พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 91/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ให้ผู้อื่นกระทำผิดและขัดขวางเจ้าพนักงาน ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทและกำหนดโทษตามความเหมาะสม
ขณะที่ตำรวจเข้าจับกุมและแย่งปืนกับจำเลยที่ 1 อยู่นั้น จำเลยที่ 2 เข้าช่วยแย่งปืนจากตำรวจ เมื่อตำรวจจับจำเลยที่ 2 ได้จำเลยที่ 2 ได้ร้องบอกให้จำเลยที่ 1 ขว้างระเบิดมือใส่ตำรวจดังนี้ จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานกระทงหนึ่ง และใช้ให้ฆ่าเจ้าพนักงานอีกกระทงหนึ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 บอกให้จำเลยที่ 1 เอาลูกระเบิดมือขว้างเจ้าพนักงาน ก็เท่ากับโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 เอาลูกระเบิดมือขว้างเจ้าพนักงานเพื่อจะฆ่าให้ตาย (แม้โจทก์จะไม่ได้อ้างมาตรา 84 มาในคำขอท้ายฟ้องก็ตาม)ถือได้ว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้ใช้แล้ว
จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ฆ่าเจ้าพนักงาน แต่จำเลยที่ 1 ไม่กระทำตามจำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289 ประกอบด้วยมาตรา 84 วรรค 2 ซึ่งต้องระวางโทษ 1 ใน 3 ของโทษประหารชีวิตกฎหมายไม่ได้บัญญัติโทษ 1 ใน 3 ของโทษประหารชีวิตไว้ จึงต้องนำประมวลกฎหมายอาญามาตรา 52(1) มาใช้เป็นหลักในการกำหนดโทษ กล่าวคือ ให้ลดโทษประหารชีวิตเสีย 1 ใน 3 ก่อน คงเหลือโทษเพียง 2 ใน 3 โดยให้จำคุกขั้นต่ำ 16 ปี แล้วคำนวณเอาเพียงครึ่งหนึ่งของอัตราโทษ 2 ใน 3 ผลลัพธ์ก็คือ ลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 8 ปี
โจทก์ไม่ได้ฎีกาในทำนองขอให้เพิ่มโทษ ศาลฎีกาจะพิพากษาเพิ่มโทษจำเลยให้หนักขึ้นหาได้ไม่
ศาลล่างปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้อง แม้โจทก์จะไม่ได้ฎีกาขึ้นมาก็ตามศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 30/2509)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 บอกให้จำเลยที่ 1 เอาลูกระเบิดมือขว้างเจ้าพนักงาน ก็เท่ากับโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 เอาลูกระเบิดมือขว้างเจ้าพนักงานเพื่อจะฆ่าให้ตาย (แม้โจทก์จะไม่ได้อ้างมาตรา 84 มาในคำขอท้ายฟ้องก็ตาม)ถือได้ว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้ใช้แล้ว
จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ฆ่าเจ้าพนักงาน แต่จำเลยที่ 1 ไม่กระทำตามจำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289 ประกอบด้วยมาตรา 84 วรรค 2 ซึ่งต้องระวางโทษ 1 ใน 3 ของโทษประหารชีวิตกฎหมายไม่ได้บัญญัติโทษ 1 ใน 3 ของโทษประหารชีวิตไว้ จึงต้องนำประมวลกฎหมายอาญามาตรา 52(1) มาใช้เป็นหลักในการกำหนดโทษ กล่าวคือ ให้ลดโทษประหารชีวิตเสีย 1 ใน 3 ก่อน คงเหลือโทษเพียง 2 ใน 3 โดยให้จำคุกขั้นต่ำ 16 ปี แล้วคำนวณเอาเพียงครึ่งหนึ่งของอัตราโทษ 2 ใน 3 ผลลัพธ์ก็คือ ลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 8 ปี
โจทก์ไม่ได้ฎีกาในทำนองขอให้เพิ่มโทษ ศาลฎีกาจะพิพากษาเพิ่มโทษจำเลยให้หนักขึ้นหาได้ไม่
ศาลล่างปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้อง แม้โจทก์จะไม่ได้ฎีกาขึ้นมาก็ตามศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 30/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลสูงมีอำนาจกำหนดโทษกระทงเบาได้ แม้กระทงหนักถูกยกฟ้อง
กรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำผิดฐานรับของโจร ตามมาตรา 357 และพกพาอาวุธไปในที่ชุมชนตามมาตรา 371 แต่ให้ลงโทษกระทงหนักตามมาตรา 357 และจำเลยฝ่ายเดียวอุทธรณ์เฉพาะข้อฐานรับของโจร นั้น ความผิดของจำเลยฐานพกพาอาวุธไปในที่ชุมนุมชนตามมาตรา 371 ที่ยุติแล้ว ก็ยังคงมีอยู่ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อศาลสูง(ศาลอุทธรณ์)พิพากษายกฟ้องฐานรับของโจรอันเป็นกระทงหนัก ศาลสูง(ศาลอุทธรณ์)ก็มีอำนาจกำหนดโทษในความผิดกระทงเบาฐานพกพาอาวุธไปในที่ชุมชนที่ยังมีอยู่นั้นได้ ไม่เป็นการนอกเหนือกฎหมาย ตามนัยฎีกาที่ 1196/2502 และเมื่อศาลอุทธรณ์ไม่กำหนดโทษ ศาลฎีกาก็กำหนดโทษไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์กำหนดได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลสูงในการกำหนดโทษกระทงเบาหลังยกฟ้องกระทงหนัก และการยุติของความผิดที่ยังคงมีอยู่
กรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำผิดฐานรับของโจรตามมาตรา 357 และพกพาอาวุธไปในที่ชุมชนตามมาตรา 371แต่ให้ลงโทษกระทงหนักตามมาตรา 357 และจำเลยฝ่ายเดียวอุทธรณ์เฉพาะข้อหาฐานรับของโจร นั้น ความผิดของจำเลยฐานพกพาอาวุธไปในที่ชุมนุมชนตามมาตรา 371 ที่ยุติแล้ว ก็ยังคงมีอยู่ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อศาลสูง(ศาลอุทธรณ์) พิพากษายกฟ้องฐานรับของโจรอันเป็นกระทงหนัก ศาลสูง (ศาลอุทธรณ์) ก็มีอำนาจกำหนดโทษในความผิดกระทงเบาฐานพกพาอาวุธไปในที่ชุมชนที่ยังมีอยู่นั้นได้ ไม่เป็นการนอกเหนือกฎหมาย ตามนัยฎีกาที่ 1196/2502 และเมื่อศาลอุทธรณ์ไม่กำหนดโทษ ศาลฎีกาก็กำหนดโทษไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์กำหนดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 479/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลในการลงโทษอาญา: การเทียบเคียงสำนวนคดีอื่นเพื่อกำหนดโทษที่เหมาะสม
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุก 1 ปี 6 เดือน และปรับ 581 บาทศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะอัตราโทษ เป็นจำคุก 3 เดือน และให้รอการลงโทษไว้ภายในกำหนด 2 ปี เป็นการแก้ไขมาก โจทก์ฎีกาข้อเท็จจริงได้
การใช้ดุลพินิจในการลงโทษ ศาลอาจจะพิจารณาหลักเกณฑ์ที่ศาลเคยถือกำหนดในการวางโทษเพื่อเทียบเคียงหยั่งความหนักเบาของโทษได้ ศาลจึงย่อมจะนำสำนวนคดีอื่นมาประกอบการพิจารณาได้ตามที่เห็นสมควร
การใช้ดุลพินิจในการลงโทษ ศาลอาจจะพิจารณาหลักเกณฑ์ที่ศาลเคยถือกำหนดในการวางโทษเพื่อเทียบเคียงหยั่งความหนักเบาของโทษได้ ศาลจึงย่อมจะนำสำนวนคดีอื่นมาประกอบการพิจารณาได้ตามที่เห็นสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษทางอาญา: ศาลไม่สามารถลดโทษหรือปล่อยตัวจำเลยได้ตามมาตรา 3(1) ป.อาญา
คดีอาญาถึงที่สุด จำเลยยื่นคำร้องว่า ศาลลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญา เป็นอัตราโทษหนักว่าประมวลกฎหมายอาญานั้น เป็นกรณีไม่เข้าอยู่ใน มาตรา 3(1) ประมวลกฎหมายอาญาที่ศาลจะกำหนดโทษเสียใหม่ หรือจะปล่อยจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1262/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์และแจ้งข้อความเท็จ: การพิจารณาความผิดหลายกระทงและการกำหนดโทษ
เสมียนพนักงานการรถไฟฯ เป็นเจ้าพนักงานตาม พระราชบัญญัติการรถไฟพ.ศ.2494 มาตรา18 และตาม กฎหมายอาญา
ดังนั้นเมื่อเสมียนพนักงานขายตั๋วของการรถไฟฯ ยักยอกเงินที่ขายตั๋วได้และจดแจ้งเท็จลงในบัญชีจำนวนขายตั๋วจึงมีความผิดตาม กฎหมายอาญา มาตรา 131 และ 230 รวม 2 กระทง
ดังนั้นเมื่อเสมียนพนักงานขายตั๋วของการรถไฟฯ ยักยอกเงินที่ขายตั๋วได้และจดแจ้งเท็จลงในบัญชีจำนวนขายตั๋วจึงมีความผิดตาม กฎหมายอาญา มาตรา 131 และ 230 รวม 2 กระทง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1150/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษพยายามฆ่าและการเพิ่มโทษจำเลยที่เคยกระทำผิดซ้ำ จำเป็นต้องกำหนดโทษสำเร็จก่อนลดฐาน
ความผิดฐานพยายามฆ่าคนตายนั้น ศาลต้องกำหนดโทษจำเลยอย่างกระทำผิดสำเร็จก่อนแล้วจึงลดฐานพยายามตาม กฎหมายอาญามาตรา 60 เมื่อมีเหตุจะต้องเพิ่มโทษจำเลยจึงให้เพิ่มทีหลัง จะเอาเหตุเพิ่มโทษมาหักกลบลบกับโทษฐานพยายามไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการรอการลงโทษจำคุกภายใต้กฎหมายลักษณะอาญาและการใช้ดุลยพินิจกำหนดโทษภายหลัง
จำเลยมีความผิดตามพ.ร.บ.ฝิ่น พ.ศ. 2472 มาตรา 53 ซึ่งแก้ไขโดยม พ.ร.บ.ฝิ่น (ฉะบับที่ 6) พ.ศ. 2494 อันมีกำหนดโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงยี่สิบปี และปรับสินเท่าราคาฝิ่น แต่ต้องไม่น้อยกวา 500 บาท นั้นเมื่อศาลเห็นว่าจำเลยไม่ควรรับโทษจำคุกเกินกว่า 2 ปี แล้ว ศาลจะพิพากษาให้รอการกำหนดโทษจำคุกไว้ภายใน 5 ปี ก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษจำคุกและรอการลงโทษในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติฝิ่น พ.ศ.2472 มาตรา 53 ซึ่งแก้ไขโดยพระราชบัญญัติฝิ่น(ฉบับที่ 6) พ.ศ.2494 อันมีกำหนดโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงยี่สิบปี และปรับสิบเท่าราคาฝิ่น แต่ต้องไม่น้อยกว่า 500 บาทนั้น เมื่อศาลเห็นว่าจำเลยไม่ควรรับโทษจำคุกเกินกว่า 2 ปีแล้วศาลจะพิพากษาให้รอการกำหนดโทษจำคุกไว้ภายใน 5 ปี ก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418-419/2488
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนคดีจากศาลทหารสู่ศาลพลเรือนตาม พ.ร.บ.กฎอัยยการศึก และการพิจารณาโทษที่ชอบด้วยกฎหมาย
คดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น และให้ลงโทษจำคุกจำเลย 2 กะทง ๆ ละ 5 ปี รวมเป็น 10 ปีเมื่อโทษที่ลงแก่จำเลยแต่ละกะทงไม่เกิน 5 ปี แล้วจำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงตลอดทั้งฎีกาในเรื่องใช้ดุลยพินิจกำหนดโทษไม่ได้ ต้องห้ามตาม วิ.อาญา ม.218
อ้างฎีกาที่ 76/2484
คดีของศาลทหารที่โอนมาพิจารณาพิพากษายังศาลพลเรือน ตาม พ.ร.บ.กฎอัยยการศึก (ฉะบับที่ 3 ) พ.ศ. 2487 ม.8 แล้ว การพิจารณาพิพากษาคดีนั้นยังศาลทหารและการพิจารณาพิพากษาคดีนั้นยังศาลพลเรือนย่อมเป็นการชอบด้วยกฎหมายโดยตลอด
อ้างฎีกาที่ 76/2484
คดีของศาลทหารที่โอนมาพิจารณาพิพากษายังศาลพลเรือน ตาม พ.ร.บ.กฎอัยยการศึก (ฉะบับที่ 3 ) พ.ศ. 2487 ม.8 แล้ว การพิจารณาพิพากษาคดีนั้นยังศาลทหารและการพิจารณาพิพากษาคดีนั้นยังศาลพลเรือนย่อมเป็นการชอบด้วยกฎหมายโดยตลอด