คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กำไรสุทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3185/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักผลขาดทุนสุทธิยกมาเพื่อคำนวณกำไรสุทธิ ต้องทำตามขั้นตอนการยื่นแบบ ภ.ง.ด.5 ในแต่ละปีตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
ผลการขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปี ก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปัจจุบันซึ่งยอมให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(12) นั้น หมายความว่าผลขาดทุนที่ยกมาตามวิธีการทางบัญชีแต่ละปีจนถึงปีที่มีกำไรสุทธิ แต่ต้องยกมาไม่เกิน 5 ปี ก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปัจุบัน ดังนั้น โดยวิธีการทางบัญชีดังกล่าวเมื่อโจทก์ยื่นแบบ ภ.ง.ด.5 เพื่อเสียภาษีเงินได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2512 โจทก์ ก็จะต้องแสดงรายการผลขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชี พ.ศ. 2512 ให้ปรากฏในแบบ ภ.ง.ด.5ข้อ 1(4) เพื่อไปหักกำไรสุทธิในการคำนวณกำไรสุทธิในรอบบัญชีปี พ.ศ. 2513แต่ถ้าไม่มีกำไรสุทธิ หรือกำไรสุทธิในรอบบัญชีปี พ.ศ. 2513 ยังไม่พอกับผลขาดทุนสุทธิในรอบปี พ.ศ. 2512 โจทก์ก็ต้องยกยอดขาดทุนสุทธิทั้งหมดหรือที่เหลือให้ปรากฏในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.5 เพื่อเสียภาษีเงินได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2514 เพื่อให้หักกำไรสุทธิในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2515 และทำเช่นนี้ได้เรื่อยไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว แต่โจทก์จะเอาผลขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชี พ.ศ. 2512 และ 2514 ไปหักกำไรสุทธิในการคำนวณกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปีพ.ศ. 2516 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้จากการจำหน่ายกำไรออกนอกประเทศ ต้องเป็นผู้จำหน่ายกำไรจริง และเป็นกำไรสุทธิที่หักต้นทุนแล้ว
กรมสรรพากรมีคำสั่งให้โจทก์เสียภาษี โจทก์อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการพิจารณาอุทธรณ์สั่งยกอุทธรณ์ของโจทก์ ดังนี้ นับว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2683/2517)
ผู้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ นั้น ต้องเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไร และเงินที่จำหน่ายนั้นต้องเป็นกำไรโดยแท้จริงซึ่งหักต้นทุนออกแล้ว โจทก์เป็นผู้ติดต่อกับลูกค้าในประเทศไทยของบริษัท ม. ในประเทศญี่ปุ่นให้ได้รับความสะดวกในการสั่งซื้อสินค้าจากบริษัท ม. ลูกค้าเป็นผู้สั่งซื้อสินค้าและชำระเงินค่าสินค้าต่อบริษัท ม. ในประเทศญี่ปุ่นโดยตรง โจทก์ยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ของบริษัท ม. ในประเทศญี่ปุ่นเฉพาะกำไรสุทธิที่ทำการค้าในประเทศไทย ดังนี้ ไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินกำไร เงินที่ลูกค้าส่งไปให้แก่บริษัท ม. ในประเทศญี่ปุ่นเป็นเงินค่าซื้อสินค้า ไม่ใช่กำไร โจทก์จึงไม่มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ในการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้จากการจำหน่ายกำไรออกนอกประเทศ ต้องเป็นผู้จำหน่ายกำไรจริง และเป็นกำไรสุทธิหลังหักต้นทุน
กรมสรรพากรมีคำสั่งให้โจทก์เสียภาษี โจทก์อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการพิจารณาอุทธรณ์สั่งยกอุทธรณ์ของโจทก์ดังนี้ นับว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่แล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2683/2517)
ผู้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70ทวิ นั้น ต้องเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไร และเงินที่จำหน่ายนั้นต้องเป็นกำไรโดยแท้จริงซึ่งหักต้นทุนออกแล้ว โจทก์เป็นผู้ติดต่อกับลูกค้าในประเทศไทยของบริษัท ม. ในประเทศญี่ปุ่นให้ได้รับความสะดวกในการสั่งซื้อสินค้าจากบริษัท ม. ลูกค้าเป็นผู้สั่งซื้อสินค้าและชำระเงินค่าสินค้าต่อบริษัท ม. ในประเทศญี่ปุ่นโดยตรง โจทก์ยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ของบริษัท ม. ในประเทศญี่ปุ่นเฉพาะกำไรสุทธิที่ทำการค้าในประเทศไทยดังนี้ ไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินกำไร เงินที่ลูกค้าส่งไปให้แก่บริษัท ม. ในประเทศญี่ปุ่นเป็นเงินค่าซื้อสินค้า ไม่ใช่กำไร โจทก์จึงไม่มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ในการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2646-2649/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล: ดอกเบี้ยส่งไปสำนักงานใหญ่ ถือเป็นรายจ่ายที่ต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิ
ธนาคารสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่เข้ามาดำเนินกิจการในประเทศไทย เป็นนิติบุคคลเดียวกันกับธนาคารสำนักงานใหญ่ที่อยู่ต่างประเทศ แม้พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 จะบังคับให้สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศต้องมีทรัพย์สินในประเทศไทยให้ทำงบดุลต่างหาก ก็เป็นการบังคับไว้เพื่อให้ธนาคารดังกล่าวมีความมั่นคงในการดำเนินกิจการในประเทศไทย หาใช่รับรองให้มีสภาพบุคคลเป็นเอกเทศจากสำนักงานใหญ่ไม่
ธนาคารสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศหรือสาขาของธนาคารในต่างประเทศส่งเงินที่รับฝากจากลูกค้ามาลงทุนในธนาคารสาขาในประเทศไทย เงินนั้นเป็นสังกมะทรัพย์เมื่อรับฝากจากลูกค้าแล้วก็ย่อมเป็นเงินหรือทรัพย์ของธนาคารสำนักงานใหญ่หรือสาขา ถือได้ว่าสำนักงานใหญ่หรือสาขานั้นเป็นผู้ส่งมาลงทุน แม้สำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศมีพันธะผูกพันจะต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ผู้ฝากดอกเบี้ยนั้นก็เป็นรายจ่ายโดยแท้ของสำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศ มิใช่รายจ่ายโดยตรงของธนาคารสาขาในประเทศไทยการที่ธนาคารสาขาในประเทศไทยส่งดอกเบี้ยไปให้สำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศ จึงเป็นรายจ่ายเพื่อผ่อนภาระของสำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศ ถือได้ว่าเป็นรายจ่ายที่กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง และถือได้ว่าเป็นค่าตอบแทนแก่ทรัพย์สินซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นเจ้าของเอง ตามมาตรา 65 ตรี (9)(10)แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งตามมาตรา 65 ทวิ มิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ จึงต้องนำไปรวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 ซึ่งถือได้ว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกำไร เมื่อธนาคารสาขาในประเทศไทยส่งเงินดังกล่าวออกไปให้สำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศ ก็เท่ากับเป็นการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย จึงต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 70 ทวิ อีกส่วนหนึ่งด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 580/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรู้รายได้และกำไรสุทธิทางภาษี: เงินได้ต้องได้รับมาแล้ว ไม่ใช่แค่สิทธิเรียกร้อง
(1) ความในมาตรา 39 นั้น เงินได้อันจะนำมาคำนวณภาษีนั้น จะต้องเป็นสิ่งที่ได้รับมาแล้ว มิใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับมาในภายหน้า
(2) สิทธิเรียกร้องที่จะได้รับมาในภายหน้าในขณะครบรอบระยะเวลาบัญชียังไม่เป็นเงินได้ตามมาตรา 39 ที่จะนำไปคิดเป็นกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการตามมาตรา 65
(3) คำว่า "กิจการที่กระทำ" ในมาตรา 65 นั้น หมายความถึงกิจการที่กระทำจนได้เงินมาเป็นเงินได้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 461/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักผลขาดทุนปีก่อนในการคำนวณภาษีเงินได้ของบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
การเรียกเก็บภาษีเงินได้จากบริษัทและหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น การคำนวณกำไรสุทธิต้องหักผลขาดทุนในปีก่อน ๆ เสียก่อน ถ้าหักแล้วยังไม่มีกำไรก็ไม่มีเงินได้ที่จะต้องเสียภาษี ( ป.ช.ญ.ครั้งที่ 5/2489 )

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 461/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักผลขาดทุนปีก่อนเพื่อคำนวณกำไรสุทธิสำหรับเสียภาษีเงินได้ของบริษัทและหุ้นส่วนนิติบุคคล
การเรียกเก็บภาษีเงินได้จากบริษัทและหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นการคำนวณกำไรสุทธิต้องหักผลขาดทุนในปีก่อนๆเสียก่อนถ้าหักแล้วยังไม่มีกำไรก็ไม่มีเงินได้ที่จะต้องเสียภาษี(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2498)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7052/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายประกันค่าเช่าเพื่อประโยชน์กองทุนรวมฯ มิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไร จึงห้ามนำมาคำนวณกำไรสุทธิ
รายจ่ายที่จะนำมาคำนวณเพื่อหากำไรสุทธิได้นั้น ต้องเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นโดยเฉพาะ ซึ่งต้องพิเคราะห์ถึงลักษณะของรายจ่าย หลักเกณฑ์และวิธีการจ่าย ตลอดจนเหตุผลจากข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆ ไป โจทก์เป็นเพียงผู้ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์แก่กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ และกองทุนรวมดังกล่าวมีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าแก่โจทก์จนครบเมื่อมีการจดทะเบียนสิทธิการเช่าตามที่ระบุไว้ในสัญญาเช่า การที่โจทก์ประกันค่าเช่าเพื่อให้ผู้ลงทุนเกิดความมั่นใจในการลงทุนกับกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ การประกันค่าเช่าจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่กองทุนรวมดังกล่าว มิใช่เพื่อประโยชน์แก่โจทก์ ดังนั้น เงินที่โจทก์จ่ายเป็นเงินประกันค่าเช่าให้แก่กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2550 จึงต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (13)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับทางภาษีอากรและอาญา ไม่อาจนำมาหักลดหย่อนในการคำนวณกำไรสุทธิได้
ค่าปรับอากรขาด เงินเพิ่มศุลกากร และค่าปรับภาษีเพื่อมหาดไทยเป็นรายจ่ายเพื่อปลดเปลื้องความรับผิดอันเนื่องมาจากการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของโจทก์เอง จึงเป็นรายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ ตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่ง ป.รัษฎากร และยังเป็นรายจ่ายที่ไม่อาจถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (6) แห่ง ป.รัษฎากร อีกด้วย เนื่องจากค่าปรับทางอาญาและเงินเพิ่มภาษีอากรตามมาตรา 65 ตรี (6) มิใช่หมายถึงเฉพาะค่าปรับและเงินเพิ่มตาม ป.รัษฎากรเท่านั้น แต่ยังรวมถึงค่าปรับที่เป็นโทษทางอาญาและเงินเพิ่มภาษีอากรตามกฎหมายอื่นด้วย ที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่า ค่าปรับอากรขาด เงินเพิ่มศุลกากร และค่าปรับภาษีเพื่อมหาดไทย เป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (6) แห่ง ป.รัษฎากร เป็นเพียงการปรับบทมาตรา 65 ตรี ศาลภาษีอากรกลางจึงมีอำนาจหยิบยกปรับบทให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18055/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกคำนวณภาษีวิเทศธนกิจ: กำไรสุทธิจากกิจการวิเทศธนกิจต้องแยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีและคำนวณภาษีต่างหากจากกิจการธนาคารพาณิชย์อื่น
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 47) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพาะกำไรสุทธิส่วนที่ได้จากการประกอบกิจการวิเทศธนกิจ และคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.62/2539 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลและการขอมีเลขประจำตัวของธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจ มีวัตถุประสงค์เพื่อการคำนวณกำไรขาดทุนและการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับการประกอบกิจการวิเทศธนกิจเท่านั้น ไม่รวมถึงกิจการธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจ ซึ่งมีหน้าที่ยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรและต้องแยกยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51 พร้อมงบดุล บัญชีทำการและบัญชีกำไรขาดทุนของแต่ละกิจการ ตามอัตราภาษีร้อยละ 10 หรือร้อยละ 30 เสมือนหนึ่งเป็นคนละนิติบุคคล เนื่องจากมีอัตราภาษีเงินได้ที่ไม่เท่ากัน เมื่อพิจารณาประกอบกับประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประกอบกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 16 กันยายน 2535 และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 16 กันยายน 2535 และวันที่ 17 เมษายน 2541 แล้วย่อมเห็นได้ว่า บทกฎหมายข้างต้นมีวัตถุประสงค์ให้กำไรสุทธิส่วนที่ได้จากการประกอบกิจการวิเทศธนกิจแยกต่างหากจากกำไรสุทธิส่วนที่ได้จากกิจการอื่นของธนาคาร โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องยื่นแบบฯ สำหรับกิจการวิเทศธนกิจที่ไม่ได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้เหลือร้อยละ 10 แยกต่างหากจากแบบฯ สำหรับกิจการวิเทศธนกิจที่ได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้เหลือร้อยละ 10 และแยกต่างหากจากแบบฯ สำหรับกิจการอื่นของธนาคาร
of 5