คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การฟ้องร้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 171 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7627/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่การเวนคืนที่ดินของรัฐและการฟ้องร้องค่าทดแทน
จำเลยที่ 1 เป็นกระทรวง มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และนโยบายของรัฐ ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นกรมในสังกัดของจำเลยที่ 1 มีอธิบดีกรมทางหลวงเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนในนามของจำเลยที่ 2 จำเลยทั้งสองมีอำนาจหน้าที่จัดให้มีหรือสร้างทางหลวง ตลอดจนการดูแลรักษาและซ่อมบำรุงทางหลวง การดำเนินการสำรวจเพื่อเวนคืนที่ดินตาม พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน-หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2524ก็เพื่อให้ได้ที่ดินมาสร้างทางหลวง ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยทั้งสองตามนโยบายของรัฐ เมื่อเวนคืนแล้ว พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก...เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบัง พ.ศ.2532มาตรา 4 ให้อสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตกเป็นของจำเลยที่ 2 เงินค่าทดแทนที่จ่ายให้แก่โจทก์เป็นเงินงบประมาณของจำเลยทั้งสองซึ่งได้รับจากรัฐ เหตุที่กฎหมายกำหนดให้อธิบดีกรมทางหลวงเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนก็เพราะจำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคลไม่อาจแสดงเจตนาและกระทำการเองได้ จำเป็นต้องแสดงเจตนาและกระทำโดยอธิบดีกรมทางหลวงซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 2 การกระทำหรือการดำเนินการใด ๆเกี่ยวกับการเวนคืนที่ดินของโจทก์ จึงถือได้ว่าเป็นการดำเนินการของจำเลยทั้งสองนั่นเอง ส่วนที่ต้องมีคณะกรรมการทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนค่าทดแทนของอสังหาริมทรัพย์ และคณะกรรมการทำหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ค่าทดแทนนั้น เป็นเพียงกลไกของกฎหมายเพื่อกลั่นกรองงานเสนอต่อเจ้าหน้าที่เวนคืนและรัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ.หรือ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์พิจารณาสั่งการให้ดำเนินการต่อไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย นอกจากนี้การดำเนินการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของประชาชนถือว่าเป็นการกระทำในทางปกครองอย่างหนึ่ง และตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ก็มีบทบัญญัติให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ.หรือ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์แล้วแต่กรณี และฟ้องคดีต่อศาลได้ ดังนี้ หาใช่คดีมีข้อพิพาทในทางแพ่งสามัญทั่ว ๆไปที่ต้องคำนึงถึงการโต้แย้งสิทธิไม่ เมื่อจำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนการเวนคืนให้แก่โจทก์จำนวนหนึ่ง แต่โจทก์ไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนนั้นและไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีโดยเห็นว่ายังไม่เป็นธรรม โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลได้แม้ พ.ร.บ.ดังกล่าวมิได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่าให้ฟ้องผู้ใดก็ย่อมหมายถึงบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเวนคืนซึ่งก็คือจำเลยทั้งสองนั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7331/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอพิจารณาใหม่ต้องยื่นภายในกำหนด หากทราบถึงการถูกฟ้องและบังคับคดีแล้ว พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ย่อมสิ้นสุด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 กำหนดระยะเวลาในการขอให้พิจารณาใหม่ไว้เป็นลำดับ กล่าวคือในลำดับแรกจะต้องยื่นคำขอต่อศาลภายในกำหนดสิบห้าวันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลย แต่ถ้าศาลได้กำหนดการอย่างใด ๆ เพื่อส่งคำบังคับเช่นว่านี้โดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธีอื่นแทน จะต้องได้มีการปฏิบัติตามคำกำหนดนั้นแล้ว ลำดับที่สอง ถ้าคู่ความที่ขาดนัดไม่สามารถยื่นคำขอภายในระยะเวลาดังกล่าวได้โดยพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ คู่ความฝ่ายนั้นอาจยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลงลำดับที่สาม กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตาม ห้ามมิให้ยื่นคำขอเช่นว่านี้เมื่อพ้นกำหนดหกเดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่น
การที่โจทก์ได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง หมายนัดสืบพยานโจทก์และคำบังคับให้จำเลยที่บ้านซึ่งจำเลยและครอบครัวไม่ได้พักอาศัยอยู่ โดยจำเลยให้บุคคลอื่นเช่า จำเลยไม่ทราบถึงการถูกดำเนินคดี นับเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ แต่ต่อมาเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการยึดที่ดินและบ้านของจำเลย จำเลยก็อยู่ด้วย เจ้าพนักงานบังคับคดีได้แสดงหมายบังคับคดีให้จำเลยดูและบอกให้จำเลยไปดำเนินทางการศาลต่อไป กรณีถือได้ว่าจำเลยได้ทราบแล้วว่าตนถูกฟ้องและทราบถึงการส่งคำบังคับแล้ว จึงถือได้ว่าพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ได้สิ้นสุดลงแล้วในวันนั้น การที่จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่เมื่อพ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์ดังกล่าวนั้นได้สิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคหนึ่ง จำเลยไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 694/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงอำนาจพิเศษในคดีบังคับคดีและการไม่ผูกพันในผลคดีเดิม
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 จัตวา (3) นั้น หากผู้ที่อ้างว่ามิใช่บริวารไม่ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาแปดวันนับแต่วันปิดประกาศให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น หาได้มีผลเด็ดขาดเป็นการตัดสิทธิห้ามฟ้องร้องภายหลังไม่ และเมื่อโจทก์มิได้ร้องเข้ามาในคดีโจทก์ย่อมมิได้อยู่ในฐานะคู่ความในคดีดังกล่าว จึงไม่ผูกพันในผลแห่งคดีต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องไม่ว่าจะด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายในเรื่องฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อนแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 340/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาที่แท้จริง การส่งหมายเรียกที่ชอบด้วยกฎหมาย และผลของการขาดนัดยื่นคำให้การ
ป.พ.พ. มาตรา 38ป.วิ.พ. มาตรา 76, 183, 197
จำเลยยังไม่ได้ขายกิจการร้านข้าวต้มที่บ้านเลขที่ 39 - 41ถนนสุระสงคราม ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี แก่บุคคลใด แต่ยังเป็นกิจการของจำเลยอยู่ และในการขอเปิดบัญชีเดินสะพัดต่อธนาคาร จำเลยก็ระบุบ้านเลขที่ดังกล่าวเป็นที่อยู่ของจำเลย แม้จำเลยจะพักอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 24/2หมู่ที่ 2 ตำบลท่าศาลา อำเภอเมืองลพบุรี อีกแห่งหนึ่ง ก็ถือได้ว่าจำเลยมีถิ่นที่อยู่หลายแห่งซึ่งอยู่สับเปลี่ยนกันไป หรือมีหลักแหล่งที่ทำการงานเป็นปกติหลายแห่ง จึงถือเอาแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 38 การที่เจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยที่บ้านเลขที่ 39 - 41ซึ่งเป็นร้านข้าวต้มดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยยังภูมิลำเนาของจำเลยโดยชอบแล้ว จำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนดจึงถือได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ
ที่จำเลยฎีกาว่า มูลหนี้ตามเช็คพิพาทเกิดจากการเล่นการพนันจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้มีชื่อซึ่งรับเช็คพิพาทจากจำเลยได้เสียการพนันสลากกินรวบแก่จำเลยเป็นเงิน 120,000 บาท หนี้ตามเช็คพิพาทจึงเหลือเพียง 80,000 บาทแต่ผู้มีชื่อไม่ยอมนำเช็คพิพาทมาแลกเช็คใหม่กับจำเลยและกลับโอนเช็คพิพาทแก่โจทก์อันเป็นการคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยนั้น เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การย่อมไม่มีประเด็นข้อพิพาทดังกล่าว แม้ศาลล่างทั้งสองจะวินิจฉัยให้ก็ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 338/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้ออ้างทางจำเป็นต้องยกขึ้นในศาลชั้นต้นก่อน หากไม่ได้ยก ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแต่เพียงว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าเป็นทางจำเป็นข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้นั้นจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3085/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นการฟ้องบังคับให้ส่งมอบโฉนดที่ดินของผู้จัดการมรดก โดยต้องเป็นประเด็นที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่คู่ความจะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง นอกจากจะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์และต้องเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยแล้ว ต้องเป็นข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นด้วย และกรณีที่จะถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นนั้นต้องได้ความว่า คู่ความได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายนั้นขึ้นกล่าวอ้างเป็นประเด็นแห่งคดีมาในคำฟ้องหรือคำให้การและศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายตรงตามประเด็นดังกล่าวนั้นด้วย
กรณีจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ทั้งสองก็มิได้บรรยายข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายต่าง ๆ ดังที่จำเลยกล่าวอ้างมาในอุทธรณ์ไว้ในคำฟ้องดังนี้ แม้ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายตามที่จำเลยอุทธรณ์มา โจทก์ทั้งสองและจำเลยจะได้แถลงรับกันตามที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาก็ตาม ก็ถือมิได้ว่าข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายนั้นเป็นประเด็นในคดี ทั้งศาลชั้นต้นก็มิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายดังกล่าวนั้นด้วย ข้ออุทธรณ์ของจำเลยจึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยชอบแล้ว
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่าเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาลชั้นต้น จำเลยเป็นผู้เก็บรักษาโฉนดที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย โจทก์ทวงถามแล้วจำเลยเพิกเฉย เช่นนี้เห็นได้ว่า โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายเพื่อจัดการมรดกของผู้ตาย เมื่อจำเลยเป็นผู้เก็บรักษาโฉนดที่ดินพิพาท โจทก์ทั้งสองทวงถามให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทแต่จำเลยเพิกเฉย จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสองในการจัดการทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันแก่ทายาท โจทก์มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยอ้างว่ายังมีข้อโต้แย้งว่าผู้ใดจะเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายบ้าง ก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ทั้งสองเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์มรดกเสียไป
โจทก์ฟ้องให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทอ้างว่าเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาท เมื่อโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกก็ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายเพื่อจัดการมรดก การรวบรวมทรัพย์มรดกก็ดี การแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทก็ดี ล้วนแต่เป็นการจัดการมรดกทั้งสิ้น แม้โจทก์ฟ้องให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทแก่โจทก์เพื่อนำไปรวบรวมดำเนินการแก่ทายาท ก็มีความหมายให้โจทก์รวบรวมทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันแก่ทายาทนั่นเอง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทก็เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้อง ดังนี้ ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษานอกคำฟ้องแต่อย่างใด
คดีนี้กับคดีอาญาหมายเลขดำที่ 6258/2538 ซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นฐานยักยอก แม้คดีนี้กับคดีอาญาดังกล่าวโจทก์กับจำเลยต่างเป็นคู่ความเดียวกัน แต่คดีนี้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องบังคับให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทแก่โจทก์เพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาท ส่วนคดีอาญาดังกล่าวโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นฐานยักยอกโฉนดที่ดินพิพาท ประเด็นในคดีแพ่งและคดีอาญามิได้เป็นประเด็นอย่างเดียวกัน ไม่ว่าข้อเท็จจริงในคดีอาญาจะฟังว่าจำเลยจะมีความผิดตามฟ้องหรือไม่ก็ตาม แต่ในคดีแพ่งจำเลยเป็นผู้เก็บรักษาโฉนดที่ดินพิพาทก็ต้องส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก ดังนั้น คดีนี้กับคดีอาญาดังกล่าวจึงมิใช่เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิพากษาคดีนี้ไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 46แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2013/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำฟ้องโดยวิธีประกาศและการขาดนัดพิจารณาคดี กรณีจำเลยไม่ทราบการฟ้องเนื่องจากสถานการณ์พิเศษ
แม้โจทก์จะได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทราบโดยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์โดยศาลชั้นต้นอนุญาตซึ่งอาจถือได้ว่าจำเลยทราบหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแล้วตามกฎหมายแต่เมื่อพิจารณาพยานจำเลยที่ว่าในช่วงเวลาที่โจทก์ประกาศหนังสือพิมพ์นั้นจำเลยบวชชีประจำอยู่ที่วัดซึ่งอยู่ในหุบเขาจึงไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องจึงน่าเชื่อว่าจำเลยยังไม่ทราบหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องจริงจำเลยจึงไม่ยื่นคำให้การต่อสู้คดีและในวันนัดสืบพยานโจทก์นั้นจำเลยก็ไม่ได้มาศาลโดยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณากรณีจึงมีเหตุสมควรให้พิจารณาคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2005/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์การยืมวัตถุโบราณและการคิดดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่2รับผ้าปูโต๊ะวัตถุโบราณพิพาทของโจทก์ไปจริงโดยเชื่อพยานหลักฐานของโจทก์ที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่1โดยจำเลยที่2ยืมผ้าปูโต๊ะวัตถุโบราณพิพาทจากโจทก์เพื่อนำไปแสดงยังสำนักงานใหญ่ของจำเลยที่1ในประเทศญี่ปุ่น และจำเลยที่1ได้รับผ้าปูโต๊ะวัตถุโบราณพิพาทไปจากโจทก์แล้วซึ่งตรงกับประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ว่าจำเลยทั้งสองยืมผ้าปูโต๊ะวัตถุโบราณพิพาทไปจากโจทก์จริงหรือไม่ศาลอุทธรณ์จึงมิได้วินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5ต่อปีในต้นเงิน225,000บาทนับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าสินค้าให้แก่เจ้าของสินค้าที่สูญหายไปคือตั้งแต่วันที่10มกราคม2535ถึงวันฟ้องเป็นเงิน32,250บาทรวมกับต้นเงินเป็นยอดเงินที่โจทก์เรียกร้องเอาแก่จำเลยทั้งสองถึงวันฟ้องจำนวน257,250บาทและโจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยในต้นเงิน225,000บาทอัตราร้อยละ7.5ต่อปีนับตั้งแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์อีกด้วยเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนผ้าปูโต๊ะวัตถุโบราณพิพาทให้แก่โจทก์หากคืนไม่ได้ขอให้จำเลยทั้งสองชดใช้เงิน50,000ฟรังก์ฝรั่งเศสหรือเงินไทย257,250บาทแก่โจทก์แสดงว่าโจทก์อุทธรณ์รวมเอาเงินดอกเบี้ยจำนวน32,250บาทอันเป็นดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่10มกราคม2535ถึงวันฟ้องเข้ากับต้นเงินจำนวน225,000บาทมาในฟ้องอุทธรณ์ด้วยแล้วดังนั้นแม้ฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์จะมิได้ขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยในต้นเงิน225,000บาทอัตราร้อยละ7.5ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จมาด้วยแต่โดยนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(3)ประกอบด้วยมาตรา246เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควรศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยที่1ผู้แพ้คดีชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5ต่อปีในต้นเงิน225,000บาทนับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยที่1ได้ชำระเสร็จตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1419/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน: การโอนสิทธิและผลกระทบต่อการฟ้องเพิกถอนใบจองเมื่อมีการโอนที่ดินไปแล้ว
จำเลยรับว่าใบจองตามที่ถูกโจทก์ฟ้อง จำเลยออกทับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ ซึ่งจำเลยได้ยื่นเรื่องราวขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) แล้ว และก่อนฟ้องจำเลยได้โอนขายให้ ก.ไปแล้ว ส่วนโจทก์แถลงรับว่า ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.2 ใบจองเดิมของจำเลยได้โอนขายให้ ก.ไปแล้วจริง ดังนี้ หากที่ดินพิพาทตามฟ้องโจทก์กับที่ดินตามใบจองของจำเลยเป็นคนละแปลงกัน จำเลยก็ไม่ได้ออกใบจองทับที่ดินของโจทก์โจทก์ย่อมไม่ถูกโต้แย้งสิทธิหรือได้รับความเสียหายใด ๆ จากการที่จำเลยออกใบจองและโจทก์ย่อมไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยไปยื่นคำร้องขอเพิกถอนสิทธิครอบครองตามใบจองได้ ที่ศาลชั้นต้นงดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์จำเลยและเห็นว่าเมื่อจำเลยได้จดทะเบียนโอนขายและส่งมอบการครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ดังกล่าวให้แก่ ก.ไปแล้ว ไม่ว่าข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามฟ้องหรือไม่ก็ตาม จำเลยก็ไม่มีสิทธิหรืออำนาจใด ๆ ที่จะไปยื่นเรื่องขอเพิกถอนสิทธิครอบครองใบจอง (น.ส.2) ตามคำขอท้ายฟ้องได้ และพิพากษายกฟ้องโจทก์ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1163/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการโต้แย้งสิทธิเจ้าของทรัพย์สิน การฟ้องร้องนอกชั้นบังคับคดีไม่มีอำนาจฟ้อง
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าในคดีก่อนศาลพิพากษาให้โจทก์แบ่งแยกที่ดินของโจทก์ให้จำเลยตามส่วนที่ได้รับตามคำพิพากษาแต่มิได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวของโจทก์ที่จำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินมาขายทอดตลาดจึงเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์นั้นเป็นคำฟ้องที่โต้แย้งเกี่ยวกับการดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดีโจทก์จะอ้างว่าจำเลยไม่มีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินของโจทก์และโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอาศัยสิทธิที่โจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336หาได้ไม่โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
of 18