คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไม่เป็นธรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 476 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3101-3102/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการพิสูจน์ความเสียหายของลูกจ้าง กรณีลูกจ้างมีส่วนผิด
วันเกิดเหตุ ก. ซึ่งเป็นพนักงานขายของได้ไปที่บริษัทนายจ้าง แล้วได้ปั๊มบัตรลงเวลาทำงาน นำรถยนต์บรรทุกน้ำอัดลมออกไปเพื่อทำการขาย และได้ให้พนักงานขายสำรองไปด้วย ระหว่างทาง ก.ลงจากรถไป โดยให้พนักงานขายสำรองทำการขายแทน ครั้นตอนเป็น ก.กลับไปที่บริษัทนายจ้างอีกเพื่อปั๊มบัตรเลิกงาน ดังนี้ การกระทำของ ก. เป็นการหลีกเลี่ยงไม่ทำงาน เป็นการละทิ้งหน้าที่ซึ่งบัญญัติไว้ต่างหากแล้วในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 123 (4) มิใช่อาศัยอำนาจหน้าที่ที่เป็นพนักงานขายแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายอันจะถือได้ว่าทุจริตต่อหน้าที่
ตามมาตรา 41 (4) พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ เห็นได้ว่า เมื่อได้สั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานแล้ว จะไม่สั่งให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายอีกก็ได้ เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานแล้ว และปรากฏว่าลูกจ้างมิได้นำสืบว่าได้รับความเสียหายอย่างไรบ้าง ทั้งมีส่วนผิดอยู่ด้วย ศาลแรงงานกลางจึงชอบที่จะใช้ดุลพินิจไม่ให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายแก่ลูกจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3101-3102/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการทุจริตหน้าที่: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
วันเกิดเหตุ ก. ซึ่งเป็นพนักงานขายของได้ไปที่บริษัทนายจ้าง แล้วได้ปั๊มบัตรลงเวลาทำงาน นำรถยนต์บรรทุกน้ำอัดลมออกไปเพื่อทำการขาย และได้ให้พนักงานขายสำรองไปด้วย ระหว่างทาง ก. ลงจากรถไป โดยให้พนักงานขายสำรองทำการขายแทน ครั้นตอนเย็น ก. กลับไปที่บริษัทนายจ้างอีกเพื่อปั๊มบัตรเลิกงาน ดังนี้ การกระทำของ ก. เป็นการหลีกเลี่ยงไม่ทำงาน เป็นการละทิ้งหน้าที่ซึ่งมีบัญญัติไว้ต่างหากแล้วในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123(4)มิใช่อาศัยอำนาจหน้าที่ที่เป็นพนักงานขายแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายอันจะถือได้ว่าทุจริตต่อหน้าที่
ตามมาตรา 41(4) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ เห็นได้ว่า เมื่อได้สั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานแล้วจะไม่สั่งให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายอีกก็ได้เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานแล้ว.และปรากฏว่าลูกจ้างมิได้นำสืบว่าได้รับความเสียหายอย่างไรบ้าง ทั้งมีส่วนผิดอยู่ด้วย ศาลแรงงานกลางจึงชอบที่จะใช้ดุลพินิจไม่ให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายแก่ลูกจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2667/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยเลิกจ้าง กับ ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม เป็นสิทธิแยกต่างหาก คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจสั่งชดใช้ค่าเสียหายได้
ค่าชดเชยและเงินบำเหน็จที่นายจ้างจ่ายเป็นเงินซึ่งลูกจ้างมีสิทธิจะได้รับเมื่อถูกเลิกจ้าง ตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานและตามข้อบังคับองค์การ ร.ส.พ.ว่าด้วยการสงเคราะห์พนักงาน พ.ศ. 2519 เป็นคนละส่วนกับค่าเสียหายที่ลูกจ้างจะได้รับเมื่อถูกนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จึงมีอำนาจกำหนดให้นายจ้างชดใช้ได้ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 41(4) มิใช่เป็นการซ้ำซ้อนกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2652/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: จำเป็นต้องสืบพยานเพื่อพิสูจน์สาเหตุเลิกจ้างที่แท้จริง
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายอ้างว่าจำเลยกลั่นแกล้งโจทก์ให้ออกจากงานอย่างไม่เป็นธรรม ก่อนออกจากงานมีสาเหตุโต้เถียงกับจำเลยและโจทก์แถลงว่า ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องเป็นค่าเสียหายที่โจทก์ถูกเลิกจ้างโดยไม่มีสาเหตุและไม่ได้รับการบอกล่วงหน้า เป็นค่าเสียหายฐานถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม จำเลยแถลงต่อสู้คดีว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมีสาเหตุว่าโจทก์สมควบกับพวกขโมยแบบแปลนการสร้างวงล้อ ดังนี้ ถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ดังที่โจทก์ฟ้องและแถลงว่า จำเลยได้เลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีสาเหตุ มิใช่เพราะโจทก์สมคบกับพวกขโมยแบบแปลนการสร้างวงล้อพังจำเลยต่อสู้ การกระทำของจำเลยก็เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ เพราะการเลิกจ้างโดยไม่มีสาเหตุย่อมไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างอยู่ในตัวอย่างไม่ชอบที่จะงดสืบพยาน ต้องฟังข้อเท็จจริงให้สิ้นกระแสความก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2652/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม: จำเป็นต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงก่อนวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายอ้างว่าจำเลยกลั่นแกล้งโจทก์ให้ออกจากงานอย่างไม่เป็นธรรม ก่อนออกจากงานมีสาเหตุโต้เถียงกับจำเลยและโจทก์แถลงว่า ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องเป็นค่าเสียหายที่โจทก์ถูกเลิกจ้างโดยไม่มีสาเหตุและไม่ได้รับการบอกกล่าวล่วงหน้า เป็นค่าเสียหายฐานถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม จำเลยแถลงต่อสู้คดีว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมีสาเหตุว่าโจทก์สมคบกับพวกขโมยแบบแปลนการสร้างวงล้อ ดังนี้ถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ดังที่โจทก์ฟ้องและแถลงว่า จำเลยได้เลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีสาเหตุ มิใช่เพราะโจทก์สมคบกับพวกขโมยแบบแปลนการสร้างวงล้อดังจำเลยต่อสู้ การกระทำของจำเลยก็เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ เพราะการเลิกจ้างโดยไม่มีสาเหตุย่อมไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างอยู่ในตัวยังไม่ชอบที่จะงดสืบพยานต้องฟังข้อเท็จจริงให้สิ้นกระแสความก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: จำเลยต้องแสดงเหตุผลการเลิกจ้าง หากไม่มีเหตุผล ย่อมถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายอ้างว่าจำเลยกลั่นแกล้งให้โจทก์ออกจากงานอย่างไม่เป็นธรรม และแถลงตอบคำถามของศาลแรงงานกลางว่า โจทก์ได้รับค่าชดเชยค่าที่ถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้รับการบอกกล่าวจากจำเลยครบถ้วนแล้ว ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องนั้นเป็นค่าเสียหายที่โจทก์ถูกเลิกจ้างโดยไม่มีสาเหตุและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า จึงเรียกค่าเสียหายฐานถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม จำเลยแถลงต่อสู้คดีว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์สมคบกับพวกขโมยแบบแปลนการสร้างวงล้อ ดังนี้ หากฟังข้อเท็จจริงได้ดังที่โจทก์ฟ้องและแถลง ก็ถือได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน มาตรา 49เพราะการเลิกจ้างโดยไม่มีสาเหตุย่อมไม่เป็นธรรมอยู่ในตัว จึงยังไม่ชอบที่จะงดสืบพยาน แต่ควรฟังข้อเท็จจริงให้สิ้นกระแสความก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไล่ออกที่ไม่เป็นธรรมและค่าเสียหายจากการละเมิดสิทธิลูกจ้าง
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า การที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์และสั่งไล่โจทก์ออกจากงานนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่โจทก์ฟ้องจำเลยในลักษณะละเมิด มิได้ดำเนินการตามวิธีการที่บัญญัติไว้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 และขณะที่เกิดกรณีอันเป็นมูลเหตุแห่งคดีนี้ก็ยังไม่มีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ซึ่งมีมาตรา 49 ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานตามเดิมได้ โจทก์จึงสมควรได้แต่ค่าเสียหาย เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายโดยคำนวณเป็นรายเดือนไปจนกว่าจำเลยจะรับโจทก์เข้าทำงานตามเดิมซึ่งไม่อาจบังคับได้ ศาลจึงต้องกำหนดค่าเสียหายให้ตามที่เห็นสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งพักงาน/ไล่ออกที่ไม่เป็นธรรม และการฟ้องละเมิดนอกเหนือจากช่องทาง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า การที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์และสั่งไล่โจทก์ออกจากงานนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่โจทก์ฟ้องจำเลยในลักษณะละเมิด มิได้ดำเนินการตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 และขณะที่เกิดกรณีอันเป็นมูลเหตุแห่งคดีนี้ก็ยังไม่มีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522ซึ่งมี มาตรา 49 ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานตามเดิมได้ โจทก์จึงสมควรได้แต่ค่าเสียหาย เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายโดยคำนวณเป็นรายเดือนไปจนกว่าจำเลยจะรับโจทก์เข้าทำงานตามเดิมซึ่งไม่อาจบังคับได้ศาลจึงต้องกำหนดค่าเสียหายให้ตามที่เห็นสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2501/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลดลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานเข้าข่ายเป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
การที่บริษัทนายจ้างปลดลูกจ้างทั้งสองออกจากงานโดยข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าลูกจ้างทั้งสองทุจริตต่อหน้าที่ และมิได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของบริษัทนายจ้างดังที่บริษัทนายจ้างอ้าง และลูกจ้างทั้งสองเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานมีตำแหน่งประธานและเลขาธิการ ซึ่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัทนายจ้างต้องการให้ยุบสหภาพนั้น แต่ลูกจ้างทั้งสองไม่ยินยอม นอกจากนี้ลูกจ้างทั้งสองยังได้ทำหนังสือร้องเรียนหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินให้ปรับปรุงบริษัทนายจ้างโดยอ้างว่ามีการทุจริต ทั้งยังได้นำพนักงานของบริษัทนายจ้างเรียกร้องผลประโยชน์อีกหลายเรื่อง พฤติการณ์ดังนี้น่าเชื่อว่าลูกจ้างทั้งสองถูกปลดออกจากงานเพราะเหตุเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2449/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากความขัดแย้งในการทำงาน การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
โจทก์กับ ช. หัวหน้าแผนกมีการขัดแย้งกันในการทำงาน ทำให้งานในแผนกนั้นระส่ำระสายเป็นที่เสียหายแก่จำเลยผู้เป็นนายจ้าง จึงเป็นเหตุจำเป็นและสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ การที่จำเลยไม่เลิกจ้าง ช. ด้วยก็เพราะจำเลยเห็นว่าหากให้คนทั้งสองออกจากตำแหน่งจะเกิดความเสียหายแก่งานของจำเลย จึงต้องให้คนใดคนหนึ่งออกเพียงคนเดียว และเห็นว่าการเอา ข. ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกไว้ เห็นได้ว่าจำเลยมีเหตุผลสมควรที่บัญญัติเช่นนั้น ฉะนั้น การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ผู้เดียวไม่ได้ดำเนินการอย่างใดกับ ข. จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ตามมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ
of 48