พบผลลัพธ์ทั้งหมด 77 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4045/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กลฉ้อฉลในการซื้อขายรถยนต์, ค่าสินไหมทดแทน, และขอบเขตความรับผิดของตัวแทน
จำเลยโฆษณาโอ้อวดคุณสมบัติของรถยนต์ที่ขายให้โจทก์ ว่าเป็นรถยนต์รุ่นใหม่ เพิ่งพ่นสีใหม่เป็นสีเดิม ความจริงเป็น รถยนต์รุ่นเก่า และเคยเปลี่ยนสีมาหลายครั้งกับกล่าวอ้างคุณสมบัติ ของรถยนต์ซึ่งไม่เป็นความจริงอีกหลายประการ โจทก์ตกลงซื้อรถยนต์โดยเชื่อคำโฆษณาโอ้อวดของจำเลย การซื้อขายรถยนต์จึงเกิดจากกลฉ้อฉลให้สำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์ที่ซื้อขายกัน แต่รถยนต์ ยัง คงเป็นยี่ห้อเดียวกับที่โจทก์ต้องการซื้อ กลฉ้อฉลของจำเลยจึง มิได้ ถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลเช่นนั้นโจทก์จะไม่ซื้อรถยนต์ จาก จำเลยโจทก์ยอมรับข้อกำหนดอันหนักขึ้นเท่านั้น โจทก์ย่อมมี สิทธิ เรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้ แม้กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 1 จะเป็นบิดาจำเลยที่ 2และการซื้อขายรถยนต์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จะทำกันที่บริษัทจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ยังมิได้ประกอบกิจการ บริษัทที่จำเลย ที่ 2ทำงานอยู่ก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ในใบสั่งซื้อ รถยนต์ ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำขึ้น คงมีแต่ลายมือชื่อ ของ จำเลย ที่ 2ลงชื่อในฐานะผู้จัดการหรือผู้ขายเท่านั้น พฤติการณ์ ดังกล่าว ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 หรือ จำเลยที่ 1 เข้าร่วมเป็นคู่สัญญาในการซื้อขายรถยนต์กับโจทก์ กฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความเรียกค่าสินไหมทดแทน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 123 ไว้ จึงต้องถือหลัก ทั่วไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ซึ่งมีกำหนด 10 ปี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายจากกลฉ้อฉล: 10 ปีนับแต่วันทำนิติกรรม
โจทก์ฟ้องอ้างว่ามารดาโจทก์ขายที่ดินให้จำเลยที่ 1 เพราะถูกจำเลยที่ 1 หลอกลวงเท่ากับเป็นการอ้างว่านิติกรรมการซื้อขายที่ดินนั้นเกิดจากกลฉ้อฉลของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีผลทำให้นิติกรรมการซื้อขายที่ดินเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 121 แต่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อเกิน 10 ปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมนั้นแล้ว โจทก์จึงไม่อาจฟ้องให้เพิกถอนการโอนได้ตาม มาตรา 143.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเพิกถนิติกรรมซื้อขายที่ดินจากกลฉ้อฉล เกิน 10 ปี ฟ้องขาดอายุความ
โจทก์เป็นบุตรและเป็นผู้จัดการมรดกของมารดาอ้างมูลเหตุในฟ้องว่าจำเลยหลอกลวงมารดาโจทก์ว่า เมื่อจำเลยสร้างเขื่อนชลประทานและเขื่อนเก็บน้ำแล้วน้ำจะท่วมที่ดินของมารดาโจทก์ ให้มารดาโจทก์ขายที่ดินให้จำเลย มารดาโจทก์หลงเชื่อจึงขายที่ดินให้ ซึ่งความจริงเมื่อสร้างเขื่อนเสร็จแล้วน้ำไม่ท่วมที่ดิน จึงขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินดังกล่าว ข้ออ้างของโจทก์เท่ากับเป็นการอ้างว่านิติกรรมการซื้อขายที่ดินเกิดจากกลฉ้อฉลของจำเลย ซึ่งจะมีผลทำให้นิติกรรมการซื้อขายที่ดินเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 121 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อเกิน 10 ปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมแล้วจึงไม่อาจฟ้องให้เพิกถอนการโอนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 143
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กลฉ้อฉล โมฆียะกรรม และอายุความบอกล้างนิติกรรม
แม้ตามคำฟ้องโจทก์จะบรรยายว่า โจทก์จำใจทำนิติกรรมขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 1 ทั้ง ๆ ที่โจทก์ไม่สมัครใจก็ตาม แต่โจทก์ก็กล่าวด้วยว่าโจทก์มีความเชื่อ ในคำชี้แจงของเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ว่า ถ้า การสร้างเขื่อนทั้งหลายตามโครงการของจำเลยที่ 1เสร็จ น้ำต้องท่วมที่ดินของโจทก์แน่ โจทก์จึงต้องขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 1 กรณีเป็นเรื่องโจทก์กล่าวอ้างว่าถูกจำเลยที่ 1ใช้กลฉ้อฉลให้โจทก์ขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 1 อันเป็นผลให้สัญญาซื้อขายที่พิพาทตกเป็นโมฆียะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 121 ซึ่งตามมาตรา 143 โจทก์จะต้องบอกล้างโมฆียะกรรมนั้นภายในเวลาปีหนึ่งนับแต่เวลาที่โจทก์อาจให้สัตยาบันได้ แต่ต้องไม่ล่วงไปถึงสิบปีนับแต่เมื่อได้ทำโมฆียะกรรมนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์ได้ทำสัญญาขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 1 ถึงวันฟ้อง พ้นเวลาสิบปีแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจบอกล้างและฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่พิพาทได้ ลำพังแต่เหตุตามฟ้องของโจทก์ที่อ้างว่าโจทก์ไม่สมัครใจขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 นั้น หาเป็นเหตุให้นิติกรรมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกเป็นโมฆะดัง ที่โจทก์ฎีกาไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2074/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีหลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความ หากไม่มีกลฉ้อฉลหรือเจตนาลวง การงดบังคับคดีไม่สมควร
การที่จำเลยทั้งสองได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ และจำเลยทั้งสองมิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งถึงที่สุดแล้วนั้น โจทก์ย่อมขอให้ศาลบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้ทันที
เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์เพราะกลฉ้อฉลเจตนาลวง หรือจงใจนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงของจำเลยที่ 2 และโจทก์อันจะเป็นผลให้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ตกเป็นโมฆะแล้วคดีจึงไม่มีเหตุสมควรที่ศาลจะให้งดการบังคับคดี
เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์เพราะกลฉ้อฉลเจตนาลวง หรือจงใจนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงของจำเลยที่ 2 และโจทก์อันจะเป็นผลให้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ตกเป็นโมฆะแล้วคดีจึงไม่มีเหตุสมควรที่ศาลจะให้งดการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กลฉ้อฉล, สัญญาจะซื้อจะขาย, หน้าที่ในการเปิดเผยข้อมูล, การผิดสัญญา, ดอกเบี้ยเงินมัดจำ
การนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงอันจะถือว่าเป็นกลฉ้อฉลตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 124 นั้น จะต้องเป็นการนิ่งในพฤติการณ์ที่คู่กรณีมีหน้าที่ควรจะบอกความจริง หรือเป็นการนิ่งประกอบด้วยพฤติการณ์อันแสดงออกซึ่งทำให้อีกฝ่ายหนึ่งหลง
กรณีที่จะมีโครงการตัดถนนผ่านที่ดินที่จะซื้อขายหรือไม่ ไม่ใช่หน้าที่ของผู้จะซื้อ ที่จะบอกข้อความจริงดังกล่าว หากแต่เป็นหน้าที่ของผู้จะขายที่ดินพิพาทจะต้องขวนขวายแสวงหาความจริงเอาเอง แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าผู้จะซื้อจงใจนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงเกี่ยวกับโครงการจะตัดถนนผ่านที่ดินดังกล่าวซึ่งผู้ จะขายมิได้รู้มาก่อนและถ้าฝ่ายผู้จะซื้อมิได้นิ่งเสีย สัญญาจะซื้อขายที่ดินก็จะมิได้ทำขึ้นนั้น การกระทำของผู้จะซื้อก็ไม่เป็นกลฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 124
แม้จำเลยซึ่งเป็นผู้ขายได้บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อ และได้แจ้งให้โจทก์รับเงินมัดจำคืน และโจทก์ไม่ยอมรับคืน แต่เมื่อโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีเหตุอันชอบด้วยกฎหมายที่จะไม่ยอมรับเงินมัดจำคืนในขณะนั้นได้และเมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโดยโจทก์ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญา หากจำเลยจะต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ จำเลยก็ต้องชำระดอกเบี้ยด้วย นับแต่วันฟ้องซึ่งถือว่าเป็นวันที่จำเลยผิดนัด
ประเด็นที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และฎีกาเป็นเรื่องขอให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายโดยขอให้บังคับจำเลยให้โอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ และรับเงินตามราคาที่ดินที่ตกลงซื้อขายกันไปจากโจทก์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท.
กรณีที่จะมีโครงการตัดถนนผ่านที่ดินที่จะซื้อขายหรือไม่ ไม่ใช่หน้าที่ของผู้จะซื้อ ที่จะบอกข้อความจริงดังกล่าว หากแต่เป็นหน้าที่ของผู้จะขายที่ดินพิพาทจะต้องขวนขวายแสวงหาความจริงเอาเอง แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าผู้จะซื้อจงใจนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงเกี่ยวกับโครงการจะตัดถนนผ่านที่ดินดังกล่าวซึ่งผู้ จะขายมิได้รู้มาก่อนและถ้าฝ่ายผู้จะซื้อมิได้นิ่งเสีย สัญญาจะซื้อขายที่ดินก็จะมิได้ทำขึ้นนั้น การกระทำของผู้จะซื้อก็ไม่เป็นกลฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 124
แม้จำเลยซึ่งเป็นผู้ขายได้บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อ และได้แจ้งให้โจทก์รับเงินมัดจำคืน และโจทก์ไม่ยอมรับคืน แต่เมื่อโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีเหตุอันชอบด้วยกฎหมายที่จะไม่ยอมรับเงินมัดจำคืนในขณะนั้นได้และเมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโดยโจทก์ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญา หากจำเลยจะต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ จำเลยก็ต้องชำระดอกเบี้ยด้วย นับแต่วันฟ้องซึ่งถือว่าเป็นวันที่จำเลยผิดนัด
ประเด็นที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และฎีกาเป็นเรื่องขอให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายโดยขอให้บังคับจำเลยให้โอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ และรับเงินตามราคาที่ดินที่ตกลงซื้อขายกันไปจากโจทก์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย - การมอบอำนาจ - กลฉ้อฉล - ดอกเบี้ยเงินมัดจำ - ค่าฤชาธรรมเนียม
การนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงอันจะถือว่าเป็นกลฉ้อฉลนั้นจะต้องเป็นการนิ่งในพฤติการณ์ที่คู่กรณีมีหน้าที่ควรจะบอกความจริงหรือเป็นการนิ่งประกอบพฤติการณ์อันแสดงออกซึ่งทำให้อีกฝ่ายหนึ่งหลง แต่ในกรณีที่จะมีโครงการตัดถนนผ่านที่ดินพิพาทหรือไม่ ไม่ใช่หน้าที่ของผู้จะซื้อที่ดินจะต้องบอกความจริงดังกล่าว หากแต่เป็นหน้าที่ของผู้จะขายที่ดินพิพาทจะต้องขวนขวายแสวงหาความจริงเอาเอง การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นกลฉ้อฉล
กรณีต้องคืนเงินมัดจำเพราะฝ่ายผู้รับมัดจำผิดสัญญาละเลยไม่ชำระหนี้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 378(3) นั้นผู้วางมัดจำมีสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยจากเงินมัดจำดังกล่าวนับแต่วันที่ผู้รับมัดจำผิดนัดเป็นต้นไปด้วย.(ที่มา-ส่งเสริม)
กรณีต้องคืนเงินมัดจำเพราะฝ่ายผู้รับมัดจำผิดสัญญาละเลยไม่ชำระหนี้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 378(3) นั้นผู้วางมัดจำมีสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยจากเงินมัดจำดังกล่าวนับแต่วันที่ผู้รับมัดจำผิดนัดเป็นต้นไปด้วย.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กลฉ้อฉลในการซื้อขายที่ดิน, หน้าที่ผู้ขายในการเปิดเผยข้อเท็จจริง, การคิดดอกเบี้ยเงินมัดจำ
การนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงอันจะถือว่าเป็นกลฉ้อฉลตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 124 นั้น จะต้องเป็นการนิ่งในพฤติการณ์ที่คู่กรณีมีหน้าที่ควรจะบอกความจริง หรือเป็นการนิ่งประกอบด้วยพฤติการณ์อันแสดงออกซึ่งทำให้อีกฝ่ายหนึ่งหลง กรณีที่จะมีโครงการตัดถนนผ่านที่ดินที่จะซื้อขายหรือไม่ไม่ใช่หน้าที่ของผู้จะซื้อที่จะบอกข้อความจริงดังกล่าว หากแต่เป็นหน้าที่ของผู้จะขายที่ดินพิพาทจะต้องขวนขวายแสวงหาความจริงเอาเองแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าผู้จะซื้อจงใจนิ่งเสีย ไม่ไขข้อความจริงเกี่ยวกับโครงการจะตัดถนนผ่านที่ดินดังกล่าว ซึ่งผู้จะขายมิได้รู้มาก่อน และถ้าฝ่ายผู้จะซื้อมิได้นิ่งเสีย สัญญาจะซื้อขายที่ดินก็จะมิได้ทำขึ้นนั้น การกระทำของผู้จะซื้อก็ไม่เป็นกลฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 124 แม้จำเลยซึ่งเป็นผู้ขายได้บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อ และได้แจ้งให้โจทก์รับเงินมัดจำคืน และโจทก์ไม่ยอมรับคืน แต่เมื่อโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีเหตุอันชอบด้วยกฎหมายที่จะไม่ยอมรับเงินมัดจำคืนในขณะนั้นได้ และเมื่อปรากฎว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโดยโจทก์ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญาหากจำเลยจะต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ จำเลยก็ต้องชำระดอกเบี้ยด้วย นับแต่วันฟ้องซึ่งถือว่าเป็นวันที่จำเลยผิดนัด ประเด็นที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และฎีกาเป็นเรื่องขอให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายโดยขอให้บังคับจำเลยให้โอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ และรับเงินตามราคาที่ดินที่ตกลงซื้อขายกันไปจากโจทก์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กลฉ้อฉลในการซื้อขายที่ดิน:หน้าที่เปิดเผยความจริงของผู้ขายและผลของการนิ่งเสีย
การนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงอันจะถือว่าเป็นกลฉ้อฉลตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 124 นั้น จะต้องเป็นการนิ่งในพฤติการณ์ที่คู่กรณีมีหน้าที่ควรจะบอกความจริง หรือเป็นการนิ่งประกอบด้วยพฤติการณ์อันแสดงออกซึ่งทำให้อีกฝ่ายหนึ่งหลง กรณีที่จะมีโครงการตัดถนนผ่านที่ดินที่จะซื้อขายหรือไม่ไม่ใช่หน้าที่ของผู้จะซื้อ ที่จะบอกข้อความจริงดังกล่าว หากแต่เป็นหน้าที่ของผู้จะขายที่ดินพิพาทจะต้องขวนขวายแสวงหาความจริงเอาเอง แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าผู้จะซื้อจงใจนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงเกี่ยวกับโครงการจะตัดถนนผ่านที่ดินดังกล่าวซึ่งผู้จะขายมิได้รู้มาก่อนและถ้าฝ่ายผู้จะซื้อมิได้นิ่งเสีย สัญญาจะซื้อขายที่ดินก็จะมิได้ทำขึ้นนั้น การกระทำของผู้จะซื้อก็ไม่เป็นกลฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 124 แม้จำเลยซึ่งเป็นผู้ขายได้บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อ และได้แจ้งให้โจทก์รับเงินมัดจำคืน และโจทก์ไม่ยอมรับคืน แต่เมื่อโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีเหตุอันชอบด้วยกฎหมายที่จะไม่ยอมรับเงินมัดจำคืนในขณะนั้นได้และเมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโดยโจทก์ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญา หากจำเลยจะต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ จำเลยก็ต้องชำระดอกเบี้ยด้วย นับแต่วันฟ้องซึ่งถือว่าเป็นวันที่จำเลยผิดนัด ประเด็นที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และฎีกาเป็นเรื่องขอให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายโดยขอให้บังคับจำเลยให้โอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ และรับเงินตามราคาที่ดินที่ตกลงซื้อขายกันไปจากโจทก์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กลฉ้อฉลซื้อที่ดินแพงกว่าปกติ ศาลสั่งชดใช้ค่าเสียหายเฉพาะส่วนต่างราคา
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 โดยโจทก์ที่ 4 ซื้อที่ดินตามโฉนดที่พิพาทโดยหลงเชื่อตามที่จำเลยฉ้อฉลว่าที่ดินดังกล่าวติดแม่น้ำ ไม่มีที่ดินแปลงอื่นคั่นอยู่ ซึ่งเป็นกลฉ้อฉลเพื่อเหตุ กล่าวคือ เพียงจูงใจให้โจทก์ยอมรับเอาซึ่งราคาที่ดินอันแพงกว่าที่จะยอมรับโดยปกติ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากกลฉ้อฉล ส่วนที่โจทก์ต้องเสียค่าทำภาระจำยอมเพื่อออกสู่ทางสาธารณะปรากฏว่าก่อนซื้อที่ดินโจทก์ทราบแล้วว่าที่ดินพิพาทไม่มีถนนออกสู่ทางสาธารณะจึงมิใช่ผลโดยตรงจากกลฉ้อฉลของจำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในส่วนนี้.(ที่มา-ส่งเสริม)