พบผลลัพธ์ทั้งหมด 160 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 528/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ภาษี, ค่าเสื่อมราคา, และการนำสืบพยานเอกสาร/บุคคลในคดีภาษีอากร
พยานเอกสารซึ่งโจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียก เป็นเพียงใบสำคัญคู่จ่ายและใบเสร็จรับเงินซึ่งนำส่งในชั้นตรวจสอบไต่สวนอันเป็นเอกสารที่ใช้ประกอบการลงบัญชีของโจทก์เท่านั้น และเหตุที่จำเลยไม่อาจส่งเอกสารดังกล่าวก็เนื่องจากเอกสารสูญหายในช่วงที่จำเลยมีการแบ่งส่วนราชการภายในใหม่ จึงมิใช่กรณีที่จำเลยมีความมุ่งหมายที่จะกีดกันมิให้โจทก์ใช้เอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานทั้งเมื่อจำเลยไม่สามารถส่งเอกสารตามที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกเนื่องจากสูญหาย โจทก์ก็อาจขออนุญาตศาลนำพยานบุคคลมาสืบเกี่ยวกับข้ออ้างได้ ตามป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) จะถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ลงรายการต่าง ๆ ครบถ้วนถูกต้องหาได้ไม่
ประมวลรัษฎากร มาตรา 30 กำหนดกฎเกณฑ์และวิธีการในการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมินและการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลไว้แล้ว เมื่อมีการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมินรายการใด ย่อมแสดงว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเฉพาะรายการนั้น ส่วนรายการใดที่มิได้มีการอุทธรณ์ย่อมแสดงว่าผู้ยื่นเสียภาษีพอใจแล้วเมื่อโจทก์ไม่ยื่นอุทธรณ์รายการใด โจทก์ย่อมหมดสิทธิโต้แย้งในรายการนั้น โจทก์หามีสิทธิรื้อฟื้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินนำมาอุทธรณ์ต่อศาลอีกหาได้ไม่
เหล็กแผ่นที่ใช้ทำแบบในการก่อสร้าง โดยสภาพเป็นวัตถุที่คงทนถาวรไม่เสื่อมสภาพโดยง่าย ย่อมสามารถใช้ได้หลายครั้ง ทั้งตามรายงานการตรวจสอบปรากฏว่าเหล็กแผ่นดังกล่าวมีอายุการใช้งานได้มากกว่า 1 ปี รายจ่ายค่าแผ่นเหล็กดังกล่าวจึงต้องถือว่าเป็นรายจ่ายที่บังเกิดเป็นทุนรอนหรือทรัพย์สินของโจทก์ การที่เจ้าพนักงานประเมินถือว่าเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนและไม่ยอมให้ถือเป็นรายจ่ายทั้งหมดในแต่ละปี โดยเพียงแต่คำนวณหักเป็นค่าเสื่อมราคาให้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีจึงเป็นการชอบแล้ว
ประมวลรัษฎากร มาตรา 30 กำหนดกฎเกณฑ์และวิธีการในการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมินและการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลไว้แล้ว เมื่อมีการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมินรายการใด ย่อมแสดงว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเฉพาะรายการนั้น ส่วนรายการใดที่มิได้มีการอุทธรณ์ย่อมแสดงว่าผู้ยื่นเสียภาษีพอใจแล้วเมื่อโจทก์ไม่ยื่นอุทธรณ์รายการใด โจทก์ย่อมหมดสิทธิโต้แย้งในรายการนั้น โจทก์หามีสิทธิรื้อฟื้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินนำมาอุทธรณ์ต่อศาลอีกหาได้ไม่
เหล็กแผ่นที่ใช้ทำแบบในการก่อสร้าง โดยสภาพเป็นวัตถุที่คงทนถาวรไม่เสื่อมสภาพโดยง่าย ย่อมสามารถใช้ได้หลายครั้ง ทั้งตามรายงานการตรวจสอบปรากฏว่าเหล็กแผ่นดังกล่าวมีอายุการใช้งานได้มากกว่า 1 ปี รายจ่ายค่าแผ่นเหล็กดังกล่าวจึงต้องถือว่าเป็นรายจ่ายที่บังเกิดเป็นทุนรอนหรือทรัพย์สินของโจทก์ การที่เจ้าพนักงานประเมินถือว่าเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนและไม่ยอมให้ถือเป็นรายจ่ายทั้งหมดในแต่ละปี โดยเพียงแต่คำนวณหักเป็นค่าเสื่อมราคาให้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีจึงเป็นการชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3673/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบหลักฐานหนังสือยินยอม การสืบพยานบุคคลแทนหนังสือยินยอมขัดต่อกฎหมาย
โจทก์มิได้นำสืบหนังสือยินยอมของสามีจำเลยที่ให้จำเลยขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์ แต่กลับสืบพยานบุคคลแทนหนังสือให้ความยินยอม และการที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยมีหนังสือยินยอมของสามีมาด้วย ก็ถือได้ว่าเป็นการสืบพยานบุคคลเพื่อแสดงว่าสามีจำเลยได้ให้ความยินยอมนั่นเอง จึงเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้รับความยินยอมจากสามีให้ขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3583/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยการมอบฉันทะถอนเงินจากบัญชี และการนำสืบการใช้เงินตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้เงินกู้ยืม โดยมอบฉันทะให้โจทก์ผู้ให้กู้นำไปถอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารของจำเลยเลยเมื่อจำเลยทั้งสองมีหลักฐานที่โจทก์เป็นตัวแทนจำเลย และโจทก์ให้ผู้กู้นำไปถอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารของจำเลยเองเมื่อจำเลยทั้งสองมีหลักฐานที่โจทก์เป็นตัวแทนจำเลย และโจทก์ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับเงินตามใบถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของจำเลยมาแสดง จึงถือได้ว่าเป็นการนำสืบการใช้เงินโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3412/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานบุคคลหักล้างพยานเอกสาร การชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขาย
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายฟ้องขอให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ซื้อชำระราคาตามสัญญาซื้อขายน้ำเกลือ จำเลยให้การและนำสืบว่าได้ชำระราคาแก่โจทก์แล้วโดยโจทก์ได้ออกใบเสร็จรับเงินให้ไว้ ดังนี้ การชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง โจทก์ย่อมนำพยานบุคคลมาสืบได้ว่า ใบเสร็จรับเงินดังกล่าวที่จำเลยอ้างนั้นเป็นใบเสร็จรับเงินที่โจทก์ได้ออกให้แก่จำเลยไปก่อนเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการตั้งฎีกาเบิกเงินมาชำระราคาแก่โจทก์ตามที่เคยปฏิบัติมา แต่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระราคาเพราะเจ้าหน้าที่การเงินของจำเลยทุจริต กรณีหาเป็นการต้องห้ามมิให้นำสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 แต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2752/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบเอกสารหลักฐานในคดีแพ่ง การโต้แย้งข้อเท็จจริง และการปฏิเสธข้อกล่าวหา
การที่โจทก์นำสืบถึงหนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นเอกสารที่โจทก์ได้กล่าวอ้างมาในคำฟ้องนั้น เป็นการนำสืบพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงในประเด็นที่พิพาท เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์เป็นประเด็นไว้แล้ว แม้จะไม่ให้การปฏิเสธเอกสารดังกล่าวจะถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงในเอกสารนั้นหาได้ไม่จำเลยย่อมนำสืบหักล้างเอกสารดังกล่าวได้ เพราะเป็นการนำสืบโต้เถียงในประเด็นเดียวกัน หาใช่เป็นการนำสืบนอกเหนือคำให้การไม่และกรณีนี้ก็มิใช่เรื่องการคัดค้านการนำเอกสารมาสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2610/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบต้องสอดคล้องกับข้อต่อสู้เดิม การขีดฆ่าลายมือชื่อไม่ใช่การไม่ได้ลงลายมือชื่อ
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การสู้คดีว่า มิได้ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาท ย่อมมีความหมายชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3ไม่ได้ลงลายมือชื่อหรือไม่มีลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 และที่ 3อยู่ด้านหลังเช็คพิพาทและเมื่อลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 และที่ 3ไม่มีแล้ว การขีดฆ่าลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 และ ที่ 3 ก็ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ ดังนั้นที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 นำสืบว่าในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ได้มีการขีดฆ่าลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 และที่ 3แล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้สลักหลังจึงเป็นการนำสืบนอกประเด็นที่ให้การสู้คดีไว้ และการที่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ถูกขีดฆ่านี้ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 และที่ 3 อยู่ด้านหลังเช็คพิพาทลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ยังคงมีอยู่ แต่จำเลยที่ 2และที่ 3 จะต้องรับผิดในฐานะผู้สลักหลังเช็คพิพาทหรือไม่เป็นอีกประเด็นหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1313/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบหักล้างสัญญาจำนองและหนังสือมอบอำนาจ: ขอบเขตการนำสืบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94
การนำสืบว่า การทำสัญญาจำนองไม่มีการมอบเงินกัน เป็นการนำสืบหักล้างว่าการกู้เงินไม่สมบูรณ์ จำเลยจึงนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 วรรคท้าย
ส่วนการที่จำเลยนำสืบถึงมูลเหตุที่จำเลยลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นที่มาแห่งมูลหนี้กู้ยืมและจำนองที่โจทก์ฟ้อง มิใช่การนำสืบเพื่อบังคับหรือไม่บังคับตามสัญญาเช่าซื้อ จึงมิใช่กรณีที่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 94 จำเลยนำสืบได้
ส่วนการที่จำเลยนำสืบถึงมูลเหตุที่จำเลยลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นที่มาแห่งมูลหนี้กู้ยืมและจำนองที่โจทก์ฟ้อง มิใช่การนำสืบเพื่อบังคับหรือไม่บังคับตามสัญญาเช่าซื้อ จึงมิใช่กรณีที่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 94 จำเลยนำสืบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1313/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบหักล้างการกู้เงินและการอ้างเหตุผลในการลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจ ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กู้เงินจาก ค. ที่จำเลยนำสืบว่าการทำสัญญาจำนองไม่มีการมอบเงินกันเป็นการนำสืบหักล้างว่าการกู้เงินไม่สมบูรณ์ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้ายและที่จำเลยนำสืบว่า จำเลยเป็นผู้เช่าซื้อและนำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ ค. ยึดถือไว้เป็นประกันเงินดาวน์เป็นการนำสืบถึงมูลเหตุที่จำเลยลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นที่มาแห่งมูลหนี้กู้ยืมและจำนองที่โจทก์ฟ้อง มิใช่เป็นการนำสืบเพื่อบังคับหรือไม่บังคับตามสัญญาเช่าซื้อ จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 558/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการต่อสู้คดี: การนำสืบเกินคำให้การ และประเด็นที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น
คำให้การจำเลยว่า จำเลยไม่เคยทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทสัญญาเช่าซื้อจึงเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยส่งมอบรถยนต์และให้จำเลยชดใช้เงินที่จำเลยอ้างว่าได้ผ่อนส่งเป็นค่าเช่าซื้อรถยนต์จำนวน 192,000 บาท ดังนี้เป็นการปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยไม่ชัดแจ้ง ไม่มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องค่าเช่าซื้อ โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าโจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยด้วยวาจา และโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลยรวมเป็นเงิน 192,000 บาทจำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า โจทก์ไม่เคยทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทเป็นหนังสือ การเช่าซื้อรถยนต์พิพาทจึงเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง การที่จำเลยนำสืบต่อสู้ว่าจำเลยให้โจทก์เช่ารถยนต์พิพาทเดือนละ 8,000 บาท จึงเป็นการนำสืบนอกเหนือคำให้การและนอกประเด็น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 512/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องขับไล่: แม้รายละเอียดฟ้องไม่สมบูรณ์ แต่ศาลไม่ถือว่าฟ้องเคลือบคลุม หากจำเลยสามารถต่อสู้คดีได้ และการนำสืบไม่เกินขอบเขตคำฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยขออาศัยที่ดินพิพาทจากโจทก์เมื่อเดือนธันวาคม 2526 แต่ไม่บรรยายว่าขณะนั้นโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทได้อย่างไร และที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยขออาศัยเป็นเวลาก่อนที่โจทก์ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทขัดแย้งกันนั้นโจทก์บรรยายฟ้องถึงการเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยเป็นผู้อาศัยโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยออกไปแล้วจำเลยไม่ยอมออก จึงขอให้ขับไล่และเรียกค่าเสียหายเป็นการแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับ และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นแล้ว ข้อที่ว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองอย่างไร เมื่อใด เป็นเพียงรายละเอียดที่อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ส่วนที่ฟ้องขัดแย้งกันบ้างเป็นรายละเอียดปลีกย่อยที่อาจผิดพลาดได้ เมื่ออ่านคำฟ้องทั้งฉบับก็พอเข้าใจได้ทั้งจำเลยก็สามารถให้การสู้คดีได้แล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม โจทก์ฟ้องอ้างว่าซื้อที่ดินพิพาทจาก น. แต่นำสืบว่าจำเลยขายฝากที่ดินพิพาทให้ น. ต่อมาจำเลยกู้เงินโจทก์เพื่อนำไปชำระหนี้ไถ่ถอนการขายฝากจาก น. และตกลงว่าเมื่อไถ่ถอนการขายฝากแล้วจำเลยจะโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ โดยโจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายกันไว้ ครั้นเมื่อจำเลยนำเงินชำระหนี้ น. แล้ว จำเลยไม่มีเงินค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนไถ่ถอนการขายฝาก โจทก์จำเลยและ น.จึงตกลงกันให้ น. โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ เป็นการนำสืบถึงที่มาแห่งการซื้อที่ดินพิพาทจาก น. ว่ามีขั้นตอนอย่างไร จนผลสุดท้ายเกิดการโอนที่ดินพิพาทระหว่าง น. กับโจทก์ โดยผลจากการที่โจทก์เป็นผู้ออกเงิน ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นตามฟ้อง