คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กองมรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 142 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้อนในคดีรับชำระหนี้จากกองมรดก แม้คดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ส. ผู้ตายให้ชำระหนี้ให้โจทก์ในจำนวนหนี้ที่ผู้ตายนำไม้ของโจทก์ไปขายแล้วไม่นำเงินส่งมอบให้โจทก์กับหนี้อื่นที่ผู้ตายเป็นหนี้โจทก์ โดยจำเลยที่ 1ที่ 2 และที่ 3 ในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ของผู้ตายให้โจทก์ไว้เป็นหลักฐาน เป็นการฟ้องขอรับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตาย โดยมีประเด็นข้อพิพาทที่จะต้องวินิจฉัยว่าผู้ตายเป็นหนี้โจทก์ค่านำไม้ของโจทก์ไปขายแล้วไม่นำเงินส่งมอบให้โจทก์กับหนี้อื่นดังฟ้องของโจทก์เพียงใดหรือไม่ซึ่งคดีนั้นศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายชำระหนี้ของผู้ตายให้แก่โจทก์ และคดีถึงที่สุดแล้ว การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตาย กับจำเลยที่ 4ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายรับผิดชำระหนี้ที่ผู้ตายนำไม้รายเดียวกับในคดีก่อนไปขายแล้วไม่นำเงินส่งมอบให้โจทก์ โดยอ้างว่าหนี้ดังกล่าวมีจำนวนเงินมากกว่าที่โจทก์ฟ้องในคดีก่อน โจทก์จึงนำหนี้ที่เหลือมาฟ้องคดีนี้นั้น เป็นการฟ้องขอรับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตายเช่นเดียวกับการฟ้องคดีก่อน และคดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีก่อนในส่วนที่ว่าผู้ตายเป็นหนี้โจทก์ค่านำไม้ของโจทก์ไปขายแล้วไม่นำเงินส่งมอบให้โจทก์เพียงใดหรือไม่ แม้จะได้ความดังกล่าว กรณีก็มิใช่เป็นการฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมาย-วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 เพราะขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ คดีก่อนอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด แต่อย่างไรก็ดีการที่โจทก์ได้ยื่นคำฟ้องคดีก่อนต่อศาลชั้นต้นและคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ได้นำคดีนี้ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกันนั้นมายื่นฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นอีก จึงเป็นการฟ้องซ้อนกับคดีก่อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คดีชำระหนี้จากกองมรดกที่ฟ้องซ้ำกับคดีเดิมที่ยังพิจารณาอยู่
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่1ถึงที่3ในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายให้ชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่ผู้ตายนำไม้ของโจทก์ไปขายแล้วไม่ส่งมอบเงินให้โจทก์กับหนี้อื่นที่ผู้ตายเป็นหนี้โจทก์เป็นการฟ้องขอรับชำระหนี้จากกองมรดกของผู้ตายและคดีถึงที่สุดการที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยที่1ถึงที่3ในฐานะทายาทโดยธรรมกับจำเลยที่4ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายชำระหนี้รายเดียวกันโดยอ้างว่าเป็นหนี้ที่เหลือจากที่โจทก์ฟ้องในคดีก่อนในขณะที่คดีก่อนอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำแต่เป็นฟ้องซ้อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน - การฟ้องขอชำระหนี้จากกองมรดกซ้ำกับคดีเดิมที่ยังอยู่ระหว่างพิจารณา
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่1ที่2และที่3ในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายให้ชำระหนี้ให้โจทก์ในจำนวนหนี้ที่ผู้ตายนำไม้ของโจทก์ไปขายแล้วไม่นำเงินส่งมอบให้โจทก์กับหนี้อื่นที่ผู้ตายเป็นหนี้โจทก์โดยจำเลยที่1ที่2และที่3ในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายได้ทำหนังสือรับสภาพเจ้าหนี้ให้โจทก์ไว้เป็นการฟ้องขอรับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตายซึ่งคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่1ที่2และที่3ในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายชำระหนี้ให้แก่โจทก์การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยที่1ที่2และที่3ในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายกับจำเลยที่4ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายรับผิดชำระหนี้ที่ผู้ตายนำไม้รายเดียวกันในคดีก่อนไปขายแล้วไม่นำเงินส่งมอบให้โจทก์โดยอ้างว่าหนี้ดังกล่าวมีจำนวนเงินมากกว่าที่โจทก์ฟ้องในคดีก่อนโจทก์จึงนำหนี้ที่เหลือมาฟ้องคดีนี้นั้นเป็นการฟ้องขอรับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตายเช่นเดียวกับการฟ้องคดีก่อนแต่กรณีมิใช่เป็นการฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148เพราะขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้คดีก่อนอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแต่เป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามมาตรา173วรรค(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7317/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนทรัพย์ยักยอกให้กองมรดก แม้เจ้าของเดิมเสียชีวิตแล้ว จำเลยต้องโอนทรัพย์หรือชำระราคา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ว่า "ให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เป็นเงิน 4,974,987.50 บาท แก่เจ้าของ" นั้น หมายความว่าจำเลยจะต้องโอนที่ดินของเจ้ามรดกที่ได้ยักยอกคืนแก่กองมรดก หากการโอนที่ดินไม่อาจกระทำได้จำเลยจึงต้องใช้ราคา หาใช่จำเลยมีสิทธิที่จะเลือกปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดได้ไม่
ที่จำเลยฎีกาว่า ไม่สามารถโอนที่ดินกลับคืนแก่เจ้าของได้เพราะเจ้าของเดิมได้ตายไปแล้ว และจะให้จำเลยโอนที่ดินคืนกองมรดกก็ไม่ได้เพราะกองมรดกมิใช่ตัวบุคคลหรือนิติบุคคลที่จะรับโอนได้ จึงเป็นเหตุพ้นวิสัยที่จำเลยจะโอนที่ดินคืนให้ได้ตามคำพิพากษาศาลฎีกานั้น กรณีดังกล่าวหาใช่ข้ออ้างที่จำเลยจะหยิบยกขึ้นปฏิเสธการโอนที่ดินมรดกคืนแก่กองมรดกไม่ จำเลยจะต้องโอนที่ดินที่จำเลยยักยอกนั้นคืนกองมรดกโดยโอนให้แก่ผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7317/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยต้องคืนทรัพย์ที่ยักยอกให้กองมรดก หรือชดใช้ราคา หากโอนไม่ได้ แม้เจ้าของมรดกเสียชีวิตแล้ว
ศาลฎีกาพิพากษาว่า ให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เป็นเงิน 4,974,987.50 บาท แก่เจ้าของ หมายความว่า จำเลยจะต้องโอนที่ดินของเจ้ามรดกที่ได้ยักยอกไปคืนแก่กองมรดกหากการโอนที่ดินไม่อาจกระทำได้ จำเลยจึงต้องใช้ราคาจำนวน4,974,987.50 บาท แก่กองมรดก ไม่ใช่จำเลยมีสิทธิที่จะเลือกปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดได้ และแม้เจ้าของที่ดินจะตายไปแล้ว จำเลยก็จะอ้างมาเป็นเหตุให้ปฏิเสธการโอนที่ดินมรดกคืนแก่กองมรดกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7317/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยต้องโอนที่ดินยักยอกคืนกองมรดก หากไม่สามารถโอนได้จึงต้องใช้ราคา แม้เจ้ามรดกเสียชีวิตแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ว่า"ให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เป็นเงิน4,974,987.50บาทแก่เจ้าของ"นั้นหมายความว่าจำเลยจะต้องโอนที่ดินของเจ้ามรดกที่ได้ยักยอกคืนแก่กองมรดกหากการโอนที่ดินไม่อาจกระทำได้จำเลยจึงต้องใช้ราคาหาใช่จำเลยมีสิทธิที่จะเลือกปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดได้ไม่ ที่จำเลยฎีกาว่าไม่สามารถโอนที่ดินกลับคืนแก่เจ้าของได้เพราะเจ้าของเดิมได้ตายไปแล้วและจะให้จำเลยโอนที่ดินคืนกองมรดกก็ไม่ได้เพราะกองมรดกมิใช่ตัวบุคคลหรือนิติบุคคลที่จะรับโอนได้จึงเป็นเหตุพ้นวิสัยที่จำเลยจะโอนที่ดินคืนให้ไปตามคำพิพากษาศาลฎีกานั้นกรณีดังกล่าวหาใช่ข้ออ้างที่จำเลยจะหยิบยกขึ้นปฏิเสธการโอนที่ดินมรดกคืนแก่กองมรดกไม่จำเลยจะต้องโอนที่ดินที่จำเลยยักยอกนั้นคืนกองมรดกโดยโอนให้แก่ผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5843/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ทำกับผู้จัดการมรดกที่ไม่มีอำนาจ ผู้จัดการมรดกต้องจัดการโดยเสียงข้างมาก สัญญาไม่ผูกพันกองมรดก
ผู้จัดการมรดกของ พ.มีสามคนคืออ.ช. และจำเลยขณะจำเลยทำสัญญาเช่ากับโจทก์ในคดีนี้ อ.และช.ผู้จัดการมรดกอีกสอบคนถึงแก่กรรมแล้ว ดังนี้จำเลยแต่เพียงผู้เดียวย่อมไม่มีอำนาจจัดการมรดกต่อไปตามลำพัง เพราะในกรณีมีผู้จัดการมรดกหลายคนจะต้องจัดการโดยถือเอาเสียงข้างมากของผู้จัดการมรดกร่วมกัน สัญญาเช่าที่พิพาทจึงไม่ผูกพันกองมรดก การที่ศาลตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียวในภายหลังไม่มีผลทำให้สัญญาเช่าที่พิพาทผูกพันกองมรดก โจทก์ฎีกาอ้างเพียงว่าพยานหลักฐานของโจทก์ฟังได้ว่าทายาทของ พ. ได้เชิดจำเลยให้แสดงออกว่าจำเลยเป็นตัวแทนจัดการทรัพย์มรดกของ พ.แต่เพียงผู้เดียวโดยโจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร และที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: ศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาความเหมาะสมและประโยชน์สูงสุดแก่ทายาทและกองมรดก
การตั้งผู้จัดการมรดกศาลย่อมใช้ดุลพินิจคำนึงถึงความเหมาะสมประกอบกับพฤติการณ์ที่จะให้ประโยชน์แก่ทายาทและกองมรดก การที่ผู้คัดค้านอ้างว่าผู้ร้องไม่ได้อยู่ใกล้ชิดกับผู้ตาย ไม่ทราบว่ามีทรัพย์มรดกอะไรบ้าง ทั้งไม่ทราบเจตนาของผู้ตายว่าประสงค์จะยกทรัพย์มรดกส่วนใดให้แก่ผู้ใด ส่วนผู้คัดค้านอยู่ใกล้ชิดกับผู้ตาย รู้ว่าทรัพย์มรดกอยู่แห่งใดและทราบความประสงค์ของผู้ตายว่าต้องการยกทรัพย์มรดกส่วนใดให้แก่ผู้ใดนั้น ไม่ใช่เหตุผลที่แสดงถึงความเหมาะสมที่ผู้คัดค้านจะเป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียว ผู้ร้องไม่เป็นผู้ต้องห้ามตามกฎหมายที่จะเป็นผู้จัดการมรดก การให้ผู้ร้องและผู้คัดด้านได้จัดการมรดกร่วมกันน่าจะเป็นประโยชน์แก่ทายาทและกองมรดกมากกว่าให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียว
ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างก็อ้างว่า ตนสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย และขอให้ศาลตั้งให้ตนเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้น คดีไม่มีประเด็นว่าทรัพย์สินใดเป็นมรดกของผู้ตาย การที่ผู้คัดค้านฎีกาว่า ทรัพย์สินดังกล่าวไม่ใช่มรดกของผู้ตายจึงเป็นเรื่องนอกเหนือจากคำขอและนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดก: ศาลพิจารณาประโยชน์แก่ทายาทและกองมรดกเป็นหลัก แม้ผู้คัดค้านใกล้ชิดผู้ตายแต่ไม่ได้หมายความเหมาะสมเป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียว
การตั้งผู้จัดการมรดกศาลย่อมใช้ดุลพินิจคำนึงถึงความเหมาะสมประกอบกับพฤติการณ์ที่จะให้ประโยชน์แก่ทายาทและกองมรดกการที่ผู้คัดค้านอ้างว่าผู้ร้องไม่ได้อยู่ใกล้ชิดกับผู้ตายไม่ทราบว่ามีทรัพย์มรดกอะไรบ้างทั้งไม่ทราบเจตนาของผู้ตายว่าประสงค์จะยกทรัพย์มรดกส่วนใดให้แก่ผู้ใดส่วนผู้คัดค้านอยู่ใกล้ชิดกับผู้ตายรู้ว่าทรัพย์มรดกอยู่แห่งใดและทราบความประสงค์ของผู้ตายว่าต้องการยกทรัพย์มรดกส่วนใดให้แก่ผู้ใดนั้นไม่ใช่เหตุผลที่แสดงถึงความเหมาะสมที่ผู้คัดค้านจะเป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียวผู้ร้องไม่เป็นผู้ต้องห้ามตามกฎหมายที่จะเป็นผู้จัดการมรดกการให้ผู้ร้องและผู้คัดค้านได้จัดการมรดกร่วมกันน่าจะเป็นประโยชน์แก่ทายาทและกองมรดกมากกว่าให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียว ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างก็อ้างว่าตนสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและขอให้ศาลตั้งให้ตนเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้นคดีไม่มีประเด็นว่าทรัพย์สินใดเป็นมรดกของผู้ตายการที่ผู้คัดค้านฎีกาว่าทรัพย์สินดังกล่าวไม่ใช่มรดกของผู้ตายจึงเป็นเรื่องนอกเหนือจากคำขอและนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในกองมรดก: ทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 มีสิทธิเหนือทายาทลำดับที่ 3 แม้มีการประนีประนอมยอมความ
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายผู้คัดค้านทั้งสองยื่นคำคัดค้านว่าผู้คัดค้านที่1อยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตายและผู้คัดค้านที่2เป็นบุตรของผู้ตายซึ่งเกิดจากผู้คัดค้านที่1ขอให้ยกคำร้องขอและตั้งผู้คัดค้านทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกนั้นแม้ต่อมาผู้คัดค้านทั้งสองจะขอถอนคำคัดค้านก็เพียงทำให้ข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านระงับไปหาทำให้คำคัดค้านทั้งหมดรวมตลอดถึงเอกสารที่แนบมาไม่มีผลต่อคดีไม่เพราะผู้คัดค้านไม่ได้ยอมรับด้วยว่าคำคัดค้านพร้อมเอกสารที่เสนอต่อศาลไม่ถูกต้องทั้งเอกสารหลักฐานต่างๆที่ผู้คัดค้านทั้งสองเสนอต่อศาลภายหลังยื่นคำคัดค้านก็ไม่ได้มีการเพิกถอนจึงรับฟังประกอบการพิจารณาคำร้องขอของผู้ร้องได้ แม้ผู้คัดค้านที่2จะเพิ่งคลอดและศาลมีคำสั่งภายหลังผู้ตายถึงแก่ความตายประมาณ8เดือนว่าผู้คัดค้านที่2เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายก็ตามผู้คัดค้านที่2ก็มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายในฐานะทายาทโดยธรรมย้อนหลังไปถึงวันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1558วรรคแรกและเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่1ผู้ร้องเป็นเพียงน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตายจึงไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายและมิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกเพราะผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1713หมายถึงผู้ได้รับประโยชน์จากทรัพย์มรดกโดยตรงมาตั้งแต่ต้นขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตายหาใช่เกิดขึ้นในภายหลังตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีไม่ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้
of 15