คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กรรมการลูกจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 76 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6265/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ในคดีเดิมที่จำเลยขออนุญาตต่อศาลแรงงานกลางเพื่อเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้าง จำเลยอ้างเหตุแห่งการเลิกจ้างว่าโจทก์แจ้งคุณสมบัติในใบสมัครงานเป็นเท็จทำให้จำเลยเข้าใจผิดในคุณสมบัติของโจทก์ว่า โจทก์ลาออกจากงานที่เคยทำ ต่อมาจำเลยทราบว่าโจทก์ออกจากงานโดยถูกเลิกจ้างเพราะขาดงานเกิน 3 วันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลสมควร เหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงไม่ต้องด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ และในคดีเดิมศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ได้กำหนดว่าให้เลิกจ้างตั้งแต่เมื่อใด ทั้งการพิจารณาคำร้องขออนุญาตเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวก็เพียงแต่พิจารณาว่ามีเหตุผลเพียงพอที่จะให้เลิกจ้างโจทก์ได้หรือไม่ เช่นนี้เมื่อจำเลยได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานกลางให้เลิกจ้างโจทก์ได้แล้ว จำเลยต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการเลิกจ้างโจทก์ให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าจำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5211/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างโดยไม่ขออนุญาตศาล การยอมรับค่าชดเชยถือเป็นการสละสิทธิ
นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ทราบว่าลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างเป็นกรรมการลูกจ้าง จึงไม่ได้อนุญาตต่อศาลแรงงาน เมื่อนายจ้างดำเนินคดีขอให้เพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่มีคำสั่งให้รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือจ่ายค่าเสียหายลูกจ้างมายอมรับค่าเสียหายกับค่าชดเชยแล้วแถลงไม่ติดใจกล่าวหานายจ้างเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรม ไม่ติดใจตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ดังนี้ย่อมเป็นข้อแสดงโดยชัดแจ้งว่า ลูกจ้างยอมรับถึงความถูกต้องของการเลิกจ้างกันโดยชอบแล้ว โดยไม่จำต้องให้นายจ้างไปขออนุญาตเลิกจ้างลูกจ้างต่อศาลแรงงานอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5211/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างโดยไม่ขออนุญาตศาล การยอมรับค่าชดเชยถือเป็นการยอมรับการเลิกจ้างโดยชอบ
นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ทราบว่าลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างเป็นกรรมการลูกจ้าง จึงไม่ได้ขออนุญาตต่อศาลแรงงาน เมื่อนายจ้างดำเนินคดีขอให้เพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่มีคำสั่งให้รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือจ่ายค่าเสียหาย ลูกจ้างมายอมรับค่าเสียหายกับค่าชดเชยแล้วแถลงไม่ติดใจกล่าวหานายจ้างเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรม ไม่ติดใจตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ดังนี้ย่อมเป็นข้อแสดงโดยแจ้งชัดว่า ลูกจ้างยอมรับถึงความถูกต้องของการเลิกจ้างกันโดยชอบแล้ว โดยไม่จำต้องให้นายจ้างไปขออนุญาตเลิกจ้างลูกจ้างต่อศาลแรงงานอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1849/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างโดยชอบธรรมตามมติคณะรัฐมนตรีและการสิ้นสุดงาน
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 52 นายจ้างจะต้องมีเหตุจำเป็นหรือเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้าง โดยเหตุนั้นอาจเกิดจากกรรมการลูกจ้างหรือเป็นเหตุจากทางฝ่ายนายจ้างหรือบุคคลภายนอกก็ได้ผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างเป็นรัฐวิสาหกิจ การดำเนินกิจการต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ผู้ร้องปลูกสร้างโรงแรมขึ้นใหม่ในที่ดินที่เป็นที่ตั้งโรงแรมเดิมผู้ร้องจึงจำเป็นต้องหยุดดำเนินกิจการโรงแรมดังกล่าว และทำให้งานซึ่งผู้คัดค้านทำอยู่ต้องสิ้นสุดลง ผู้ร้องจึงมีเหตุจำเป็นหรือเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1849/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างโดยมีเหตุจำเป็นจากมติคณะรัฐมนตรี ศาลอนุญาตเลิกจ้างได้
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์มาตรา 52 นายจ้างจะต้องมีเหตุจำเป็นหรือเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างโดยเหตุนั้นอาจเกิดจากกรรมการลูกจ้างหรือเป็นเหตุจากทางฝ่ายนายจ้าง หรือบุคคลภายนอกก็ได้ ผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างเป็นรัฐวิสาหกิจการดำเนินกิจการต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ผู้ร้องปลูกสร้างโรงแรมขึ้นใหม่ในที่ดินที่เป็นที่ตั้งโรงแรมเดิม ผู้ร้องจึงจำเป็นต้องหยุดดำเนินกิจการโรงแรมดังกล่าวและทำให้งานซึ่งผู้คัดค้านทำอยู่ต้องสิ้นสุดลง ผู้ร้องจึงมี เหตุจำเป็นหรือเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1849/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อมีเหตุจำเป็นจากมติคณะรัฐมนตรี
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา52 นายจ้างจะต้องมีเหตุจำเป็นหรือเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างโดยเหตุนั้นอาจเกิดจากกรรมการลูกจ้างหรือเป็นเหตุจากทางฝ่ายนายจ้างหรือบุคคลภายนอกก็ได้ผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างเป็นรัฐวิสาหกิจ การดำเนินกิจการต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ผู้ร้องปลูกสร้างโรงแรมขึ้นใหม่ในที่ดินที่เป็นที่ตั้งโรงแรมเดิมผู้ร้องจึงจำเป็นต้องหยุดดำเนินกิจการโรงแรมดังกล่าว และทำให้งานซึ่งผู้คัดค้านทำอยู่ต้องสิ้นสุดลง ผู้ร้องจึงมีเหตุจำเป็นหรือเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1159/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับ หากไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน แม้จ่ายค่าชดเชยก็ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
กรณีที่นายจ้างขอเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างโดยกล่าวหาว่ากระทำผิดนั้น การเลิกจ้างจำต้องอยู่ภายใต้บังคับระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เมื่อความผิดฐานแจ้งอาการป่วยด้วยความเท็จตามระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องกำหนดให้ผู้ร้องมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างได้ก็ต่อเมื่อได้ลงโทษด้วยการเตือนเป็นหนังสือก่อนแล้ว ดังนั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องเคยลงโทษผู้คัดค้านซึ่งเป็นลูกจ้างด้วยการเตือนเป็นหนังสือมาก่อน แม้ผู้ร้องจะขอเลิกจ้างโดยยินยอมจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าก็ไม่ทำให้ผู้ร้องมีสิทธิเลิกจ้าง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างหลังปิดกิจการ: ศาลแรงงานมีอำนาจอนุญาต แต่ไม่สามารถกำหนดวันเลิกจ้างได้
ผู้ร้องปิดกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างทั้งหมดไปแล้ว ผู้ร้องจึงมีเหตุเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างได้ศาลแรงงานกลางจึงชอบที่จะสั่งอนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านได้แต่การที่ผู้ร้องจะเลิกจ้างผู้คัดค้านตั้งแต่เมื่อใดเป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องไปดำเนินการออกคำสั่งอีกชั้นหนึ่งศาลแรงงานกลางไม่พึงก้าวล่วงมีคำสั่งเช่นว่านั้น
ในวันนัดไต่สวน ผู้ร้องและผู้คัดค้านส่งเอกสารต่อศาลแรงงานกลาง ศาลแรงงานกลางเห็นว่าข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะวินิจฉัยได้ จึงมีคำสั่งงดการไต่สวน คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเมื่อผู้คัดค้านมีโอกาสเพียงพอที่จะโต้แย้ง แต่มิได้โต้แย้งไว้ จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งงดการไต่สวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31.(ที่มา-เนติ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4688/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างหลังปิดกิจการ: ศาลไม่อาจอนุญาตให้มีผลย้อนหลังได้
ผู้ร้องปิดกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างทั้งหมดเมื่อวันที่19พฤษภาคม2529ผู้ร้องมายื่นคำร้องต่อศาลเมื่อวันที่29พฤษภาคม2529ขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างโดยให้มีผลเลิกจ้างผู้คัดค้านย้อนหลังไปถึงวันที่19พฤษภาคม2529กรณีเช่นนี้ผู้ร้องมีเหตุที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านได้แต่การที่ผู้ร้องจะเลิกจ้างผู้คัดค้านตั้งแต่เมื่อใดเป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องไปดำเนินการหออกคำสั่งอีกชั้นหนึ่งศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้เลิกจ้างผู้คัดค้านมีผลย้อนหลังไปไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2842/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขออนุญาตเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง: ศาลอนุญาตเพียงให้สิทธิเลิกจ้าง ไม่ใช่คำสั่งให้เลิกจ้างทันที
การที่ผู้ร้องร้องขอต่อศาลแรงงานกลางเพื่อขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างนั้น ศาลแรงงานกลางต้องพิจารณาว่ากรณีมีเหตุอันสมควรและเพียงพอที่ผู้ร้องจะเลิกจ้างได้หรือไม่ ถ้าศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างได้ ก็เป็นเพียงให้สิทธิแก่ผู้ร้องที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านเท่านั้น มิใช่เป็นคำสั่งแทนนายจ้างให้เลิกจ้างกันทันที โดยผู้ร้องจะต้องมีคำสั่งเลิกจ้างอีกชั้นหนึ่ง การที่ผู้คัดค้านฟ้องแย้งและเรียกค่าเสียหายโดยอ้างว่า หากจะมีการเลิกจ้างเกิดขึ้นไม่ว่าด้วยกรณีใด ๆ ย่อมเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมเป็นเรื่องที่ผู้ร้องยังมิได้โต้แย้งสิทธิของผู้คัดค้านโดยการเลิกจ้าง จึงไม่ชอบที่จะรับฟ้องแย้งของผู้คัดค้านไว้พิจารณา
of 8