พบผลลัพธ์ทั้งหมด 73 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1912/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางอาญาฐานทำไม้และมีไม้แปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลฎีกาวินิจฉัยการใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่และการเพิ่มโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทำไม้โดยตัดฟันไม้ยาง กับจำเลยมีไม้ยางอันเป็นไม่หวงห้ามยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และคำขอท้ายฟ้องโจทก์ได้ระบุอ้างพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14 ซึ่งเป็นบทมาตราความผิดและมาตรา 31 ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษกับอ้างพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 69 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4)พ.ศ.2503 มาตรา 12 ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษผู้ที่ฝ่าฝืนมีไม้ยางยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต เพียงแต่โจทก์มิได้อ้างพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2522 มาตรา 3 ที่ให้ยกเลิกความในมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 กับพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่6) พ.ศ.2522 มาตรา 3 ที่ให้ยกเลิกความในมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2503 แล้วบัญญัติความใหม่ขึ้นแทนเท่านั้น ตามความที่บัญญัติขึ้นใหม่ยังคงเรียกว่ามาตรา31 และมาตรา 69 อยู่นั่นเองการที่จำเลยกระทำความผิดหลังจากใช้กฎหมายซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมใหม่แล้วแต่โจทก์มิได้ระบุอ้างพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงมิทำให้ฟ้องโจทก์ขาดความสมบูรณ์ เมื่อศาลฟังว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนเป็นความผิดตามมาตรา 14แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติซึ่งมีบทกำหนดโทษไว้ในมาตรา 31 และพระราชบัญญัติป่าไม้ มาตรา 69 แล้ว ศาลก็ลงโทษจำเลยตามกำหนดโทษในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2522 และมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2522 ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำคุกจำเลยเพิ่มขึ้น เพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกาศาลฎีกาพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยเพิ่มขึ้นไม่ได้
โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจำเลย ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยตามศาลชั้นต้น กับลงโทษปรับจำเลยแล้วรอการลงโทษจำคุกได้ และหากปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษปรับจำเลยตามกฎหมายกำหนดตามที่โจทก์ฎีกาได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำคุกจำเลยเพิ่มขึ้น เพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกาศาลฎีกาพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยเพิ่มขึ้นไม่ได้
โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจำเลย ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยตามศาลชั้นต้น กับลงโทษปรับจำเลยแล้วรอการลงโทษจำคุกได้ และหากปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษปรับจำเลยตามกฎหมายกำหนดตามที่โจทก์ฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1788/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองวัตถุระเบิดชนิดสงครามหลังกฎหมายแก้ไข: การใช้กฎหมายย้อนหลังต้องห้าม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดโดยมีวัตถุระเบิดสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามไว้ในความครอบครองเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2522อันเป็นเวลาหลังจากที่ พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืนมาตรา 55 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2522 มาตรา 6 ใช้บังคับแล้ว ซึ่งใน มาตรา 55 ที่แก้ไขแล้ว มิได้บัญญัติถึงวัตถุระเบิดสำหรับแต่เฉพาะในการสงครามว่าเป็นความผิดคงบัญญัติถึงประเภท ชนิด และขนาดของวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้หรือไม่เท่านั้นแม้ในวันที่จำเลยกระทำผิดจะมีกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2501) ออกตามความในพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืนพ.ศ.2490 ใช้บังคับอยู่แต่กฎกระทรวงดังกล่าวก็มิได้กำหนดว่าวัตถุระเบิดชนิดใดบ้างที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้จึงถือไม่ได้ว่าวัตถุระเบิดที่จำเลยมีในวันเกิดเหตุเป็นวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่อาจอนุญาตได้แม้ต่อมาจะมีกฎกระทรวง ฉบับที่ 11(พ.ศ.2522) ออกตามความใน พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืนพ.ศ.2490 ใช้บังคับอันจะถือได้ว่าวัตถุระเบิดที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ก็ตามแต่กฎกระทรวงดังกล่าวประกาศใช้ภายหลังโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดจึงนำมาใช้บังคับย้อนหลังให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2552/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นโทษอาวุธปืนตาม พ.ร.บ.ฉบับแก้ไข และการปรับใช้กฎหมายอาญาตามหลักกฎหมายที่เปลี่ยนแปลง
ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ(ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มาตรา 3 ยอมให้ผู้มีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน ไว้โดยไม่ได้รับอนุญาต นำไปขอรับอนุญาตได้ภายใน 90 วัน โดยผู้นั้นไม่ต้องรับโทษจำเลยจึงไม่ต้องรับโทษในความผิดฐานนี้ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้จึงไม่ถูกต้อง และในปัญหาดังกล่าวนี้แม้จะไม่มีประเด็นขึ้นมาสู่ศาลฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 693/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีอาวุธปืนเถื่อนได้รับการนิรโทษกรรมตามกฎหมายฉบับแก้ไขใหม่
ศาลล่างพิพากษาลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืนที่ไม่มีเครื่องหมายเลขทะเบียนและกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ก่อนที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์นั้น ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่6) พ.ศ.2518 ประกาศใช้บังคับ ในวันที่ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และวันที่จำเลยฎีกายังอยู่ภายใน 90 วัน ที่ มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัตินั้นให้โอกาสแก่ผู้มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนดังกล่าว นำไปขออนุญาตเพื่อปฏิบัติการให้ถูกต้องตามกฎหมายโดยผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ จึงถือว่าจำเลยไม่ต้องรับโทษตาม มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2026/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขออนุญาตอาวุธปืนภายหลังกฎหมายฉบับแก้ไข และการรับสารภาพในชั้นศาล
จำเลยได้นำอาวุธปืนของกลางไปขอจดทะเบียนไว้แล้วภายในกำหนดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษการที่นายทะเบียนมอบคืนอาวุธปืนให้จำเลยเก็บรักษาไว้ก่อนจนกว่าจะออกใบอนุญาตให้นั้น ก็ ต้องถือว่าจำเลยเก็บรักษาอาวุธปืนนั้นไว้แทนนายทะเบียนจำเลยไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนกระบอกนั้นไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่อีก
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีอาวุธปืนพกขนาด .22 และกระสุน.22 จำนวน 7 นัดไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ แม้จำเลยจะยื่นคำให้การรับสารภาพเฉพาะอาวุธปืนเท่านั้นก็ตาม แต่ก็ปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลในวันเดียวกันนั้นว่า 'จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์จำเลยแถลงไม่สืบพยานคดีเสร็จการพิจารณา' แสดงว่าศาลจดรายงานกระบวนพิจารณานี้หลังจากที่จำเลยยื่นคำให้การดังกล่าวแล้ว ถือได้ว่าจำเลยให้การใหม่รับสารภาพตามฟ้องของโจทก์ จำเลยต้องมีความผิดฐานมีกระสุนปืน 7 นัดนี้ไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ดังที่โจทก์ฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีอาวุธปืนพกขนาด .22 และกระสุน.22 จำนวน 7 นัดไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ แม้จำเลยจะยื่นคำให้การรับสารภาพเฉพาะอาวุธปืนเท่านั้นก็ตาม แต่ก็ปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลในวันเดียวกันนั้นว่า 'จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์จำเลยแถลงไม่สืบพยานคดีเสร็จการพิจารณา' แสดงว่าศาลจดรายงานกระบวนพิจารณานี้หลังจากที่จำเลยยื่นคำให้การดังกล่าวแล้ว ถือได้ว่าจำเลยให้การใหม่รับสารภาพตามฟ้องของโจทก์ จำเลยต้องมีความผิดฐานมีกระสุนปืน 7 นัดนี้ไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ดังที่โจทก์ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1572/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตได้รับการยกเว้นโทษตามกฎหมายฉบับแก้ไข หากดำเนินการขออนุญาตภายในระยะเวลาที่กำหนด
จำเลยมีอาวุธปืนลูกซองสั้นของกลาง ไม่มีหมายเลขทะเบียนไว้ในความครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ตามกฎหมาย ในระหว่างนั้นได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 ออกใช้บังคับให้ผู้มีอาวุธปืนดังกล่าวนำไปขอรับอนุญาตเพื่อปฏิบัติการให้ถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน ฯลฯ ต่อนายทะเบียนท้องที่ภายในกำหนด 90 วันไม่ต้องรับโทษและขณะที่จำเลยมีอาวุธปืนของกลางไว้ในความครอบครองนั้นยังอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยจะนำอาวุธปืนนั้น ไปขอรับอนุญาตเพื่อปฏิบัติการให้ถูกต้องตามกฎหมายได้จึงต้องถือว่าในขณะที่จำเลยมีอาวุธปืนของกลางไว้ในครอบครองนั้น กฎหมายยกเว้นโทษให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3088/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายในขณะกระทำความผิด: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่ากฎหมายแก้ไขภายหลังไม่เป็นคุณแก่จำเลย
จำเลยกระทำความผิดในขณะใช้บังคับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 และ 319 เดิม ซึ่งต่อมาได้ถูกแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 7 และ ข้อ 12 ศาลจะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา276 และ 319 ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่11 ข้อ 7 และข้อ 12 ไม่ได้ เพราะประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่จำเลย จำเลยจึงมีความผิดตามกฎหมายเดิมที่ใช้ในขณะกระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 600/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษจำคุกตลอดชีวิตและการบวกโทษที่รอลงอาญา โดยบทบัญญัติกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมย่อมไม่มีผลย้อนหลัง
ฟ้องโจทก์ขอให้บวกโทษที่รอไว้เข้ากับโทษในคดีนี้เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิตแล้ว แม้ว่าในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ออกใช้บังคับซึ่งข้อ 1 ของประกาศดังกล่าวได้ยกเลิกความในมาตรา 51 ของประมวลกฎหมายอาญาให้ใช้ความใหม่แทน ซึ่งข้อความที่บัญญัติใหม่มีผลให้เพิ่มโทษหรือบวกโทษแก่จำเลยได้ก็ตาม แต่บทบัญญัติที่ประกาศใช้ในภายหลังนี้หาเป็นคุณแก่จำเลยไม่ จึงไม่อาจนำมาใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการใช้กฎหมายอาวุธปืนฉบับแก้ไข: การครอบครองอาวุธปืนที่มีทะเบียนของผู้อื่น
พระราชบัญญัติอาวุธปืน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510 มาตรา 5 ซึ่งบัญญัติให้ผู้มีอาวุธปืนบางชนิดซึ่งยังมิได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายมาขอรับอนุญาติเพื่อปฏิบัติการให้ถูกต้องตามกฎหมาย ภายในกำหนดเวลาโดยไม่ต้องรับโทษนั้น หมายความถึงอาวุธปืนที่ยังไม่ได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น มิได้หมายความรวมถึงอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาตโดยชอบด้วย กฎหมายอยู่แล้ว ฉะนั้นเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยมีอาวุธปืนที่มีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในความครอบครองโดยไม่รับอนุญาต ก็ไม่มีเหตุที่จะอ้างว่าจำเลยไม่ต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2513)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1202/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกลับคืนสัญชาติไทยหลังเสียสัญชาติเนื่องจากบิดาเป็นต่างด้าวและมีกฎหมายแก้ไขภายหลัง
บุคคลผู้มีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักร แต่บิดาเป็นคนต่างด้าวซึ่งขาดจากสัญชาติไทย หากได้รับใบสำคัญคนต่างด้าวตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2495 มาตรา 16 ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2496 มาตรา 4 แต่เมื่อภายหลังมีพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 มาตรา 3 ซึ่งบัญญัติให้บุคคลซึ่งเกิดในราชอาณาจักรไทยได้สัญชาติไทยโดยการเกิด ย่อมมีผลให้บุคคลผู้ขาดจากสัญชาติไทยตามมาตรา 16 ทวิ ดังกล่าว ได้สัญชาติไทยกลับคืนมาตามเดิมโดยอาศัยพระราชบัญญัติฉบับหลังนี้ (เทียบฎีกาที่ 558/2506)