คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การรับฟังพยาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1098/2481

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่การพิสูจน์ในคดีอาญา และการใช้สำนวนคดีอื่นเป็นหลักฐาน
ในคดีอาญาเมื่อกฎหมายมิได้บัญญัติไว้โดยชัดเจนว่าให้การพิสูจน์ตกเป็นหน้าที่ของฝ่ายใดแล้วหน้าที่นำสืบต้องตกอยู่แก่โจทก์สำนวนหรือคำให้การจำเลยในคดีเรื่องอื่นไม่เป็นพะยานหลักฐานที่จะนำมาใช้ยันจำเลยในคดีอีกเรื่องหนึ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 138/2473

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐาน: ศาลมีอำนาจพิจารณาความชอบด้วยกฎหมายในการรับฟังพยาน
ศาลควรฟังพะยานปากนี้หรือมิควรฟังนั้น เปนปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7206/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานเอกสารที่มิได้ส่งสำเนาให้คู่ความก่อนสืบพยาน และอำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87(2)
ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นระบุแต่เพียงว่า ในวันดังกล่าวมีการสืบพยานโจทก์และโจทก์อ้างส่งเอกสาร 7 อันดับ ศาลหมาย จ.1 ถึง จ.7 โดยจำเลยแถลงคัดค้านว่า แผนผังสมาชิก หนังสือเรื่องขอรับรางวัลเกียรติยศและใบตอบรับเอกสารหมาย จ.5 ถึง จ.7 โจทก์มิได้มีการจัดส่งสำเนาให้แก่จำเลยก่อนสืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงบันทึกไว้ โดยมิได้มีคำสั่งใด ๆ ว่าจะรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวหรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำสั่งเรื่องดังกล่าว โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องโต้แย้งเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 ศาลชั้นต้นเพิ่งจะมีคำสั่งไม่รับฟังพยานเอกสารหมาย จ.5 แผ่นที่ 1 โดยระบุไว้ในคำพิพากษา จึงมิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา
คดีนี้โจทก์อ้างว่า โจทก์ทำการตามแผนการตลาดที่ตกลงไว้กับจำเลยและมีสิทธิที่จะได้รับเงิน 1,250,000 บาท ตามที่ตกลงกัน ส่วนจำเลยให้การว่า ผลงานของโจทก์ยังไม่อยู่ในเงื่อนไขที่จะได้รับรางวัล ประเด็นข้อสำคัญในคดีจึงอยู่ที่ว่า ผลงานของโจทก์อยู่ในเงื่อนไขที่จะได้รับรางวัลหรือไม่ ซึ่งเอกสารหมาย จ.5 ทั้งหมด เป็นเอกสารสำคัญที่แสดงสถานะและผลงานของโจทก์ จากคำเบิกความของพยานบุคคลฝ่ายโจทก์และจำเลยต่างรับฟังได้ว่า เอกสารหมาย จ.5 เป็นเอกสารที่พิมพ์มาจากข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ฝ่ายจำเลยเป็นผู้จัดทำ ซึ่งไม่ทำให้จำเลยต้องเสียเปรียบในการต่อสู้คดีแต่อย่างใด ดังนั้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 561/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารรุกล้ำเขตที่ดินและการรับฟังพยานเพิ่มเติม ศาลต้องเปิดโอกาสให้คู่ความนำเสนอหลักฐานเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นมีหนังสือถึงเจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาพระโขนงให้จัดทำแผนที่พิพาท เพื่อให้ทราบว่าอาคารพาณิชย์เลขที่ 17 ก่อสร้างรุกล้ำแนวเขตที่ดินของโจทก์ทั้งสองหรือไม่ และกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 4 ถึง 6 สิงหาคม 2547 นัดสืบพยานจำเลยวันที่ 10, 11 และ 13 สิงหาคม 2547 หลังจากสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาพระโขนง ส่งแผนที่พิพาทมายังศาลชั้นต้นแล้ว โจทก์ทั้งสองได้ยื่นคำแถลงขอระบุบัญชีพยานเพิ่มเติมลงวันที่ 7 มิถุนายน 2547 ขออ้าง ส. เจ้าหน้าที่ฝ่ายหลักประกันและจดจำนองของธนาคาร ก. ซึ่งเป็นประจักษ์พยานในการทำแผนที่พิพาท และ ฉ. เจ้าพนักงานที่ดินผู้ทำการรังวัดแผนที่พิพาท ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต ต่อมาวันที่ 16 มิถุนายน 2547 โจทก์ทั้งสองยื่นคำแถลงขอระบุบัญชีพยานเพิ่มเติมดังกล่าวเข้ามาอีก โดยแถลงว่าประสงค์จะสืบพยานบุคคลทั้งสองแทนพยานบุคคลสองอันดับที่ได้ขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายเรียกไปแล้ว เพื่อไม่ให้กระทบกับวันนัดพยานโจทก์ที่ได้กำหนดไว้ แสดงให้เห็นว่าโจทก์ทั้งสองไม่มีเจตนาประวิงคดี ประกอบกับแผนที่พิพาทไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ทั้งสองที่ถูกรุกล้ำ โจทก์ทั้งสองจึงอาจจำเป็นต้องนำพยานบุคคลที่เห็นว่าเป็นกลางมานำสืบเพื่อให้ได้ความชัดเจน ซึ่งไม่ทำให้จำเลยทั้งสามเสียเปรียบ เพราะจำเลยทั้งสามมีสิทธิถามค้านและนำพยานของตนเข้าสืบแก้ได้ การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้โจทก์ทั้งสองยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมกรณีเช่นนี้ ย่อมทำให้โจทก์ทั้งสองไม่อาจเสนอข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับประเด็นสำคัญแห่งคดีและอาจทำให้รูปคดีของโจทก์ทั้งสองเสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1863/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ใช้ให้ฆ่า - พยานหลักฐานสนับสนุนการกระทำความผิด - การรับฟังพยาน - การใช้โทรศัพท์ - การโอนเงิน
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งให้การในชั้นสอบสวนเป็นผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์และพบเห็นเหตุการณ์ด้วยตนเอง มิได้รับฟังมาจากผู้อื่น และจำเลยที่ 1 และที่ 2 มาเบิกความในชั้นพิจารณาของศาลด้วยตนเอง ทั้งคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีเหตุผลเชื่อได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การไว้ด้วยความสมัครใจ จึงเป็นปัญหาดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน หาใช่กรณีเป็นปัญหาในเรื่องพยานบอกเล่าไม่ แม้บันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 จะมีลักษณะเป็นคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน แต่จำเลยที่ 1 ก็ให้การรับว่า ได้ร่วมกับ พ. ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย จึงไม่ได้เป็นการปัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ให้เป็นความผิดของจำเลยที่ 2 แต่เพียงลำพังเท่านั้น แต่เป็นการให้การถึงเหตุการณ์ที่จำเลยที่ 1 ได้ประสบมายิ่งกว่าเป็นการปรักปรำจำเลยที่ 2 จึงรับฟังบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์และโจทก์ร่วมได้ อีกทั้งบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีสาระสำคัญสอดคล้องกับที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การไว้ในฐานะพยาน ยิ่งทำให้บันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีน้ำหนักให้รับฟังมากขึ้น และจำเลยที่ 2 ยังนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพโดยทำกริยาท่าทางที่ร่วมกับจำเลยที่ 1 ไปดูบ้านของผู้ตายก่อนเกิดเหตุ ให้พนักงานสอบสวนถ่ายรูป และบันทึกการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพ ซึ่งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 กระทำไปโดยไม่สมัครใจแต่อย่างใด จึงรับฟังการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวประกอบกับพยานหลักฐานอื่นของโจทก์และโจทก์ร่วมได้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2689/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีค้ามนุษย์: การรับฟังพยานก่อนฟ้อง, อำนาจศาล, และการพิสูจน์ข้อเท็จจริง
คำฟ้องโจทก์บรรยายถึงรายละเอียดการกระทำผิดของจำเลยข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา สถานที่ ทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้อง โดยระบุสถานที่เกิดเหตุในประเทศไทย มิได้ระบุว่าสถานที่เกิดเหตุนอกราชอาณาจักรแต่อย่างใด แม้ตามฟ้องมีการระบุถึงการกระทำที่หลอกลวงผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นคนสัญชาติลาว และผลการหลอกลวงผู้เสียหายที่ 2 ได้นำพาผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นคนสัญชาติลาว เข้ามาในราชอาณาจักรไทยให้จำเลยรับไว้ที่จังหวัดหนองคายก็ตาม ก็ไม่ปรากฏรายละเอียดในฟ้องถึงการกระทำของจำเลยนอกราชอาณาจักร และแม้หากมีการหลอกลวงของจำเลยต่อผู้เสียหายที่ 2 นอกราชอาณาจักร ก็เป็นเพียงการตระเตรียม พยายาม หรือการกระทำส่วนหนึ่งเกิดขึ้นนอกราชอาณาจักรเท่านั้น ซึ่งตาม ป.อ. มาตรา 5 ให้ถือว่าความผิดนั้นได้กระทำในราชอาณาจักรทั้งสิ้น กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 20 ที่บัญญัติ ให้อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ
การสืบพยานก่อนฟ้องตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 มาตรา 31 ไม่มีเงื่อนไขให้ต้องรอหรือแจ้งผู้ต้องหา จำเลย หรือทนายมาถามค้านก่อนสืบพยานแต่อย่างใด เพราะศาลต้องสืบพยานทันทีที่ได้รับคำร้องและเป็นผู้ไต่สวนค้นหาความจริงรวมถึงถามค้านแทนฝ่ายผู้ต้องหาหรือจำเลย และแม้หากมีจำเลยหรือทนายมา ศาลก็อาจไม่อนุญาตให้ถามค้านก็ได้ การมิได้ถามค้านจึงมิใช่เหตุที่ทำให้คำเบิกความของผู้เสียหายในชั้นสืบพยานก่อนฟ้องรับฟังไม่ได้
of 4