พบผลลัพธ์ทั้งหมด 107 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1745/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ชั่วคราวก่อนพิพากษาในคดีล้มละลาย: ไม่อาจใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหากมีกฎหมายเฉพาะ
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มีบทบัญญัติไว้โดยเฉพาะในเรื่องขอให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราวตามมาตรา 17 ซึ่งจะขอได้ก็แต่ก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเท่านั้น และเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วมาตรา 19 วรรคแรก บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ายึดดวงตรา สมุดบัญญชี และเอกสารของลูกหนี้ และบรรดาทรัพย์สินซึ่งอยู่ในความครอบครองของลูกหนี้หรือของผู้อื่นอันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลาย ฉะนั้นเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องและโจทก์อุทธรณ์ โจทก์จะขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ยึดทรัพย์ของลูกหนี้ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1691/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์บรรทุกที่ใช้ในการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา แม้กฎหมายเฉพาะไม่ได้บัญญัติการริบไว้
แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 จะมิได้บัญญัติถึงการริบของกลางไว้แต่ก็มิได้บัญญัติถึง เรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่นดังนั้น เมื่อจำเลยใช้ รถยนต์บรรทุกบรรทุกน้ำหนักเกินอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย รถยนต์บรรทุกจึงเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ ใช้ในการกระทำความผิด ศาลมีอำนาจริบรถยนต์บรรทุกนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 ประกอบด้วย มาตรา 17
การที่ศาลพิพากษาให้ริบรถยนต์บรรทุกของกลางซึ่ง โจทก์ขอให้ริบตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 นั้น ศาลย่อมเห็นแล้วว่ารถยนต์บรรทุกของกลางเป็นทรัพย์ที่ใช้ ในการกระทำความผิด แม้จะมิได้ระบุบทกฎหมาย ก็มิใช่กรณีศาลพิพากษาไม่ชอบ
การที่ศาลพิพากษาให้ริบรถยนต์บรรทุกของกลางซึ่ง โจทก์ขอให้ริบตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 นั้น ศาลย่อมเห็นแล้วว่ารถยนต์บรรทุกของกลางเป็นทรัพย์ที่ใช้ ในการกระทำความผิด แม้จะมิได้ระบุบทกฎหมาย ก็มิใช่กรณีศาลพิพากษาไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1330/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจโอนคดีอาญา: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจจำกัดตามกฎหมายเฉพาะ, ไม่อาจใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งอนุโลม
โจทก์ฟ้องต่อศาลจังหวัดปัตตานี ขอให้ลงโทษจำเลยฐานหมิ่นประมาทโจทก์จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้รวมการพิจารณาคดีที่โจทก์ฟ้องเข้ากับคดีที่โจทก์อีกคนหนึ่งฟ้องจำเลยที่ศาลแขวงพระนครเหนือ โดยขอให้โอนคดีไปพิจารณาพิพากษาที่ศาลแขวงพระนครเหนือ แต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต เช่นนี้จำเลยหาอาจยื่นคำร้องขอให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ชี้ขาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 6,8 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ได้ไม่ เพราะคดีอาญานั้นมีบทบัญญัติตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 23,26บัญญัติเรื่องการโอนคดีไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตราดังกล่าวมาปรับแก่กรณีของจำเลยได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1287/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องค่าเสียหายจากการขนส่งทางทะเล: ใช้ พ.พ.พ.มาตรา 624 หากยังไม่มีกฎหมายเฉพาะ
การที่บริษัท ป. ขนสินค้าจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มายังท่าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นท่าเรือปลายทางเป็นการรับขนของทางทะเล ป.พ.พ. มาตรา 609 วรรคท้ายบัญญัติว่า รับขนทางทะเลให้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้นแต่ปัจจุบันกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลของประเทศไทยยังไม่มี ในเรื่องอายุความฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าหรือสิ่งของที่ขนส่งทางทะเลจึงต้องนำ ป.พ.พ.มาตรา 624 ซึ่งเป็นบทบัญญัติในบรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 ว่าด้วยรับขนของ อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับคดีตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสาม ซึ่งในข้อความรับผิดของผู้ขนส่งห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่วันส่งมอบของ เมื่อปรากฏว่าผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับตราส่งรับสินค้าไปเมื่อ พ.ศ. 2524 โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกันภัยรับช่วงสิทธิเรียกร้องมาจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับตราส่งมาฟ้องเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2526 คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเสียหายจากการขนส่งทางทะเล: การนำบทบัญญัติมาตรา 624 มาปรับใช้เมื่อไม่มีกฎหมายเฉพาะ
ปัจจุบันกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลของประเทศไทยยังไม่มี ในเรื่องอายุความฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าหรือสิ่งของที่ขนส่งทาง ทะเล ต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 624 ซึ่งเป็นบทบัญญัติในบรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 ว่าด้วยรับขนของ อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับคดีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 วรรคสาม เมื่อปรากฏว่าผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับตราส่งรับสินค้าไปเมื่อพุทธศักราช 2522 และ 2523 โจทก์รับช่วงสิทธิเรียกร้องจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับตราส่งมาฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความสูญหายและ บุบสลายของสินค้าเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2526 คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ
(วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2532)
(วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2532)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5565/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส. ต้องเป็นไปตาม กม.เฉพาะ และคำร้องต้องชัดเจนตามหลักวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติ ญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522มาตรา 78 บัญญัติเหตุอันจะพึงร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ไว้โดยเฉพาะว่าต้องมีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 26,32,34,51 หรือมาตรา 52 เท่านั้นตามคำร้องของผู้ร้องที่อ้างเหตุคัดค้านว่า ผู้คัดค้านที่ 2และผู้คัดค้านที่ 3 ผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยตนเองหรือตัวแทนของตนได้ให้อามิสสินจ้างแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อจูงใจให้ลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 นั้น จึงเป็นข้อกล่าวหาว่ามีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งผู้ฝ่าฝืนมีความผิดต้องระวางโทษตามมาตรา 84 มิใช่เหตุที่จะร้องคัดค้านการเลือกตั้งเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 78 ส่วนที่อ้างเหตุคัดค้านว่าผู้คัดค้านที่ 3 ได้พิมพ์โฆษณารูปผู้ร้อง ชื่อพรรคซึ่งผู้ร้องสังกัดอยู่และชื่อผู้ร้องในแผ่นพิมพ์โฆษณา แต่บอกหมายเลขประจำตัวของผู้คัดค้านที่ 3 ไว้ ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดคิดว่าผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งตามหมายเลขดังกล่าวซึ่งไม่เป็นความจริงนั้นก็เป็นข้อกล่าวหาว่ามีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 67 ซึ่งผู้ฝ่าฝืนมีความผิดและต้องระวางโทษตามมาตรา 84 มิใช่เหตุที่จะร้องคัดค้านการเลือกตั้งเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ ตามมาตรา 78 จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบจะรับไว้พิจารณาพระราชบัญญัติ ญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522มาตรา 79 บัญญัติให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงเป็นคำฟ้องตามบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา 1(3) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งจะต้องชอบด้วยมาตรา 172 วรรคสอง แต่ผู้ร้องบรรยายมาในคำร้องว่า เจ้าหน้าที่กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งได้แกล้งทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งหล่นหายและขีดฆ่าชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งบางคนซึ่งมีตัวตนออกโดยพลการ มิได้บรรยายให้แจ้งชัดว่ากรรมการผู้ใดได้แกล้งทำบัญชีรายชื่อหล่นหายหรือขีดฆ่าชื่อผู้ใดซึ่งมีสิทธิเลือกตั้งออก พอที่จะให้เข้าใจได้ว่าเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งผู้ใดประจำหน่วยเลือกตั้งใดจงใจไม่ปฏิบัติการตามหน้าที่ หรือกระทำการอันใดเพื่อขัดขวางมิให้การเป็นไปตามกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 52จึงเป็นคำร้องเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3350/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยจากภาษีค้างชำระ กฎหมายกำหนดวิธีชำระหนี้ภาษีโดยเฉพาะ
กฎหมายได้บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีผู้นำเข้าหรือลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ค่าภาษีอากรขาเข้า ค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลไว้ โดยเฉพาะแล้ว กล่าวคือ ในส่วนที่เป็นเงินภาษีอากรขาเข้าเพิ่มกรณีที่ตรวจเก็บอากรขาดตามพระราชบัญญัติศุลกากรมาตรา 102 ตรี(3) ซึ่ง มาตรา 112 จัตวา วรรคแรก ห้ามมิให้เรียกเก็บเงินเพิ่ม ส่วนกรณีภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลประมวลรัษฎากรมาตรา 89 ทวิ บัญญัติให้ผู้ประกอบการค้าเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละหนึ่งต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ โดยเงินเพิ่มจะต้องไม่เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระ ดังนั้นจึงนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาเรียกร้องเอากับลูกหนี้ซ้ำอีกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3350/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกดอกเบี้ยจากหนี้ภาษีอากร: กฎหมายเฉพาะบัญญัติไว้แล้ว ไม่อาจเรียกดอกเบี้ยเพิ่มได้
กฎหมายได้บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีผู้นำเข้าหรือลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ค่าภาษีอากรขาเข้า ค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลไว้โดยเฉพาะแล้วกล่าวคือ ในส่วนที่เป็นเงินภาษีอากรขาเข้าเพิ่มเป็นกรณีที่ตรวจเก็บอากรขาดตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 102 ตรี (3) ซึ่งมาตรา 112 จัตวาวรรคแรกห้ามมิให้เรียกเก็บเงินเพิ่ม ส่วนกรณีภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล ประมวลรัษฎากรมาตรา 89 ทวิ บัญญัติให้ผู้ประกอบการค้าเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละหนึ่งต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ โดยเงินเพิ่มจะต้องไม่เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระ ดังนั้นจึงนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา224 ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาเรียกร้องเอากับลูกหนี้ซ้ำอีกหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินเพิ่มและการเรียกดอกเบี้ยระหว่างผิดนัด: กฎหมายเฉพาะคุ้มครองลูกหนี้จากการเรียกร้องซ้ำซ้อน
ป. รัษฎากร มาตรา 89 ทวิ ได้บัญญัติให้เรียกเงินเพิ่มภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของจำนวนภาษีการค้าที่ต้องชำระเพิ่ม แต่ทั้งนี้ไม่เกินจำนวนภาษีการค้าที่ต้องชำระ เป็นทางแก้ สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ภาษีที่ค้างชำระไว้โดยเฉพาะแล้ว จะนำ ป.พ.พ. มาตรา 224 ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาเรียกร้องเอากับลูกหนี้ซ้ำอีกหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพนักงานยักยอกเงิน: การพิจารณาความผิดตามกฎหมายอาญาและกฎหมายเฉพาะ
พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 18 บัญญัติให้พนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งกฎหมายลักษณะอาญา เมื่อจำเลยซึ่งเป็นพนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยมีหน้าที่จำหน่ายตั๋วเดินทางยักยอกเงินค่าตั๋วเดินทางที่จำเลยได้รับไว้ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และโดยที่พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ. 2502 มาตรา 3 บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมายไม่เป็น 'พนักงาน' ตามกฎหมายฉบับดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา4 ด้วย
ปัญหาเรื่องการปรับบทลงโทษจำเลยเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย และแก้เสียให้ถูกต้องได้.
ปัญหาเรื่องการปรับบทลงโทษจำเลยเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย และแก้เสียให้ถูกต้องได้.