พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2684/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีภาษีอากร: โจทก์ฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้โดยไม่ต้องฟ้องเจ้าพนักงานประเมินหรือกรมสรรพากร
ประมวลรัษฎากร มาตรา 30(1)(ข) บัญญัติว่า ในการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากร ให้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทนสรรพากรเขตหรือผู้แทนและอัยการจังหวัดหรือผู้แทน และประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2)บัญญัติให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้อีก เมื่อจำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยยกอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยต่อศาลหรือฟ้องสรรพากรจังหวัดซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมิน หรือฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลยได้อีกด้วย แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องสรรพากรจังหวัดหรือกรมสรรพากร เป็นจำเลยด้วย ศาลก็พิพากษาตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ หาขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 390/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรมสรรพากร และการเสียอากรแสตมป์ในเอกสารรับของที่ไม่ใช่ใบรับของตามกฎหมาย
หนังสือที่สั่งให้โจทก์นำเงินอากรและเงินเพิ่มอากรไปชำระ ลงสถานที่กรมสรรพากร ผู้ลงนามเป็นเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอธิบดีกรมสรรพากรเป็นประธาน ประกอบกับประมวลรัษฎากรมาตรา 5 บัญญัติกว่า ภาษีอากรฝ่ายสรรพากรเป็นประธาน ประกอบกับประมวลรัษฎากรมาตรา 5 บัญญัติว่า ภาษีอากรฝ่ายสรรพากรอยู่ในอำนาจหน้าที่และควบคุมของกรมสรรพากร เห็นได้ชัดว่าเจ้าหน้าที่เหล่านี้ได้กระทำไปในนามของกรมสรรพากร เมื่อโจทก์เห็นว่าการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวไม่ถูกต้อง โจทก์ย่อมฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลยด้วยได้
ข้อความในเอกสาร "ข้าพเจ้า (โจทก์) ขอรับผิดชอบในการที่จะจัดส่งสิ่งของที่ระบุไว้ข้างล่างนี้ไปยังจุดหมายปลายทางโดยมิให้มีการสูญหรือเสียหายเกิดขึ้นเลย" เป็นเพียงข้อสัญญาที่โจทก์ให้ไว้ว่าจะจัดส่งสิ่งของไปยังจุดหมายปลายทางโดยความปลอดภัย มิให้สิ่งของเหล่านั้นสูญหรือเสียหาย ซึ่งถ้าเกิดสูญหรือเสียหาย โจทก์ยอมรับใช้ค่าเสียหายเอกสารดังกล่าวมิได้มีข้อความว่า โจทก์ได้รับสินค้าไป และออกใบรับของให้ เอกสารดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าเป็นใบรับของตามความหมายในข้อ 16 แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร โจทก์ไม่มีหน้าที่จะต้องเสียอากรแสตมป์
ข้อความในเอกสาร "ข้าพเจ้า (โจทก์) ขอรับผิดชอบในการที่จะจัดส่งสิ่งของที่ระบุไว้ข้างล่างนี้ไปยังจุดหมายปลายทางโดยมิให้มีการสูญหรือเสียหายเกิดขึ้นเลย" เป็นเพียงข้อสัญญาที่โจทก์ให้ไว้ว่าจะจัดส่งสิ่งของไปยังจุดหมายปลายทางโดยความปลอดภัย มิให้สิ่งของเหล่านั้นสูญหรือเสียหาย ซึ่งถ้าเกิดสูญหรือเสียหาย โจทก์ยอมรับใช้ค่าเสียหายเอกสารดังกล่าวมิได้มีข้อความว่า โจทก์ได้รับสินค้าไป และออกใบรับของให้ เอกสารดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าเป็นใบรับของตามความหมายในข้อ 16 แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร โจทก์ไม่มีหน้าที่จะต้องเสียอากรแสตมป์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 390/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรมสรรพากร และการเสียอากรแสตมป์จากเอกสารรับรองการขนส่ง
หนังสือที่สั่งให้โจทก์นำเงินอากรและเงินเพิ่มอากรไปชำระลงสถานที่กรมสรรพากร ผู้ลงนามเป็นเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอธิบดีกรมสรรพากรเป็นประธานประกอบกับประมวลรัษฎากร มาตรา 5 บัญญัติว่า ภาษีอากรฝ่ายสรรพากรอยู่ในอำนาจหน้าที่และควบคุมของกรมสรรพากรเห็นได้ชัดว่าเจ้าหน้าที่เหล่านี้ได้กระทำไปในนามของกรมสรรพากร เมื่อโจทก์เห็นว่าการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวไม่ถูกต้อง โจทก์ย่อมฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลยด้วยได้
ข้อความในเอกสาร 'ข้าพเจ้า(โจทก์)ขอรับผิดชอบในการที่จะจัดส่งสิ่งของที่ระบุไว้ข้างล่างนี้ไปยังจุดหมายปลายทางโดยมิให้มีการสูญหรือเสียหายเกิดขึ้นเลย' เป็นเพียงข้อสัญญาที่โจทก์ให้ไว้ว่าจะจัดส่งสิ่งของไปยังจุดหมายปลายทางโดยความปลอดภัยมิให้สิ่งของเหล่านั้นสูญหรือเสียหาย ซึ่งถ้าเกิดสูญหรือเสียหาย โจทก์ยอมรับใช้ค่าเสียหายเอกสารดังกล่าวมิได้มีข้อความว่า โจทก์ได้รับสินค้าไป และออกใบรับของให้เอกสารดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าเป็นใบรับของตามความหมายในข้อ 16 แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร โจทก์ไม่มีหน้าที่จะต้องเสียอากรแสตมป์
ข้อความในเอกสาร 'ข้าพเจ้า(โจทก์)ขอรับผิดชอบในการที่จะจัดส่งสิ่งของที่ระบุไว้ข้างล่างนี้ไปยังจุดหมายปลายทางโดยมิให้มีการสูญหรือเสียหายเกิดขึ้นเลย' เป็นเพียงข้อสัญญาที่โจทก์ให้ไว้ว่าจะจัดส่งสิ่งของไปยังจุดหมายปลายทางโดยความปลอดภัยมิให้สิ่งของเหล่านั้นสูญหรือเสียหาย ซึ่งถ้าเกิดสูญหรือเสียหาย โจทก์ยอมรับใช้ค่าเสียหายเอกสารดังกล่าวมิได้มีข้อความว่า โจทก์ได้รับสินค้าไป และออกใบรับของให้เอกสารดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าเป็นใบรับของตามความหมายในข้อ 16 แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร โจทก์ไม่มีหน้าที่จะต้องเสียอากรแสตมป์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 390/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรมสรรพากร และการเสียอากรแสตมป์ในเอกสารรับของที่ไม่ใช่ใบรับของตามกฎหมาย
หนังสือที่สั่งให้โจทก์นำเงินอากรและเงินเพิ่มอากรไปชำระ ลงสถานที่กรมสรรพากร. ผู้ลงนามเป็นเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร. คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอธิบดีกรมสรรพากรเป็นประธานประกอบกับประมวลรัษฎากร มาตรา 5 บัญญัติว่า. ภาษีอากรฝ่ายสรรพากรอยู่ในอำนาจหน้าที่และควบคุมของกรมสรรพากร.เห็นได้ชัดว่าเจ้าหน้าที่เหล่านี้ได้กระทำไปในนามของกรมสรรพากร. เมื่อโจทก์เห็นว่าการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวไม่ถูกต้อง. โจทก์ย่อมฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลยด้วยได้.
ข้อความในเอกสาร 'ข้าพเจ้า(โจทก์)ขอรับผิดชอบในการที่จะจัดส่งสิ่งของที่ระบุไว้ข้างล่างนี้ไปยังจุดหมายปลายทางโดยมิให้มีการสูญหรือเสียหายเกิดขึ้นเลย'. เป็นเพียงข้อสัญญาที่โจทก์ให้ไว้ว่าจะจัดส่งสิ่งของไปยังจุดหมายปลายทางโดยความปลอดภัยมิให้สิ่งของเหล่านั้นสูญหรือเสียหาย. ซึ่งถ้าเกิดสูญหรือเสียหาย. โจทก์ยอมรับใช้ค่าเสียหายเอกสารดังกล่าวมิได้มีข้อความว่า. โจทก์ได้รับสินค้าไป และออกใบรับของให้. เอกสารดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าเป็นใบรับของตามความหมายในข้อ 16 แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร. โจทก์ไม่มีหน้าที่จะต้องเสียอากรแสตมป์.
ข้อความในเอกสาร 'ข้าพเจ้า(โจทก์)ขอรับผิดชอบในการที่จะจัดส่งสิ่งของที่ระบุไว้ข้างล่างนี้ไปยังจุดหมายปลายทางโดยมิให้มีการสูญหรือเสียหายเกิดขึ้นเลย'. เป็นเพียงข้อสัญญาที่โจทก์ให้ไว้ว่าจะจัดส่งสิ่งของไปยังจุดหมายปลายทางโดยความปลอดภัยมิให้สิ่งของเหล่านั้นสูญหรือเสียหาย. ซึ่งถ้าเกิดสูญหรือเสียหาย. โจทก์ยอมรับใช้ค่าเสียหายเอกสารดังกล่าวมิได้มีข้อความว่า. โจทก์ได้รับสินค้าไป และออกใบรับของให้. เอกสารดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าเป็นใบรับของตามความหมายในข้อ 16 แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร. โจทก์ไม่มีหน้าที่จะต้องเสียอากรแสตมป์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 331-332/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการแก้ไขรายการภาษีที่ยื่นไม่ถูกต้อง โดยไม่ต้องขออนุมัติอธิบดีกรมสรรพากร
เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจเรียกตัวผู้ยื่นรายการที่มีเหตุควรเชื่อว่ายื่นไม่ถูกต้องตามความจริงมาไต่สวน แล้วแก้เพิ่มเติมจำนวนเงินที่ยื่นรายการไว้โดยอาศัยพยานหลักฐานที่ปรากฏได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19, 20 หาจำต้องรับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรก่อน ดังมาตรา 86 ไม่ เพราะมาตรา 86 เป็นเรื่องเจ้าพนักงานประเมินกำหนดยอดเงินที่จะต้องคำนวณเพื่อเสียภาษีขึ้นเรียกเก็บเอาเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7363/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นภาษีเงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกรณีเกษียณอายุ: การตีความ 'สิ้นสุดสัญญาจ้าง' และข้อยกเว้นตามประกาศกรมสรรพากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการสำหรับกรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 151) และ (ฉบับที่ 158) ตามลำดับ กำหนดว่า ข้อ 1 (1) กรณีเกษียณอายุ ลูกจ้างผู้นั้นต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปี บริบูรณ์ ซึ่งออกจากงานเพราะครบกำหนดหรือสิ้นกำหนดเวลาทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ดังนี้ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ดังกล่าว มิได้มีบทบังคับเด็ดขาดว่ากรณีเกษียณอายุจะต้องเป็นกำหนดเวลาทำงานที่มีอยู่แล้วตั้งแต่เวลาที่ลูกจ้างเริ่มเข้าทำงาน จึงไม่อาจขยายความให้เป็นผลร้ายแก่ผู้เสียภาษีอากรได้ กรณีของโจทก์แม้ตามข้อบังคับธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการพนักงาน พ.ศ.2546 จะกำหนดเวลาการจ้างแรงงานไว้ในข้อ 6.6 คือ พนักงานพ้นจากตำแหน่งเพราะครบเกษียณอายุ คือให้พนักงานผู้มีอายุครบ 60 ปี บริบูรณ์ พ้นจากตำแหน่งในวันที่ 1 ตุลาคม หลังจากที่พนักงานผู้นั้นมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ก็ตาม แต่การที่โจทก์ออกจากงานก่อนกำหนดดังกล่าวตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ พ 42/2547 เรื่อง การออกจากงานโดยความเห็นชอบร่วมกัน พ.ศ.2547 ถึง 2550 นั้น เป็นการเลิกสัญญาจ้างกันโดยความตกลงของทั้งสองฝ่ายที่เป็นลายลักษณ์อักษรในภายหลังอันมีผลให้กำหนดเวลาทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดลง ทั้งมิใช่เป็นการทำข้อตกลงให้โจทก์ลาออกในกรณีปกติตามข้อบังคับธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการพนักงาน พ.ศ.2546 ข้อ 6.6 (2) จึงถือได้ว่าโจทก์ออกจากงานเพราะสิ้นกำหนดเวลาทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ตามหลักเกณฑ์กรณีเกษียณอายุในข้อ 1 (1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) ดังกล่าวแล้ว เมื่อขณะออกจากงานโจทก์มีอายุ 56 ปี และเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี เงินได้ที่โจทก์ได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพย่อมได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3983/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีซื้อจากการก่อสร้างโอนกรรมสิทธิ์ให้การรถไฟฯ ภายใน 3 ปี เข้าข่ายภาษีซื้อต้องห้าม ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
โจทก์คืนภาษีให้จำเลยไปโดยอาศัย ป.รัษฎากร จำเลยได้ภาษีคืนโดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้จึงไม่ใช้อายุความ 1 ปี แต่ใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
จำเลยประกอบกิจการระบบขนส่งทางถนนและการใช้ประโยชน์จากที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประกอบกิจการรถไฟชุมชน เป็นการให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1) (ณ)
กิจการของจำเลยเป็นกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามมาตรา 82/6 แห่ง ป.รัษฎากร โดยเฉลี่ยภาษีซื้อตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29) เมื่อจำเลยถูกบอกเลิกสัญญาสัมปทาน จึงไม่มีการก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์และวันที่เริ่มใช้อาคาร จำเลยจึงไม่มีสิทธิเฉลี่ยภาษีซื้อที่จะนำไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3
ตามสัญญาสัมปทานกำหนดให้อาคารและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดตกเป็นทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทยทันทีที่ก่อสร้าง การโอนกรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเป็นการขายตามมาตรา 77/1 (8) แห่ง ป.รัษฎากร และเป็นการขายภายใน 3 ปี นับแต่เดือนภาษีที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ จึงเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 (6) ประกอบประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42)
จำเลยประกอบกิจการระบบขนส่งทางถนนและการใช้ประโยชน์จากที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประกอบกิจการรถไฟชุมชน เป็นการให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1) (ณ)
กิจการของจำเลยเป็นกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามมาตรา 82/6 แห่ง ป.รัษฎากร โดยเฉลี่ยภาษีซื้อตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29) เมื่อจำเลยถูกบอกเลิกสัญญาสัมปทาน จึงไม่มีการก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์และวันที่เริ่มใช้อาคาร จำเลยจึงไม่มีสิทธิเฉลี่ยภาษีซื้อที่จะนำไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3
ตามสัญญาสัมปทานกำหนดให้อาคารและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดตกเป็นทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทยทันทีที่ก่อสร้าง การโอนกรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเป็นการขายตามมาตรา 77/1 (8) แห่ง ป.รัษฎากร และเป็นการขายภายใน 3 ปี นับแต่เดือนภาษีที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ จึงเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 (6) ประกอบประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13996/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรมสรรพากรประเมินภาษีส่วนท้องถิ่น และข้อยกเว้น พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
กรมสรรพากรมีอำนาจจัดเก็บภาษีส่วนท้องถิ่นแทนกรุงเทพมหานคร โดยอาศัย พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 มาตรา 112 บัญญัติว่า "กรุงเทพมหานครมีอำนาจออกข้อบัญญัติเพื่อเก็บภาษีอากร...เพิ่มขึ้นได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของภาษี ...ประเภทใดประเภทหนึ่งหรือทุกประเภทดังต่อไปนี้ (1) ภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ป.รัษฎากร... และวรรคสาม "ภาษีอากร... ตามมาตรานี้ ให้ถือเป็นภาษีอากร...ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น" ดังนั้น ภาษีส่วนท้องถิ่นร้อยละ 10 ของภาษีธุรกิจเฉพาะตามพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงถือเป็นภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ป.รัษฎากร ซึ่งมาตรา 5 แห่ง ป.รัษฎากรบัญญัติให้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมสรรพากร
ป.รัษฎากรลักษณะ 2 ภาษีอากรฝ่ายสรรพากร หมวด 2 วิธีการเกี่ยวแก่ภาษีอากรประเมิน ส่วน 2 การอุทธรณ์มีรายละเอียดตามมาตรา 28 ถึง 34 เป็นบทบัญญัติที่ได้กำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในส่วนการพิจารณาอุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะและไม่มีบทบัญญัติว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ต้องพิจารณาคำอุทธรณ์ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ขั้นตอนพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวที่ป.รัษฎากรกำหนดไว้ จึงเข้าหลักเกณฑ์ตามข้อยกเว้นใน พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2535 มาตรา 3 วรรคสอง ที่ไม่นำความในวรรคหนึ่ง มาใช้บังคับในกรณีนี้ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องพิจารณาว่า ป.รัษฎากรในส่วนนี้ มีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการต่ำหรือสูงกว่า พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 และไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 45
ป.รัษฎากรลักษณะ 2 ภาษีอากรฝ่ายสรรพากร หมวด 2 วิธีการเกี่ยวแก่ภาษีอากรประเมิน ส่วน 2 การอุทธรณ์มีรายละเอียดตามมาตรา 28 ถึง 34 เป็นบทบัญญัติที่ได้กำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในส่วนการพิจารณาอุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะและไม่มีบทบัญญัติว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ต้องพิจารณาคำอุทธรณ์ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ขั้นตอนพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวที่ป.รัษฎากรกำหนดไว้ จึงเข้าหลักเกณฑ์ตามข้อยกเว้นใน พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2535 มาตรา 3 วรรคสอง ที่ไม่นำความในวรรคหนึ่ง มาใช้บังคับในกรณีนี้ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องพิจารณาว่า ป.รัษฎากรในส่วนนี้ มีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการต่ำหรือสูงกว่า พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 และไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 45
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8212/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการยึดทรัพย์สินของผู้ค้างชำระภาษีอากร: อำนาจของกรมสรรพากรและสิทธิของเจ้าหนี้
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าจำเลยค้างชำระภาษีอากรแก่ผู้ร้องเป็นเงิน 3,936,443 บาท (ยังไม่รวมเงินเพิ่มตามกฎหมาย) ผู้ร้องมีประกาศให้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 3818, 3924, 10523, 43391 และ 49960 ซึ่งมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพื่อบังคับชำระภาษีอากรค้างก่อนที่โจทก์จะฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โจทก์และจำเลยยื่นคำคัดค้านโดยมิได้ปฏิเสธหนี้ภาษีอากรที่จำเลยค้างชำระ ทั้งปรากฏตามเอกสารท้ายคำร้องฟังได้ว่าจำเลยค้างชำระภาษีอากรดังกล่าวแก่ผู้ร้องจริง ผู้ร้องจึงมีอำนาจสั่งยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรได้โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่งตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12 อันเป็นกฎหมายพิเศษที่ให้อำนาจผู้ร้องในการบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของผู้ค้างชำระภาษีอากรโดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องร้องต่อศาลดังเช่นเจ้าหนี้รายอื่น ๆ เมื่อความปรากฏต่อศาลชั้นต้นในภายหลังว่าผู้ร้องยึดที่ดินตามที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์กลับคืนมาเป็นชื่อโจทก์ไว้ก่อนแล้ว จึงเป็นกรณีที่จำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นชื่อโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และไม่อาจถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยอันเป็นการกระทบต่อสิทธิของผู้ร้องตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งให้จำเลยชดใช้ราคาที่ดินแทนการโอนกรรมสิทธิ์ เพื่อให้การบังคับคดีตามคำพิพากษาดำเนินไปได้โดยครบถ้วนและถูกต้อง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสามแปลงแก่โจทก์โดยปราศจากภาระติดพัน เนื่องจากที่ดินเป็นของโจทก์ซึ่งมิใช่ลูกหนี้ผู้ร้องจึงไม่ชอบ แม้ผู้ร้องขอเข้ามาในคดีโดยอ้างสิทธิว่าเป็นการร้องสอดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) แต่เนื้อหาตามคำร้องเป็นเรื่องที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่าโจทก์จะบังคับคดีให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ผู้ร้องยึดไว้ก่อนแล้วไม่ได้ ต้องบังคับให้จำเลยชดใช้ราคาที่ดินแทน เป็นการขอให้ศาลทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 302 วรรคหนึ่ง (เดิม) หาใช่เป็นคำร้องสอดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ไม่ ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องและคำร้องของผู้ร้องชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาไปตามรูปเรื่องที่ถูกต้องได้