พบผลลัพธ์ทั้งหมด 190 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4203/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์: หนี้เช็คเป็นโมฆะ แม้จะมีการกู้ยืม
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด แล้วจำเลยจึงกู้ยืมเงินโจทก์ แล้วจำเลยออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ ดังนี้ มูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงเกิดขึ้นภายหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว การที่จำเลยออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวฟ้องเพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินและกิจการของตน และมิได้กระทำตาม คำสั่งหรือความเห็นชอบของศาลหรือบุคคลตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 24 การที่จำเลยฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวซึ่งมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย มูลหนี้ตามเช็คพิพาทย่อมตกเป็นโมฆะไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 จำเลยไม่มีความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 41/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจำนองเป็นหลักฐานการกู้ยืม ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์, ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์
หนังสือสัญญาจำนองที่ดินและบันทึกข้อตกลงเรื่องขึ้น เงินจำนองถูกอ้างในฐานะเป็นเพียงหลักฐานในการกู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 อย่างหนึ่งเท่านั้นมิใช่เป็นลักษณะแห่งตราสารการกู้ยืมเงินอันจะพึงต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 แต่อย่างใดศาลจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ จำนวนเงินค่าทนายความที่ศาลจะกำหนดให้คู่ความฝ่ายหนึ่งใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นดุลพินิจของแต่ละศาลซึ่งจะกำหนดให้โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้คดีหรือดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวงตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคหนึ่งโดยศาลต้องกำหนดค่าทนายความระหว่างอัตราขั้นต่ำและอัตราขั้นสูงดังที่ระบุไว้ในตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อจำเลยทั้งสองอุทธรณ์มาหลายข้อซึ่งส่วนมากฟังไม่ขึ้น คงฟังขึ้นเพียงข้อเดียวซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นบางส่วนเฉพาะที่ให้ยกคำขอที่ว่าหากขายทอดตลาดทรัพย์จำนองได้เงินไม่พอชำระก็ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสองออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์จนครบเท่านั้น นอกจากที่แก้คงเป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นทั้งหมด ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ 3,500 บาท แทนโจทก์จึงเป็นการสมควรแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3946/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แม้ไม่ได้ลงชื่อในสัญญากู้ยืม แต่กรรมการบริษัทที่ร่วมฉ้อโกงประชาชนก็ต้องรับผิดในฐานะผู้กู้ยืม
แม้ลูกหนี้ที่ 4 จะมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืม ที่เจ้าหนี้อ้างประกอบคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ แต่ข้อเท็จจริงก็ฟังได้ยุติตามคำพิพากษาศาลฎีกา ซึ่งลูกหนี้ที่ 4 เป็นจำเลยร่วมอยู่ด้วยว่า ลูกหนี้ที่ 4 เป็น กรรมการของบริษัทฯ จำเลยที่ 1 เป็นผู้ร่วมกระทำความผิด กับจำเลยที่ 1 ตาม พระราชกฤษฎีกาการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกง ประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 4 และ 5 ดังนั้น ลูกหนี้ที่ 4 จึงเป็นผู้กู้ยืมตามนัยแห่ง พระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวและต้องรับผิดตาม สัญญากู้ยืมต่อเจ้าหนี้ จะอ้างว่าไม่ต้องรับผิดเพราะไม่ได้ ลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2819/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาที่ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ไม่มีผลใช้บังคับเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง สิทธิการยึดทรัพย์จากการกู้ยืม
ช.ได้ทำสัญญากู้และมอบ น.ส.3 ซึ่งโจทก์เป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองให้จำเลยยึดถือไว้เป็นประกัน แต่โจทก์มิได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้และมิได้ยอมรับว่ากู้เงินจากจำเลยทั้งหนังสือมอบอำนาจตามที่จำเลยอ้างเป็นพยานหลักฐานเพื่อยึดถือ น.ส.3 ดังกล่าวไว้ เป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์แต่สัญญากู้และหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ จึงใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้าย ประมวลรัษฎากรและขีดฆ่าแล้วกรณีจึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ช. ไปกู้เงินจำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะยึด น.ส.3ของโจทก์ไว้เพื่อบังคับชำระหนี้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5113/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม – ประเด็นใหม่ไม่อุทธรณ์ – สัญญาเช่าซื้อ/กู้ยืม
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทไปจากโจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและสัญญาเช่าซื้อไม่เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้เงินตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 เพียงแต่กล่าวมาในคำแก้อุทธรณ์ว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นนิติกรรมอำพราง โดยมิได้อุทธรณ์ขึ้นมา ประเด็นข้อพิพาทในส่วนนี้จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาข้อแรกว่า โจทก์ฟ้องเรื่องเช่าซื้ออันไม่เป็นความจริง ความจริงโจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงิน โจทก์ฟ้องจำเลยผิดข้อหาหรือฐานความผิดจำเลยไม่ควรต้องรับผิดตามฟ้องของโจทก์ และจำเลยที่ 1กู้ยืมเงินโจทก์มาเป็นเงิน 250,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระให้โจทก์ไปแล้วเป็นเงิน 125,489 บาท คงเหลืออีก 124,511 บาท เท่าที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระให้แก่โจทก์ ส่วนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมนั้นโจทก์คิดจากจำเลยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจำเลยจึงไม่ต้องชำระให้แก่โจทก์นั้น ล้วนเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง และไม่ใช่ข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4799/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้กู้ยืมแก่บริษัทในเครือที่ขาดทุน ไม่ถือว่ารู้ถึงหนี้สินล้นพ้นตัว
ลูกหนี้เป็นบริษัทในเครือของเจ้าหนี้โดยเจ้าหนี้ถือหุ้นอยู่ถึงร้อยละ42.8เท่ากับว่าเจ้าหนี้มีส่วนได้เสียอย่างมากการที่เจ้าหนี้ให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินเมื่อลูกหนี้ประสบปัญหาในสภาวะที่กิจการขาดทุนจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดสภาพคล่องทางการเงินในลักษณะชั่วครั้งชั่วคราวเพื่อให้ลูกหนี้มีโอกาสดำเนินธุรกิจไปตามปกติในทางการค้าซึ่งอาจจะมีกำไรได้ในภายหลังเมื่อไม่ปรากฏว่าในขณะที่เจ้าหนี้ให้กู้ยืมนั้นลูกหนี้มีหนี้สินกับเจ้าหนี้อื่นใดมาก่อนอีกทั้งการกู้ยืมตลอดจนการออกตั๋วสัญญาใช้เงินแก่เจ้าหนี้ได้กระทำขึ้นก่อนที่ลูกหนี้ถูกฟ้องล้มละลาย5ถึง6ปีและในขณะนั้นไม่ปรากฏว่ามีเจ้าหนี้รายใดฟ้องลูกหนี้จึงยังไม่พอฟังว่าในขณะนั้นลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3076/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาทเป็นหลักประกันการกู้ยืม ไม่ใช่เช็คชำระหนี้ จึงไม่ผิด พ.ร.บ. เช็ค
สัญญากู้เงินมีข้อความว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ร่วมไป 190,000บาท เพื่อเป็นหลักฐานในการกู้ยืมเงิน จำเลยได้นำเช็คพิพาทให้โจทก์ร่วมถือไว้เป็นหลักประกันด้วย เช่นนี้ มีความหมายชัดแจ้งว่า เช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยได้ออกให้แก่โจทก์ร่วมเป็นหลักประกันในการที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ร่วมไป มิใช่ออกให้เพื่อชำระหนี้ แม้ตามสัญญากู้เงินจะมีข้อความว่า จำเลยจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ร่วมภายในวันที่ที่ลงไว้ในเช็คพิพาทก็ตาม ก็จะตีความว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3076/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเป็นหลักประกันการกู้ยืม ไม่ถือเป็นเช็คชำระหนี้ จำเลยไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
สัญญากู้เงินมีข้อความว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ร่วมไป190,000 บาท เพื่อเป็นหลักฐานในการกู้ยืมเงิน จำเลยได้นำเช็คพิพาทให้โจทก์ร่วมถือไว้เป็นหลักประกันด้วยเช่นนี้ มีความหมายชัดแจ้งว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยได้ออกให้แก่โจทก์ร่วมเป็นหลักประกันในการที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ร่วมไป มิใช่ออกให้เพื่อชำระหนี้แม้ตามสัญญากู้เงินจะมีข้อความว่า จำเลยจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ร่วมภายในวันที่ที่ลงไว้ในเช็คพิพาทก็ตาม ก็จะตีความว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3076/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อหลักประกันการกู้ยืม ไม่ถือเป็นเช็คชำระหนี้ จำเลยไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
สัญญากู้เงินมีข้อความว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ร่วมไป190,000บาทเพื่อเป็นหลักฐานในการกู้ยืมเงินจำเลยได้นำเช็คพิพาทให้โจทก์ร่วมถือไว้เป็นหลักประกันด้วยเช่นนี้มีความหมายชัดแจ้งว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยได้ออกให้แก่โจทก์ร่วมเป็นหลักประกันในการที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ร่วมไปมิใช่ออกให้เพื่อชำระหนี้แม้ตามสัญญากู้เงินจะมีข้อความว่าจำเลยจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ร่วมภายในวันที่ที่ลงไว้ในเช็คพิพาทก็ตามก็จะตีความว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ไม่ได้จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534มาตรา4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3076/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเป็นหลักประกันกู้ยืม ไม่ถือเป็นเช็คชำระหนี้ จำเลยไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
สัญญากู้เงินมีข้อความว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ร่วมไป190,000บาทเพื่อเป็นหลักฐานในการกู้ยืมเงินจำเลยได้นำเช็คพิพาทให้โจทก์ร่วมถือไว้เป็นหลักประกันด้วยเช่นนี้มีความหมายชัดแจ้งว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยได้ออกให้แก่โจทก์ร่วมเป็นหลักประกันในการที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ร่วมไปมิใช่ออกให้เพื่อชำระหนี้แม้ตามสัญญากู้เงินจะมีข้อความว่าจำเลยจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ร่วมภายในวันที่ที่ลงไว้ในเช็คพิพาทก็ตามก็จะตีความว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ไม่ได้จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534มาตรา4