คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การดำเนินคดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3275/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำคัดค้านหลังยื่น และการดำเนินคดีตามบทบัญญัติคดีมีข้อพิพาทเมื่อมีคำคัดค้าน
ในคดีร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านแล้วประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188(4)บังคับให้ต้องดำเนินคดีไปตามบทบัญญัติว่าด้วยคดีอันมีข้อพิพาท เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านในวันที่ 22 มิถุนายน 2527 ศาลจะต้องกำหนดวันสืบพยานขึ้นใหม่เพื่อเปิดโอกาสให้คู่ความได้ยื่นบัญชีระบุพยานตามกฎหมายเสียก่อน จะถือเอาวันนัดไต่สวนเดิมคือวันที่ 25 มิถุนายน 2527 เป็นวันสืบพยานหาได้ไม่ ดังนี้ในวันที่ 25 มิถุนายน 2527 อันเป็นวันนัดไต่สวนไว้เดิมผู้คัดค้านจึงยังมีสิทธิที่จะเสนอคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำคัดค้านต่อศาลได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1897-1898/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดในคดีล้มละลาย และผลกระทบต่อการดำเนินคดีและการอายัดทรัพย์
โจทก์อยู่ในราชอาณาจักร ยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จึงไม่มีสิทธิขอขยายกำหนดเวลาหรือขอรับชำระหนี้ได้อีก ข้ออ้างที่โจทก์ได้ติดต่อกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตลอดมา เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่แจ้งการโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ให้โจทก์ทราบ และเชื่อว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะแจ้งให้ทราบนั้น เป็นแต่เพียงการเข้าใจผิดของโจทก์เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีหน้าที่ที่จะกระทำเช่นนั้น ข้ออ้างที่ว่าหนังสือพิมพ์รายวันที่ประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และหนังสือราชกิจจานุเบกษาไม่มีขายในจังหวัดที่โจทก์อยู่ก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่สมควรหรือเป็นพฤติการณ์พิเศษที่จะยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดเวลาได้
แม้คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของโจทก์ซึ่งมีอยู่เพียงรายเดียวยังไม่ถึงที่สุด แต่เหตุที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำขอรับชำระหนี้ของโจทก์เป็นเพราะโจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 91 วรรคแรก เท่ากับคดีนี้ไม่มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ การดำเนินคดีล้มละลายนี้ต่อไปจึงไม่เป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้ ถือได้ว่าเป็นเหตุที่จำเลยไม่สมควรถูกพิพากษาให้ล้มละลาย ศาลชอบที่จะสั่งยกเลิกการล้มละลายได้ ตามมาตรา135(2)
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายแล้ว คำสั่งมีผลทันทีจำเลยย่อมหลุดพ้นจากการล้มละลาย หลุดพ้นจากคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด กลับคืนสู่ฐานะเดิมเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่จำเลย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจอายัดเงินบำเหน็จและเงินบำนาญของจำเลยต่อไปอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล แม้เข้าใจผิดเรื่องค่าธรรมเนียม
การที่โจทก์ไม่มานำส่งหมายนัดให้แก่จำเลยตามคำสั่งศาลจะเป็นโดยสับสนหรือหลงผิดเข้าใจว่าได้วางเงินค่าธรรมเนียมในการส่งหมายต่อเจ้าหน้าที่ศาลเรียบร้อยแล้ว ก็เป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4512/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานร่วมกระทำผิด, อำนาจสั่งคดีพนักงานสอบสวน, และสิทธิคู่ความในการดำเนินคดี
แม้พยานโจทก์จะมีพฤติการณ์เป็นผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันกับจำเลย เมื่อพนักงานสอบสวนได้กันไว้เป็นพยาน คำเบิกความของพยานดังกล่าวอาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ แต่มีน้ำหนักน้อย มิใช่จะรับฟังไม่ได้เลยเสียทีเดียว ถ้าโจทก์มีพยานหลักฐานอื่นประกอบก็รับฟังลงโทษจำเลยได้ ผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอยู่ในฐานะเป็นคู่ความ จึงมีสิทธิที่จะเรียงคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ตลอดทั้งมีสิทธิเรียงคำฟ้องอุทธรณ์และคำแก้ อุทธรณ์ได้ เหตุความผิดฐานฆ่าผู้ตายเกิดที่อำเภอ ก. ถือว่าความผิดฐานใช้จ้าง วาน ให้ฆ่าผู้ตาย เกิดในท้องที่ดังกล่าวท้องที่หนึ่งด้วยและคดีได้เริ่มทำการสอบสวนตั้งแต่จับจำเลยยังไม่ได้ พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ก. พบการกระทำผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจย่อมเป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 ข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาเป็นเพียงระเบียบปฏิบัติภายในที่ออกโดยอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.อ การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของข้อบังคับดังกล่าวหาทำให้อำนาจสั่งคดีของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ก. เสียไปไม่ การสั่งฟ้องคดีของพนักงานอัยการโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2867/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีและการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมาย การถึงศาลกับถึงห้องพิจารณา
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์เวลา 8.30 นาฬิกา โจทก์ทราบนัดแล้วศาลออกนั่งพิจารณาเวลา 8.45 นาฬิกา ไม่ปรากฏต่อศาลในขณะนั้นว่าโจทก์มาถึงศาลแล้วหรือร้องขอเลื่อนคดี หรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาลก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดี การที่ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาให้ยกฟ้องแล้วมีคำสั่งใหม่ว่าให้จำหน่ายคดี จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การถึงที่ทำการของศาลกับการถึงห้องพิจารณาคดีนั้นต่างกันแม้โจทก์ไปถึงศาลก่อนเวลาแต่ไม่เข้าห้องพิจารณาก็ถือได้ว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 มิได้บังคับให้ศาลต้องสอบถามจำเลย เป็นเรื่องที่จำเลยต้องแจ้งต่อศาลว่าตนตั้งใจจะดำเนินการพิจารณาต่อไป จำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีเพื่อจะได้มีโอกาสซักค้านพยานโจทก์เป็นคนละกรณีกับการตั้งใจจะให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1365/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องภายในกำหนด
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2มีผลทำให้คดีของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 เสร็จสิ้นไป จึงไม่ถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ทันที ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำฟ้องว่า ให้โจทก์นำส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้จำเลย ถ้า ส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน 15 วันนับแต่วันส่งไม่ได้ หากไม่แถลงให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ปรากฏว่าส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้จำเลยที่ 2 ไม่ได้เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2527 โจทก์ยื่นคำแถลงเมื่อวันที่ 12พฤศจิกายน 2527 ขอให้จัดส่งหมายแก่จำเลยที่ 2 ใหม่ ในคำแถลงดังกล่าวมีข้อความชัด ว่าโจทก์ได้นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 2 ดังนั้นต้องถือว่าโจทก์ได้ทราบถึงผลของการการส่งหมายว่าส่งไม่ได้ตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2527 ซึ่งเมื่อนับจากวันที่ส่งหมายไม่ได้จนถึงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2527 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 นั้นเกิน 15 วันแล้ว การที่โจทก์ไม่แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือได้ว่าโจทก์เพิกเฉย ไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพื่อการนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174(2)จึงเป็นการที่โจทก์ทิ้งฟ้องแล้ว ศาลชั้นต้นย่อมสั่งจำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1365/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องภายในกำหนด
ศาลชั้นต้นสั่งรับคำฟ้องโจทก์และสั่งให้โจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วันนับแต่วันส่งไม่ได้ ซึ่งถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งแล้ว ต่อมาโจทก์ยื่นคำแถลงว่าได้นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยที่ 2แล้วแต่ส่งไม่ได้ขอให้จัดส่งใหม่ดังนี้ ต้องถือว่าโจทก์ได้ทราบถึงผลการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องว่าส่งไม่ได้แล้ว เมื่อนับจากวันที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่ได้จนถึงวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 นั้นเกิน 15 วันแล้วการที่โจทก์ไม่แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดถือได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยชอบเป็นการทิ้งฟ้อง ชอบที่ศาลชั้นต้นจะจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 2ออกจากสารบบความได้
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 แม้จะไม่ทำให้คดีเสร็จทั้งเรื่องแต่เป็นเหตุให้คดีโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 เสร็จสิ้นไปจึงไม่ถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4015/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งหมายนัด และผลกระทบต่อการดำเนินคดีอาญา
ศาลสั่งนัดไต่สวนมูลฟ้องโดยให้โจทก์นำส่งหมายนัดภายใน 7 วันทนายโจทก์ทราบนัดแล้ว ครั้นถึงวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์ไม่มาศาลโดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนคดี ศาลจึงสั่งให้ยกฟ้องโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 ต่อมาในวันเดียวกันนั้นเจ้าพนักงานศาลรายงานให้ศาลทราบว่า โจทก์มิได้ดำเนินการส่งหมายนัดให้จำเลยตามคำสั่งศาลขั้นตอนของการดำเนินกระบวนพิจารณาได้ล่วงเลยมาถึงวันนัดไต่สวนมูลฟ้องแล้ว จึงไม่มีกรณีที่ศาลจะต้องย้อนไปสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 (1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 อีก กรณีมิได้เป็นการข้ามขั้นตอนและมิได้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3470/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลและความครบถ้วนของคำฟ้องคดีอาญา การชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งไม่กระทบการดำเนินคดีอาญา
คดียักยอกโจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดเป็นกรรมเดียวโดยระบุไว้ว่า จำเลยได้รับเงินจำนวนตามฟ้องตั้งแต่วันใดถึงวันใดแล้วจำเลยเบียดบังเงินจำนวนดังกล่าวไป อันเป็นการชัดเจนพอที่จะให้เข้าใจได้ว่าจำเลยได้เบียดบังเงินจำนวนดังกล่าวไปในระหว่างวันที่โจทก์ได้ระบุไว้ในคำฟ้องโจทก์มิได้ขอให้ลงโทษจำเลยเป็นหลายกระทงความผิดตามจำนวนเงินที่จำเลยรับแต่ละครั้ง จึงไม่จำเป็นต้องบรรยายในคำฟ้องให้ปรากฏว่าจำเลยรับเงินกี่ครั้งครั้งละเท่าใด คำฟ้องของโจทก์เป็นการครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) แล้ว
จำเลยฎีกาว่า คดีนี้เหตุเกิดที่สำนักงานของโจทก์ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ทั้งจำเลยที่ 2 ก็มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร และโจทก์มิได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน การที่โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลแขวงชลบุรีจึงเป็นการฟ้องผิดเขตอำนาจศาล เช่นนี้ เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
เอกสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานหลักฐานปรากฏชัดเจนว่าจำเลยที่ 1 ตกลงจะชดใช้เงินของโจทก์ที่ขาดไปเท่านั้น ไม่มีข้อความใดแสดงให้เห็นว่าโจทก์ได้ตกลงเลิกหรือระงับการดำเนินคดีอาญากับจำเลยที่ 1 แต่ประการใด ข้อตกลงตามเอกสารดังกล่าวจึงเป็นเพียงตกลงที่ชดใช้ค่าเสียหายกันในทางแพ่งเท่านั้น มิใช่เป็นการยอมความอันมีผลให้สิทธิในการดำเนินคดีอาญาของโจทก์ต้องระงับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1915/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบธรรมในการดำเนินคดีเช็คและการกำหนดผู้เสียหาย: ผู้เสียหายคือผู้รับเช็คโดยตรง แม้มีการนำเงินเข้าบัญชีห้างหุ้นส่วน
วัสดุก่อสร้างที่จำเลยซื้อและออกเช็คพิพาทให้โจทก์ร่วมเพื่อชำระราคานั้น เป็นของส่วนตัวของโจทก์ร่วม มิได้เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.ที่โจทก์ร่วมเป็นผู้จัดการ ดังนั้นเมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนดและถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ร่วมย่อมเป็นผู้เสียหายและชอบที่จะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีได้ ส่วนการที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ร่วมเรียกเก็บเงินเองและนำสืบในชั้นพิจารณาว่าเรียกเก็บเงินเพื่อฝากเข้าบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.นั้น ก็มิได้แตกต่างกันแต่อย่างใด เพราะการที่โจทก์ร่วมจะนำเงินตามเช็คที่เรียกเก็บเข้าฝากในบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.ก็เป็นสิทธิของโจทก์ร่วมที่จะทำได้ หาทำให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.กลายเป็นผู้เสียหายไปไม่
การบันทึกคำร้องทุกข์ของผู้เสียหาย เจ้าหน้าที่ผู้รับแจ้งจะจดลงไว้อย่างไรและที่ใด ก็เป็นเรื่องระเบียบภายในของพนักงานสอบสวนซึ่งไม่มีผลกระทบต่ออำนาจในการสอบสวนและดำเนินคดี และในปัญหาที่ว่าเขตรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ตำรวจแต่ละแห่งจะมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่เพียงใดนั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริง
of 9