พบผลลัพธ์ทั้งหมด 66 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2152/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลายื่นฎีกา: การยื่นฎีกาเกินกำหนด แม้ศาลชั้นต้นรับไว้ ก็ไม่เป็นผล
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2526 ครบกำหนดยื่นฎีกาภายใน 1 เดือนในวันที่ 2 มีนาคม 2526 ซึ่งมิใช่วันหยุดราชการ แต่จำเลยยื่นฎีกาในวันที่ 4 มีนาคม 2526 จึงเกินกำหนดหนึ่งเดือนแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาของจำเลย ไว้ก็ตามศาลฎีกาก็รับฎีกาของจำเลยซึ่งยื่นมาเกินกำหนดที่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216ได้บัญญัติไว้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1322/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ยังไม่ถึงกำหนดฟ้อง การทวงหนี้ก่อนกำหนดไม่ทำให้เกิดข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
จำเลยที่ 1 ขอยืมโฉนดที่ดินของโจทก์ไปจำนองเป็นประกันหนี้ที่จำเลยที่ 1 กู้ยืมจากธนาคาร โดยจำเลยที่ 1 จ่ายค่าผลประโยชน์ตอบแทนให้โจทก์เป็นเงินจำนวนหนึ่งและทำสัญญากู้ยืมเงินให้ไว้แก่โจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 1 ไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้แต่อย่างใด จำเลยที่ 1 ตกลงกับโจทก์เป็นหนังสือว่าจะจัดการโอนที่ดินคืนให้โจทก์ภายใน 1 ปี มิฉะนั้นยอมให้โจทก์ฟ้องเรียกหนี้เงินกู้ตามสัญญาที่ทำให้โจทก์ไว้ได้ ก่อนครบกำหนด 1 ปี โจทก์มอบให้ทนายความมีหนังสือทวงถามไปยังจำเลยสองครั้งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วันแล้วอ้างเหตุดังกล่าวมาฟ้องให้จำเลยทั้งสองเป็นบุคคลล้มละลายดังนี้ การทวงถามทั้งสองครั้งดังกล่าว จำเลยทั้งสองยังไม่มีหนี้ที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญา กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้รับหนังสือทวงถามของโจทก์ให้ชำระหนี้รายนี้แล้วไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ซึ่งมีระยะห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน อันจะเป็นเหตุทำให้จำเลยทั้งสองตกอยู่ในข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1261/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธเช็คก่อนกำหนดและผลต่อความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
การที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คเมื่อผู้ทรงนำเช็คไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินนั้น จะต้องเป็นการปฏิเสธเนื่องจากมีการยื่นให้ใช้เงินโดยชอบเมื่อเช็คถึงกำหนดชำระแล้ว เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงนำเช็คซึ่งจำเลยเป็นผู้ออกเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็คก่อนวันที่ลงในเช็ค ย่อมเป็นการยื่นให้ใช้เงินโดยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 989 ประกอบด้วยมาตรา 914 แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะบัญชีของจำเลยถูกปิดมาก่อนที่จะมีการออกเช็ค ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปฏิเสธการจ่ายเงินในวันที่เช็คถึงกำหนด การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2525)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2525)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1261/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นเช็คก่อนกำหนดและการปฏิเสธการจ่ายเงิน: ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
การที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คเมื่อผู้ทรงนำเช็คไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินนั้น จะต้องเป็นการปฏิเสธเนื่องจากมีการยื่นให้ใช้เงินโดยชอบเมื่อเช็คถึงกำหนดชำระแล้ว เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงนำเช็คซึ่งจำเลยเป็นผู้ออกเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็คก่อนวันที่ลงในเช็คย่อมเป็นการยื่นให้ใช้เงินโดยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 989 ประกอบด้วยมาตรา 914 แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะบัญชีของจำเลยถูกปิดมาก่อนที่จะมีการออกเช็คก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปฏิเสธการจ่ายเงินในวันที่เช็คถึงกำหนด การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497 มาตรา 3 (ประชุมใหญ่ครั้งที่7/2525)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 430/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มเติมอุทธรณ์หลังพ้นกำหนด & ความผิดฐานมีไม้หวงห้ามต่างกรรมกัน
จำเลยยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ภายในกำหนดอายุอุทธรณ์และศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ไว้แล้วต่อมา เมื่อล่วงเลยกำหนดอายุอุทธรณ์ จำเลยจึงยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมอุทธรณ์อีกฉบับหนึ่งซึ่งมีลักษณะและเนื้อหาเป็นการเพิ่มปัญหาขึ้นจากที่ศาลชั้นต้นสั่งรับไว้แล้วถือเท่ากับเป็นการยื่นอุทธรณ์นั่นเองซึ่งจะต้องกระทำภายในกำหนด 15 วันศาลไม่รับเป็นเพิ่มเติมอุทธรณ์แต่ให้รับไว้เป็นคำแถลงการณ์
ความผิดฐานมีไม้หวงห้ามยังมิได้แปรรูปไว้ในความครอบครองกับความผิดฐานมีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในความครอบครองเป็นความผิดต่างกรรมกัน
ความผิดฐานมีไม้หวงห้ามยังมิได้แปรรูปไว้ในความครอบครองกับความผิดฐานมีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในความครอบครองเป็นความผิดต่างกรรมกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1021/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ และประเด็นการยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด
แม้ฟ้องอุทธรณ์จะระบุว่าอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้องโจทก์.เพราะเหตุที่โจทก์ไม่มาศาลตามนัดไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 ก็ตาม แต่เมื่อข้อความในฟ้องอุทธรณ์เป็นการคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่. กรณีจึงถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ด้วยเมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องที่โจทก์ขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ จึงเป็นการยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการฟ้องคดีบุกรุกเคหสถานและการร้องทุกข์เกินกำหนด
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเคหสถานในเวลากลางคืน แต่ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362, 364 ซึ่งเป็นบทความผิดอันยอมความได้ (มิได้อ้างมาตรา 365) โดยมิได้ร้องทุกข์ภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2492/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ยื่นฎีกาภายในกำหนดหลังศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ทำให้ฎีกาไม่รับพิจารณา
ทนายจำเลยรับหมายนัดของศาลชั้นต้นให้มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2522 แล้วจำเลยไม่มาศาลตามกำหนดนัด ศาลชั้นต้นจึงอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟัง ถือได้ว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้อ่านแล้วในวันดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 140 (3) วรรคสอง จำเลยต้องยื่นฎีกาภายในวันที่ 20 มีนาคม 2522 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 แต่จำเลยยื่นฎีกาต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 22 มีนาคม 2522 ซึ่งพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกามาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2492/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ยื่นฎีกาภายในกำหนดหลังศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ทำให้ฎีกาไม่รับพิจารณา
ทนายจำเลยรับหมายนัดของศาลชั้นต้นให้มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2522 แล้วจำเลยไม่มาศาลตามกำหนดนัด ศาลชั้นต้นจึงอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟัง ถือได้ว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้อ่านแล้วในวันดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 140(3) วรรคสองจำเลยต้องยื่นฎีกาภายในวันที่ 20 มีนาคม 2522 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 แต่จำเลยยื่นฎีกาต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 22 มีนาคม 2522 ซึ่งพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกามา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2492/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทต้องระบุในฟ้องหรือคำให้การเท่านั้น
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทต้องกล่าวในฟ้อง คำให้การหรือแถลงให้ปรากฏต่อศาลตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 มิใช่กล่าวในคำแถลงการณ์ปิดคดี