คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขอบเขต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 651 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3391/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจศาลในการงดการบังคับคดี: เฉพาะคดีที่ยังมิได้บังคับสำเร็จ
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อให้มีคำสั่งทุเลาการบังคับไว้ชั่วคราวจนกว่าจะมีคำสั่งของศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับคำร้องขอทุเลาการบังคับของจำเลย แปลได้ว่าจำเลยมุ่งประสงค์ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีไว้เป็นการชั่วคราว ซึ่งศาลชั้นต้นอาจใช้ดุลพินิจสั่งให้งดการบังคับคดีได้ตามที่เห็นสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292(2) แต่การบังคับคดีนั้นงดได้เฉพาะการบังคับคดีที่ยังไม่ได้กระทำหรือที่จะต้องกระทำต่อไป จะงดการบังคับคดีที่ได้ปฏิบัติมาแล้วไม่ได้ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการยึดทรัพย์บางส่วนมอบให้โจทก์ถือว่าการบังคับคดีในส่วนนี้เสร็จแล้ว ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งให้งดการบังคับคดีในส่วนนี้ ส่วนทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียังไม่ได้ยึด ศาลชั้นต้นมีอำนาจให้งดการบังคับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2907/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องและขอบเขตค่าเสียหาย: โจทก์ต้องเป็นผู้เสียหายโดยตรง
ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามคำวินิจฉัยของศาลล่างแล้วว่าโจทก์ที่ 1 ไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์ที่ 2 จึงย่อมไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายที่อ้างว่าเกิดแก่ที่ดินที่โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของได้
โจทก์ที่ 1 ทำโครงการก่อสร้างอาคารในที่ดินโจทก์ที่ 1 ในนามบริษัทของโจทก์ที่ 1 ดังนั้น หากจะเกิดความเสียหายก็เป็นความเสียหายที่เกิดแก่โจทก์ที่ 1 หรือบริษัทของโจทก์ที่ 1 ไม่เกี่ยวข้องกับโจทก์ที่ 2 แต่อย่างใด โจทก์ที่ 2 จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการขาดรายได้จากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1391/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากทุนทรัพย์เกิน 200,000 บาท และประเด็นข้อเท็จจริงที่โต้แย้งเกินกว่าขอบเขตที่กฎหมายอนุญาต
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์และให้โจทก์ชำระเงินแก่จำเลยตามฟ้องแย้ง เป็นค่าเช่าที่ค้าง 138,000 บาท ค่าซ่อมแซมตึกพิพาท 200,000 บาท และค่าไฟฟ้า 7,708 บาท เมื่อจำเลยไม่ได้อุทธรณ์และโจทก์อุทธรณ์เพียงฝ่ายเดียวขอให้จำเลยชำระเงินให้โจทก์ตามฟ้องเดิมและขอให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่กำหนดให้โจทก์ชำระเงินตามฟ้องแย้ง ดังนั้น จำนวนเงินที่พิพาทกันในส่วนค่าซ่อมแซมตึกพิพาทจึงเป็นเงิน 200,000 บาทเท่านั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย โดยไม่กำหนดค่าซ่อมแซมตึกพิพาทให้ตามฟ้องแย้ง จำเลยจะฎีกาให้โจทก์ชำระค่าซ่อมแซมตึกพิพาทให้จำเลย 420,000 บาท เต็มตามฟ้องแย้งอีกหาได้ไม่ ทุนทรัพย์ที่จำเลยฎีกาคงเป็นเงินค่าซ่อมแซม 200,000 บาท ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้เท่านั้น จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยเข้าซ่อมแซมตึกพิพาท เนื่องจาก โจทก์ย่อมให้หักเงินประกัน 240,000 บาท โจทก์ผิดสัญญาเช่าไม่สงวนตึกพิพาทเสมอกับที่วิญญูชนจะพึงกระทำและไม่บำรุงรักษารวมทั้งซ่อมแซมเล็กน้อย ทำให้เกิดความเสียหาย โจทก์ต้องรับผิดชำระค่าซ่อมแซมตึกพิพาทให้แก่จำเลยเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9710/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำและขอบเขตคำพิพากษาถึงที่สุด ศาลต้องพิจารณาประเด็นที่ยังไม่ได้วินิจฉัย
ระหว่างพิจารณาคดีนี้ โจทก์ฟ้องจำเลยในคดีนี้เป็นจำเลยที่ 1 ป. เป็นจำเลยที่ 2 ตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 904/2537 ของศาลชั้นต้น ต่อมาคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาฎีกาที่ 401/2540 ซึ่งคดีที่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ต้องเป็นกรณีที่มีคู่ความเดียวกันหรือเป็นผู้สืบสิทธิจากคู่ความคนก่อนรื้อร้องฟ้องกันในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัย โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันและคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุดแล้ว ฉะนั้นคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ผลของคำพิพากษาฎีกาที่ 401/2540 ผูกพันโจทก์และจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ประเด็นพิพาทในคดีนี้ที่เป็นประเด็นเดียวกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ย่อมเป็นที่สุด คงเหลือประเด็นพิพาทข้ออื่น ๆ ซึ่ง คู่ความจะต้องนำสืบพยานหลักฐานให้จบสิ้นกระแสความเสียก่อน เมื่อศาลชั้นต้นมิได้พิจารณาสืบพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายในประเด็นดังกล่าวด้วยการสั่งงดสืบพยานโจทก์และจำเลย แล้ววินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งของจำเลยเป็นฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 904/2537 ของศาลชั้นต้น โดยศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง สมควรให้ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8471/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการตรวจพิสูจน์ทางแพทย์ในคำท้า – ศาลยึดหลักความสมเหตุสมผลในการพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสายเลือด
คู่ความตกลงท้ากันว่า หากเสียงข้างมากจากผลการตรวจตามหลักทางการแพทย์ของโรงพยาบาล 3 แห่งระบุว่าโจทก์ที่ 2เป็นบุตรผู้ตาย จำเลยทั้ง 5 ยอมให้โจทก์ที่ 2 รับมรดกของผู้ตายตามสิทธิ เมื่อคำท้าระบุให้โรงพยาบาล 3 แห่งใช้วิธีตรวจตามหลักการแพทย์ โดยมุ่งเน้นที่จะให้พิสูจน์ว่าโจทก์ที่ 2 เป็นบุตรของผู้ตายหรือไม่ เป็นประเด็นสำคัญ วิธีการตรวจจึงเป็นเรื่องที่โรงพยาบาลแต่ละแห่งจะต้องไปดำเนินการตามที่เห็นสมควรโดยใช้หลักทางการแพทย์เพื่อให้ได้ผลออกมาแน่นอน และตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด หาได้มีข้อจำกัดว่าจะต้องเป็นการตรวจพิสูจน์เพียงครั้งเดียวหรือการตรวจพิสูจน์จะต้องกระทำเฉพาะระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 2 ถึงจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นบุตรผู้ตายเท่านั้นไม่หากโรงพยาบาลหนึ่งโรงพยาบาลใดเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องตรวจพิสูจน์เพิ่มเติมโดยได้ทำการตรวจ 2 ครั้ง หรือจะต้องนำบุคคลภายนอกซึ่งอ้างว่าเป็นบิดาที่แท้จริงของโจทก์ที่ 2 มาตรวจพิสูจน์เพื่อให้ได้ผลแน่นอนขึ้น ก็ย่อมกระทำได้ ไม่เป็นการปฏิบัตินอกเหนือคำท้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2887/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 และขอบเขตการวินิจฉัยนอกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกู้เงินโจทก์ตามหนังสือสัญญากู้เงินท้ายฟ้องและได้ชำระคืนบางส่วนแล้ว จำเลยต้องรับผิดชำระหนี้ที่เหลือให้โจทก์ จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กู้เงินโจทก์และไม่ได้รับเงินจากโจทก์ ทั้งไม่เคยชำระเงินให้โจทก์ตามฟ้อง ที่จำเลยเขียนสัญญากู้เงินตามฟ้องให้โจทก์เพราะโจทก์ทวงถามให้ผู้กู้รายอื่นหลายคนชำระหนี้และมีการโต้เถียงกัน จึงได้เขียนสัญญากู้เงินตามฟ้องเพื่อตัดปัญหาความยุ่งยากและเดือดร้อน คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินตามหนังสือสัญญากู้เงินให้แก่โจทก์หรือไม่ เพียงใด การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่า จำเลยได้ทำหนังสือสัญญากู้เงินฉบับพิพาทให้ไว้ต่อโจทก์แทนลูกหนี้คนอื่นหลายราย กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยยอมตนเข้าเป็นลูกหนี้เงินกู้แทนลูกหนี้รายอื่นหลายรายและไม่ปรากฏว่ามีการขืนใจลูกหนี้เดิม การทำหนังสือสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์และจำเลยมีลักษณะเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ เป็นการวินิจฉัยว่าหนังสือสัญญากู้เงินฉบับพิพาทมีมูลหนี้มาจากการที่จำเลยยอมตนเข้าเป็นลูกหนี้เงินกู้แทนลูกหนี้รายอื่นหลายรายโดยไม่ปรากฏว่ามีการขืนใจลูกหนี้เดิม จึงเป็นการวินิจฉัยไปตามประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี หาเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความขอบเขตเกินคดีแรงงาน และการไกล่เกลี่ยคดีแรงงาน
ใบแต่งทนายความของโจทก์ ในคดีแรงงานระบุไว้ชัดว่าให้ทนายโจทก์มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใดไปในทางจำหน่ายสิทธิของโจทก์ด้วย เช่น การยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง การถอนฟ้อง การประนีประนอมยอมความ ทนายความโจทก์จึงมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความแทนโจทก์ได้ แม้สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแรงงานจะมีข้อตกลงด้วยว่า โจทก์จะถอนฟ้องคดีอาญาของศาลจังหวัดเชียงราย และถอนฟ้อง ถอนคำร้องทุกข์ในคดีอื่น ๆ และสัญญาว่าโจทก์จำเลยต่างจะไม่ดำเนินคดีใด ๆ ต่อกันอีก ไม่ว่าทางแพ่งหรืออาญาก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวทำนอกเหนือขอบอำนาจที่โจทก์มอบหมาย เพราะตามใบแต่งทนายความมิได้จำกัดไว้แต่เฉพาะคดีแรงงานเท่านั้น ทั้งข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่เกี่ยวเนื่องกับข้อตกลงซึ่งเป็นประเด็นที่พิพาทกันในคดีแรงงาน
โจทก์ในคดีอาญามีอำนาจถอนฟ้องได้ก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นหรือก่อนคดีถึงที่สุดแล้วแต่กรณี ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 35 ข้อตกลงว่าโจทก์จะถอนฟ้องและถอนคำร้องทุกข์จึงไม่ขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ในการพิจารณาคดีแรงงานศาลจะต้องดำเนินการไกล่เกลี่ยตั้งแต่แรกที่คู่ความมาพร้อมกันแล้วและไกล่เกลี่ยตลอดไปจนเสร็จการพิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 38 และมาตรา 43 บทบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจศาลแรงงานไกล่เกลี่ยให้คู่ความตกลงกันได้โดยมิได้จำกัดให้ศาลแรงงานต้องไกล่เกลี่ยได้แต่เฉพาะคดีแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8243/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเนื่องจากการไม่ใช้สิทธิเลือกตั้ง และขอบเขตของวันเลือกตั้ง
ผู้ร้องมิได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในครั้งที่สองโดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ ผู้ร้องย่อมเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งมีกำหนดเวลาตั้งแต่วันเลือกตั้งครั้งที่ผู้ร้องไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งจนถึงวันเลือกตั้งครั้งที่ผู้ร้องไปใช้สิทธิเลือกตั้งซึ่งตามนิยามศัพท์ในมาตรา 4 คำว่า วันเลือกตั้งหมายถึง เฉพาะวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาเท่านั้นไม่ว่าจะเป็นครั้งใด หาได้หมายรวมถึงวันเลือกตั้งอื่น ๆ ด้วยไม่เมื่อไม่ปรากฏว่ายังไม่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาเกิดขึ้นอีก จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องยังมิได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ร้องจะอ้างการไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นมาเป็นข้อแก้ตัวให้กลับเป็นผู้มีสิทธิมิได้
(คำสั่งศาลฎีกา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7869/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันการชำระเงินค่าจ้างล่วงหน้าเกินกว่าวงเงินค้ำประกัน
ตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ยอมค้ำประกันการจ่ายเงินล่วงหน้าของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 หากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 จะต้องจ่ายคืนเงินค่าจ้างล่วงหน้าเต็มจำนวนหรือบางส่วนแล้วแต่กรณี แต่ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่จ่ายคืนเงินดังกล่าว จำเลยที่ 2 ต้องจ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้านั้นแทนในวงเงิน 500,000 บาท จึงเห็นได้ว่าเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ค้ำประกันการชำระเงินล่วงหน้าคืนเท่านั้น มิใช่เรื่องค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาจ้าง ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 ทำงานไม่แล้วเสร็จตามสัญญาจ้างแต่คิดคำนวณเนื้องานที่ทำไปแล้วเป็นเงิน 683,077 บาท ดังนั้น เมื่อผลงานที่จำเลยที่ 1 ทำไปคำนวณเป็นเงินเกินกว่า 500,000 บาท จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันในวงเงินดังกล่าวจึงพ้นจากความรับผิด
แม้ตามสัญญาจะกำหนดไว้ว่า โจทก์อาจแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรถึงจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันเมื่อใดก็ได้ว่า วงเงินเต็มจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาได้หักลดด้วยจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ได้จ่ายชดใช้แก่โจทก์เป็นงวด ๆ ไปแล้ว และในช่วงเวลาที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างโจทก์มิได้แจ้งเป็นหนังสือไปยังจำเลยที่ 2 ว่าวงเงิน 500,000 บาท ได้หักด้วยจำนวนเงินตามผลงานที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ตกได้แก่โจทก์แล้วก็ตาม แต่การที่โจทก์บรรยายฟ้องถึงจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ได้รับล่วงหน้าไปแล้วและผลงานที่จำเลยที่ 1 ทำได้ไว้ในฟ้องก็ถือว่าเป็นการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7722/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานลักทรัพย์: การร่วมกระทำผิดกับผู้อื่น และขอบเขตความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้าง
แม้ว่าเงินที่จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 ลักมาจะเป็นเงินของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 2 มิได้เป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วมด้วย จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานลักทรัพย์ของนายจ้างได้
of 66