พบผลลัพธ์ทั้งหมด 56 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 762/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขับรถประมาทแซงในที่คับขัน ทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรง ผู้ขับรถต้องรับผิดตามกฎหมายอาญาและจราจร
จำเลยขับรถยนต์ประจำทาง ผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์ แล่นตามหลังไปทางเดียวกัน รถของผู้เสียหายแล่นอยู่ในช่องเดินรถด้านขวา ส่วนรถของจำเลยแล่นอยู่ในช่องเดินรถด้านซ้าย รถของจำเลยได้ผ่านรถประจำทางที่จอดอยู่ออกไปทางช่องรถด้านขวาอย่างกระทันหัน โดยไม่เดินรถให้ช้าลงพอควร และไม่ได้ให้สัญญาณแตรตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 มาตรา 13, 32 รถของผู้เสียหายที่แล่นตามหลังไม่สามารถหลบหลีกได้ เป็นเหตุให้กะบังหน้ารถของผู้เสียหายด้านซ้ายกระแทกกันชนด้านขวาของรถของจำเลย รถของผู้เสียหายแฉลบล้มลง ตัวผู้เสียหายกระเด็นไปถูกล้อรถยนต์ซึ่งแล่นสวนทางมาดันครูดไปตามถนน ทำให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส ดังนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 579/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความบทบัญญัติกฎหมายจราจรทางบก พ.ศ. 2477 และหลักการใช้กฎหมายที่ใช้บังคับ ณ ขณะกระทำผิด
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 มาตรา 10 ซึ่งใช้ในขณะโจทก์หาว่าจำเลยกระทำผิดบัญญัติว่า "เมื่อรถเดินสวนกันให้หลีกด้านซ้าย และเมื่อขึ้นหน้ารถคันอื่นให้ขึ้นด้านขวา" การที่จำเลยขับรถล้ำกึ่งกลางถนนออกไปประมาณ 10 เซ็นติเมตรขณะที่รถอีกคันหนึ่งแล่นสวนมา ไม่เป็นความผิดตามกฎหมายมาตรานี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 579/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความบทบัญญัติกฎหมายจราจรในอดีตและการพิพากษาคดีตามกฎหมายที่ใช้ ณ ขณะกระทำผิด
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 มาตรา 10 ซึ่งใช้ในขณะโจทก์หาว่าจำเลยกระทำผิดบัญญัติว่า 'เมื่อรถเดินสวนกันให้หลีกด้านซ้าย และเมื่อขึ้นหน้ารถคันอื่นให้ขึ้นด้านขวา' การที่จำเลยขับรถล้ำกึ่งกลางถนนออกไปประมาณ 10 เซ็นติเมตรขณะที่รถอีกคันหนึ่งแล่นสวนมา ไม่เป็นความผิดตามกฎหมายมาตรานี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขกฎหมายจราจรและการขับรถแซงซ้าย การพ้นจากความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
ขณะจำเลยกระทำความผิด พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 มาตรา 10 บัญญัติให้รถที่เดินสวนกันหลีกด้านซ้าย และเมื่อขึ้นหน้ารถคันอื่นให้ขึ้นด้านขวา ผู้ใดฝ่าฝืนย่อมมีความผิดนั้น ต่อมาพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2508 มาตรา 4 บัญญัติให้ยกเลิกมาตรา 10 นั้นเสีย และได้ยอมให้ขับรถขึ้นหน้ารถอื่นทางด้านซ้ายได้ เมื่อไม่มีอะไรกีดขวางและไม่กีดขวางรถอื่น ทั้งผู้ขับขี่สามารถกระทำได้โดยปลอดภัย เมื่อจำเลยขับรถขึ้นหน้ารถอื่นทางด้านซ้าย และต้องด้วยข้อยกเว้นของกฎหมายดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขกฎหมายจราจรและการยกฟ้องข้อหาแซงซ้ายเมื่อมีเหตุยกเว้นตามกฎหมายใหม่
ขณะจำเลยกระทำความผิดพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 มาตรา 10 บัญญัติให้รถที่เดินสวนกันหลีกด้านซ้ายและเมื่อขึ้นหน้ารถคันอื่นให้ขึ้นด้านขวาผู้ใดฝ่าฝืนย่อมมีความผิดนั้น ต่อมาพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2508 มาตรา 4 บัญญัติให้ยกเลิกมาตรา 10 นั้นเสียและได้ยอมให้ขับรถขึ้นหน้ารถอื่นทางด้านซ้ายได้ เมื่อไม่มีอะไรกีดขวางและไม่กีดขวางรถอื่นทั้งผู้ขับขี่สามารถกระทำได้โดยปลอดภัยเมื่อจำเลยขับรถขึ้นหน้ารถอื่นทางด้านซ้ายและต้องด้วยข้อยกเว้นของกฎหมายดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำว่า "แซง" ในความหมายทั่วไปตามพจนานุกรม เมื่อไม่มีนิยามเฉพาะในกฎหมายจราจร
ฟ้องกล่าวว่า จำเลยบังอาจขับรถแซงรถเมล์โดยฝ่าฝืนป้ายห้ามแซงของเจ้าพนักงานที่ติดตั้งไ้ เป็นเหตุให้ชนรถเมล์เสียหาและหมุดคอสะพานเสียหาย ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยขับรถสวนกับรถเมล์เหลืองแล้วเกิดชนกันเสียหาย ดังนี้ เมื่อตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก ฯ ไม่มีบทวิเคราะห์ศัพท์คำว่า "แซง" ไว้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2493 คำว่า "แซง" หมายความถึงกิริยาที่แทรกหรือเสียด ซึ่งหมายความว่า เบียดเข้าไป หรือเฉียดไป เมื่อไม่มีบทกฎหมายบัญญัติความหมายไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะ ก็ต้องตีความตามความหมายธรรมดา คือ หมายถึงกิริยาแทรกหรือเสียด คือ เบียดเข้าไปหรือ เฉียดไป ตามฟ้องของโจทก์จึงมีความหมายไปในทางที่ว่า ขับรถเสียดหรือแทรกรถเมล์ได้ ซึ่งอาจจะเป็นไปในทางที่แล่นขึ้นหน้าหรือสวนกัน จะตีความหมายว่า แซง หมายถึงขับรถขึ้นหน้าแต่อย่างเดียวดังที่จำเลยโต้เถียงขึ้นมาหาได้ไม่ และตามฟ้องที่บรรยายมาก็แสดงให้เห็นอยู่ว่า รถทั้งสองคันมุ่งหน้าไปคนละทางจะสวนกันข้อเท็จจริงในการพิจารณายังเรียกไม่ได้ว่าแตกต่างกับฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการผ่านทางแยก: รถที่มาถึงก่อนมีสิทธิไปก่อน แม้กฎหมายกำหนดรถจากซ้ายไปก่อน
ตามประกาศเจ้าพนักงานจราจร ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก ซึ่งกำหนดไว้ว่า'ในทางเอกด้วยกัน ณ ที่ร่วมกัน ตัดกันหรือแยกกันให้รถที่มาจากทางซ้ายผ่านไปก่อน'นั้น หมายถึงกรณีที่รถทั้งสองคันมาถึงปากทางที่ร่วมกันตัดกัน หรือแยกกัน พร้อมกันแต่ถ้าหากรถคันทางขวามาถึงปากทางดังกล่าวแล้วก่อนก็ไม่จำเป็นต้องหยุดรอให้รถคันทางซ้ายไปก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 103/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลี้ยวรถตัดหน้าตามกฎหมายจราจร: การตีความ 'เลี้ยวตัดหน้า' ในกรณีรถแล่นตามกัน
บทบัญญัติมาตรา 9 วรรค 3 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2477 หมายถึงการขับรถเลี้ยวตัดหน้ารถอื่นที่กำลังแล่นสวนทางมา หาใช่หมายถึงกรณีที่รถแล่นตามๆ กันมาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1045/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลี้ยวรถตัดหน้าจักรยานยนต์ใกล้เกินไป ถือเป็นประมาทตามกฎหมายจราจรหรือไม่
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 มาตรา 9 วรรค 3 บัญญัติว่า "ในทางที่ไม่ใช่ทางแยก ห้ามไม่ให้เลี้ยวตัดหน้ารถยนต์หรือรถรางที่กำลังแล่นภายในระยะน้อยกว่าสิบห้าเมตร"
การที่จำเลยเลี้ยวรถจะเข้าทางแพ่งหนึ่งตัดหน้ารถจักรยานยนต์ที่โจทก์ขับขี่มาข้างหลังภายในระยะ 7-8 เมตร จะถือว่าจำเลยฝ่าฝืนบทกฎหมายมาตรานี้ ทำให้โจทก์บาดเจ็บสาหัสโดยประมาทตามอุทธรณ์ของโจทก์หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกำหมาย
การที่จำเลยเลี้ยวรถจะเข้าทางแพ่งหนึ่งตัดหน้ารถจักรยานยนต์ที่โจทก์ขับขี่มาข้างหลังภายในระยะ 7-8 เมตร จะถือว่าจำเลยฝ่าฝืนบทกฎหมายมาตรานี้ ทำให้โจทก์บาดเจ็บสาหัสโดยประมาทตามอุทธรณ์ของโจทก์หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกำหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1045/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลี้ยวรถตัดหน้าโดยไม่รักษาระยะตามกฎหมายจราจร ถือเป็นความประมาทหรือไม่
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477 มาตรา 9 วรรคสามบัญญัติว่า "ในทางที่ไม่ใช่ทางแยก ห้ามไม่ให้เลี้ยวตัดหน้ารถยนต์หรือรถรางที่กำลังแล่นภายในระยะน้อยกว่าสิบห้าเมตร"
การที่จำเลยเลี้ยวรถจะเข้าทางแห่งหนึ่งตัดหน้ารถจักรยานยนต์ที่โจทก์ขับขี่มาข้างหลังภายในระยะ 7-8 เมตร จะถือว่าจำเลยฝ่าฝืนบทกฎหมายมาตรานี้ ทำให้โจทก์บาดเจ็บสาหัสโดยประมาทตามอุทธรณ์ของโจทก์หรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย
การที่จำเลยเลี้ยวรถจะเข้าทางแห่งหนึ่งตัดหน้ารถจักรยานยนต์ที่โจทก์ขับขี่มาข้างหลังภายในระยะ 7-8 เมตร จะถือว่าจำเลยฝ่าฝืนบทกฎหมายมาตรานี้ ทำให้โจทก์บาดเจ็บสาหัสโดยประมาทตามอุทธรณ์ของโจทก์หรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย