พบผลลัพธ์ทั้งหมด 81 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1511/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยเลิกจ้าง: การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาและลักษณะงานชั่วคราวตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่ 11) ข้อ 7 กรณีสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนนั้น นายจ้างจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างต่อเมื่อได้ความด้วยว่าเป็นการจ้างเพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวเป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการ แต่เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ถึงลักษณะงานดังกล่าวไว้ ปัญหาว่าการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยมีกำหนดระยะเวลาแน่นอนหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2327/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างช่วง สัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลา การเลิกจ้างตามสัญญา มิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ทำสัญญาจ้างรวม 4 ครั้งจ้างกันเป็นช่วง ๆ นั้น เมื่อบทกฎหมายที่เกี่ยวกับการจ้างแรงงานคือ ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 6 เรื่องจ้างแรงงาน หรือประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มิได้มีบทบัญญัติห้ามไว้ชัดแจ้งว่าจะทำสัญญาในลักษณะดังกล่าวมิได้สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่เป็นสัญญาที่ฝ่าฝืนกฎหมายจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามกำหนดเวลาในสัญญา ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ทั้งไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2269/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านหนี้ในคดีล้มละลายที่เกินกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย ทำให้หนี้กลายเป็นหนี้เด็ดขาด
ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านหนังสือยืนยันหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกินกำหนดสิบสี่วันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 119 วรรคสาม จึงถือว่าหนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือยืนยันไปเป็นหนี้เด็ดขาดแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2269/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านหนี้ในคดีล้มละลายต้องยื่นภายใน 14 วัน หากเกินกำหนดหนี้ถือเป็นเด็ดขาด
ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านหนังสือยืนยันหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกินกำหนดสิบสี่วันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 119 วรรคสาม จึงถือว่าหนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือยืนยันไปเป็นหนี้เด็ดขาดแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1827/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยเลิกจ้าง: สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา ต้องพิจารณาลักษณะงาน หากไม่ใช่ลักษณะเป็นครั้งคราว จร หรือตามฤดูกาล นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 46 ที่แก้ไขใหม่โดยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2532 ข้อ 7 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2532 กรณีที่ นายจ้าง ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกจากสัญญาจ้างระหว่างนายจ้างและลูกจ้างจะเป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนแล้ว ต้องเป็นการจ้างเพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวเป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการด้วย จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์โดยมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนก่อนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2532 มีผลใช้บังคับแต่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อสัญญาจ้างดังกล่าวสิ้นสุดลงในขณะที่ประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว ผลการเลิกจ้างจึงต้องบังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 46 ที่แก้ไขใหม่โดยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 11)ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2532 ข้อ 7 เมื่อจำเลยไม่ได้จ้าง โจทก์เพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นการครั้งคราวเป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาลหรือเป็นงานตามโครงการ จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3348-3350/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา และข้อตกลงการเลิกจ้างก่อนกำหนด ไม่กระทบความเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา
สัญญาจ้างแรงงานกำหนดวันที่เริ่มมีผลใช้บังคับและวันที่สิ้นสุดไว้แน่นอน แม้จะกำหนดเงื่อนไขไว้ว่า หากโจทก์ผิดสัญญาไม่ว่าจะเป็นข้อหนึ่งข้อใด โจทก์ยินยอมให้จำเลยเลิกจ้างหรือไล่ออกได้ทันทีก่อนที่จะครบกำหนดเลิกจ้างตามสัญญา และโจทก์ไม่ขอเรียกร้องสิทธิและผลประโยชน์ตอบแทน หรือค่าเสียหายหรือค่าชดเชยจากจำเลยแต่อย่างใดทั้งสิ้น ดังนี้มีความหมายเพียงว่า ถ้าโจทก์ทำผิดสัญญาไม่ว่าข้อหนึ่งข้อใด โจทก์ยอมให้จำเลยเลิกจ้างหรือไล่โจทก์ออกจากงานได้ทันทีก่อนที่จะครบกำหนดเลิกจ้างตามสัญญาได้ จึงเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3348-3350/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา ข้อตกลงการเลิกจ้างก่อนกำหนดไม่ทำให้สัญญากลายเป็นไม่มีกำหนด
สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยได้กำหนดวันที่เริ่มมีผลใช้บังคับและวันที่สิ้นสุดไว้แน่นอนแล้ว แม้จะกำหนดเงื่อนไขไว้ว่า หากโจทก์ผิดสัญญาไม่ว่าจะเป็นข้อหนึ่งข้อใดก็ดี โจทก์ยินยอมให้จำเลยเลิกจ้างหรือไล่ออกได้ทันทีก่อนที่จะครบกำหนดเลิกจ้างตามสัญญาและโจทก์ไม่ขอเรียกร้องสิทธิและผลประโยชน์ตอบแทน หรือค่าเสียหายหรือค่าชดเชยจากจำเลยแต่อย่างใดทั้งสิ้นก็มีความหมายเพียงว่า ถ้าโจทก์ทำผิดสัญญาไม่ว่าข้อหนึ่งข้อใดโจทก์ยอมให้จำเลยเลิกจ้างหรือไล่โจทก์ออกจากงานได้ทันทีก่อนที่จะครบกำหนดเลิกจ้างตามสัญญาได้เท่านั้น มิใช่ข้อกำหนดหรือเงื่อนไขที่ทำให้ระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคท้าย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3687/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาเด็กและเยาวชนหลังพ้นกำหนดระยะเวลา ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ
ขณะที่จำเลยกระทำผิดและถูกจับกุม จำเลยยังเป็นเยาวชนตามพระราชบัญญัติ วิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 4จำเลยย่อมได้รับการปฏิบัติและความคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินี้แม้ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง จำเลยมีอายุพ้นเกณฑ์เยาวชนแล้ว แต่สิทธิของจำเลยที่จะได้รับการปฏิบัติและความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติ ฉบับดังกล่าวยังมีอยู่ การที่โจทก์จะฟ้องจำเลยเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 ทวิ โจทก์ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการไม่ว่าจะเป็นการฟ้องต่อศาลใด เมื่อโจทก์มิได้รับอนุญาต โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องตามมาตรา 24 จัตวา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกและคำฟ้องโดยชอบ และกำหนดระยะเวลายื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่หลังยึดทรัพย์
จำเลยทั้งห้าร่วมกันเป็นหุ้นส่วนมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใช้ชื่อทางการค้าว่าสหพรลิ้มการช่าง ได้ร่วมกันก่อสร้างตึกแถวให้เช่า และใช้ตึกแถวมีป้ายชื่อว่าสหพรลิ้มการช่าง เป็นสำนักงานติดต่อกับโจทก์และบุคคลทั่วไป ดังนี้ ตึกแถวชื่อสหพรลิ้มการช่างเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการก่อสร้างตึกให้เช่าของจำเลยทั้งห้าเมื่อส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่ได้เพราะจำเลยทั้งห้าไปต่างจังหวัด การที่เจ้าพนักงานศาลปิดหมายไว้ตามคำสั่งศาล จึงเป็นการส่งโดยชอบ
เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ที่จำเลยเป็นหุ้นส่วนอยู่เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2525 จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่วันที่8 ธันวาคม 2526 อันเป็นเวลาพ้นกำหนดหกเดือนนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดทรัพย์แล้ว จำเลยจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา208 ทั้งกรณีมิใช่เป็นการบังคับตามคำพิพากษาโดยวิธีอื่นแต่เป็นการบังคับตามคำพิพากษาโดยวิธียึดทรัพย์ และการขายทอดตลาดก็เป็นวิธีการที่สืบเนื่องมาจากการยึดทรัพย์นั่นเองระยะเวลาหกเดือนต้องนับแต่วันที่ยึดทรัพย์ มิใช่นับจากวันขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึด.
เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ที่จำเลยเป็นหุ้นส่วนอยู่เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2525 จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่วันที่8 ธันวาคม 2526 อันเป็นเวลาพ้นกำหนดหกเดือนนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดทรัพย์แล้ว จำเลยจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา208 ทั้งกรณีมิใช่เป็นการบังคับตามคำพิพากษาโดยวิธีอื่นแต่เป็นการบังคับตามคำพิพากษาโดยวิธียึดทรัพย์ และการขายทอดตลาดก็เป็นวิธีการที่สืบเนื่องมาจากการยึดทรัพย์นั่นเองระยะเวลาหกเดือนต้องนับแต่วันที่ยึดทรัพย์ มิใช่นับจากวันขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4409/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาที่ถูกสั่งไม่รับแล้ว แก้ไขเพิ่มเติมไม่ได้ แม้ยังอยู่ในกำหนด
จำเลยยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2529 ศาลชั้นต้นสั่งว่าเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่รับฎีกา จำเลยไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งต่อมาวันที่ 11 ธันวาคม 2529 จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฎีกาโดยไม่ได้ฎีกาใหม่ต่างหากจากฉบับเดิม ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาแล้วก็ไม่มีฎีกาที่จะแก้ไขเพิ่มเติมได้แม้จะอยู่ในกำหนดระยะเวลาที่จำเลยจะฎีกาได้ก็ตาม การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฎีกาของจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบ