คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การบังคับคดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 101 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5493/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์โดยผู้แทนโจทก์: การยึดยังชอบด้วยกฎหมายแม้โจทก์ไม่ได้ดำเนินการเอง
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่มีบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง บทใด บังคับว่าหากโจทก์ไม่นำยึดหรือผู้ที่นำยึดมิใช่ผู้แทนโจทก์แล้ว จะทำให้การยึดนั้นเป็นอันเสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4036/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดโดยไม่แจ้งเจ้าของทรัพย์ การปิดประกาศไม่ชอบ และการบังคับคดีที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย
พนักงานเดินหมายปิดประกาศขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทยังบ้านที่จำเลยแจ้งย้ายออกไปแล้ว ไม่ใช่เป็นการปิด ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักงานทำการงานของจำเลยและเจ้าพนักงานบังคับคดีใช้วิธีการประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์แทนการส่งหมายนัดโดยวิธีธรรมดา ทั้ง ๆที่การส่งโดยวิธีธรรมดายังทำได้อยู่ ย่อมเป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 วรรคแรก ถือได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์พิพาทไม่ทราบประกาศขายทอดตลาด การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทไปโดยไม่แจ้งให้ทราบซึ่งคำสั่งศาลและวันขายทอดตลาดแก่จำเลย ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี จึงเป็นการดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา296 วรรคสอง และมาตรา 306

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2543/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอทุเลาการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากเป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์
ตามคำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองถูกบังคับให้ต้องชำระราคาค่าที่ดินให้แก่โจทก์ ถ้าจำเลยทั้งสองไม่ชำระเงินดังกล่าวภายในเวลาที่กำหนด จำเลยทั้งสองต้องขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินและบ้านของโจทก์ทันที การที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องที่ขอให้ไต่สวนเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าว หากจำเลยทั้งสองไม่ยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับ จำเลยทั้งสองก็ต้องถูกบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 231 คำร้องที่จำเลยทั้งสองยื่นมาพร้อมกับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นคำร้องขอทุเลาการบังคับตรงตามคำร้องแล้วมิใช่เป็นการขอคุ้มครองประโยชน์ตามมาตรา 264 ตามที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งแต่อย่างใด เมื่อคำร้องของจำเลยทั้งสองเป็นคำร้องขอทุเลาการบังคับและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้อง อันเป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์โดยเฉพาะซึ่งเป็นวิธีการที่กฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจของศาลเป็นชั้น ๆ ไป จำเลยทั้งสองจะฎีกาคำสั่งนั้นต่อศาลฎีกาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2380/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเพิกถอนการขายทอดตลาด: สิทธิผู้ซื้อจากการบังคับคดี vs. การเพิกถอนการขายที่ยังไม่มีคำสั่ง
การร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดย อ้างว่าได้ดำเนินการโดย ฝ่าฝืนต่อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง นั้นหากศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการขาย ย่อมมีผลทำให้เสมือนไม่มีการขายแม้จะมีการโอนทรัพย์ให้ผู้ซื้อไปแล้ว ก็จะต้องเพิกถอนการโอนนั้นหรือหากผู้ซื้อได้โอนให้แก่บุคคลอื่นก่อนแล้วไม่ว่าจะโอนไปกี่ทอดและไม่ว่าผู้รับโอนจะสุจริตหรือเสียค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม ก็จะต้องเพิกถอนการโอนหมดเพราะผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน แต่ตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำสั่งให้เพิกถอนการขาย ตราบนั้นก็ยังต้องถือว่าการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไปโดยชอบ ผู้ซื้อย่อมมีสิทธิรับโอนทรัพย์นั้นมาและโอนต่อ ๆ ไปได้ โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินอ้างว่าการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไปโดยมิชอบศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง โจทก์อุทธรณ์ คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์มาฟ้องเป็นคดีใหม่ขอให้เพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น ดังนั้น เมื่อศาลยังไม่มีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีดังกล่าว จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ซื้อจากการขายทอดตลาดย่อมมีสิทธิรับโอนที่ดินแปลงนี้ตามคำสั่งศาล และมีสิทธิโอนต่อให้แก่จำเลยที่ 2 ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีสิทธิรับโอนย่อมไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ ทั้งจำเลยที่ 1 ยังมิได้เป็นลูกหนี้ของโจทก์ที่โจทก์จะฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3570/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดสิทธิการเช่าช่วง: สิทธิของผู้เช่าช่วงเมื่อเจ้าหนี้ยึดสิทธิการเช่าของผู้ให้เช่าช่วง
แม้ผู้ร้องจะมีสิทธิการเช่าอาคารตามสัญญาเช่าที่ทำกับจำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่าช่วงก็ตาม ในการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึด สิทธิ การเช่าอาคารดังกล่าวของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตาม คำพิพากษา นั้นหาได้กระทบกระเทือนถึงสิทธิการเช่าของผู้ร้องแต่ ประการ ใด ไม่จึงยังไม่ได้มีการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายแจ้งประกาศขายทอดตลาดโดยชอบ แม้บ้านปิดประตู-ไม่ปิดประกาศ ณ ที่ทรัพย์สิน
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งหมายแจ้งประกาศขายทอดตลาดไปที่บ้านซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยแล้ว แม้บ้านดังกล่าวจะปิดประตูใส่กุญแจไม่มีใครอยู่ ก็ถือว่าเป็นการส่งหมายแจ้งประกาศขายทอดตลาดให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ปิดประกาศการขายทอดตลาดไว้ ณ สถานที่ที่ทรัพย์ที่จะขายตั้งอยู่ตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี พ.ศ. 2522 ข้อ 68 วรรคแรกก็ตาม แต่ระเบียบดังกล่าวหาได้เป็นกฎหมายไม่ เมื่อปรากฏว่าการส่งหมายแจ้งประกาศขายทอดตลาดให้แก่จำเลยได้กระทำโดยชอบแล้ว จำเลยจะอ้างว่าไม่ทราบวันนัดขายทอดตลาดไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 107/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสัญญาเช่า, การบังคับคดี, และการข้ามขั้นตอนศาล
แม้ทรัพย์สินที่ให้เช่าจะมิใช่ของโจทก์ แต่เมื่อจำเลยยอมทำสัญญาเช่ากับโจทก์แล้วย่อมต้องผูกพันตามสัญญา และเมื่อจำเลยผิดสัญญา โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยตามสัญญาเช่าได้ ส่วนเจ้าของทรัพย์สินจะให้อำนาจโจทก์นำทรัพย์สินออกให้เช่าหรือให้เช่าช่วงได้หรือไม่มิใช่ข้อสำคัญ เพราะมิใช่เป็นเรื่องพิพาทกันระหว่างเจ้าของทรัพย์สินกับจำเลยผู้เช่า และเจ้าของทรัพย์สินก็มิได้โต้แย้งอำนาจของโจทก์ในการนำทรัพย์สินออกให้จำเลยเช่า ข้อที่จำเลยต่อสู้ว่าจำเลยทำสัญญาเช่าในฐานะตัวแทนของบริษัทฉ.นั้นมิได้อยู่ในคำให้การ และประเด็นข้อนี้มิใช่ส่วนหนึ่งของข้อต่อสู้ในเรื่องอำนาจฟ้อง จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะไม่รับวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว ปัญหาว่าเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วจำเลยได้ส่งมอบทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งหนี้ตามสัญญาเช่าคืนแก่โจทก์แล้วหรือไม่นั้น เป็นเรื่องอันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้นที่จะทำคำวินิจฉัยชี้ขาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 302 วรรคแรก เมื่อศาลชั้นต้นอันเป็นศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อนี้ จำเลยจะฎีกาข้ามขั้นขึ้นมาให้ศาลฎีกาวินิจฉัยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5039/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ซื้อตามสัญญาสัญญาประนีประนอมยอมความ vs. การบังคับคดี การคุ้มครองสิทธิผู้ซื้อก่อนเจ้าหนี้
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทภายในระยะเวลาที่กำหนดในสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาบังคับตามยอมให้จำเลยซึ่งเป็นคู่ความแทนที่จำเลยในอีกคดีหนึ่ง โอนขายที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นโจทก์คดีนั้น ทำให้การโอนที่ดินพิพาทไม่อาจกระทำได้ การที่ผู้ร้องไม่ชำระราคาที่ดินพิพาทภายในกำหนดเวลาดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นฝ่ายผิดสัญญา
เมื่อศาลได้พิพากษาให้คดีเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยโอนขายที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้องแล้ว ผู้ร้องจึงมีสิทธิตามคำพิพากษาที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 โจทก์จะบังคับคดียึดที่ดินพิพาทให้กระทบกระทั่งสิทธิของผู้ร้องอันอาจขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287
กรณียื่นคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ถือได้ว่าเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้อง ผู้ร้องอุทธรณ์ขอให้ไต่สวนคำร้องต่อไปและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน แต่สั่งให้ผู้ร้องใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์เกินอัตราขั้นสูงในคดีไม่มีทุนทรัพย์จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3752/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวระหว่างอุทธรณ์การบังคับคดี การงดการขายทอดตลาดเพื่อรอผลการพิจารณาอุทธรณ์
ในชั้นบังคับคดี จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นแต่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดเพื่อหารายได้ชำระหนี้โจทก์แทนการสั่งขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 307 ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น พร้อมกับยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ดังนี้ ศาลอุทธรณ์ไม่ควรมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวโดยที่ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลย เพราะการที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวนั้นมีผลเท่ากับศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยต่อไปได้ ซึ่งถ้าหากเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยได้เสร็จแล้ว หากศาลอุทธรณ์พิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยแล้วมีความเห็นว่าควรตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์ตามคำร้อง กรณีก็จะไม่อาจบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1864/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องคัดค้านการยึดทรัพย์เกินกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย ทำให้สิทธิในการคัดค้านสิ้นสุดลง
ผู้ประกันได้ ยื่นคำร้องต่อ ศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน2532 ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ ยึดทรัพย์ของผู้ประกันโดย ไม่ถูกต้อง แสดงว่าผู้ประกันทราบเรื่องการยึดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีตั้งแต่ วันที่ 20 เมษายน 2532 การที่ผู้ประกันมายื่นคำร้องต่อ ศาลชั้นต้นขอให้ยกเลิกคำสั่งยึดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2532 จึงเป็นการยื่นเมื่อเกินกำหนด 8 วันแล้วผู้ประกันจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอให้ยกเลิกกระบวนวิธีการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ประกอบป.วิ.อ. มาตรา 249.
of 11