไปอยู่ในวัด หรือขับไล่ให้ออกจากวัดนั้นมีอยู่ถาวร ไม่จำกัดเวลา การที่จำเลยเข้าไปพำนักอาศัยอยู่ในที่พิพาทซึ่งเป็นของวัด แม้จะช้านานเท่าใด เจ้าอาวาสก็มีอำนาจห้ามและขับไล่จำเลยได้
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์เป็นกฎหมายพิเศษซึ่งเป็นข้อยกเว้นกฎหมายทั่วไป จำเลยจึงอ้างสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปเพื่อแย่งครอบครองที่วัดหาได้ไม่
อำนาจที่ให้เจ้าอาวาสห้ามบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ซึ่งมิได้รับอนุญาตจากเจ้าอาวาสเข้าไปอยู่ในวัด หรือขับไล่ให้ออกจากวัดนั้นมีอยู่ถาวร ไม่จำกัดเวลา การที่จำเลยเข้าไปพำนักอาศัยอยู่ในที่พิพาทซึ่งเป็นของวัด แม้จะช้านานเท่าใด เจ้าอาวาสก็มีอำนาจห้ามและขับไล่จำเลยได้
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์เป็นกฎหมายพิเศษซึ่งเป็นข้อยกเว้นกฎหมายทั่วไป จำเลยจึงอ้างสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปเพื่อแย่งครอบครองที่วัดหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 90/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรวมโอนกรรมสิทธิ์ สัญญาเช่าเดิมยังผูกพันผู้รับโอน และได้รับความคุ้มครองตาม พรบ.ควบคุมค่าเช่า
ที่พิพาทเป็นของเจ้าของรวม 2 คน จำเลยเช่าจากเจ้าของรวมคนหนึ่ง แม้ที่พิพาทจะเปลี่ยนมาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งแต่ผู้เดียวภายหลังก็ตาม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 สัญญาเช่าก็หาได้ระงับไปไม่ โจทก์ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ที่เจ้าของรวมคนนั้นมีอยู่ต่อจำเลยตามสัญญา ทั้งเมื่อโจทก์ไม่ได้ตั้งประเด็นนำสืบให้ปรากฎว่า โจทก์ไม่ต้องผูกพันตามสัญญาเช่านั้นอย่างใด เช่นนี้แล้ว เมื่อสัญญาเช่ายังไม่ระงับและเป็นการเช่าที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ โจทก์ก็ไม่สิทธิฟ้องขับไล่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 685/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง สัญญาที่ระบุที่ดินรวมห้องแถวถือเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ทั้งหมด
เมื่อสัญญาซื้อขายที่ดินตอนต้นระบุถึงที่ดินซึ่งมีห้องแถวรวมอยู่ด้วย แม้ตอนต่อมาจะเขียนสัญญาซื้อขายใช้คำแต่เพียงว่า ผู้ขายยอมขายที่ดิน ผู้ซื้อยอมรับซื้อที่ดินโดยไม่มีข้อความเพิ่มเติมว่า "พร้อมกับห้องแถวด้วย" ก็ต้องหมายความว่า เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้าง คือห้องแถวพิพาทซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินและเป็นส่วนควบของที่ดิน
เมื่อสัญญาซื้อขายแสดงว่า ยอมขายห้องแถวด้วย โดยไม่มีข้อตกลงพิเศษว่า ให้ห้องแถวคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายไม่มีสิทธินำสืบว่าต้องการขายแต่ที่ดิน ไม่ขายห้องแถว เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
เมื่อสัญญาซื้อขายแสดงว่า ยอมขายห้องแถวด้วย โดยไม่มีข้อตกลงพิเศษว่า ให้ห้องแถวคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายไม่มีสิทธินำสืบว่าต้องการขายแต่ที่ดิน ไม่ขายห้องแถว เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเจ้าหนี้จำนองเหนือทรัพย์สิน แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้อื่น
จำเลยจำนองที่ดินมือเปล่าพร้อมด้วยโรงเรือนไว้กับโจทก์เป็นการประกันหนี้ ต่อโจทก์ฟ้องจำเลยเรียกร้องให้ชำระหนี้และให้ยึดทรัพย์จำนองขายทอดตลาดเอาเงินไปชำระหนี้ ในที่สุดทำยอมความโดยจำเลยยอมชำระเงินให้โจทก์ ครั้นผิดนัดโจทก์จึงนำยึดทรัพย์จำนองเพื่อบังคับคดี ดังนี้ แม้ภายหลังการจำนองและก่อนโจทก์ฟ้องจำเลย จำเลยจะได้ขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนี้ให้แก่ผู้ร้อง และได้สละสิทธิ์ให้ผู้ร้องยึดถือไว้แล้วก็ตาม ก็ไม่ทำให้สิทธิได้รับชำระหนี้ของโจทก์จากทรัพย์พิพาทหมดไป ผู้ร้องจะร้องขัดทรัพย์หาได้ไม่.