คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การโอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 143 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10130/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนเช็คพิพาททางมรดก ผู้รับมรดกมีสิทธิเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบธรรม แม้มีการอ้างหักกลบลบหนี้
เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายเงินสดหรือผู้ถือ ย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 918 ประกอบมาตรา 989 ช. เป็นผู้จัดการมรดกของ ก.ตามคำสั่งศาล ก.ทำพินัยกรรมต่อหน้า ช.น.และ ย. โดยพินัยกรรมระบุให้โจทก์เป็นผู้ร่วมรับมรดกหลังจากช.เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลแล้วช. ได้มอบเช็คพิพาทซึ่งเป็นส่วนแบ่งมรดกให้แก่โจทก์ จำเลยมิได้นำสืบหักล้างว่าพินัยกรรมดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใดบ้าง และคำให้การของจำเลยก็มิได้ปฏิเสธว่า ก.มิได้ทำพินัยกรรมแต่อย่างใด การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า อุทธรณ์ของจำเลยในข้อที่ว่าเป็นที่น่าสงสัยว่า ก.ทำพินัยกรรมจริงหรือไม่เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นไม่รับวินิจฉัยให้นั้นชอบแล้ว เมื่อโจทก์ผู้เป็นทายาทโดยพินัยกรรมได้รับมอบเช็คพิพาทจากผู้จัดการมรดกเช่นนี้โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยการสืบสิทธิจาก ก.เจ้ามรดกหาใช่เป็นผู้รับโอนจากผู้ทรงคนก่อนโดยลำพังไม่จึงไม่ต้องห้ามที่จำเลยจะนำสืบต่อสู้โจทก์ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับ ก. ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 จำเลยอ้างว่ามูลหนี้ตามเช็คพิพาทระงับสิ้นไปด้วยการหักกลบลบหนี้กัน จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องนำสืบพิสูจน์ให้เห็นโดยชัดแจ้ง แต่เมื่อพยานหลักฐานจำเลยไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ มูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงมิได้ระงับสิ้นไปจำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็ค ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8357/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการโอนที่ดินเพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้จากการลดทรัพย์สินลูกหนี้
จำเลยที่ 1 นำโฉนดที่ดินไปมอบแก่โจทก์เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ที่กู้ยืม ย่อมเห็นได้ว่าที่ดินตามโฉนดที่ดินดังกล่าวของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ย่อมเป็นหลักประกันว่า เมื่อจำเลยที่ 1 บิดพลิ้วไม่ชำระหนี้โจทก์ก็อาจยึดเอาที่ดินตามโฉนดดังกล่าวออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ได้ และเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นอีก การที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินแก่จำเลยที่ 2 ไปก่อนหนี้เงินกู้ยืมถึงกำหนด ย่อมทำให้โจทก์เสียเปรียบและมีเหตุขอให้เพิกถอนได้ ตามป.พ.พ. มาตรา 237
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนการยกให้ที่ดินซึ่งจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ยกให้จำเลยที่ 2 อันทำให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบโดยมิได้เรียกร้องเอาที่ดินเป็นของโจทก์ แต่ขอให้ที่ดินกลับมาเป็นของจำเลยที่ 1 ตามเดิม ถือไม่ได้ว่าเป็นคดีมีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8322/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดิน น.ส.2 ยังไม่ถือเป็นการได้สิทธิทำประโยชน์ตามกฎหมาย ไม่สามารถโอนได้ แต่มีสิทธิขับไล่ผู้บุกรุกได้
ที่ดินพิพาทเป็นของบิดาโจทก์ให้จำเลยครอบครองแทนแต่ที่ดินพิพาทมีเพียง น.ส.2 ซึ่งเป็นหนังสือแสดงการยอมให้เข้าครอบครองที่ดินของรัฐชั่วคราว ยังไม่ได้รับคำรับรองว่าได้ทำประโยชน์แล้วตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ. 2497 มาตรา 9 จึงโอนกันไม่ได้ ฉะนั้นโจทก์จึงไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 ซึ่งมีชื่ออยู่ใน น.ส.2 ไปยื่นหรือขอให้เปลี่ยนชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่เจ้าพนักงานที่ดินจะออกให้ตาม น.ส.2 เป็นชื่อโจทก์ได้ จึงพิพากษาให้ตามคำขอส่วนนี้ไม่ได้ แต่เนื่องจากเป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ และโจทก์มีคำขอท้ายฟ้องขอให้ห้ามจำเลยเข้าไปรบกวนการครอบครองที่พิพาท จึงเป็นคดีประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่จำเลย เมื่อศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี จึงมีคำสั่งให้ขับไล่จำเลยตลอดถึงวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยที่อยู่บนที่พิพาทได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8247/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินพิพาทประเด็นสำคัญกว่าสัญญาซื้อขายที่ไม่ได้ทำตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ซื้อที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์จาก ล.สามีจำเลย โดยไม่ได้ทำสัญญาซื้อขายเป็นหนังสือและจดทะเบียนการโอนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้เพราะโจทก์ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินเกินกว่า20 ปี แล้ว ขอให้จำเลยไปจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่ได้ซื้อที่ดินพิพาทจาก ล. จำเลย ล.สามีจำเลย และ บ.บุตรจำเลยได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา ขอให้ศาลยกฟ้อง ดังนี้ จะเห็นได้ว่าโจทก์จำเลยยกประเด็นเรื่องการครอบครองที่ดินพิพาทขึ้นต่อสู้เป็นสาระสำคัญ ส่วนเรื่องสัญญาซื้อขายที่ดินนั้น โจทก์กล่าวอ้างเพียงให้เห็นว่า ล.สามีจำเลยได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้โจทก์ครอบครองเท่านั้น ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ดังนั้น ที่จำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายว่า การซื้อขายที่ดินพิพาทโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการโอนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 456 จึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ที่จำเลยฎีกาว่า คดีมีประเด็นข้อพิพาทเฉพาะการซื้อขายเท่านั้นศาลอุทธรณ์ยกเรื่องสิทธิครอบครองขึ้นวินิจฉัยไม่ชอบนั้น ในครั้งแรกศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ด้วย และพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ในปัญหาดังกล่าว โจทก์จำเลยต่างไม่ฎีกา ปัญหาว่าคดีมีประเด็นว่าโจทก์ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทด้วยจึงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าว จำเลยจะยกปัญหานี้ขึ้นฎีกาในชั้นนี้อีกหาได้ไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7927/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการเพิกถอนนิติกรรม ศาลพิจารณาการเพิกถอนได้เมื่อผู้ครอบครองมีสิทธิจดทะเบียนก่อน
พันตำรวจเอก ป.ได้ยกที่พิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินของตนให้โจทก์ และโจทก์ได้เข้าครอบครองปลูกบ้านในที่พิพาทตลอดมาเกิน 10 ปีแล้วต่อมาโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ พันตำรวจเอก ป.ได้คัดค้าน แม้ขณะนั้นคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลก็ถือว่าโจทก์อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนและมีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่พันตำรวจเอก ป.ได้ยกที่ดินทั้งแปลงให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เฉพาะส่วนที่พิพาทอันเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบได้
คำสั่งตัดพยานเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2535 และนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 31 สิงหาคม 2535 จำเลยมีเวลาเพียงพอที่จะโต้แย้งคัดค้านคำสั่งนั้นได้ แต่ก็หาได้ทำไม่ จำเลยจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6180/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินมือเปล่า การโอนสิทธิครอบครอง และการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีโดยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้ตกลงขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้วเมื่อโจทก์ฎีกาจำเลยยื่นคำแก้ฎีกาเฉพาะประเด็นว่าจำเลยมิได้เจตนาสละการครอบครองที่ดินพิพาทแต่มิได้แก้ฎีกาข้อเท็จจริงในเรื่องการซื้อขายที่ดินพิพาทจึงต้องถือเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยได้ตกลงขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้ว ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินซึ่งมีใบจอง(น.ส.2)ที่รัฐได้ยอมให้ผู้จองเข้าครอบครองทำประโยชน์ชั่วคราวจึงเป็นที่ดินมือเปล่าที่ผู้จองคงมีสิทธิครอบครองเท่านั้นดังนั้นการโอนสิทธิการครอบครองให้แก่กันย่อมทำได้ด้วยการส่งมอบที่ดินที่ครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1378เมื่อจำเลยขายที่ดินพิพาทให้โจทก์และโจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแล้วโจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทแม้จำเลยจะยังมิได้จดทะเบียนการโอนให้แก่โจทก์ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2897/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิครอบครองที่ดินมือเปล่าที่มีใบจอง (น.ส.2) และข้อจำกัดการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดิน จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทมีใบจอง (น.ส.2) เป็นชื่อของ ล. จำเลยครอบครองมา ถือว่าจำเลยไม่ได้ต่อสู้กรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ที่ดินพิพาทมีเนื้อที่เพียง 3 งาน หากให้เช่าน่าจะได้ค่าเช่าไม่เกินเดือนละสี่พันบาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า แม้ที่ดินพิพาทมีหลักฐานใบจองจึงโอนกันไม่ได้ ตาม พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 10 แต่ที่ดิน-พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าจึงโอนสิทธิครอบครองแก่กันได้โดยการส่งมอบทรัพย์สินที่ครอบครองนั้น เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ และถือว่าข้อเท็จจริงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำเลยไม่มีสิทธิฎีกาต่อมาอีก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2897/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินมีใบจอง(น.ส.2) ห้ามโอนเว้นแต่ทางมรดก การครอบครองต่อมาไม่ทำให้เกิดกรรมสิทธิ์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินจำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทมีใบจอง(น.ส.2)เป็นเชื่อของล. จำเลยครอบครองมาถือว่าจำเลยไม่ได้ต่อสู้กรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ที่ดินพิพาทมีเนื้อที่เพียง3งานหากให้เช่าน่าจะได้ค่าเช่าไม่เกินเดือนละสี่พันบาทจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคสองที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าแม้ที่ดินพิพาทมีหลักฐานใบจองจึงโอนกันไม่ได้ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา10แต่ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าจึงโอนสิทธิครอบครองแก่กันได้โดยการส่งมอบทรัพย์สินที่ครอบครองนั้นเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบและถือว่าข้อเท็จจริงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำเลยไม่มีสิทธิฎีกาต่อมาอีกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291-1292/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมในที่ดินจัดสรร แม้มีการโอนและแบ่งแยกที่ดิน ก็ยังคงมีอยู่เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินแปลงอื่น
ที่ดินพิพาทที่สร้างเป็นโรงรถและที่ดินที่เป็นที่ตั้งของสระว่ายน้ำขณะที่จำเลยที่4รับโอนมาถนนและสระว่ายน้ำเป็นภารจำยอมที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายเป็นทรัพย์สิทธิติดไปกับตัวทรัพย์และผูกพันแก่บุคคลที่เป็นเจ้าของภารยทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1387เมื่อจำเลยที่4รับโอนที่พิพาททั้งสองแปลงที่ติดภารจำยอมอยู่ไปเช่นนี้แม้ที่ดินที่เป็นถนนจะถูกแยกไป(ทำเป็นโรงรถ)ภารจำยอมก็ยังคงมีอยู่ทุกส่วนที่แยกไปจำเลยที่4ต้องรับภารจำยอมที่แต่เดิมมีอยู่ไปด้วยทั้งต้องบำรุงรักษาให้คงสภาพตลอดไปตามมาตรา1394และประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่286ข้อ30จำเลยที่4จะอ้างว่ารับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริตหาได้ไม่ ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงดังกล่าวอยู่ในโครงการจัดสรรที่ดินมีจำนวนตั้งแต่10แปลงขึ้นไปกรณีต้องตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่286แล้วแม้จะมีการโอนที่ดินส่วนหนึ่งของการจัดสรรให้จำเลยที่3ในภายหลังและจำเลยที่3ได้จัดการแบ่งที่ดินเป็นแปลงย่อยอีก8แปลง(ไม่ถึง10แปลง)แล้วขายที่ดินพิพาทที่สร้างโรงรถกับโอนสระว่ายน้ำให้แก่จำเลยที่4ในเวลาต่อมาก็หาทำให้ที่ดินพิพาทที่เป็นโรงรถและที่ตั้งสระว่ายน้ำไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวไม่ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงคงเป็นภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทที่ซื้อมาในระหว่างสมรส และการโอนให้คู่สมรสเป็นสินสมรส
โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายโจทก์นำเงินที่ทำมาหาได้ในระหว่างสมรสซื้อที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดของศาล และใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแต่เพียงผู้เดียว แต่จำเลยที่ 1เกรงว่าจะมีปัญหาในการแบ่งที่ดินพิพาทเนื่องจากโจทก์มีบุตรที่เกิดจากภริยาคนก่อนจึงขอลงชื่อในโฉนด โจทก์ยินยอมจึงได้ทำนิติกรรมโอนขายที่ดินพาทแก่จำเลยที่ 1ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำมาหาได้ร่วมกันมาจึงเป็นสินสมรส
of 15