คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กฎหมายอาญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 392 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8879/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตนเองตามกฎหมายอาญา: การใช้กำลังเพื่อป้องกันภยันตรายใกล้จะถึงจากการประทุษร้าย
จำเลยพยายามหลีกเลี่ยงที่จะมีเรื่องกับผู้ตาย เมื่อผู้ตายถือมีดเข้ามาท้าทาย จำเลยเพียงแต่ใช้มือผลักอกผู้ตายเท่านั้น การที่ผู้ตายยังเข้าไปหาจะใช้มีดฟันจำเลยอีก จำเลยจึงถีบผู้ตายและใช้มีดฟันผู้ตายไปเพียงครั้งเดียว แม้ผู้ตายจะมีอาการมึนเมาสุรา แต่ตามลักษณะอาการของผู้ตายแสดงว่ายังครองสติได้ การมึนเมาสุราดังกล่าวจะยกขึ้นมาเพื่อฟังให้เป็นโทษแก่จำเลยไม่ได้ พฤติการณ์ถือได้ว่า จำเลยฟันผู้ตายเพื่อป้องกันตนเอง ให้พ้นจากภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงและได้กระทำไปพอสมควรแก่เหตุ จึงเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8493/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษ: เหตุผลและขอบเขตตามกฎหมายอาญา
คดีอาญาเรื่องก่อน ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 29 มกราคม2540 ให้ลงโทษจำคุกจำเลย 2 เดือน และปรับ 2,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี ย่อมมีความหมายว่า นับตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2540ภายหลังเวลาที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังแล้วตลอดไปจนครบกำหนด1 ปี หากจำเลยได้กระทำความผิดขึ้นอีก อันมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ศาลที่พิพากษาคดีหลังมีอำนาจบวกโทษจำคุกที่รอไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษจำคุกในคดีหลังได้ หากคดีหลังนี้ศาลพิพากษาลงโทษถึงจำคุก ทั้งนี้ตามป.อ.มาตรา 58 (ที่แก้ไขใหม่) จำเลยกระทำความผิดคดีนี้เมื่อวันที่ 27 มกราคม2540 อันเป็นเวลาก่อนที่ศาลในคดีก่อนจะพิพากษา แม้คดีนี้ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยถึงจำคุกด้วยก็ตาม ศาลในคดีนี้ก็ไม่มีอำนาจที่จะนำโทษจำคุกในคดีก่อนที่ศาลพิพากษาก่อนคดีนี้ มาบวกเข้ากับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนี้ได้เพราะการกระทำความผิดของจำเลยในคดีนี้มิใช่เป็นการกระทำความผิดภายในระยะเวลาที่ศาลรอการลงโทษ กรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ.มาตรา 58
แม้ฎีกาของจำเลยในปัญหาว่าสมควรรอการลงโทษจำคุกจำเลยหรือไม่ จะเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกา และศาลสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาได้รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยในข้ออื่นในปัญหาข้อกฎหมายเรื่องการบวกโทษจำเลยอันเกี่ยวพันถึงการกระทำความผิดของจำเลยศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาด้วยว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์ลงแก่จำเลยนั้นเหมาะสมหรือไม่เพียงใด โดยไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 799/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสถานะเมทแอมเฟตามีนจากวัตถุออกฤทธิ์เป็นยาเสพติดโทษ และการใช้กฎหมายอาญามาตรา 3
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในความครอบครองและโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518 เมื่อประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97 (พ.ศ. 2539) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มีผลเป็นเพียงให้เมทแอมเฟตามีนถูกเพิกถอนจากการเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 มาเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เท่านั้น โดยไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติยกเลิกความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง ฉะนั้นจำเลยจึงยังมีความผิดและต้องรับโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองอยู่ส่วนจะต้องรับโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทหรือตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ย่อมเป็นเรื่องกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำผิด ซึ่งต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย คือตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 67 ทั้งนี้ตาม ป.อ.มาตรา 3 การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522 ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
วัตถุออกฤทธิ์ที่จะริบให้แก่กระทรวงสาธารณสุขตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 116 ต้องเป็นกรณีมีการลงโทษตามมาตรา 89 มาตรา 90 มาตรา 98 มาตรา 99 มาตรา 100 หรือมาตรา 101 เมื่อคดีนี้มิได้ลงโทษจำเลยตามมาตราดังกล่าว จึงไม่อาจริบเมทแอมเฟตามีนของกลางให้แก่กระทรวงสาธารณสุขได้ แต่ริบได้ตาม ป.อ.มาตรา 32

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7742/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหน่วงเหนี่ยวกักขังเพื่อชำระหนี้ ไม่ถือเป็นค่าไถ่ตามความหมายในกฎหมายอาญา
การที่จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังตัวผู้เสียหาย ก็เพื่อให้ผู้เสียหายชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยทั้งสองเชื่อว่าสามารถกระทำได้ดังนั้นประโยชน์ที่จำเลยที่ 1 เรียกร้องให้ผู้เสียหายชำระหนี้จึงไม่ใช่ค่าไถ่ตามความหมายในบทนิยามคำว่า "ค่าไถ่" ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 1(13) การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 313 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6774/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจริบทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำผิด แม้การกระทำผิดเกิดขึ้นก่อนการจับกุม
ในการจับจำเลยซึ่งเป็นผู้จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนในคดีนี้ให้แก่สายลับ เจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นพบธนบัตรของกลาง ที่จำเลยได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวนอื่นไปก่อนหน้าที่จำเลยจะถูกจับในคดีนี้ด้วยและตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(2) บัญญัติให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยได้กระทำความผิดด้วย เมื่อธนบัตรของกลางเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนอันเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แม้การกระทำดังกล่าวจะเกิดขึ้นก่อนหน้าที่จำเลยจะถูกจับในคดีนี้ ศาลก็มีอำนาจริบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 614/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้กฎหมายอาญาในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: กฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดมีผลเหนือกว่ากฎหมายที่ใช้ภายหลัง
ความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเพื่อขาย ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดเป็นความผิดตามมาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง มีโทษตามมาตรา 89 คือต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 บาทถึง 400,000 บาท แต่ข้อหาฐานมียาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกิน 100 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด เป็นความผิดตามมาตรา 15 วรรคสอง มีโทษตามมาตรา 66 วรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 50,000 บาทถึง 500,000 บาท เป็นกรณีที่กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดเช่นเดียวกันต้องใช้พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง,83 อันเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 วรรคหนึ่ง มาปรับบทลงโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 552/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมายที่เกินสมควรแก่เหตุจากการทำร้ายร่างกายและการยิงตอบโต้
ผู้เสียหายที่ 1 กับจำเลยมีสาเหตุกันอยู่ก่อนแล้วแต่หลังจากนั้นผู้เสียหายที่ 1 กับจำเลยก็แยกกันไปสาเหตุครั้งแรกจึงสิ้นสุดไปแล้ว เมื่อต่อมาผู้เสียหายที่ 1พาส.มาพบจำเลยในลักษณะที่ฝ่ายผู้เสียหายที่ 1มีจำนวนมากกว่าแล้วผู้เสียหายที่ 1 เข้าตบหน้าจำเลยอันเป็นการประทุษร้ายต่อจำเลยเช่นนี้ จำเลยย่อมมีสิทธิป้องกันตัวได้ แต่การที่จำเลยใช้ปืนซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงยิงผู้เสียหายที่ 1 ถึง 2 นัด โดยเฉพาะการยิงนัดที่ 2ในขณะที่ผู้เสียหายที่ 1 ได้วิ่งหนีไปแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 69

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2328/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเอกสารราชการต่างประเทศและการประทับตราปลอมของเจ้าพนักงาน แม้เอกสารนั้นมิใช่ของไทยก็ถือเป็นความผิดตามกฎหมายอาญา
แม้คำว่าเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(8) และมาตรา 265 จะหมายถึงเอกสารของทางราชการไทยเท่านั้นก็ตาม แต่การที่จำเลยประทับตราปลอมของด่านตรวจคนเข้าเมืองหาดใหญ่ ที่อนุญาตให้ผู้ถือหนังสือเดินทางนั้นผ่านออกก็เป็นการปลอมเอกสารราชการของเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8404/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีเช็คเลิกกันหลังประนีประนอมยอมความ สิทธิฟ้องอาญาโจทก์ระงับตามกฎหมาย
การที่ศาลชั้นต้นในคดีอาญาเห็นว่าโจทก์และจำเลยได้ทำ สัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่งและศาลได้พิพากษา ตามยอม คดีถึงที่สุดแล้วทำให้หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คเพื่อ ใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิด จากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการ นำคดีมาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 จึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ดังนี้ย่อมมีผลเท่ากับศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7499/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะเจ้าพนักงานคุมประพฤติ: การแต่งตั้ง, การปฏิบัติหน้าที่, และการเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยเป็นลูกจ้างชั่วคราวได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการในกรมคุมประพฤติ เป็นพนักงานคุมประพฤติตามคำสั่งกระทรวงยุติธรรม จำเลยเป็นพนักงานคุมประพฤติประจำศาลและได้รับมอบหมายจากหัวหน้าสำนักงานคุมประพฤติประจำศาลให้ไปสืบเสาะความประพฤติของ ว. เมื่อตาม พ.ร.บ.วิธีดำเนินการคุมความประพฤติตาม ป.อาญา พ.ศ.2522 มาตรา 4 บัญญัติว่า "พนักงานคุมประพฤติ" หมายความว่าผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 5 บัญญัติให้รัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนพนักงานคุมประพฤติตามพระราชบัญญัตินี้ และมาตรา 10 บัญญัติว่า ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้พนักงานคุมประพฤติเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และไม่มีบทบัญญัติบทใดบัญญัติให้การแต่งตั้งพนักงานคุมประพฤติต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาดังนั้น คำสั่งแต่งตั้งจำเลยให้เป็นพนักงานคุมประพฤติจึงไม่จำต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา แม้จำเลยไม่ได้ลงชื่อรับทราบคำสั่งแต่งตั้งดังกล่าว แต่จำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ต่อมา ถือได้ว่าจำเลยทราบคำสั่งแล้ว จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อ.
of 40