พบผลลัพธ์ทั้งหมด 125 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5616/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความผิดบุกรุกที่ดินสาธารณะ และการลงโทษความผิดหลายกรรม
จำเลยบุกรุกเข้าครอบครองที่ดินโดยรู้ว่าเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน มีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108 ทวิ วรรคสอง ส่วนความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 362, 365 ที่โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยมาด้วยนั้น กฎหมายมุ่งประสงค์จะลงโทษผู้ที่บุกรุกอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเท่านั้น ไม่ใช่บทบัญญัติที่จะลงโทษผู้ที่บุกรุกที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน จึงลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 362, 365 ไม่ได้ แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225
ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันกับความผิดฐานบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9เพราะความผิดแต่ละฐานดังกล่าวต่างมีสภาพและลักษณะของการกระทำที่แตกต่างกันสามารถแยกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ ดังนั้น จึงนำความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตมาลงโทษจำเลยได้
ป.อ.มาตรา 29, 30 การยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับและการกักขังแทนค่าปรับเป็นวิธีที่จะกระทำเพื่อเป็นการชดใช้ค่าปรับเป็นการบังคับคดี ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องกล่าวไว้ในคำพิพากษา
ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันกับความผิดฐานบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9เพราะความผิดแต่ละฐานดังกล่าวต่างมีสภาพและลักษณะของการกระทำที่แตกต่างกันสามารถแยกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ ดังนั้น จึงนำความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตมาลงโทษจำเลยได้
ป.อ.มาตรา 29, 30 การยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับและการกักขังแทนค่าปรับเป็นวิธีที่จะกระทำเพื่อเป็นการชดใช้ค่าปรับเป็นการบังคับคดี ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องกล่าวไว้ในคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร – การกระทำผิดฐานเป็นธุระจัดหาพาไปเพื่อการอนาจาร และการลงโทษตามบทบัญญัติที่โจทก์ฟ้อง
ผู้เสียหายทั้งสี่มีอายุอยู่ระหว่างตั้งแต่12ปีถึง16ปีอยู่ในความปกครองของบิดามารดาจำเลยทั้งสามชักชวนให้ผู้เสียหายทั้งสี่ไปทำงานที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งในภาคใต้แล้วพาไปประกอบอาชีพโสเภณีการกระทำดังกล่าวจึงเป็นการร่วมกันพรากผู้เสียหายทั้งสี่ไปเสียจากบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารทั้งผู้เสียหายทั้งสี่เพียงแต่เต็มใจไปทำงานที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งในจังหวัดภาคใต้มิได้เต็มใจไปค้าประเวณีจึงถือไม่ได้ว่าผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าจำเลยทั้งสามกระทำความผิดฐานเป็นธุระจัดหาพาไปเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา283วรรคสอง1กรรมและมาตรา283วรรคสาม3กรรมและฐานพรากเด็กและผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา317วรรคสาม3กรรมและมาตรา319วรรคหนึ่ง1กรรมแต่โจทก์บรรยายฟ้องโดยไม่มีรายละเอียดให้เห็นว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษทุกกรรมศาลจะลงโทษจำเลยทั้งสามให้แต่ละกรรมนอกเหนือจากคำฟ้องและคำขอของโจทก์หาได้ไม่จึงลงโทษจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา283วรรคสามกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6591/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม - ข้อเท็จจริง vs. ข้อกฎหมาย และการลงโทษเจ้าพนักงาน
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สำหรับปัญหาที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาข้อแรกตามฟ้องข้อ ก. นั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่เกินห้าปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 มิได้กระทำการตามฟ้องโจทก์ เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในประเด็นนี้มาก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย และที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า การที่โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานปากใดมานำสืบพิสูจน์ให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดตามมาตรา 162 แล้ว จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์หรือไม่ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสอง ซึ่งได้วินิจฉัยเป็นยุติสำหรับจำเลยที่ 1 ไว้แล้วเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่า จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดตามฟ้องหรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้นเช่นกัน
ส่วนความผิดตามฟ้องข้อ ข. ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 มาด้วยนั้น ปรากฏว่าความผิดข้อหานี้ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 5 ปี เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลล่างให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า เอกสารหมาย จ.14 ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างหรือการเบิกจ่ายพัสดุและเอกสารหมาย จ.41 ที่พนักงานสอบสวนจัดทำขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะใช้ยันจำเลยที่ 1 ให้ต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์ได้หรือไม่ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสองซึ่งได้วินิจฉัยเป็นยุติสำหรับจำเลยที่ 1 ไว้ เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในข้อนี้มา เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สำหรับจำเลยที่ 2 ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษอย่างเจ้าพนักงานซึ่งกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่นั้น จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างประจำของกรมชลประทานโจทก์ร่วม ซึ่งมิใช่ข้าราชการที่ได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งหรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่ซึ่งกฎหมายระบุไว้โดยเฉพาะให้ถือเป็นเจ้าพนักงาน จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมายเนื่องจากบทบัญญัติประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162 (1) และมาตรา 147,151, 157 เป็นบทบัญญัติที่ลงโทษแก่บุคคลผู้กระทำผิดที่เป็นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่เท่านั้น แม้จำเลยที่ 2 จะร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 กระทำผิดต่อบทบัญญัติดังกล่าวก็จะลงโทษจำเลยที่ 2 อย่างเจ้าพนักงานไม่ได้ คงลงโทษจำเลยที่ 2 ได้แต่เพียงในฐานะผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86เท่านั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 2ไม่ได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ส่วนความผิดตามฟ้องข้อ ข. ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 มาด้วยนั้น ปรากฏว่าความผิดข้อหานี้ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 5 ปี เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลล่างให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า เอกสารหมาย จ.14 ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างหรือการเบิกจ่ายพัสดุและเอกสารหมาย จ.41 ที่พนักงานสอบสวนจัดทำขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะใช้ยันจำเลยที่ 1 ให้ต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์ได้หรือไม่ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสองซึ่งได้วินิจฉัยเป็นยุติสำหรับจำเลยที่ 1 ไว้ เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในข้อนี้มา เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สำหรับจำเลยที่ 2 ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษอย่างเจ้าพนักงานซึ่งกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่นั้น จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างประจำของกรมชลประทานโจทก์ร่วม ซึ่งมิใช่ข้าราชการที่ได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งหรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่ซึ่งกฎหมายระบุไว้โดยเฉพาะให้ถือเป็นเจ้าพนักงาน จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมายเนื่องจากบทบัญญัติประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162 (1) และมาตรา 147,151, 157 เป็นบทบัญญัติที่ลงโทษแก่บุคคลผู้กระทำผิดที่เป็นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่เท่านั้น แม้จำเลยที่ 2 จะร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 กระทำผิดต่อบทบัญญัติดังกล่าวก็จะลงโทษจำเลยที่ 2 อย่างเจ้าพนักงานไม่ได้ คงลงโทษจำเลยที่ 2 ได้แต่เพียงในฐานะผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86เท่านั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 2ไม่ได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4469/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดสิทธิฎีกาในประเด็นข้อเท็จจริง: การโต้แย้งดุลพินิจศาลในการลงโทษ
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างและให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกินห้าปี โจทก์จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218วรรคสอง ที่โจทก์ร่วมฎีกาว่า การรับสารภาพของจำเลยเป็นการจำนนต่อพยานหลักฐานของโจทก์ ไม่มีเหตุบรรเทาโทษตาม ป.อ. มาตรา 78 นั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาล จึงเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้โจทก์ร่วมฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4290/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย ศาลพิจารณาเจตนาในการกระทำเพื่อลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยกับพวกไล่ชกผู้ตายจนถอยหลังตกคลอง เป็นเหตุให้ผู้ตายจมน้ำตาย การตายของผู้ตายเป็นผลโดยตรงจากการที่จำเลยกับพวกไล่ชกผู้ตาย การกระทำของจำเลยกับพวกเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยทำร้ายผู้ตายโดยมิได้มีเจตนาฆ่าศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3577/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) และการใช้ดุลยพินิจในการลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องมาชัดเจน และได้แนบสำเนาประกาศกระทรวงเกษตรเรื่องกำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484มาท้ายฟ้องด้วยประกาศนี้ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษามีผลใช้บังคับแล้ว จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วที่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า พนักงานเจ้าหน้าที่จากที่ใดนำประกาศดังกล่าวไปปิดประกาศไว้สถานที่เกิดเหตุในคดีนี้ หรือไม่ อย่างไรแต่เมื่อใดนั้นหาใช่ข้อสาระสำคัญที่โจทก์ต้องบรรยายไว้ในฟ้องไม่ฟ้องของโจทก์สมบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 158(5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3348/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชัดแจ้งต้องห้าม - โจทก์ขอให้ลงโทษฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร แต่ฎีกาเสนอให้ลงโทษทั้งสองฐานโดยไม่ระบุเหตุผล
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรศาลชั้นต้นพิพากษาว่ามีความผิดฐานรับของโจร จึงถือว่ายกฟ้องฐานลักทรัพย์โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษฐานลักทรัพย์ ส่วนจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องฐานรับของโจร ความผิดฐานลักทรัพย์จึงยุติการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ไม่ผิดฐานรับของโจรและไม่ลงโทษฐานลักทรัพย์ จึงชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์มิได้ระบุข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอ้างอิงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานรับของโจร คงโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มาในฎีกาว่าเมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าพฤติการณ์แห่งการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิดฐานรับของโจรเท่ากับฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานลักทรัพย์ก็ต้องพิพากษาลงโทษฐานลักทรัพย์และก็สรุปเอาว่า หากศาลฎีกาไม่ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานลักทรัพย์และเห็นว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานรับของโจร ก็ให้ลงโทษฐานรับของโจร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1707/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีอาวุธปืน: การลงโทษฐานครอบครองอาวุธปืนต่างกระบอกจากที่ใช้ในการกระทำผิด
อาวุธปืนที่ยึดได้จากจำเลยที่ 3 เป็นอาวุธปืนคนละกระบอกกับที่จำเลยที่ 3 ใช้ในการกระทำผิดในวันเกิดเหตุ ซึ่งตามฟ้องโจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานมีอาวุธปืนกระบอกที่ยึดได้นี้แต่อย่างใด จึงลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานมีอาวุธปืนดังกล่าวไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5591/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษ พ.ร.บ.การพนัน: ต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ใน พ.ร.บ.เอง ไม่ใช้ประมวลกฎหมายอาญา
พ.ร.บ. การพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 14 ทวิ (2) เป็นบทบัญญัติในการเพิ่มโทษเกี่ยวกับการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. การพนันที่กำหนดไว้เป็นพิเศษต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในมาตราดังกล่าว จะนำหลักเกณฑ์ในเรื่องการเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาใช้หาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4913/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพที่ไม่เพียงพอต่อการลงโทษ จำเป็นต้องมีพยานหลักฐานประกอบ
คำรับของจำเลยต่อ อ. และคำรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมจะพึงรับฟังได้แต่เพียงเป็นพยานประกอบคำเบิกความของพยานโจทก์ เมื่อคำเบิกความของ ง. พยานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าเห็นจำเลยอุ้มไก่ของผู้เสียหายไป ลำพังแต่คำรับของจำเลยต่อ อ.และคำรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะลงโทษจำเลยได้.