พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1616/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการก่อสร้างอาคารแยกจากกรรมสิทธิที่ดิน ต้องปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมการก่อสร้าง แม้กรรมสิทธิยังไม่ถูกเวนคืน
กรรมสิทธิในที่ดินเป็นสิทธิอย่างหนึ่งต่างหากจากการขออนุญาตปลูกสร้างอาคารเพราะการปลูกสร้างอาคารนั้นมีกฎหมายบัญญัติไว้อีกต่างหาก ผู้ใดจะทำการปลูกสร้างอาคารต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ควบคุมการก่อสร้าง
ที่พิพาทอยู่ในเขตที่จะต้องตัดถนนตามพระราชกฤษฎีกาจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ 2473 โจทก์ขออนุญาตปลูกสร้างอาคารในที่พิพาท จำเลยมีคำสั่งไม่อนุญาตดังนี้เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว เพราะตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว มาตรา 2 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดปลูกสร้างโรงเรือนหรือทำการอย่างหนึ่งอย่างใดลงในที่ดินภายในเขตนั้น นอกจากจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าพนักงาน.
ที่พิพาทอยู่ในเขตที่จะต้องตัดถนนตามพระราชกฤษฎีกาจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ 2473 โจทก์ขออนุญาตปลูกสร้างอาคารในที่พิพาท จำเลยมีคำสั่งไม่อนุญาตดังนี้เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว เพราะตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว มาตรา 2 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดปลูกสร้างโรงเรือนหรือทำการอย่างหนึ่งอย่างใดลงในที่ดินภายในเขตนั้น นอกจากจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าพนักงาน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13564/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดระยะเวลาปรับรายวันสำหรับก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต และความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งรื้อถอน
ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21, 65 วรรคสอง กำหนดให้ปรับเป็นรายวันตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง หมายความว่าจนกว่าจำเลยจะได้รับใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารจากพนักงานท้องถิ่น หรือจนกว่าจำเลยจะดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ เมื่อปรากฏว่า อาคารที่จำเลยก่อสร้างเป็นอาคารที่ไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างและรื้อถอนอาคารให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ครบกำหนดที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งภายในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2549 คดีนี้จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้อถอนและอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ต่อมาคณะกรรมการมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์จำเลย โดยจำเลยได้รับผลการพิจารณาเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2550 จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นในวันที่ 27 พฤษภาคม 2550 ดังนั้น ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตย่อมสิ้นสุดลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2550 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยได้รับผลการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หลังจากนั้นเมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง การกระทำส่วนนี้ของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้อถอนอาคารตามมาตรา 42, 66 ทวิ วรรคหนึ่งและวรรคสอง และไม่เป็นความผิดตามมาตรา 21, 65 วรรคสอง อีกต่อไป ดังนั้น ค่าปรับรายวันในส่วนที่จำเลยก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจึงนับแต่วันที่ 18 มกราคม 2549 ถึงวันที่ 26 พฤษภาคม 2550 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6788/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเรื่องวิธีการชำระค่าปรับ และพิพากษาว่าความผิดฐานก่อสร้างอาคารกับยึดครองที่ดินเป็นคนละกรรม
จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ทราบว่าจะชำระค่าปรับอย่างไรต่อศาลเพราะคำว่าได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นนั้นหมายความว่าอย่างไร ถึงจะถือว่าได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นนั้นที่เป็นวันครบกำหนดชำระเงินต่อศาลที่จะคิดเป็นจำนวนเงินชำระค่าปรับได้นั้น ปัญหาตามฎีกาของจำเลยเป็นฎีกาถึงวิธีการบังคับคดีของศาลชั้นต้น ซึ่งเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วโจทก์จะเป็นผู้ร้องขอให้ออกหมายบังคับคดี โดยจำเลยสามารถที่จะทราบถึงวิธีการที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้อยู่แล้ว หาจำต้องฎีกาไม่ เป็นฎีกาที่ไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง ต้องห้ามฎีกา
ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันกับความผิดฐานยึดถือครอบครองที่ดินอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน และเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่โจทก์มิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ แต่ไม่อาจกำหนดโทษในความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตได้อีกเพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันกับความผิดฐานยึดถือครอบครองที่ดินอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน และเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่โจทก์มิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ แต่ไม่อาจกำหนดโทษในความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตได้อีกเพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3983/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีซื้อจากการก่อสร้างอาคารแล้วโอนกรรมสิทธิ์ภายใน 3 ปี ถือเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
การที่โจทก์คืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่จำเลยโดยอาศัย ป.รัษฎากร จึงเป็นกรณีที่จำเลยได้เงินภาษีมูลค่าเพิ่มคืนไปโดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ในขณะรับเงินนั้น การที่โจทก์ฟ้องเรียกภาษีคืนจึงมิใช่ฟ้องเรียกคืนในฐานลาภมิควรได้อันอยู่ในบังคับจะใช้อายุความ 1 ปี นับแต่โจทก์รู้ว่ามีสิทธิเรียกคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
กรณีที่จำเลยเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มคือระบบถนนยกระดับและการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย กับประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มคือระบบรถไฟชุมชนซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 81 (1) (ณ) จำเลยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของมาตรา 82/6 ประกอบประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/6 ลงวันที่ 9 มีนาคม 2535 ซึ่งหลักการสำคัญของการเฉลี่ยภาษีซื้อนั้นมีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการจะต้องยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อขอเฉลี่ยภาษีซื้อต่อโจทก์ หากไม่ยื่นแบบแจ้งรายการจะมีผลให้ไม่มีสิทธิขอคืนหรือขอเครดิตภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างดังกล่าว ประกอบกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดนั้นจำเลยต้องแจ้งรายการวันที่ก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์และแจ้งรายการเกี่ยวกับการเริ่มใช้อาคารไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มใช้อาคารไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะต้องแจ้งภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มใช้อาคารด้วย ดังนั้น เงื่อนไขที่จำเลยจะนำภาษีซื้อเกิดจากการก่อสร้างดังกล่าวมาขอคืนหรือขอเครดิตได้ต้องมีวันที่ก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์และวันที่เริ่มใช้อาคาร เมื่อปรากฏว่าจำเลยถูกบอกเลิกสัญญาสัมปทาน จึงยังไม่มีวันที่ก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์และวันที่เริ่มใช้อาคารดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีสิทธิเฉลี่ยภาษีซื้อที่จะนำไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/3
สัญญาสัมปทานข้อ 24.1 กำหนดให้บรรดาอาคาร สิ่งปลูกสร้างทั้งหมดที่จำเลยก่อสร้างขึ้นในพื้นที่สัมปทาน รวมถึงทางรถไฟ ถนนยกระดับและทางเชื่อมกับถนนที่มีอยู่เดิมตามสัญญานี้ให้ตกเป็นทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทยทันทีที่ก่อสร้าง การโอนกรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวถือเป็นการขาย และเป็นการขายที่กระทำภายใน 3 ปี นับแต่เดือนภาษีที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/5 (6) ประกอบประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42)
กรณีที่จำเลยเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มคือระบบถนนยกระดับและการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย กับประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มคือระบบรถไฟชุมชนซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 81 (1) (ณ) จำเลยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของมาตรา 82/6 ประกอบประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/6 ลงวันที่ 9 มีนาคม 2535 ซึ่งหลักการสำคัญของการเฉลี่ยภาษีซื้อนั้นมีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการจะต้องยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อขอเฉลี่ยภาษีซื้อต่อโจทก์ หากไม่ยื่นแบบแจ้งรายการจะมีผลให้ไม่มีสิทธิขอคืนหรือขอเครดิตภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างดังกล่าว ประกอบกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดนั้นจำเลยต้องแจ้งรายการวันที่ก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์และแจ้งรายการเกี่ยวกับการเริ่มใช้อาคารไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มใช้อาคารไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะต้องแจ้งภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มใช้อาคารด้วย ดังนั้น เงื่อนไขที่จำเลยจะนำภาษีซื้อเกิดจากการก่อสร้างดังกล่าวมาขอคืนหรือขอเครดิตได้ต้องมีวันที่ก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์และวันที่เริ่มใช้อาคาร เมื่อปรากฏว่าจำเลยถูกบอกเลิกสัญญาสัมปทาน จึงยังไม่มีวันที่ก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์และวันที่เริ่มใช้อาคารดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีสิทธิเฉลี่ยภาษีซื้อที่จะนำไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/3
สัญญาสัมปทานข้อ 24.1 กำหนดให้บรรดาอาคาร สิ่งปลูกสร้างทั้งหมดที่จำเลยก่อสร้างขึ้นในพื้นที่สัมปทาน รวมถึงทางรถไฟ ถนนยกระดับและทางเชื่อมกับถนนที่มีอยู่เดิมตามสัญญานี้ให้ตกเป็นทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทยทันทีที่ก่อสร้าง การโอนกรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวถือเป็นการขาย และเป็นการขายที่กระทำภายใน 3 ปี นับแต่เดือนภาษีที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/5 (6) ประกอบประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3461/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความผิดก่อสร้างอาคาร และการยกข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของศาล
ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 21 มาตรา 65 วรรคหนึ่งและวรรคสอง มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท ความผิดดังกล่าวจึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (4) โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2549 จึงเกินกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ 21 สิงหาคม 2544 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยกระทำความผิดคดีสำหรับความผิดฐานดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) และต้องยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดดังกล่าวเสียตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6424/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในคดีพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดินและการก่อสร้างอาคาร
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยขนย้ายทรัพย์สินและสิ่งก่อสร้างออกจากที่ดินพิพาท และคืนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ในสภาพไม่มีสิ่งปลูกสร้างและวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท การที่จำเลยเข้าไปดำเนินการก่อสร้างอาคารในที่ดินพิพาทหลังจากที่โจทก์ยื่นคำฟ้องแล้ว ย่อมเป็นการกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไป ซึ่งการละเมิดที่ถูกฟ้องร้อง อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ได้ หากศาลพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี กรณีจึงมีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.พ. 254 (2) มาใช้โดยห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยและบริวารดำเนินการก่อสร้างอาคารในที่ดินพิพาทจนกว่าจะถึงที่สุดได้
ตามคำขอของโจทก์มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้ หากจำเลยได้รับความเสียหายจำเลยก็มีสิทธิที่จะว่ากล่าวเอาแก่โจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 263 เมื่อโจทก์เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตตามคำขอของโจทก์โดยไม่สั่งให้โจทก์นำเงินหรือหาประกันมาวางตามมาตรา 257 วรรคท้าย จึงชอบแล้ว
ตามคำขอของโจทก์มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้ หากจำเลยได้รับความเสียหายจำเลยก็มีสิทธิที่จะว่ากล่าวเอาแก่โจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 263 เมื่อโจทก์เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตตามคำขอของโจทก์โดยไม่สั่งให้โจทก์นำเงินหรือหาประกันมาวางตามมาตรา 257 วรรคท้าย จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2283/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงจากการปกปิดการจัดสรรที่ดินและการก่อสร้างอาคารบนที่ดินสาธารณูปโภค ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่เข้าข่ายความผิดฐานฉ้อโกง
โจทก์ทั้งสิบสองซื้อบ้านและที่ดิน โครงการหมู่บ้าน ศ. 1 โดยจำเลยทั้งสองและ จ. ปกปิดข้อความจริงว่า โครงการหมู่บ้าน ศ. 1 ไม่ได้ขออนุญาตจัดสรรตามกฎหมายและ จ. แจ้งว่าโครงการจัดให้มีลานจอดรถอันเป็นสาธารณูปโภค โจทก์ทั้งสิบสองชำระเงินครบถ้วนและรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านแล้ว ดังนั้น เงินค่าซื้อที่ดินและบ้านที่จำเลยทั้งสองได้รับจากโจทก์ทั้งสิบสอง จึงเกิดจากการซื้อขายที่ดินและบ้าน มิใช่เกิดจากการปกปิดข้อความจริงว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดิน ทั้งการที่จำเลยทั้งสองไม่ได้ขออนุญาตจากทางราชการให้ดำเนินการจัดสรรที่ดิน ก็ไม่ใช่สาระสำคัญที่จะบ่งชี้ว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาที่จะฉ้อโกงโจทก์ทั้งสิบสอง และที่จำเลยทั้งสองไปขออนุญาตก่อสร้างอาคารบนที่ดินที่ จ. จัดให้เป็นลานจอดรถโดยมิได้แจ้งให้โจทก์ทั้งสิบสองทราบนั้น มิใช่การปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งเพราะจำเลยทั้งสองไม่จำเป็นต้องแจ้งให้โจทก์ทั้งสิบสองทราบ ทั้งจำเลยทั้งสองก็ไม่ได้ทรัพย์สินไปจากโจทก์ทั้งสิบสองเพราะที่ดินเป็นลานจอดรถยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของ จ. ส่วนการที่จำเลยทั้งสองก่อสร้างอาคารเจ็ดชั้นบนที่ดินสาธารณูปโภคที่เป็นลานจอดรถ ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 มิได้ปฏิบัติตามคำมั่นของ จ. ที่ให้ไว้กับโจทก์ทั้งสิบสองเท่านั้น กรณีเป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง การกระทำของจำเลยทั้งสองตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4366/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต: จำเลยต้องปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมอาคารก่อนเริ่มก่อสร้าง
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กหลังพิพาท โดยจำเลยเป็นเจ้าของผู้ครอบครองอาคารและไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมาย ซึ่งจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แล้ว ฟ้องของโจทก์ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนที่จำเลยจะแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและดำเนินการตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 39 ทวิ อันเป็นทางเลือกให้ไม่ต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือไม่นั้น เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์และจำเลยสามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา
การก่อสร้างอาคารต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตจากทางราชการหรือดำเนินการตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21 หรือ มาตรา 39 ทวิ ทั้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบรับแจ้งให้ก่อน จำเลยจึงจะสามารถเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ แต่จำเลยกลับทำการก่อสร้างอาคารไปโดยไม่ได้ใบรับอนุญาตหรือใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การก่อสร้างของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดตามกฎหมายแล้ว แม้ต่อมาจำเลยจะยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างก็ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยก่อนหน้านั้นไม่เป็นความผิด
จำเลยไม่อาจแก้ตัวว่า จำเลยเป็นชาวเขาเผ่าม้ง ไม่รู้ว่า พ.ร.ฎ.ให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังบาล อันเป็นการแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นจากความรับผิดทางอาญาได้ตาม ป.อ. มาตรา 64
การก่อสร้างอาคารต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตจากทางราชการหรือดำเนินการตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21 หรือ มาตรา 39 ทวิ ทั้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบรับแจ้งให้ก่อน จำเลยจึงจะสามารถเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ แต่จำเลยกลับทำการก่อสร้างอาคารไปโดยไม่ได้ใบรับอนุญาตหรือใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การก่อสร้างของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดตามกฎหมายแล้ว แม้ต่อมาจำเลยจะยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างก็ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยก่อนหน้านั้นไม่เป็นความผิด
จำเลยไม่อาจแก้ตัวว่า จำเลยเป็นชาวเขาเผ่าม้ง ไม่รู้ว่า พ.ร.ฎ.ให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังบาล อันเป็นการแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นจากความรับผิดทางอาญาได้ตาม ป.อ. มาตรา 64