คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กรมธรรม์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 80 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5743/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของบริษัทประกันภัยตามกรมธรรม์และจำนวนเงินที่เอาประกันภัย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 8 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายในฐานะที่จำเลยที่ 8 รับประกันภัยรถยนต์ ซึ่งการรับประกันภัยทุกรายต้องมีกรมธรรม์และมีจำนวนเงินที่เอาประกันภัยอันเป็นวงเงินรับประกันภัยที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์และ ป.พ.พ. มาตรา 877 วรรคท้าย ก็บัญญัติว่า ท่านห้ามมิให้คิดค่าสินไหมทดแทนเกินไปกว่าจำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัยไว้ ทั้งศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยคนใดต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์หรือไม่เพียงใด ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 8 รับผิดต่อโจทก์ 250,000 บาท ซึ่งเป็นวงเงินที่จำเลยที่ 8 รับประกันภัยเท่าที่โจทก์มีสิทธิตามกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งจำเลยที่ 8 ส่งต่อศาลจึงไม่เป็นการนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5743/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้รับประกันภัยตามกรมธรรม์ ประเมินค่าเสียหายต้องไม่เกินวงเงินที่ระบุ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 8 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายในฐานะที่จำเลยที่ 8 รับประกันภัยรถยนต์ ซึ่งการรับประกันภัยทุกรายต้องมีกรมธรรม์และมีจำนวนเงินที่เอาประกันภัยอันเป็นวงเงินรับประกันภัยที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 877 วรรคท้าย ก็บัญญัติว่า ท่านห้ามมิให้คิดค่าสินไหมทดแทนเกินไปกว่าจำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัยไว้ ทั้งศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยคนใดต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์หรือไม่เพียงใด ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 8 รับผิดต่อโจทก์ 250,000 บาท ซึ่งเป็นวงเงินที่จำเลยที่ 8 รับประกันภัยเท่าที่โจทก์มีสิทธิตามกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งจำเลยที่ 8 ส่งต่อศาลจึงไม่เป็นการนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3883/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันภัยต้องมีผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่เอาประกัน หากไม่มีสิทธิในการฟ้อง
เมื่อไม่ปรากฏว่า บ. ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์คันเกิดเหตุจากเจ้าของเดิมก่อนนำมาทำสัญญาประกันภัยไว้กับโจทก์ จึงไม่อาจรับฟังว่า บ. เป็นผู้มีส่วนได้เสียในรถคันดังกล่าวขณะที่โจทก์รับประกันภัยไว้ กรมธรรม์ประกันภัยระหว่างโจทก์กับ บ. จึงไม่ผูกพันคู่สัญญา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 863 แม้โจทก์จะได้ชดใช้ค่าเสียหายแทน บ. ไปก็ไม่ได้รับช่วงสิทธิตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสาม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีส่วนได้เสียในรถยนต์ที่เอาประกันภัย และข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. มอบรถยนต์คันเกิดเหตุของห้างให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ช่วยผู้จัดการห้างใช้ โดยให้โจทก์มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบตลอดจนทำการซ่อมแซมด้วย เมื่อรถยนต์คันดังกล่าวเกิดอุบัติเหตุได้รับความเสียหายโจทก์ก็มีหน้าที่ต้องซ่อมแซม โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์คันดังกล่าวที่จะเอาประกันภัยกับจำเลยได้ กรมธรรม์ประกันภัยกำหนดเงื่อนไขยกเว้นความรับผิดของจำเลยผู้รับประกันภัยไว้ว่า "การขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ใด ๆ หรือเคยได้รับแต่ขาดต่ออายุเกินกว่า180 วัน หรือเคยได้รับแต่ถูกตัดสิทธิตามกฎหมายในการขับรถยนต์ในเวลาเกิดอุบัติเหตุ" หาได้ระบุว่าผู้ขับขี่จะต้องมีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของกรมตำรวจจึงจะได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ไม่ เมื่อ พ. ผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุซึ่งเอาประกันภัยไว้กับจำเลยได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ทุกประเภทจากกรมการขนส่งทางบก พ. จึงมิใช่เป็นบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้จำเลยได้รับยกเว้นความรับผิด จำเลยอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นพิพากษาเกินคำขอ เพราะศาลชั้นต้นให้จำเลยใช้ค่าเสียหายที่ยังไม่แน่นอนและเกินกว่าความเป็นจริงแต่กลับฎีกาว่าศาลชั้นต้นพิพากษาเกินคำขอเพราะโจทก์มิได้ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายเงินค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ ฎีกาของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์แม้จะเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาก็ไม่เห็นสมควรที่จะยกขึ้นวินิจฉัย ปัญหาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ จำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3446/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัย: การตกลงรับประกันภัยมีผลผูกพันตั้งแต่ตกลง แม้จะยังมิได้ออกกรมธรรม์
จำเลยเป็นนิติบุคคลอ้างตัวเองเป็นพยาน โดยไม่ระบุชัดเจนว่าผู้ใดจะมาเบิกความแทนจำเลย เมื่อจำเลยนำพยานบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยของจำเลยเข้าเบิกความไปแล้ว จำเลยจะย้อนไปนำส. กรรมการคนหนึ่งของจำเลยเข้าเบิกความอีกโดยไม่แสดงเหตุผลและความจำเป็น ที่จำเลยต้องนำ ส. เข้าเบิกความหลังพยานอื่นหาได้ไม่ การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีเพื่อนำ ส.เข้าเบิกความ จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบแล้ว จำเลยขอเลื่อนคดีเพื่อจะนำ ว. เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันภัยเข้าเบิกความแต่จากการที่ศาลสอบโจทก์ปรากฏว่าโจทก์เคยร้องเรียนไปยังสำนักงานประกันภัยให้สั่งจำเลยใช้เงินตามกรมธรรม์ประกันภัยแก่โจทก์ แต่สำนักงานประกันภัยแจ้งว่าสินค้าสูญหายก่อนที่จะออกกรมธรรม์ประกันภัย ไม่อาจสั่งให้จำเลยจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ได้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้งดสืบ ว. พยานจำเลยจึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบแล้วเช่นเดียวกัน การที่ศาลจะให้สืบพยานหลักฐานต่อไปหรือเห็นว่าเพียงพอแล้วจะให้งดเสียหรือไม่เป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาสั่งได้ตามควรแก่กรณีแห่งเรื่อง เพื่อให้คดี ดำเนิน ไปโดยรวดเร็วและยุติธรรม โจทก์กับจำเลยเคยติดต่อทำสัญญาประกันภัยกันหลายครั้งโดยผ่านส.ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยโดยส. จะไปรับสำเนาหนังสือเลตเตอร์ออฟเครดิตจากโจทก์เพื่อกรอกข้อความในกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับการประกันภัยสินค้ารายพิพาทโจทก์ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับที่เคยปฏิบัติมา โดยในวันที่ 22 สิงหาคม 2528 โจทก์แจ้งให้ ส.ไปรับสำเนาเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อทำประกันภัยสินค้ารายพิพาทเมื่อ ส. ได้รับมาแล้วได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยทราบว่ามีประกันภัยทางทะเลของโจทก์ 3 ราย พร้อมทั้งแจ้งรายละเอียดให้ทราบด้วย เจ้าหน้าที่ของจำเลยจะส่งคนไปรับสำเนาเลตเตอร์ออฟเครดิตแต่ในวันนั้นไม่มีผู้ใดไปรับจนกระทั่งวันที่ 26 สิงหาคม 2528เจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงไปรับและนำกรมธรรม์ประกันภัยรายพิพาทมามอบให้ ส.ส. มอบให้โจทก์ในวันที่ 28 สิงหาคม 2528แต่ปรากฏว่าเรือบรรทุกสินค้าได้อัปปาง ลงเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม2528 พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า โจทก์จำเลยได้ตกลงทำสัญญาประกันภัยตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2528 โดยฝ่าย ส. ตัวแทนของจำเลย แม้จำเลยจะออกกรมธรรม์ประกันภัยในภายหลัง ความรับผิดของจำเลยย่อมเริ่มตั้งแต่เมื่อได้เริ่มตกลงรับประกันภัยไว้เป็นต้นไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 807/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องในสัญญาประกันภัย: ผู้ไม่มีส่วนได้เสียในรถยนต์ ณ เวลาทำสัญญา ไม่มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุซึ่งได้เอาประกันภัยค้ำจุนไว้กับจำเลย จึงเป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์มีส่วนได้เสียในรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ เมื่อจำเลยให้การว่าโจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้ครอบครองรถยนต์คันดังกล่าว โจทก์ไม่มีส่วนได้เสียในรถยนต์ที่เอาประกันภัย ประเด็นจึงมีเพียงว่า โจทก์มีส่วนได้เสียในฐานะที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้ครอบครองรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลยหรือไม่เท่านั้น ที่โจทก์นำสืบและฎีกาว่า เจ้าของรถยนต์คันที่โจทก์เอาประกันภัยไว้กับจำเลยได้นำรถยนต์คันดังกล่าวเข้าร่วมในกิจการของโจทก์โดยแบ่งผลประโยชน์กันโจทก์จึงมีส่วนต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดด้วยนั้น เป็นเรื่องนอกคำฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้ในขณะที่ทำสัญญาประกันภัย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์คันดังกล่าว กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่ผูกพันคู่กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 863โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4940/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดของผู้รับประกันภัยตามกรมธรรม์ กรณีอุบัติเหตุเดียวกัน และการชำระหนี้โดยสุจริต
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ด้วยความประมาท เป็นเหตุให้เกิดชนกันขึ้น จำเลยที่ 4 ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์ของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ด้วย ตามสัญญากรมธรรม์ประกันภัยระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 4ระบุวงเงินค่าเสียหายเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคลภายนอกไว้ว่าไม่เกิน 100,000 บาท ต่อหนึ่งครั้ง จึงหมายความว่า จำเลยที่ 4จำกัดความรับผิดในค่าเสียหายต่อบุคคลภายนอกไม่ว่าคนเดียวหรือหลายคนในอุบัติเหตุครั้งเดียวกันไว้ไม่เกิน 100,000 บาทเท่านั้นและหากจำเลยที่ 4 ได้ชำระค่าเสียหายให้โจทก์ในอีกคดีซึ่งได้ฟ้องในอุบัติเหตุครั้งเดียวกันกับคดีนี้เต็มจำนวน 100,000 บาทตามสัญญากรมธรรม์ประกันภัยแล้ว จำเลยที่ 4 ก็ไม่ต้องชำระค่าเสียหายให้โจทก์ในคดีนี้อีก การชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวเป็นการชำระหนี้โดยสุจริตและถูกต้องตามกฎหมาย จำเลยที่ 4 ไม่ต้องเฉลี่ยเงินค่าเสียหายให้โจทก์คดีนี้ จำเลยที่ 4 อ้างสำนวนคดีแพ่งของศาลชั้นต้นพร้อมทั้งสรรพเอกสารเป็นพยานในคดีนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตามข้อเท็จจริงในสำนวนคดีดังกล่าว จึงไม่เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกสำนวน แต่ข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 4 ได้ชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ในคดีอื่นเกิดขึ้นภายหลังที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีนี้แล้ว ศาลอุทธรณ์ไม่ชอบที่จะนำมาพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 4 ไปเลย แต่ควรกำหนดเป็นเงื่อนไขในความรับผิดของจำเลยที่ 4 เท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4457/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรมธรรม์ประกันภัยยังคงมีผลแม้ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต หากรถยนต์ยังอยู่ในอายุการคุ้มครองและไม่มีการโอน
จำเลยที่ 3 รับประกันภัยค้ำจุนสำหรับการใช้รถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 2 ตามกรมธรรม์ประกันภัยกำหนดเรื่องการโอนรถยนต์ว่า กรมธรรม์ประกันภัยสิ้นผลบังคับเมื่อผู้เอาประกันภัยได้โอนรถยนต์ให้บุคคลอื่นเว้นแต่รถยนต์ได้เปลี่ยนมือจากผู้เอาประกันภัยโดยพินัยกรรมหรือโดยบัญญัติกฎหมาย ข้อกำหนดดังกล่าวไม่ได้กำหนดเงื่อนไขให้กรมธรรม์ประกันภัยสิ้นผลบังคับเพราะเหตุผู้เอาประกันภัยถึงแก่กรรม ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 จะถึงแก่กรรมก่อนเกิดเหตุ แต่ขณะเกิดเหตุ ว. ภรรยาของจำเลยที่ 2 เป็นทายาทและรับมรดกสืบสิทธิจากจำเลยที่ 2 ผู้ตายในฐานะผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 1 ซึ่งเดิมเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จึงยังคงเป็นลูกจ้างขับรถยนต์บรรทุกคันที่เอาประกันภัยไว้โดย ว. ว่าจ้างต่อ เมื่อจำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างของ ว. ผู้เป็นนายจ้าง ว. จึงมีความผูกพันต้องรับผิดต่อโจทก์ และจำเลยที่ 3 ย่อมต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2878/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าใช้จ่ายทางภาษี กรณีค่าบริการสาขา, หนี้สูญ, และเงินปันผลกรมธรรม์ประกันชีวิต
เงินที่จำเลยส่งไปยังสำนักงานใหญ่ต่างประเทศเพื่อเฉลี่ยค่าใช้จ่ายของสำนักงานดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นรายจ่ายเพื่อประโยชน์แก่กิจการของจำเลยในประเทศ ไทย และจำเลยไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า สาขาในประเทศ ไทย ได้รับบริการนี้จริง และเป็นรายจ่ายที่สำนักงานใหญ่เฉลี่ย เรียกเก็บมาโดยถือหลักเกณฑ์ที่เป็นธรรม แล้วจำเลยจะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(14) เมื่อจำเลยส่งเงินจำนวนดังกล่าวไปให้แก่สำนักงานใหญ่ยังต่างประเทศ จึงถือได้ว่าจำเลยจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศ ไทย ต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ อีกส่วนหนึ่ง
หนี้ที่จะนำไปจำหน่ายเป็นหนี้สูญในการคำนวณกำไรสุทธินั้นต้องปรากฏว่าจำเลยได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้วตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(9) แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 มาตรา 29 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เมื่อปรากฏว่าหนี้ดังกล่าวจำเลยเพียงแต่ส่งคนไปติดตามแล้วแต่ไม่ได้ โดยไม่มีหลักฐานแสดงว่าได้มีการติดตามทวงถามลูกหนี้อย่างไร จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้ว จำเลยจึงนำหนี้ดังกล่าวไปจำหน่ายเป็นหนี้สูญในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้
จำเลยจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2527 โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2529 ยังไม่พ้นกำหนดสองปีนับแต่วันที่ถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1272 คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
เงินปันผลที่จำเลยจ่ายให้แก่ผู้ถือกรมธรรม์ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันชีวิต เมื่อประกันครบระยะเวลาหนึ่งในขณะที่กรมธรรม์ยังมีผลคุ้มครองผู้เอาประกันอยู่ แม้จะมิได้จ่ายจากทุนประกันก็ตาม ถือได้ว่าเป็นการใช้เงินตามจำนวนซึ่งเอาประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(1) (ก)วรรคสอง ซึ่งจำเลยอาจนำไปหักออกจากเงินสำรองตามมาตรา 65 ตรี (1)(ก) วรรคแรก ซึ่งตัดเป็นรายจ่ายไว้ได้อยู่แล้ว จำเลยจึงนำเงินปันผลดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิอีกไม่ได้ เพราะจะเป็นการหักรายจ่ายซ้ำซ้อนกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นกรมธรรม์ประกันภัยค้ำจุน: การยกเว้นความรับผิดเมื่อใช้รถรับจ้าง
จำเลยที่ 2 นำรถยนต์คันเกิดเหตุไปประกันภัยค้ำจุนไว้กับจำเลยที่ 3 ตามกรมธรรม์ประกันภัย มีข้อยกเว้นความรับผิดต่อบุคคลภายนอกในกรณีการใช้รถยนต์คันดังกล่าว คือ ห้ามรับจ้างหรือให้เช่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ใช้รถยนต์คันดังกล่าวไปรับจ้างบรรทุกของโดยให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับขี่ แล้วจำเลยที่ 1 ไปทำละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัย เช่นนี้ความรับผิดของจำเลยที่ 3 ที่มีต่อโจทก์ต้องเป็นไปตามที่ระบุไว้ในสัญญาประกันภัยค้ำจุนดังกล่าว ข้อยกเว้นความรับผิดต่อบุคคลภายนอกตามกรมธรรม์ประกันภัยมีผลใช้บังคับได้ จำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 2 ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย และมีสิทธิยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้ จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
of 8