คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การสอบสวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 77 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ศาลต้องฟังข้อเท็จจริงเหตุเลิกจ้างก่อนวินิจฉัย ไม่ใช่พิจารณาแค่ความชอบด้วยระเบียบการสอบสวน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม จำเลยให้การว่า โจทก์กระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับและผิดวินัยตามระเบียบของจำเลยโดยทุจริตและจงใจทำให้จำเลยเสียหาย การเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ดังนี้ ศาลจำต้องฟังข้อเท็จจริงถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่าเป็นเพราะเหตุใด และเหตุดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ส่วนการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนจะชอบด้วยระเบียบของจำเลยหรือไม่ไม่เกี่ยวกับการที่ศาลจะวินิจฉัยในกรณีนี้ การที่ศาลแรงงานกลางเพียงแต่ฟังคำแถลงด้วยวาจาของฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นการแถลงของแต่ละฝ่ายโดยอีกฝ่ายมิได้ยอมรับข้อเท็จจริงด้วย แล้วมีคำสั่งงดสืบพยานและวินิจฉัยว่าการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนไม่ชอบด้วยระเบียบของจำเลย การเลิกจ้างจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นั้น เป็นเรื่องที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีพิจารณาความว่าด้วยการพิจารณาพิพากษา ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลต้องฟังข้อเท็จจริงเหตุเลิกจ้างก่อนวินิจฉัยการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การสอบสวนไม่ชอบด้วยระเบียบไม่ใช่ประเด็นหลัก
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม จำเลยให้การว่า โจทก์กระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับและผิดวินัยตามระเบียบของจำเลยโดยทุจริตและจงใจทำให้จำเลยเสียหาย การเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ดังนี้ ศาลจำต้องฟังข้อเท็จจริงถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่าเป็นเพราะเหตุใด และเหตุดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ส่วนการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนจะชอบด้วยระเบียบของจำเลยหรือไม่ไม่เกี่ยวกับการที่ศาลจะวินิจฉัยในกรณีนี้ การที่ศาลแรงงานกลางเพียงแต่ฟังคำแถลงด้วยวาจาของฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นการแถลงของแต่ละฝ่ายโดยอีกฝ่ายมิได้ยอมรับข้อเท็จจริงด้วย แล้วมีคำสั่งงดสืบพยานและวินิจฉัยว่าการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนไม่ชอบด้วยระเบียบของจำเลย การเลิกจ้างจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นั้น เป็นเรื่องที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีพิจารณาความว่าด้วยการพิจารณาพิพากษา ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาใหม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: การสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจ ทำให้การฟ้องคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การสอบสวนที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 120 ต้องสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(6) ประกอบด้วยมาตรา 18 เมื่อเหตุเกิดในเขตท้องที่สถานีตำรวจภูธรสำโรงใต้ม.เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจนครบาลบางซื่อย่อมไม่มีอำนาจสอบสวน เมื่อไม่มีเหตุอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 18 วรรคสองที่จะทำให้ ม.มีอำนาจสอบสวนได้ ทั้งถือไม่ได้ว่าเป็นการทำการแทนพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 128 บัญญัติไว้ การสอบสวนพยานผู้กล่าวหาของ ม. จึงเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแม้ จ. พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรสำโรงใต้จะสอบสวนจำเลย ทำแผนที่เกิดเหตุ ตรวจสถานที่เกิดเหตุ และทำบันทึกการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพของจำเลยก็ไม่ทำให้การสอบสวนคดีนี้ชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่ปรากฏว่า จ.เห็นว่าการสอบสวนเฉพาะส่วนของตนเป็นการสอบสวนเสร็จแล้วตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 140 การสอบสวนของจ.เป็นการสอบสวนเพียงบางส่วนของคดี เมื่อการสอบสวนทั้งคดีรวมการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไว้ด้วย การสอบสวนคดีนี้จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 และไม่เป็นการสอบสวนตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 120 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง คำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมของผู้เสียหายย่อมตกไปด้วย ข้อที่ว่าการสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 255/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมต้องพิจารณา'เหตุ'เลิกจ้างที่แท้จริง แม้การสอบสวนจะผิดวิธีก็ไม่ถือว่าเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหากมีเหตุผลในการเลิกจ้าง
แม้การสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนจะฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลยจะถือเป็นเหตุว่าการเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหาได้ไม่ เพราะการเลิกจ้างจะเป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรมจะต้องพิจารณาถึง 'เหตุ' แห่งการเลิกจ้างที่แท้จริงว่าได้มีได้เกิดขึ้นหรือไม่ หากมีจึงจะพึงพิจารณาต่อไปว่าการกระทำนั้น ๆ เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานและมีเหตุผลเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่ เป็นสำคัญ.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1654/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานทางสอบสวนที่ไม่สามารถยืนยันความจริงได้ต่อศาล จำเลยต้องมีพยานยืนยัน
คำเบิกความของพนักงานสอบสวนอาจรับฟังประกอบได้แต่เพียงว่าพนักงานสอบสวนทำการสืบสวนสอบสวนได้ความอย่างไร แต่ความจริงจะเป็นอย่างที่สืบสวนสอบสวนได้ความหรือไม่ โจทก์ต้องมีพยานมาเบิกความยืนยันต่อศาล.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม แม้การสอบสวนไม่ถูกต้อง
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์เพียงแต่ทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลยไม่ได้ทุจริตต่อหน้าที่อันถือว่าเป็นความผิดที่ร้ายแรงจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมปัญหาดังกล่าวจึงยุติตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเพราะจำเลยอุทธรณ์แต่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่รับเมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์ว่าแม้โจทก์เพียงกระทำผิดระเบียบข้อบังคับจำเลยก็มีสิทธิที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมคงอุทธรณ์ข้อที่ว่าการสอบสวนความผิดชอบด้วยระเบียบข้อบังคับการทำงานหรือไม่ข้ออุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลของคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2204/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีอาญาและการมีบุคคลอื่นร่วมฟังการสอบสวนไม่ทำให้การสอบสวนเสียไป
การสอบสวนคดีอาญาเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะดำเนินการตามที่เห็นสมควรภายในขอบเขตบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เมื่อไม่ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้กระทำผิดกฎหมายหรือผิดหน้าที่อย่างใด ทั้งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาห้ามมิให้บุคคลอื่นเข้าฟังการสอบสวนการมีบุคคลอื่นนั่งฟังขณะพยานให้การต่อพนักงานสอบสวน หาทำให้การสอบสวนนั้นเสียไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างและการสอบสวนทุจริต: การติดต่อผู้กล่าวหาเป็นเงื่อนไขสำคัญในการคุ้มครองสิทธิลูกจ้าง
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดว่า หากมีผู้ร้องเรียน เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของพนักงานจำเลย ให้จำเลยสืบสวน เบื้องต้นว่ากรณีมีมูลความจริงหรือไม่ถ้ามีมูลให้ตั้ง คณะกรรมการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหา และถ้าผู้ถูกกล่าวหาปฏิเสธก็ ต้องติดต่อให้ผู้กล่าวหามาให้การสอบสวนเพิ่มเติมหากมิได้ ดำเนินการดั่งกล่าวให้ยกประโยชน์ให้ผู้ถูกกล่าวหา โจทก์ถูก กล่าวหาว่ากระทำการทุจริตในการจำหน่ายตั๋วโดยสาร จำเลยจึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวนโจทก์คณะกรรมการได้ปฏิบัติตามข้อตกลงโดยติดต่อผู้กล่าวหาแล้ว โจทก์ ผู้ถูกกล่าวหาจะได้รับประโยชน์จากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการค้าดังกล่าวต้องเป็นกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนมิได้ดำเนินการให้ผู้กล่าวหามาให้การเลยส่วนการที่ผู้กล่าวหาไม่ยินยอมมา ให้การนั้น คณะกรรมการก็ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐาน อื่นเท่าที่ปรากฏอยู่ต่อไปว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหานั้นหรือไม่ โจทก์จึงไม่ได้รับประโยชน์ตาม ข้อตกลงดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3494/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีอาญาข้ามเขต – รับของโจร - การสอบสวนชอบด้วยกฎหมายเมื่อยังไม่ทราบแน่ว่าเป็นการกระทำความผิดฐานใด
คดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย หากข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมายังไม่พอแก่การวินิจฉัย ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงต่อไปได้
ขณะพนักงานสอบสวนจังหวัดนครสวรรค์เริ่มทำการสอบสวน ยังไม่ทราบแน่ว่าจำเลยร่วมกับ พ. ทำการลักทรัพย์ หรือจำเลยเพียงกระทำผิดฐานรับของโจร หากเป็นการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ย่อมไม่แน่ว่าได้กระทำผิดในท้องที่ใดตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์จนถึงจังหวัดสิงห์บุรี แม้ต่อมาได้ความตามทางสอบสวนว่าจำเลยกระทำผิดฐานรับของโจรในท้องที่จังหวัดสิงห์บุรีและได้มีการฟ้องจำเลยในความผิดฐานนี้ก็ถือว่าพนักงานสอบสวนจังหวัดนครสวรรค์ได้ทำการสอบสวนโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 358/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอาญา: ความผิดเกิดขึ้นต่างท้องที่ – การสอบสวนในกรุงเทพฯ ทำให้ศาลอาญามีอำนาจพิจารณา
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์เมื่อล่วงเลยกำหนดอายุอุทธรณ์แล้วว่า ความผิดคดีนี้เกิดขึ้นใน เขตศาลจังหวัดลำพูนและเขตศาลจังหวัดเชียงใหม่ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องที่ศาลอาญา ปัญหานี้แม้ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้แต่ เนื่องจากเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย เมื่อจำเลยที่ 1 ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยได้
เจ้าพนักงานจับจำเลยที่ 1 ที่จังหวัดลำพูน จับจำเลย ที่ 2 ที่กรุงเทพมหานคร ได้ในวันเดียวกันพร้อมด้วย มอร์ฟีนของกลาง ต่อมาจับจำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้ที่ จังหวัดเชียงใหม่ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามได้ตั้งข้อหาว่า จำเลยร่วมกันมีมอร์ฟีนไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่าย และได้ทำการสอบสวนความผิดที่ถูกกล่าวหานี้แล้วที่ กรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ ศาลอาญาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22(1)
of 8