คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การจดทะเบียน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2778/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินส่วนแบ่งโดยเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม และผลกระทบต่อผู้ซื้อที่ดินโดยสุจริต
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมีโฉนด โดยโจทก์ได้ปลูกสร้างบ้านและครอบครองทำประโยชน์ที่ดินเฉพาะส่วนของโจทก์ด้านทิศเหนือเป็นส่วนสัดมานานกว่า 30 ปี จำเลยให้การว่า ไม่มีการตกลงให้แบ่งถือครองที่ดินเป็นส่วนสัดตามที่โจทก์อ้าง โจทก์ครอบครองที่ดินแทนเจ้าของรวมคนอื่น ประเด็นข้อพิพาทจึงมีเพียงว่า โจทก์ได้ครอบครองที่ดินส่วนของตนเป็นส่วนสัดแล้วหรือไม่ ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่อาจยกเอาการครอบครองเป็นส่วนสัดมากล่าวอ้างกับจำเลยเพราะจำเลยได้กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่อยู่ในความรับรู้ของจำเลยมาตั้งแต่มีการจดทะเบียนให้จำเลยเป็นเจ้าของรวมในโฉนดที่ดินดังกล่าวซึ่งก่อนเกิดกรณีพิพาทแล้ว ดังนั้นจึงเป็นข้อที่จำเลยสามารถยกขึ้นในศาลชั้นต้นได้ เมื่อจำเลยมิได้กล่าวอ้างในคำให้การให้เป็นประเด็นไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้น และไม่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เป็นฎีกานอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนลวงสาธารณชน และความไม่สุจริตของผู้ยื่นขอจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยมีสาระสำคัญของลักษณะบ่งเฉพาะอยู่ที่ตัวอักษรโรมันคำว่า BROTHER และbrother แม้จำเลยจะจดทะเบียนและยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า brother โดยมีคำว่า triอยู่ด้านหน้า กับคำว่า TRADEMARK อยู่ด้านล่างและมีรูปห่วงวงกลม3ห่วง วางเรียงกันอยู่เหนือคำว่า brotherคำว่า tri และ TRADEMARK เป็นเพียงส่วนประกอบนอกจำนวนว่าเป้ฯ tribrother หรือสามพี่น้อง ส่วนคำว่าTRADEMARK แปลว่า เครื่องหมายการค้า ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะแต่อย่างใด สำหรับรูปห่วงวงกลม3ห่วง ที่วางเรียงกันก็ไม่มีลักษณะพิเศษไม่ถึงกับเป็นลักษณะบ่งเฉพาะอันอาจแสดงให้เห็นว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยแตกต่างไปจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้ และจำเลยได้ใช้หรือจะใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยกับสินค้าจำพวก 6 และชนิดสินค้าจักรเย็บผ้าเช่นเดียวกันกับของโจทก์ และจำเลยเคยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าจักรเย็บผ้าภายใต้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า BROTHER ของโจทก์มาก่อน ทั้งจำเลยเคยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า brotherใช้กับสินค้าจำพวก 13 ชนิดสินค้า ขาจักรเย็บผ้า จนนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้ยกคำขอของจำเลยมาแล้ว แสดงให้เห็นความไม่สุจริตของจำเลยที่จะทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนมาโดยตลอด โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 165/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม และผลกระทบต่อบุคคลภายนอกที่ได้มาโดยสุจริต
โจทก์ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยการได้รับมรดก ถือได้ว่าเป็นการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม เมื่อโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนการได้มาซึ่งมรดกทรัพย์พิพาทตามส่วนของตนย่อมไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอก ผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้วได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรหลังการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม: สิทธิในครอบครัวเดิมยังคงอยู่
โจทก์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรอันเกิดจากโจทก์กับจำเลยตามที่จำเลยให้สัญญาไว้ขณะจดทะเบียนหย่ากันนั้น แม้ภายหลังโจทก์ได้ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่น บุตรบุญธรรมก็ไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่ได้กำเนิดมาตาม ป.พ.พ. มาตรา1598/28 ดังนั้น การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม จึงไม่เป็นผลที่จะทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เมื่อโจทก์ได้ให้ทนายความมีหนังสือทวงถามจำเลยให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรและจดทะเบียนโอนทรัพย์ให้โจทก์ตามสัญญาจำเลยได้รับแล้วแต่ไม่ปฏิบัติตาม จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 523/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนการครอบครองที่ดินก่อนการจดทะเบียนขาย สิทธิของผู้ซื้อที่ดินรายแรกย่อมเหนือกว่า
ป. ขายที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก.) ให้แก่จำเลยก่อนแล้ว โดยให้จำเลยเข้าครอบครองและมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่พิพาทให้จำเลย จึงเป็นการโอนการครอบครองให้แก่จำเลยไปแล้ว ป. ไม่มีสิทธินำที่ดินไปจดทะเบียนโอนขายให้แก่โจทก์อีก โจทก์จึงไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่พิพาท จำเลยมีสิทธิดีกว่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3731/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างมีผลเมื่อที่ประชุมใหญ่ลงมติ แม้ยังมิได้จดทะเบียน การลงโทษกรรมการลูกจ้างต้องได้รับอนุญาตจากศาล
การจดทะเบียนคณะกรรมการของสหภาพแรงงานเป็นเพียงวิธีการทางกฎหมายเพื่อให้ปรากฏหลักฐานทางทะเบียน เมื่อที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานได้ลงมติแต่งตั้งคณะกรรมการสหภาพแรงงาน และนายจ้างได้ทราบผลการประชุมของคณะกรรมการ สหภาพฯดังกล่าวแล้วว่า ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการบริหารสหภาพแรงงานบ้าง จึงถือได้ว่าคณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งดังกล่าวเป็นคณะกรรมการสหภาพแรงงานตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 แล้วจึงมีอำนาจตั้งคณะกรรมการลูกจ้างได้ จำเลยไม่อาจลงโทษโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5741/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ทำให้ได้กรรมสิทธิ์ แม้การยกให้ไม่จดทะเบียน การขุดร่องน้ำทำถนนในที่ดินของผู้อื่นถือเป็นการละเมิด
จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเป็นเวลาเกิน 10 ปี มิใช่ครอบครองแทนทายาทอื่น ดังนี้ แม้การ ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยจะมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลย ก็ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทนั้นตั้งแต่วันครบ 10 ปี นับแต่ วัน ได้รับ การยกให้ การที่โจทก์ขุดร่องน้ำและทำถนนในที่ดินพิพาท ภายหลัง จาก ที่จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแล้ว จึงเป็นการละเมิด ต่อจำเลย โจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องแย่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์และศาลมีคำสั่งว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแล้ว การที่โจทก์เข้าไป ขุด ร่องน้ำและทำถนนในที่ดินพิพาทเป็นการละเมิด จึงฟ้องแย้งให้ โจทก์ ทำการถมร่องน้ำและรื้อถนนในที่ดินพิพาทให้อยู่ในสภาพเดิม ดังนี้ ฟ้องแย้งดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวพันกับที่ดินพิพาทจึง เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4786/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าคล้ายกันจนลวงสาธารณชน แม้โจทก์มีสิทธิก่อน แต่ยังไม่จดทะเบียน จึงไม่มีสิทธิฟ้องห้าม
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลย ต่างเป็นรูปปลาโลมาที่มีลักษณะกระโจนตัวลอย ลำตัวโค้ง หัวปลาอยู่ทางซ้ายและหางปลาอยู่ทางขวาแบบเดียวกัน มีขนาดใกล้เคียงกัน ต่างใช้กับสินค้าพื้นรองเท้ายางที่ผลิตออกจำหน่าย ซึ่งเป็นสินค้าชนิดเดียวกัน แม้ โจทก์และจำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว ใช้กับสินค้าคนละจำพวก กล่าวคือโจทก์ใช้กับสินค้าจำพวก 40 พื้นรองเท้ายาง ส่วนจำเลยใช้กับสินค้าจำพวก 50 พื้นรองเท้าก็ตาม แต่ ก็เป็นสินค้าชนิดเดียวกันคือพื้นรองเท้ายางดังกล่าว แม้รูปตัว ปลาโลมาตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์มีสีดำทึบ ส่วนรูปตัวปลาโลมาตาม คำขอจดทะเบียนของจำเลยเป็นตัวปลาโปร่งมีลาย เส้นประ ตาม ลำตัวปลาก็ตาม แต่เมื่อใช้หล่อติดเป็นเครื่องหมายการค้ากับพื้น รองเท้ายางแล้วย่อมจะไม่ปรากฏให้เห็นสีของตัวปลาว่าแตกต่างกัน อย่างไร นอกจากนี้ ในการเรียกขาน สินค้าที่โจทก์และจำเลยผลิตออก จำหน่ายนั้นทั้งผู้ซื้อและผู้ขายย่อมจะเรียกกันว่าพื้นรองเท้าตรา ปลาโลมาเท่านั้น ความสำคัญที่เด่นชัดของเครื่องหมายการค้าของ โจทก์และของจำเลยจึงอยู่ที่ตัวปลาโลมา แม้จะมีตัวหนังสืออักษรโรมัน ซึ่งมีตัวสะกดและอ่านออกเสียงแตกต่างกันโดยของโจทก์ใช้คำว่า DOLPHIN ส่วนของจำเลยใช้คำว่า PORPOISE แต่ก็ปรากฏว่ามี คำแปลอย่างเดียวกันว่าปลาโลมาอักษรโรมันที่เป็นตัวหนังสือดังกล่าว จึงเป็นเพียงส่วนประกอบของเครื่องหมายการค้าที่มีความสำคัญน้อยกว่า รูปตัวปลาโลมาเป็นอันมากเครื่องหมายการค้าทั้งสองดังกล่าวมีลักษณะ ทำนองเดียวกันอันอาจทำให้ประชาชนทั่วไปหลงผิดได้ว่า สินค้า ของโจทก์และจำเลยเป็นสินค้าของเจ้าของเดียวกัน ดังนี้ กรณีจึงถือ ได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกันจนถึง นับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน แม้โจทก์จะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน โจทก์จึง ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ห้ามจำเลยมิให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นอันเป็น การฟ้องคดีเพื่อป้องกันการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าที่ไม่ จดทะเบียนได้ ทั้งนี้เพราะต้องห้ามตาม มาตรา 29 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯกรณีจึงไม่อาจบังคับตามคำขอท้ายฟ้อง ของโจทก์ที่ให้ห้ามจำเลยดังกล่าวได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1606/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในคดีบังคับคดี: ผู้รับโอนสิทธิยังไม่จดทะเบียน ไม่ถือเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ขอให้สั่งงดการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทไว้ก่อนเพื่อบรรเทาความเสียหาย เป็นเรื่องขอให้คุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264กรณีไม่ใช่เรื่องขอทุเลาการบังคับตามมาตรา 231 เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้งดการขายทอดตลาดตามคำร้องของผู้ร้องอันเป็นคำสั่งเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความในระหว่างการพิจารณา โจทก์ย่อมมีสิทธิฎีกาได้ตามมาตรา 228(2),247 ผู้ร้องมิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แม้จำเลยได้ทำสัญญาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้อง แต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กัน ยังถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 280 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะมาร้องขอให้งดการขายทอดตลาดที่ดินพิพาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 937/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องเริ่มเมื่อกรรมสิทธิ์ยังไม่ได้ตกเป็นของผู้มีสิทธิอื่น และต้องครบ 10 ปี จึงได้กรรมสิทธิ์
เจ้าของรวมได้ นำที่ดินโฉนด เลขที่ 13282 มาจัดสรรขายโดย แบ่งเป็นแปลงเล็ก จำเลยและ ส. ต่าง เป็นผู้ซื้อที่ดินจัดสรรดังกล่าว จำเลยรับโอนที่ดินโฉนด เลขที่ 16083 แปลงหมายเลข 413เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2516 ส่วน ส. รับโอนที่ดินโฉนด เลขที่ 16084แปลงหมายเลข 414 หรือที่พิพาทเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2516 แต่ จำเลยได้ เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาท ตั้งแต่ วันที่ 26 พฤษภาคม 2515ก่อนออกโฉนด ที่ พิพาทแปลง หมายเลข 414 ก็ดี ที่ดินแปลงหมายเลข413 หรือแปลงอื่น ๆ ก็ดี ที่จัดสรรแบ่งแยกออกจากที่ดินแปลง เดิมออกเป็นแปลงเล็ก จะถือ ว่ากรรมสิทธิ์เหนือที่ดินแต่ ละแปลงแยกออกจากที่ดินแปลงเดิม ก็ต่อเมื่อการแบ่งโฉนด ได้ กระทำแล้วเสร็จและผู้ซื้อที่ดินจะ ได้ กรรมสิทธิ์ก็ต่อเมื่อเจ้าของเดิม ผู้จัดสรรได้ จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อแล้ว ก่อนเวลานั้นถือ ว่ากรรมสิทธิ์ ยังอยู่กับเจ้าของเดิม แม้จำเลยจะครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทตั้งแต่ วันที่ 26พฤษภาคม 2515 อันเป็นวันทำสัญญาจะซื้อจะขายและ ชำระราคาที่ดินเรียบร้อยแล้วก็ตาม ก็ต้อง ถือ ว่าจำเลยครอบครอง ที่พิพาทโดย อาศัยสิทธิ์เจ้าของเดิม จำเลยจะอ้างการ ครอบครองปรปักษ์เหนือที่พิพาทในช่วงระยะเวลาดังกล่าวยันแก่ เจ้าของเดิม หา ได้ ไม่และจำเลยจะอ้างการครอบครองปรปักษ์ใน ช่วงเวลาดังกล่าวยันแก่ ส. ก็มิได้เพราะกรรมสิทธิ์เหนือที่พิพาทยังมิได้ตกเป็นของ ส. จำเลยจะอ้างการครอบครองปรปักษ์ยัน ส. ได้ ก็ต่อเมื่อเจ้าของเดิม ได้ จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เหนือที่ พิพาทแล้ว เมื่อ ส. ได้ รับการจด ทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เหนือที่พิพาทเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2516 อายุการ ครอบครองปรปักษ์ของจำเลยนับจากวันดังกล่าวถึง วันที่ 8 มีนาคม2526 อันเป็นวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่ครบ 10 ปี จำเลยจึงไม่ได้สิทธิ์โดย อายุความได้ สิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382.
of 8