พบผลลัพธ์ทั้งหมด 635 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6434/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายยังไม่สมบูรณ์ จำเลยเข้าครอบครองสถานีบริการโดยไม่มีสิทธิ โจทก์มีสิทธิขับไล่และเรียกค่าเสียหาย
แม้พฤติการณ์ในการประวิงคดีจะสืบเนื่องมาจากการกระทำของทนายความ แต่จำเลยก็ต้องรับรู้และหาหนทางแก้ไขในฐานะที่เป็นผู้แต่งตั้งทนายความให้กระทำการแทนตน เมื่อจำเลยเพิกเฉยปล่อยให้ทนายความของตนที่ยืนยันว่าไม่อาจมาศาลได้ในวันนัดสืบพยานโจทก์ที่ศาลชั้นต้นนัดไว้ล่วงหน้าทั้งสามครั้ง ยังคงรับผิดชอบคดีของตนต่อไปอีก ถือได้ว่าเป็นการประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีนั้นชอบแล้ว
บริษัท ส. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของโจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยร่วมและโจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินแล้วสร้างสถานีบริการจำหน่ายน้ำมัน โดยมีบริษัท ส. ร่วมลงทุนและเป็นผู้บริหารสถานีบริการจำหน่ายน้ำมัน ต่อมาจำเลยร่วมเสนอเงื่อนไขขอเป็นผู้บริหารโดยตกลงชำระเงินร่วมลงทุนแก่โจทก์ แต่จำเลยร่วมไม่อาจชำระเงินร่วมลงทุนได้ครบถ้วนจึงเสนอให้จำเลยเป็นผู้ร่วมลงทุนแทน ซึ่งมีเงื่อนไขสำคัญคือ จำเลยต้องเปิดบัญชีกับโจทก์และจัดตั้งเป็นนิติบุคคลรวมทั้งต้องชำระเงินร่วมลงทุนที่จำเลยร่วมค้างชำระจำนวน 1,000,000 บาท ให้แก่โจทก์เสียก่อน แต่จำเลยก็ไม่อาจปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวได้ครบถ้วน ดังนั้น สัญญาร่วมลงทุนระหว่างโจทก์และจำเลยยังมิได้มีต่อกัน เพราะข้อความแห่งสัญญาอันโจทก์ได้แสดงไว้ว่าเป็นสาระสำคัญซึ่งจะต้องตกลงกันหมดทุกข้อนั้นยังมิได้ตกลงกันได้หมดทุกข้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 366 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงอยู่ในที่ดินและเข้าบริหารสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันโดยไม่มีสิทธิ โจทก์ย่อมฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้จนกว่าจำเลยจะออกจากที่ดิน
จำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์เนื่องจากจำเลยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันแม้มีอยู่จริงตามข้ออ้าง ก็มิใช่เป็นผลโดยตรงและโดยใกล้ชิดจากการกระทำของโจทก์ หากเกิดจากการที่จำเลยยอมตนเข้าเสี่ยงภัยรับภาระแทนจำเลยร่วม โดยรู้อยู่แล้วว่าจำเลยร่วมไม่มีสิทธิที่จะทำข้อตกลงให้จำเลยเข้าบริหารกิจการสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันได้โดยลำพังตนเอง ดังนั้น หากมีความเสียหายใด ๆ เกิดขึ้น จำเลยก็ต้องว่ากล่าวเอาแก่จำเลยร่วมซึ่งเป็นคู่สัญญาของตน หาใช่มาเรียกร้องเอาแก่โจทก์ไม่
บริษัท ส. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของโจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยร่วมและโจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินแล้วสร้างสถานีบริการจำหน่ายน้ำมัน โดยมีบริษัท ส. ร่วมลงทุนและเป็นผู้บริหารสถานีบริการจำหน่ายน้ำมัน ต่อมาจำเลยร่วมเสนอเงื่อนไขขอเป็นผู้บริหารโดยตกลงชำระเงินร่วมลงทุนแก่โจทก์ แต่จำเลยร่วมไม่อาจชำระเงินร่วมลงทุนได้ครบถ้วนจึงเสนอให้จำเลยเป็นผู้ร่วมลงทุนแทน ซึ่งมีเงื่อนไขสำคัญคือ จำเลยต้องเปิดบัญชีกับโจทก์และจัดตั้งเป็นนิติบุคคลรวมทั้งต้องชำระเงินร่วมลงทุนที่จำเลยร่วมค้างชำระจำนวน 1,000,000 บาท ให้แก่โจทก์เสียก่อน แต่จำเลยก็ไม่อาจปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวได้ครบถ้วน ดังนั้น สัญญาร่วมลงทุนระหว่างโจทก์และจำเลยยังมิได้มีต่อกัน เพราะข้อความแห่งสัญญาอันโจทก์ได้แสดงไว้ว่าเป็นสาระสำคัญซึ่งจะต้องตกลงกันหมดทุกข้อนั้นยังมิได้ตกลงกันได้หมดทุกข้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 366 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงอยู่ในที่ดินและเข้าบริหารสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันโดยไม่มีสิทธิ โจทก์ย่อมฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้จนกว่าจำเลยจะออกจากที่ดิน
จำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์เนื่องจากจำเลยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันแม้มีอยู่จริงตามข้ออ้าง ก็มิใช่เป็นผลโดยตรงและโดยใกล้ชิดจากการกระทำของโจทก์ หากเกิดจากการที่จำเลยยอมตนเข้าเสี่ยงภัยรับภาระแทนจำเลยร่วม โดยรู้อยู่แล้วว่าจำเลยร่วมไม่มีสิทธิที่จะทำข้อตกลงให้จำเลยเข้าบริหารกิจการสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันได้โดยลำพังตนเอง ดังนั้น หากมีความเสียหายใด ๆ เกิดขึ้น จำเลยก็ต้องว่ากล่าวเอาแก่จำเลยร่วมซึ่งเป็นคู่สัญญาของตน หาใช่มาเรียกร้องเอาแก่โจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 385/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งขับไล่และการครอบครองปรปักษ์: สิทธิของเจ้าของมรดกเหนือที่ดิน
คำคัดค้านและฟ้องแย้งของผู้คัดค้านระบุในช่องคู่ความว่า อ. และ ป. ผู้จัดการมรดกของ ส. ผู้คัดค้าน และบรรยายว่า ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน ผู้ร้องไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้คัดค้านไม่ประสงค์ให้ผู้ร้องอยู่อาศัยในที่ดินพิพาทต่อไป ขอให้บังคับผู้ร้องขนย้ายทรัพย์สินและบริวารพร้อมรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดิน การฟ้องแย้งของผู้คัดค้านดังกล่าว เป็นการฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยได้แสดงชัดแจ้งซึ่ง สภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว จึงไม่เคลือบคลุม
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้คัดค้านในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. ผู้ตายจึงมีอำนาจฟ้องแย้งขับไล่ผู้ร้องออกจากที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกของ ส. ได้ เพราะเมื่อผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทและมีผู้คัดค้านขึ้นมาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188(4) ให้ดำเนินคดีไป อย่างคดีมีข้อพิพาท ผู้ร้องจึงมีฐานะเป็นโจทก์ผู้คัดค้านย่อมมีฐานะ เป็นจำเลย ย่อมมีสิทธิฟ้องแย้งผู้ร้องได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้คัดค้านในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. ผู้ตายจึงมีอำนาจฟ้องแย้งขับไล่ผู้ร้องออกจากที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกของ ส. ได้ เพราะเมื่อผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทและมีผู้คัดค้านขึ้นมาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188(4) ให้ดำเนินคดีไป อย่างคดีมีข้อพิพาท ผู้ร้องจึงมีฐานะเป็นโจทก์ผู้คัดค้านย่อมมีฐานะ เป็นจำเลย ย่อมมีสิทธิฟ้องแย้งผู้ร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7252/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าและอำนาจฟ้องขับไล่ แม้ผู้ให้เช่ามิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่มีสิทธิฟ้องได้หากมีสัญญาเช่า
ในเรื่องเช่าทรัพย์ ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าผู้ให้เช่าจะต้องเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ให้เช่า ดังนั้น เมื่อจำเลยให้การรับว่าจำเลยได้ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์จริง ทั้งสองฝ่ายก็ย่อมต้องผูกพันตามสัญญาเช่า จำเลยเข้าไปอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่า เมื่อครบกำหนดระยะเวลาเช่าแล้วโจทก์ไม่ต่ออายุสัญญาสัญญาเช่าย่อมระงับสิ้นไป โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยในฐานะผู้เช่าได้ ส่วนข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับวัด ช. ตามที่จำเลยกล่าวอ้างจะมีอยู่อย่างไรก็ไม่ใช่ข้อสำคัญเพราะกรณีนี้เป็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาในสัญญาเช่าเท่านั้น จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะต้องให้คู่ความนำพยานเข้าสืบเพื่อฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยชอบหรือไม่ และการที่จำเลยไม่ยอมออกไปจากที่ดินพิพาทตามหนังสือบอกกล่าวของโจทก์ย่อมเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ในเรื่องค่าเสียหายจึงไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบ แม้โจทก์ยังคงมีภาระการพิสูจน์ตามข้อกล่าวอ้างในคำฟ้อง แต่ก็ปรากฏว่าคู่ความได้แถลงรับกันแล้วว่าค่าเสียหายที่โจทก์เรียกมานั้นเป็นค่าเสียหายที่คิดคำนวณจากฐานค่าเช่าเดิม ประกอบกับในเรื่องค่าเสียหายนั้น ศาลมีอำนาจวินิจฉัยและกำหนดตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 อยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลต้องฟังพยานหลักฐานของคู่ความในประเด็นข้อนี้อีกต่อไป ที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้วพิจารณาให้โจทก์ชนะคดีจึงชอบแล้ว
จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ในเรื่องค่าเสียหายจึงไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบ แม้โจทก์ยังคงมีภาระการพิสูจน์ตามข้อกล่าวอ้างในคำฟ้อง แต่ก็ปรากฏว่าคู่ความได้แถลงรับกันแล้วว่าค่าเสียหายที่โจทก์เรียกมานั้นเป็นค่าเสียหายที่คิดคำนวณจากฐานค่าเช่าเดิม ประกอบกับในเรื่องค่าเสียหายนั้น ศาลมีอำนาจวินิจฉัยและกำหนดตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 อยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลต้องฟังพยานหลักฐานของคู่ความในประเด็นข้อนี้อีกต่อไป ที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้วพิจารณาให้โจทก์ชนะคดีจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5587/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พระภิกษุมีอำนาจฟ้องขับไล่ได้ แม้ได้รับการยกทรัพย์สินให้ขณะเจ้าของยังมีชีวิต ไม่ใช่การเรียกร้องมรดก
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านและที่ดินที่โจทก์ได้รับการยกให้ จาก ล. จำเลยต่อสู้คดีว่าบ้านพิพาทเป็นของจำเลยและบิดาจำเลยคดีมีประเด็นเฉพาะบ้านพิพาท ซึ่งคู่ความตีราคาไว้ 200,000 บาทจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1622 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า พระภิกษุนั้น จะเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรมไม่ได้ เว้นแต่จะได้สึกจากสมณเพศมาเรียกร้องภายในกำหนดอายุความตามมาตรา 1754 นั้น หมายถึงกรณีที่เจ้ามรดกตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้ และพระภิกษุเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิในการรับมรดกด้วย ได้ฟ้องทายาทคนอื่น ๆ ขอแบ่งมรดก แต่โจทก์ได้รับการยกให้ซึ่งบ้านและที่ดินจาก ล. ในขณะที่ ล. มีชีวิตอยู่โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินดังกล่าว การฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านและที่ดินของโจทก์จึงมิใช่ฟ้องเรียกร้องเอาส่วนแบ่งทรัพย์มรดกในฐานะทายาทโดยธรรม แม้โจทก์จะเป็นพระภิกษุก็ย่อมมีอำนาจฟ้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1622 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า พระภิกษุนั้น จะเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรมไม่ได้ เว้นแต่จะได้สึกจากสมณเพศมาเรียกร้องภายในกำหนดอายุความตามมาตรา 1754 นั้น หมายถึงกรณีที่เจ้ามรดกตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้ และพระภิกษุเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิในการรับมรดกด้วย ได้ฟ้องทายาทคนอื่น ๆ ขอแบ่งมรดก แต่โจทก์ได้รับการยกให้ซึ่งบ้านและที่ดินจาก ล. ในขณะที่ ล. มีชีวิตอยู่โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินดังกล่าว การฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านและที่ดินของโจทก์จึงมิใช่ฟ้องเรียกร้องเอาส่วนแบ่งทรัพย์มรดกในฐานะทายาทโดยธรรม แม้โจทก์จะเป็นพระภิกษุก็ย่อมมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4446/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเก็บกินตลอดชีวิต แม้ไม่มีหนังสือทำสัญญา ศาลยกฟ้องขับไล่
โจทก์ตกลงให้จำเลยใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดชีวิตของจำเลยจำเลยจึงมีสิทธิเก็บกินในที่ดินพิพาทตลอดชีวิต แม้จะมิได้มีการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนสิทธิดังกล่าวให้บริบูรณ์อย่างทรัพยสิทธิตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง แต่ก็สมบูรณ์ อย่างบุคคลสิทธิที่ใช้ยันกันได้ระหว่างโจทก์กับจำเลย โจทก์ต้องผูกพัน ตามข้อตกลงดังกล่าว จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2563/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีขับไล่ที่ค่าเช่าต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวพิพาทและให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเดือนละ 25,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยและบริวารจะออกจากตึกแถวพิพาท โดยมิได้เรียกร้องค่าเสียหายนี้ต่างหากเป็นเอกเทศ ในข้อหาอื่นแต่เป็นการเรียกร้องมาเป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องขับไล่ออกจากตึกแถวพิพาท เมื่อปรากฏตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องได้ความว่าโจทก์ให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทเดือนละ 400 บาท และจำเลยยังได้ให้การคัดค้านคำขอบังคับของโจทก์ว่า ค่าเสียหายที่โจทก์พึงได้รับควรเป็นจำนวนเท่ากับค่าเช่าคือเดือนละ 400 บาท ดังนี้ย่อมถือได้ว่าจำเลย รับว่าตึกแถวพิพาทนั้นให้เช่าเดือนละ 400 บาท ข้อเท็จจริงต้องฟังว่า ตึกแถวพิพาทที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยมี ค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท เมื่อตึกแถวพิพาทมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะที่โจทก์ ยื่นคำฟ้องขับไล่จำเลยไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท จึงเป็นคดีที่ต้องห้ามคู่ความมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8658-8686/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะนิติบุคคลมิซซังโรมันคาทอลิก การครอบครองปรปักษ์ และอำนาจฟ้อง คดีขับไล่
ตามบทบัญญัติมาตรา 65,66 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ไม่ได้บัญญัติให้ยกเลิกมิซซังโรมันคาธอลิคว่าไม่เป็นนิติบุคคล แต่ได้บัญญัติรับรองไว้ว่านิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น และนิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่ หรือวัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือ กำหนดไว้ในกฎหมายข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้ง
โจทก์เป็นมิซซังโรมันคาธอลิคเป็นนิติบุคคลอยู่ก่อนแล้วตามพระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาดหลวงโรมันคาธอลิคในกรุงสยามตามกฎหมาย ร.ศ.128 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษยังใช้บังคับจนปัจจุบันนี้ พระราชบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นกฎหมายอื่นฉบับหนึ่งตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 65โจทก์จึงย่อมมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายอยู่ต่อไป
โจทก์เป็นมิซซังโรมันคาธอลิคเป็นนิติบุคคลอยู่ก่อนแล้วตามพระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาดหลวงโรมันคาธอลิคในกรุงสยามตามกฎหมาย ร.ศ.128 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษยังใช้บังคับจนปัจจุบันนี้ พระราชบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นกฎหมายอื่นฉบับหนึ่งตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 65โจทก์จึงย่อมมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายอยู่ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8657/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของโจทก์ร่วมและการบังคับคดีขับไล่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสิทธิในที่ดิน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้อาศัยออกจากที่ดินพิพาท ซึ่งเดิมเป็นของโจทก์ร่วมและโจทก์ร่วมได้ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่ พ. โดยในวันทำสัญญาพ. ได้ชำระเงินให้แก่โจทก์ร่วมบางส่วน ส่วนเงินที่เหลือ พ. จะนำมามอบให้แก่โจทก์ร่วมต่อเมื่อสามารถขับไล่จำเลยซึ่งอาศัยในที่ดินของโจทก์ร่วมออกไปเสียก่อนและโจทก์ร่วมจะต้องจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งจะแต่งงานกับ พ. หลังจากที่มีการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทแล้ว ดังนี้หากจำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิโจทก์ร่วมจริงตั้งแต่ก่อนฟ้องคดีนี้ โจทก์ร่วมก็ย่อมมีอำนาจบังคับจำเลยออกจากที่ดินพิพาทอยู่ก่อนโอนให้โจทก์ ทั้งตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท หากโจทก์ไม่สามารถขับไล่จำเลยออกไปจากที่ดินได้และโจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดี โจทก์และ พ. ย่อมไม่ชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์ร่วม และอาจใช้สิทธิเรียกร้องเงินที่ชำระแล้วคืนได้ โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี และมีสิทธิยื่นคำร้องเข้าเป็นคู่ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(2)
ปัญหาว่า โจทก์ร่วมมีอำนาจฟ้องหรือร้องสอดเข้ามาในคดีได้หรือไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาได้ และเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังมิได้วินิจฉัยปัญหานี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาพิพากษาใหม่
ศาลชั้นต้นยังมิได้สั่งค่าฤชาธรรมเนียมสำหรับฟ้องแย้ง ศาลฎีกาจึงสั่งให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161
ปัญหาว่า โจทก์ร่วมมีอำนาจฟ้องหรือร้องสอดเข้ามาในคดีได้หรือไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาได้ และเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังมิได้วินิจฉัยปัญหานี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาพิพากษาใหม่
ศาลชั้นต้นยังมิได้สั่งค่าฤชาธรรมเนียมสำหรับฟ้องแย้ง ศาลฎีกาจึงสั่งให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8461/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่จำกัดเฉพาะเจ้าของกรรมสิทธิ์ การสิ้นสุดสิทธิการใช้ประโยชน์ส่งผลต่ออำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นเพียงแต่ผู้ได้รับอนุญาตจากทางสุขาภิบาลป่าตองให้ทำการก่อสร้างอาคารชั้นเดียวจำนวน 15 คูหา รวมทั้งห้องพิพาทลงบนที่ดิน ซึ่งที่ดินดังกล่าวยังมีคดีพิพาทกันอยู่ระหว่างนางสาว จ. เจ้าของที่ดินกับนาย อ. นางสาว จ. อนุญาตให้โจทก์ใช้ที่ดินอยู่จนถึงเมื่อศาลฎีกาในคดีดังกล่าวมีคำพิพากษา เมื่อคดีได้ความว่าศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2537 โจทก์จึงต้องคืนการใช้ที่ดินและยกสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งห้องพิพาทให้แก่นางสาว จ. ตามที่ตกลงกันไว้ ดังนั้น สิ่งก่อสร้างบนพื้นดินย่อมตกเป็นของนางสาว จ. ตามหลักเรื่องส่วนควบตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน 2537 เป็นต้นไป ฉะนั้น ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โจทก์จึงไม่ใช่เจ้าของห้องพิพาท จำเลยทำสัญญาเช่าห้องพิพาทกับโจทก์เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2536 สัญญาเช่าสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2537 หลังจากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้วจำเลยก็มิได้ทำสัญญาเช่ากับโจทก์อีก โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2537 ซึ่งขณะที่ฟ้องโจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของห้องพิพาทแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7626/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองแทนและการเปลี่ยนลักษณะการยึดถือที่ดิน การฟ้องแย้งขับไล่สิทธิในที่ดิน
โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทแทน บ. การที่โจทก์ขอออกใบจองและต่อมาเจ้าพนักงานที่ดินออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้โจทก์ โดย บ. คัดค้านการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวก็ดี การที่โจทก์คัดค้านการที่ บ. ขอเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ก็ดี ล้วนแต่ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทโดยบอกกล่าวไปยัง บ. ว่าโจทก์ไม่มีเจตนาจะยึดถือที่ดินพิพาทไว้แทน บ. อีกต่อไป