คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การละเมิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 108 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7458/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์สินหลังสัญญาจะซื้อขายไม่สมบูรณ์ และอำนาจฟ้องขับไล่
ปัญหาว่า โจทก์ได้มอบการครอบครองทรัพย์สินที่จะซื้อขายแก่จำเลยที่ 2 อันเป็นการชำระหนี้บางส่วน สัญญาจะซื้อขายจึงเกิดขึ้นโดยมิต้องทำเป็นหนังสือกันอีก จึงไม่ต้องห้ามที่จะฟ้องร้องหรือต่อสู้คดี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสองนั้น เป็นข้อที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย สัญญามีข้อความระบุว่า โจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ผู้เริ่มก่อการตั้งจำเลยที่ 2 เข้าครอบครองทรัพย์สินพิพาทเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีการทำสัญญาจะซื้อจะขายเสร็จ ทั้งนี้การครอบครองชั่วคราวจะไม่เกินวันที่ 31 กรกฎาคม 2530 เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 2ไม่ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกัน จำเลยที่ 2 ก็มีสิทธิอยู่ในทรัพย์สินพิพาทจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2530 หลังจากนั้นเป็นการอยู่โดยละเมิดโจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยที่ 2 โดยไม่จำต้องบอกกล่าวได้ การที่โจทก์มีหนังสือหลังจากวันดังกล่าวแจ้งให้จำเลยที่ 2ขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากทรัพย์สินพิพาทให้แล้วเสร็จโดยเร็วแต่ต้องไม่เกินวันที่ 30 กันยายน 2530 หาใช่โจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 2 ครอบครองทรัพย์สินพิพาทถึงวันดังกล่าว แต่เป็นเรื่องที่โจทก์เตือนให้จำเลยที่ 2 ออกไปจากทรัพย์สินพิพาท หนังสือดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะอยู่ในทรัพย์สินที่พิพาทโดยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7425/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า การลอกเลียนแบบ การจดทะเบียนโดยเจตนาหลอกลวง และการเรียกค่าเสียหาย
กรณีการระบุพยานเพิ่มเติมไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องส่งสำเนาเอกสารให้ก่อนวันสืบพยาน 3 วัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 90 (เดิม) เมื่อปรากฏว่าโจทก์เพิ่งจะยื่นคำร้องและได้รับอนุญาตให้ระบุพยานเพิ่มเติมวันที่ 19 มกราคม 2530ซึ่งได้มีการส่งสำเนาเอกสารให้จำเลยทั้งสองในวันเดียวกันและได้นำสืบพยานเอกสารดังกล่าวในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2530 ซึ่งเป็นการส่งสำเนาเอกสารให้จำเลยทั้งสองก่อนวันสืบพยานโจทก์ที่เหลือต่อถึง 14 วัน มิใช่เป็นกรณีเอาเปรียบจำเลยทั้งสองการที่ศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวจึงชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว
การที่จำเลยที่ 1 เดินทางไปยังเมืองฮ่องกงเพื่อติดต่อธุรกิจการค้าก็ไปพบกุญแจตรา GOLDDOOR ซึ่งจำเลยที่ 1 เห็นว่าสวยดีและเป็นที่ประทับใจจึงนำตราดังกล่าวมาจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าใช้กับกุญแจของจำเลยที่ 1 แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าคำว่า GOLDDOOR ขึ้นเองแต่ไปนำเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นมาจดทะเบียน โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมาย-การค้าคำว่า GOLDDOOR และอักษรจีนอ่านว่า กิมหมึ่งไป๊ กับเส้นลายประดิษฐ์ตัวอักษรโรมัน GD และได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลยทั้งสองโจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านี้ดีกว่าจำเลยทั้งสอง แม้จำเลยที่ 1 จะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว แต่โจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในเครื่องหมายการค้านั้น จึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1)ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท
กล่องบรรจุสินค้าของโจทก์และของจำเลยทั้งสองมีขนาดเท่ากัน มีเครื่องหมายการค้าเป็นอักษรโรมัน อักษรจีน ตัวเลข และสีสันเช่นเดียวกัน การวางตำแหน่งของตัวอักษร ตัวเลข เครื่องหมาย และรูปอักษรประดิษฐ์อยู่ในตำแหน่งเดียวกันทุกอย่าง คงแตกต่างกันเพียงว่าที่กล่องบรรจุสินค้าของโจทก์มีข้อความว่า MADE IN CHINA ซึ่งพิมพ์ด้วยตัวอักษรสีดำอยู่บนพื้นสีแดงด้วย ส่วนกล่องบรรจุสินค้าของจำเลยทั้งสองไม่มีข้อความดังกล่าวซึ่งข้อความดังกล่าวพิมพ์ด้วยตัวอักษรเล็กมาก หากไม่พิจารณาโดยพินิจพิเคราะห์อย่างแท้จริงจะไม่มีทางทราบว่ากล่องใดเป็นสินค้าของโจทก์ กล่องใดเป็นสินค้าของจำเลยทั้งสอง โจทก์ส่งสินค้ากุญแจของโจทก์มาจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2524 จำเลยทั้งสองเพิ่งผลิตสินค้ากุญแจของจำเลยทั้งสองออกจำหน่ายเมื่อ พ.ศ.2526 จำเลยที่ 1 ได้ไปพบเห็นสินค้าของโจทก์ภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า GOLDDOOR ที่เมืองฮ่องกง แล้วจำเลยที่ 1นำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาจดทะเบียนในประเทศไทย แสดงว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาจะลวงให้สาธารณชนหลงผิด เป็นการลวงขายสินค้าของจำเลยทั้งสองว่าเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายเพราะเหตุที่จำหน่ายสินค้าของโจทก์ได้น้อยลง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 29 วรรคสอง
เมื่อฟังว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย แม้โจทก์จะนำสืบไม่พอให้ฟังว่าโจทก์ได้รับความเสียหายถึงจำนวนที่อ้างในคำฟ้อง ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ได้ตามสมควรแก่พฤติการณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6749/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอห้ามกระทำละเมิดระหว่างการพิจารณาคดี: การกรีดยางพาราในที่พิพาท
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลย เข้ากรีดยางพาราในที่พิพาทด้วย ดังนั้นการขอให้ห้ามจำเลยกรีด ยางพาราในที่พิพาทก่อนศาลมีคำพิพากษาจึงเป็นการห้ามมิให้จำเลย กระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิดตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๕๔(๒)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6529/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่และการละเมิดจากการครอบครองที่ดินหลังสัญญาจะซื้อจะขายเลิกกัน การแปลงหนี้ใหม่
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทซึ่งอยู่โดยอาศัยสิทธิของ ส. กับพวกที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายจากโจทก์แล้วผิดสัญญาจะซื้อจะขายไม่ชำระเงินส่วนที่เหลือ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สัญญาจะซื้อจะขายเป็นเรื่องระหว่างโจทก์และ ส. กับพวก จำเลยมิได้เป็นคู่สัญญาไม่จำต้องปฏิบัติตามหนังสือบอกกล่าวทั้งโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าจำเลยอยู่ในที่พิพาทโดยละเมิด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทโดยอ้างว่า ส. กับพวกไม่ชำระเงินที่ค้างตามสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้ ส.กับพวกชำระแล้วแต่ส. กับพวกไม่ชำระถือว่าสัญญาจะซื้อจะขายเป็นอันเลิกกัน จำเลยอยู่โดยอาศัยสิทธิ ส. กับพวกจึงเป็นการอยู่โดยไม่มีสิทธิเป็นละเมิด ดังนี้เหตุที่อ้างในฟ้องคดีนี้เป็นเหตุที่อ้างขึ้นใหม่คนละเหตุกับคดีก่อน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ แม้จำเลยรับโอนที่พิพาทมาโดยสุจริตจาก ส. เสียค่าตอบแทนและครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ก็เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ซึ่งจะต้องมีการทำสัญญากันระหว่างเจ้าหนี้คือโจทก์กับลูกหนี้คนใหม่คือจำเลย เมื่อปรากฏว่าไม่ได้ทำ หนี้ใหม่ก็ไม่เกิดขึ้น โจทก์กับจำเลยจึงไม่มีนิติสัมพันธ์กัน ส. กับพวกอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายอันเป็นการครอบครองที่พิพาทแทนโจทก์ เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายเลิกกันแล้ว ส. กับพวกและจำเลยไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในที่พิพาทต่อไป การที่จำเลยยังคงอยู่ในที่พิพาทต่อมา จึงเป็นการละเมิดโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีมูลละเมิด: เริ่มนับจากวันที่รู้ถึงการละเมิด หรือวันที่ทำละเมิด
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 เดิม (มาตรา 193/12)ที่กำหนดให้เริ่มนับอายุความตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปนั้น เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการเริ่มนับอายุความสำหรับการบังคับสิทธิเรียกร้องทั่ว ๆ ไป แต่การเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด มาตรา 448 วรรคแรก บัญญัติไว้โดยเฉพาะว่าสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้นเป็นอันขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิด เมื่อคดีได้ความว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง เรียกเก็บค่าธรรมเนียมล่วงเวลาไม่ครบถ้วนตามกฎหมาย ทำให้โจทก์ขาดรายได้ เหตุเกิดตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน2521 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2523 ดังนั้นมูลละเมิดคดีนี้ย่อมเกิดขึ้นอย่างช้าที่สุดวันที่ 30 เมษายน 2523 แต่โจทก์ฟ้องจำเลยในวันที่15 เมษายน 2534 ซึ่งล่วงพ้นสิบปี นับแต่วันทำละเมิดแล้ว คดีโจทก์ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก จำเลยยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นเป็นข้อต่อสู้ฟ้องโจทก์ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายนี้ได้ตามที่เห็นสมควรตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24โดยไม่จำเป็นต้องให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4203/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องเคลือบคลุมเกี่ยวกับความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำละเมิดของลูกจ้าง ศาลฎีกายกฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและหรือตัวการตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในขณะเกิดเหตุ เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ด้วยความประมาทเลินเล่อชนรถโจทก์เสียหาย จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย โจทก์ไม่ได้ยืนยันว่า จำเลยที่ 1 ได้กระทำการละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 หรือในกิจการแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดในการละเมิดของจำเลยที่ 1 ตามกฎหมาย คำฟ้องของโจทก์ไม่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 จึงเป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3295/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธรับฝากส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การห่อหุ้มตามไปรษณียนิเทศ ไม่ถือเป็นการละเมิด
ไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2524 ข้อ 131.1 กำหนดหลักเกณฑ์การเข้าห่อซองหรือการหุ้มห่อสำหรับไปรษณีย์ภัณฑ์ประเภทของตีพิมพ์ว่า"ต้องได้รับการหุ้มห่อในลักษณะที่สิ่งบรรจุภายในได้รับการป้องกันอย่างเพียงพอ แต่ในขณะเดียวกันจะต้องสามารถเปิดตรวจได้โดยสะดวกรวดเร็ว เช่น ใช้แถบกระดาษพันไว้ ใส่ไว้ในหลอดกระดาษแข็ง ใส่ไว้ในระหว่างกระดาษแข็ง ใส่ซองหรือเครื่องบรรจุที่ไม่ปิดผนึก ใส่ซองหรือเครื่องบรรจุที่ปิดผนึกโดยใช้วิธีการที่สามารถเปิดตรวจและปิดผนึกใหม่ได้โดยสะดวกรวดเร็ว" ซึ่งจะเห็นได้ว่า ของตีพิมพ์นั้นอาจใส่ซองหรือเครื่องบรรจุที่ปิดผนึกก็ได้ แต่ต้องเป็นการใส่ซองหรือเครื่องบรรจุที่ปิดผนึกโดยวิธีการที่สามารถเปิดตรวจและปิดผนึกใหม่ได้โดยสะดวกรวดเร็ว แต่ของตีพิมพ์ของโจทก์เป็นนิตยสารซึ่งโจทก์เข้าห่อซองโดยบรรจุในซองกระดาษขาว ใช้เทปกาวใส ขนาดกว้าง1 เซนติเมตร ปิดทับฝาซองตลอดความยาวของซองและใช้เชือกขาวผูกรัดด้วยเงื่อนตายซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่า หากต้องการเปิดตรวจ จะต้องแก้หรือตัดเชือกขาวที่ผูกรัดด้วยเงื่อนตายออกแล้วต้องแกะลอกเทปหรือใช้มีดตัดเทปซึ่งอาจทำให้ซองขาด และไม่อาจปิดผนึกใหม่ได้โดยไม่ใช้เทปใหม่ การเข้าห่อซองของตีพิมพ์ของโจทก์เช่นนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการใส่ซองที่ปิดผนึกโดยใช้วิธีการที่สามารถเปิดตรวจและปิดผนึกใหม่ได้โดยสะดวกรวดเร็วตามข้อกำหนดแห่งไปรษณียนิเทศฯ ข้อ 131.1 สำหรับไปรษณีย์ภัณฑ์ประเภทพัสดุย่อย นั้น ตามข้อ 144.1กำหนดว่า จะต้องเข้าห่อซองหรือหุ้มห่อในลักษณะที่อาจเปิดตรวจดูสิ่งของภายในได้โดยไม่ทำให้การหุ้มห่อนั้นเสียสภาพ แต่พัสดุย่อยของโจทก์เป็นตลับเทปคาสเซ็ท 1 ตลับ ซึ่งโจทก์เข้าห่อซองโดยบรรจุในซองกระดาษ ใช้เทปกาวใส ขนาดกว้าง 1 เซนติเมตร ปิดทับฝาซองเกือบตลอดความยาวของฝาซอง และใช้เทปกาวใสขนาดเดียวกัน ปิดทับรอบความกว้าง ซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่าหากต้องการเปิดตรวจดู ก็จะต้องแกะลอกเทปหรือใช้มีดตัดเทป อาจทำให้ซองฉีกขาด และการปิดผนึกก็ต้องใช้เทปใหม่ จึงถือไม่ได้ว่าการเข้าห่อซองพัสดุย่อยของโจทก์เป็นการเข้าห่อซองในลักษณะที่อาจเปิดตรวจดูสิ่งของภายในได้โดยไม่ทำให้การหุ้มห่อนั้นเสียสภาพ ตามข้อกำหนดแห่งไปรษณียนิเทศฯข้อ 144.1 นี้เช่นกัน เมื่อการเข้าห่อซองของตีพิมพ์และพัสดุย่อยของโจทก์มิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดเฉพาะการหุ้มห่อไปรษณีย์ภัณฑ์ทั้งสองชนิดดังกล่าวตามที่กำหนดไว้ในข้อ 131.1 และ 144.1 แห่งไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2524การสื่อสารแห่งประเทศไทยก็ชอบที่จะปฏิเสธไม่รับฝากส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ของโจทก์ได้ตามข้อ 80 แห่งไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2524 ซึ่งออกตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 และพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 มาตรา 4 และประกาศการสื่อสารแห่งประเทศไทย เรื่องให้ใช้ไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2524 ลงวันที่25 มิถุนายน 2524 ดังนั้นจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นพนักงานของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่รับฝากส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ทั้งสองชนิดของโจทก์ดังกล่าวได้ และไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 160/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรถไม่ต้องรับผิดหากการละเมิดเกิดจากลูกจ้างของบุตร
โจทก์บรรยายฟ้องด้วยว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกการที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของรถยนต์บรรทุกจะต้องร่วมรับผิดกับผู้กระทำละเมิดจากการขับรถยนต์คันดังกล่าวโดยประมาทด้วย พิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายไม่เป็นการพิพากษานอกเหนือไปจากคำฟ้อง จำเลยที่ 1 มอบรถยนต์บรรทุกดังกล่าวให้แก่ ช. บุตรจำเลยไปครอบครองใช้สอย จ. ลูกจ้าง ช. ขับรถยนต์บรรทุกดังกล่าวโดยประมาทชนกระบือแล้วเลยไปชนรถจักรยานยนต์ของโจทก์ที่โจทก์ขับสวนมา การละเมิดเกิดจากการกระทำของลูกจ้างบุตรจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหาย: การนับระยะเวลาเริ่มเมื่อโจทก์ทราบการละเมิดและตัวผู้รับผิด
จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ได้ขับรถโดยประมาทจนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แต่ความเสียหายเกิดขึ้นเพราะเหตุสุดวิสัยนั้น แม้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยเคยยกปัญหาดังกล่าวขึ้นโต้เถียงไว้ในคำแก้อุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ เพราะจำเลยไม่ได้ยกข้อโต้เถียงเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ฎีกาของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คณะกรรมการสอบสวนหาผู้รับผิดทางแพ่งของโจทก์ได้สอบสวนแล้วมีความเห็นว่า กรณีไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายเพราะเป็นเหตุสุดวิสัยโจทก์จึงไม่อาจรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะต้องพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อกระทรวงการคลังแจ้งความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนหาผู้รับผิดทางแพ่งว่าจำเลยขับรถโดยประมาทต้องรับผิดทางแพ่ง โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกินหนึ่งปีนับแต่โจทก์รู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคแรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3086/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้าง กรณีร่วมกันประกอบกิจการขนส่ง
จำเลยที่ 4 เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกและนำมาร่วมกับจำเลยที่ 2และที่ 3 ดำเนินการรับขนส่งสินค้า โดยส่งคนขับรถของจำเลยที่ 4 มาขับรถ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำการขนส่งสินค้าในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เมื่อจำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงต้องรับผิดในผลการละเมิดของลูกจ้างต่อโจทก์.
of 11