คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขาดทุน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1375/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายปอฟอกกับการแบ่งกำไร ไม่เป็นสัญญาเข้าหุ้นส่วน หากผู้ขายไม่รับความเสี่ยงขาดทุน
เอกสารหมาย จ.1 ถึง จ.4 เป็นเรื่องโจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายปอฟอกกัน แม้เอกสารหมาย จ.1 มีข้อความตอนหนึ่งว่า "ปอจำนวนนี้ ข้าฯ จะส่งมาภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2509 เมื่อส่งครบจำนวนแล้ว คิดตามราคาท้องตลาดเสร็จแล้วหักทุนออก เหลือเท่าไรจึงแบ่งฝ่ายละครึ่งของผลกำไร" ก็ตาม ก็เป็นข้อตกลงอีกอันหนึ่งว่า ภายหลังที่ขายปอให้กันแล้ว โจทก์ (ผู้ซื้อ) จะต้องแบ่งกำไรให้จำเลย (ผู้ขาย) ด้วยเท่านั้น หาทำให้สัญญาซื้อขายกลายเป็นสัญญาเข้าหุ้นส่วนไปไม่ เพราะจำเลยยอมรับแต่ผลกำไรฝ่ายเดียว เมื่อขาดทุนไม่ต้องออกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1375/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายปอฟอกที่มีข้อตกลงแบ่งกำไร ไม่ถือเป็นสัญญาเข้าหุ้นส่วน หากผู้ขายไม่รับผิดชอบขาดทุน
เอกสารหมาย จ.1 ถึง จ.4 เป็นเรื่องโจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายปอฟอกกัน แม้เอกสารหมาย จ.1 มีข้อความตอนหนึ่งว่า 'ปอจำนวนนี้ ข้าฯ จะส่งมาภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2509 เมื่อส่งครบจำนวนแล้วคิดตามราคาท้องตลาดเสร็จแล้วหักทุนออก เหลือเท่าไรจึงแบ่งฝ่ายละครึ่งของผลกำไร' ก็ตาม ก็เป็นข้อตกลงอีกอันหนึ่งว่า ภายหลังที่ขายปอให้กันแล้ว โจทก์ (ผู้ซื้อ) จะต้องแบ่งกำไรให้จำเลย(ผู้ขาย) ด้วยเท่านั้นหาทำให้สัญญาซื้อขายกลายเป็นสัญญาเข้าหุ้นส่วนไปไม่ เพราะจำเลยยอมรับแต่ผลกำไรฝ่ายเดียว เมื่อขาดทุนไม่ต้องออกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1804/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดชอบในการก่อสร้างตึกเมื่อสัญญาเช่าระบุสถานะ 'กำลังก่อสร้าง' และการขาดเงินทุนของผู้รับเหมา
จำเลยทำสัญญากับ ว.และท. ให้คนทั้งสองออกทุนทำการก่อสร้างตึกแถวลงบนที่ดินของจำเลย. จำเลยยอมให้ผู้ก่อสร้างนำอาคารออกเรียกเงินกินเปล่า. และจำเลยจะทำสัญญาให้เช่าแก่บุคคลที่ผู้รับก่อสร้างนำมา. ต่อมาด้วยความยินยอมของ ว.และท.. จำเลยนำอาคารที่กำลังก่อสร้างมาให้โจทก์เช่า เนื่องจาก ว.และท.ขาดเงินที่จะใช้ทำการก่อสร้างต่อไป. ว.และท.จึงกู้เงินโจทก์ 200,000บาท. โจทก์เกี่ยงจะได้หลักประกัน. ในที่สุดได้มีการโอนสิทธิการเช่าตึก 10 ห้องที่ยังสร้างไม่เสร็จให้โจทก์. โดยวิธีให้โจทก์ทำสัญญาเช่ากับจำเลยโดยตรง. การที่จำเลยยอมทำสัญญาเช่ากับโจทก์โดยสัญญาระบุไว้ว่า เช่าตึกแถวที่กำลังก่อสร้าง. เป็นการยืนยันให้เห็นว่าจำเลยไม่รับรู้ในเรื่องที่ว่าจะได้มีการก่อสร้างตึกให้แล้วเสร็จหรือไม่. ทั้งในสัญญาเช่าก็ไม่ได้ระบุว่าถ้าตึกสร้างไม่เสร็จจะมีผลประการใด. การที่ตึกแถวสร้างไม่แล้วเสร็จ. ไม่ใช่ความผิดของจำเลย. โจทก์จะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 556/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนค้าไม้ไผ่: การตกลงแบ่งกำไรและขาดทุน, ความรับผิดชอบในหนี้
โจทก์จำเลยตกลงกันเข้าหุ้นค้าไม้ไผ่ โดยโจทก์ลงทุนเป็นเงิน จำเลยลงแรง จะแบ่งกำไรกันคนละครึ่ง เป็นการเข้าหุ้นส่วนกันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1012 แล้ว แม้เรื่องการขาดทุนจะมิได้ตกลงกันไว้ ก็หาเป็นข้อสำคัญไม่
แม้จำเลยจะว่า เมื่อได้กำไร จำเลยจึงจะแบ่งให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง ทุนจะคืนโจทก์ ถ้าขาดทุนจำเลยก็จะใช้ให้โจทก์จนครบ จะไม่ยอมให้โจทก์ขาดทุน นั้นก็เป็นเพียงแต่คำรับรองต่อโจทก์เท่านั้น มิใช่ว่า กรณีไม่เข้ามาตรา 1025อันโจทก์จะไม่ต้องรับผิดชอบสำหรับหนี้ของหุ้นส่วนต่อบุคคลภายนอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 744/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกหุ้นส่วนกรณีขาดทุน: ไม่ต้องรอสิ้นรอบปี หรือบอกกล่าวล่วงหน้า หากมีเหตุเสียหา
การบอกเลิกหุ้นส่วน ในกรณีที่ขาดทุนจะทำต่อไป ก็มีแต่จะขาดทุนไม่มีหวังฟื้นตัวได้ตาม ม. 1057 ย่อมฟ้องร้องได้ทันที ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือคอยสิ้นระยะปีหนึ่งในการบัญชี ดังที่บัญญัติไว้ใน ม. 1056 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 744/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกหุ้นส่วนกรณีขาดทุน: ไม่ต้องรอสิ้นปีบัญชีหรือบอกกล่าวล่วงหน้า หากมีเหตุเสียหายร้ายแรง
การบอกเลิกหุ้นส่วนในกรณีที่ขาดทุนจะทำต่อไปก็มีแต่จะขาดทุนไม่มีหวังฟื้นตัวได้ตาม มาตรา1057 ย่อมฟ้องร้องได้ทันที ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือคอยสิ้นระยะปีหนึ่งในการบัญชีดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 1056 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1075/2479

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสเมื่อทุนเดิมหมดไป ศาลเฉลี่ยสินสมรสใช้ทุนเดิมตามส่วน
สามีภรรยาหย่ากัน ถ้าทุนสินเดิมของทั้ง 2 ฝ่ายหมดไปแลสินสมรสที่เกิดขึ้นไม่ท่วมทุนสินเดิมให้เอาสินสมรสเฉลี่ยใช้สินเดิมของทั้ง 2 ฝ่ายตามส่วนมากและน้อย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8454/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดเนื่องจากขาดทุนและข้อพิพาทระหว่างหุ้นส่วน
ผู้ร้องบรรยายคำร้องขอขอให้ศาลมีคำสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. โดยเหตุกิจการของห้างที่จะทำไปก็มีแต่ขาดทุนอย่างเดียวและไม่มีหวังว่าจะกลับฟื้นตัวได้อีก และผู้เป็นหุ้นส่วนดำเนินคดีฟ้องร้องกันหลายเรื่องจนไม่สามารถจะร่วมทำกิจการต่อไปได้ ทั้งผู้ร้องยกเลิกสัมปทานค้าขายน้ำมัน รื้อถอนถังบรรจุน้ำมันและตู้จ่ายน้ำมันคืนแก่บริษัท อ. ไปแล้ว อันเป็นเหตุทำให้ห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรงอยู่ต่อไปได้ ซึ่งเป็นเหตุตาม ป.พ.พ. มาตรา 1057 (2) และ (3) หาได้อ้างเหตุผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งล่วงละเมิดบทบังคับใด ๆ อันเป็นข้อสาระสำคัญซึ่งสัญญาหุ้นส่วนกำหนดไว้แก่ตนโดยจงใจหรือเลินเล่ออย่างร้ายแรงตามมาตรา 1057 (1) ไม่ เช่นนี้ ไม่ว่าผู้ร้องจะเป็นผู้ล่วงละเมิดบทบังคับใด ๆ อันเป็นข้อสาระสำคัญซึ่งสัญญาหุ้นส่วนกำหนดไว้แก่ตนโดยจงใจหรือเลินเล่ออย่างร้ายแรงตามมาตรา 1057 (1) ดังที่ผู้คัดค้านฎีกาหรือไม่ ผู้ร้องก็มีอำนาจยื่นคำร้องขอในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13807-13808/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากภาวะขาดทุนและการลดต้นทุน จำเป็นต้องมีเหตุผลอันสมควรและไม่เป็นการกลั่นแกล้ง
จำเลยมีการขาดทุนสะสมมาโดยตลอด กระทั่งปี 2548 ปรากฏการขาดทุนสะสม 719,120,984 บาท โจทก์ทั้งสองมีความเหน็ดเหนื่อยจากการทำงานมาก จำเลยจึงต้องจ้างพนักงานขับรถบรรทุกเพิ่มอีกหนึ่งคนเป็นเหตุให้จำเลยมีค่าใช้จ่ายส่วนนี้เพิ่มขึ้นจึงได้ทำตารางเปรียบเทียบผลต่างเฉลี่ยต่อเดือนและต่อปี ซึ่งแสดงถึงเงินเดือน รายได้ และสวัสดิการของโจทก์ทั้งสองและพนักงานขับรถบรรทุกอีกหนึ่งคน เปรียบเทียบกับการจ้างพนักงานขับรถบรรทุกจากบริษัทรับเหมาภายนอก ซึ่งแสดงให้เห็นได้ว่าหากจำเลยจ้างพนักงานขับรถบรรทุกจากบริษัทเหมาภายนอกเพียงสองคน แทนการจ้างโจทก์ทั้งสองและพนักงานขับรถบรรทุกที่ต้องขับช่วยโจทก์ทั้งสองอีกหนึ่งคน เมื่อนับจากขณะทำเอกสารไปจนถึงเกษียณอายุการทำงานเมื่ออายุครบ 60 ปี จำเลยจะสามารถลดค่าใช้จ่ายได้รวม 7,978,598 บาท อันเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเลยต้องคำนึงถึงเพื่อลดส่วนของการขาดทุนสะสมลงเพื่อความอยู่รอดของจำเลยโดยมิได้กระทำไปเพื่อกลั่นแกล้งโจทก์ จึงมีเหตุผลอันสมควรและเพียงพอที่จำเลยสามารถเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองได้โดยมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3316/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอคืนค่าหุ้นสมาชิกสหกรณ์ที่ขาดทุนสะสม และการปฏิบัติตามคำสั่งนายทะเบียน
จำเลยจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542 การพิจารณาสิทธิของโจทก์ที่จะขอคืนเงินค่าหุ้นที่ได้ชำระไปแล้วจึงต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542 และข้อบังคับของจำเลยตลอดจนคำสั่งของนายทะเบียนสหกรณ์ โดยในเรื่องการจ่ายคืนค่าหุ้นนั้น แม้สหกรณ์แต่ละแห่งสามารถกำหนดในข้อบังคับของตนเองได้ตามมาตรา 34 (4) ประกอบมาตรา 43 (5) ก็ตาม แต่ทั้งนี้ในการดำเนินกิจการของสหกรณ์ยังคงตกอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายทะเบียนสหกรณ์เพื่อให้กิจการสามารถดำเนินลุล่วงไปได้อย่างมั่นคงเพื่อประโยชน์ของสหกรณ์ เมื่อความปรากฏตามรายงานผลการตรวจสอบบัญชีว่า จำเลยมีผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิติดต่อกันเป็นเวลา 9 ปี มียอดขาดทุนสะสม 188,292,559.62 บาท มีหนี้สินหมุนเวียนสูงกว่ายอดรวมสินทรัพย์ 206,667,002.51 บาท อันต้องด้วยกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ที่ 278/2549 การที่จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2557 จึงเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อปฏิบัติตามคำสั่งและคำแนะนำของนายทะเบียนสหกรณ์ดังกล่าวซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 16 (8) และมาตรา 22 (2) โดยเฉพาะคำสั่งของนายทะเบียนสหกรณ์ตามมาตรา 22 นี้ หากมีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมีโทษทางอาญาตามมาตรา 132 ข้อบังคับของจำเลยที่ได้มีการแก้ไขเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2557 จึงเป็นไปโดยชอบ
การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเรื่องการคืนเงินค่าหุ้นเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนสหกรณ์ที่ 278/2549 มิใช่คำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ที่ สสพ.288/2559 โจทก์เกษียณอายุปี 2558 และขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสหกรณ์จำเลยเมื่อปี 2559 อันเป็นเวลาภายหลังจากจำเลยแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับแล้ว สิทธิของโจทก์ที่จะขอคืนเงินค่าหุ้นจึงต้องตกอยู่ภายใต้ข้อบังคับของจำเลยที่ใช้อยู่ในเวลาที่ขอลาออกจากการเป็นสมาชิก
เงินค่าหุ้นมีลักษณะเป็นทุนของสหกรณ์ เมื่อสมาชิกจ่ายให้แก่สหกรณ์แล้วย่อมตกเป็นทุนของสหกรณ์ซึ่งสหกรณ์สามารถนำไปดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของตน เช่น การให้กู้ ให้สินเชื่อ หรือให้ยืมทรัพย์สินได้ตามความในบทบัญญัติมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542 เงินสะสมทุนเรือนหุ้นจึงมิใช่เงินฝากหรือการฝากทรัพย์ที่สมาชิกมีสิทธิจะถอนคืนต้นเงินฝากได้เต็มจำนวน หากแต่ถือเป็นการลงทุนซึ่งสมาชิกมีโอกาสได้รับผลประโยชน์ตอบแทนตามสัดส่วนของการลงทุน ในทางกลับกันหากผลการดำเนินงานขาดทุน การจ่ายคืนค่าหุ้นกรณีสมาชิกลาออกก็ต้องนำทุนเรือนหุ้นที่ชำระไปทั้งหมดมาคำนวณเพื่อให้เป็นมูลค่าปัจจุบันโดยสมาชิกต้องรับผิดชอบในส่วนที่ขาดทุนด้วย ดังนี้ หลักเกณฑ์การคำนวณมูลค่าหุ้นตามที่นายทะเบียนสหกรณ์ให้คำแนะนำไว้ท้ายคำสั่งนายทะเบียนที่ 278/2549 ซึ่งจำเลยได้นำมากำหนดไว้ในข้อบังคับจึงหาใช่เป็นการออกข้อบังคับไม่เป็นธรรม เมื่อปรากฏตามรายงานผลการตรวจสอบบัญชีของจำเลยสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 ว่า ข้อบังคับของจำเลยข้อที่ 44 กำหนดให้จำเลยชะลอการจ่ายคืนค่าหุ้นของสมาชิกที่ขาดจากการเป็นสมาชิกภาพแล้ว โดยจำเลยจะต้องคำนวณมูลค่าหุ้นจ่ายคืนให้เป็นปัจจุบันทุกปี และสหกรณ์จำเลยสามารถปิดงบการเงินประจำปีได้จนถึงปี 2557 ซึ่งมูลค่าต่อหุ้นของจำเลยมีมูลค่าติดลบ 32.35 บาท หลังจากนั้นจนถึงปี 2562 (ปีที่โจทก์ยื่นฟ้อง) ยังไม่สามารถปิดงบการเงินประจำปีได้ เช่นนี้ แม้จำเลยจะประสบภาวะขาดทุนทำให้จำเลยไม่สามารถจ่ายคืนค่าหุ้นให้แก่โจทก์ที่พ้นจากสมาชิกภาพในเวลาที่โจทก์ขอคืนค่าหุ้นได้ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ทำให้สิทธิของโจทก์ในกรณีนี้เป็นอันระงับสิ้นไปเลยทีเดียว เพราะหากภายภาคหน้าสหกรณ์จำเลยสามารถแก้ไขภาวะขาดทุนสะสมได้แล้ว หรือสามารถจ่ายเงินค่าหุ้นได้เมื่อใด โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะได้รับคืนเงินค่าหุ้นอยู่เมื่อนั้น จึงชอบที่จะให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ได้
of 5