พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1700/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของผู้ฟ้องคดีที่ส่งเสริมการขายทรัพย์สินตามพินัยกรรมแล้วกลับฟ้องคัดค้านการแบ่งเงิน
พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชมีผลเด็ดขาดเป็นกฎหมาย เมื่อมิได้มีพระบรมราชโองการของพระองค์ท่านเองหรืออำนาจเด็ดขาดอื่นใดยกเลิกเพิกถอนพระบรมราชโองการดังกล่าวก็ยังมีผลอยู่ กฎหมายทั่วไปในปัจจุบันหาลบล้างพระบรมราชโองการนั้นไม่
พินัยกรรมซึ่งพระมหากษัตริย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชได้มีพระบรมราชโองการสลักหลังให้ใช้ได้เหมือนพินัยกรรมที่ได้ทำถูกต้องตามพระราชกำหนดกฎหมาย ย่อมมีผลใช้บังคับให้เป็นไปตามข้อกำหนดในพินัยกรรมนั้นได้ตลอดมา ศาลจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยปัญหาที่ว่าพินัยกรรมนั้นจะมีข้อกำหนดที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือไม่ เพราะศาลจะพิพากษาให้ผิดไปจากพินัยกรรมนั้นไม่ได้
การที่โจทก์ได้ร่วมรู้เห็นยินยอมให้ผู้จัดการมรดกขายที่ดินตามพินัยกรรมเพื่อนำเงินมาแบ่งแก่ทายาท โดยโจทก์ยอมรับเอาเงินส่วนแบ่งเช่นเดียวกับทายาทอื่น และโจทก์เองเป็นผู้วิ่งเต้นขอปลดเปลื้องข้อกำหนดแห่งพินัยกรรมที่ห้ามขายที่ดินนั้นเพื่อรับประโยชน์ตอบแทนเป็นพิเศษนอกเหนือจากส่วนแบ่งและยังอาศัยเป็นเครื่องมือเรียกร้องผลประโยชน์จากผู้ซื้อที่ดินจนได้รับผลสมประสงค์ แล้วโจทก์กลับมาฟ้องขอให้ห้ามผู้จัดการมรดกแบ่งเงินแก่ทายาท แต่ให้นำเงินไปซื้อที่ดินอื่นแทนตามข้อกำหนดในพินัยกรรม เป็นการอาศัยศาลกลั่นแกล้งผู้จัดการมรดกและทายาทอื่นให้เดือดร้อนเสียหายถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
พินัยกรรมซึ่งพระมหากษัตริย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชได้มีพระบรมราชโองการสลักหลังให้ใช้ได้เหมือนพินัยกรรมที่ได้ทำถูกต้องตามพระราชกำหนดกฎหมาย ย่อมมีผลใช้บังคับให้เป็นไปตามข้อกำหนดในพินัยกรรมนั้นได้ตลอดมา ศาลจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยปัญหาที่ว่าพินัยกรรมนั้นจะมีข้อกำหนดที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือไม่ เพราะศาลจะพิพากษาให้ผิดไปจากพินัยกรรมนั้นไม่ได้
การที่โจทก์ได้ร่วมรู้เห็นยินยอมให้ผู้จัดการมรดกขายที่ดินตามพินัยกรรมเพื่อนำเงินมาแบ่งแก่ทายาท โดยโจทก์ยอมรับเอาเงินส่วนแบ่งเช่นเดียวกับทายาทอื่น และโจทก์เองเป็นผู้วิ่งเต้นขอปลดเปลื้องข้อกำหนดแห่งพินัยกรรมที่ห้ามขายที่ดินนั้นเพื่อรับประโยชน์ตอบแทนเป็นพิเศษนอกเหนือจากส่วนแบ่งและยังอาศัยเป็นเครื่องมือเรียกร้องผลประโยชน์จากผู้ซื้อที่ดินจนได้รับผลสมประสงค์ แล้วโจทก์กลับมาฟ้องขอให้ห้ามผู้จัดการมรดกแบ่งเงินแก่ทายาท แต่ให้นำเงินไปซื้อที่ดินอื่นแทนตามข้อกำหนดในพินัยกรรม เป็นการอาศัยศาลกลั่นแกล้งผู้จัดการมรดกและทายาทอื่นให้เดือดร้อนเสียหายถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1699/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการทรัพย์สินตามพินัยกรรม: ผู้จัดการมรดกต้องซื้อที่ดินทดแทนหากขายทรัพย์สินตามพินัยกรรม
พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์มีผลเด็ดขาดตามกฎหมาย เมื่อมิได้มีพระบรมราชโองการของพระองค์ท่านเองหรืออำนาจเด็ดขาดอื่นใดยกเลิกเพิกถอนพระบรมราชโองการนั้นย่อมยังมีผลอยู่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 681/2481)
พินัยกรรมซึ่งเจ้ามรดกทำไว้เมื่อปี พ.ศ. 2460 และมีพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์สลักหลังท้ายพินัยกรรมให้เป็นอันใช้ได้เหมือนพินัยกรรมที่ได้ทำถูกต้องตามพระราชกำหนดกฎหมายทุกประการ ห้ามมิให้ผู้พิพากษารับฟ้องพิพากษาความอันเกี่ยวข้องด้วยทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดกให้ผิดจากพินัยกรรมดังนี้ พินัยกรรมนั้นย่อมมีผลตามกฎหมายที่ยังใช้บังคับให้เป็นไปตามข้อกำหนดในพินัยกรรมนั้นอยู่ได้ตลอดมา ศาลจะพิพากษาความอันเกี่ยวข้องด้วยทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดกให้ผิดจากพินัยกรรมเป็นการขัดพระบรมราชโองการหาได้ไม่
พินัยกรรมซึ่งได้รับพระราชทานพระบรมราชโองการดังกล่าวแล้วกำหนดให้ที่ดินที่ระบุของเจ้ามรดกคงเป็นสมบัติของเจ้ามรดกอยู่เสมอไปและให้มีผู้ดูแลรักษาที่ดินนั้นไว้เป็นที่อยู่อาศัยแก่วงศ์ญาติผู้หาที่อยู่ไม่ได้แต่ผู้ที่อยู่อาศัยไม่มีกรรมสิทธิ์ หากจำเป็นต้องขายหรือแลกเปลี่ยนที่ดินด้วยความประสงค์แห่งรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ผู้จัดการ(มรดก)เอาเงินนั้นหาซื้อที่อื่นและจัดการให้เป็นไปตามความประสงค์ในพินัยกรรมโดยดีที่สุดที่จะทำได้ ดังนี้เมื่อผู้จัดการมรดกขายที่ดินดังกล่าวไปก็มีหน้าที่ต้องนำเงินไปซื้อที่ใหม่เพื่อให้วงศ์ญาติของเจ้ามรดกได้อยู่อาศัยตามข้อกำหนดในพินัยกรรม จะนำเงินที่ได้จากการขายที่ดินมาแบ่งให้แก่ทายาทเพื่อไปจัดซื้อที่อยู่ใหม่เอาเองหาได้ไม่เพราะมีผลเท่ากับถือเอาว่าทายาทผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งเป็นผู้มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว ซึ่งทำให้ที่ดินที่กำหนดไว้ตามพินัยกรรมให้เป็นที่อยู่อาศัยของวงศ์ญาติต้องสลายตัวไป แม้จะมีเจตนาแบ่งเงินให้ทายาทเพื่อไปจัดซื้อที่อยู่อาศัยใหม่เอาเอง ที่ดินที่ซื้อใหม่ก็เปลี่ยนสภาพมิใช่เป็นที่รวมสำหรับวงศ์ญาติอาศัยอยู่ แต่กลายเป็นกรรมสิทธิ์ของทายาทผู้ซื้อแต่ละคนซึ่งมีอำนาจหวงกันมิให้ทายาทหรือวงศ์ญาติอื่นๆ เข้าไปอยู่อาศัยอันเป็นการขัดต่อข้อกำหนดแห่งพินัยกรรม
การที่ผู้จัดการมรดกขายที่ดินที่ระบุในพินัยกรรมไปและต้องเอาเงินที่ขายได้จัดหาซื้อที่อื่นและจัดการให้เป็นไปตามความประสงค์นั้นเป็นการหาที่ดินมาแทนที่ดินที่ขายไปซึ่งผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนดในพินัยกรรมซึ่งยังมีผลใช้บังคับอยู่หาใช่เป็นการก่อตั้งทรัสต์ขึ้นใหม่ในขณะนี้นอกเหนือจากข้อกำหนดในพินัยกรรมไม่ จึงนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1686มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ไม่ได้
ข้อความในพินัยกรรมดังกล่าวแล้ว ที่กำหนดให้ที่ดินที่ระบุไว้เป็นอาศัยสถานแก่วงศ์ญาตินั้น เจ้ามรดกมีเจตนาที่จะให้ที่ดินนั้นเป็นที่รวมสำหรับวงศ์ญาติ ผู้ไม่มีที่อยู่อาศัยจะได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยต่อไปซึ่งหมายถึงทั้งวงศ์ญาติที่มีตัวอยู่ในขณะเจ้ามรดกถึงแก่กรรมและที่เกิดมาในเวลาข้างหน้า โดยไม่ประสงค์ให้ใครถือเอาที่ดินนั้นเป็นของตน และเพื่อมิให้ขัดกับหลักกฎหมายในเรื่องกรรมสิทธิ์และมรดกและให้มีผลบังคับได้ เจ้ามรดกจึงได้นำพินัยกรรมขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อขอพระราชทานพระบรมราชโองการเพื่อจะได้มีผลใช้บังคับได้ตลอดไปโจทก์เป็นเหลนของเจ้ามรดกแม้จะเกิดหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้วโจทก์ก็เป็นวงศ์ญาติคนหนึ่งที่มีส่วนจะได้รับประโยชน์ในการเข้าอยู่อาศัยในที่ดินตามที่กำหนดไว้ในพินัยกรรม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้จัดการมรดกที่มิได้จัดการมรดกให้เป็นไปตามพินัยกรรมเพื่อรักษาประโยชน์ของโจทก์ในฐานะวงศ์ญาติคนหนึ่งที่อาจได้รับความเสียหายจากการกระทำของผู้จัดการมรดกได้
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11-16/2515)
พินัยกรรมซึ่งเจ้ามรดกทำไว้เมื่อปี พ.ศ. 2460 และมีพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์สลักหลังท้ายพินัยกรรมให้เป็นอันใช้ได้เหมือนพินัยกรรมที่ได้ทำถูกต้องตามพระราชกำหนดกฎหมายทุกประการ ห้ามมิให้ผู้พิพากษารับฟ้องพิพากษาความอันเกี่ยวข้องด้วยทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดกให้ผิดจากพินัยกรรมดังนี้ พินัยกรรมนั้นย่อมมีผลตามกฎหมายที่ยังใช้บังคับให้เป็นไปตามข้อกำหนดในพินัยกรรมนั้นอยู่ได้ตลอดมา ศาลจะพิพากษาความอันเกี่ยวข้องด้วยทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดกให้ผิดจากพินัยกรรมเป็นการขัดพระบรมราชโองการหาได้ไม่
พินัยกรรมซึ่งได้รับพระราชทานพระบรมราชโองการดังกล่าวแล้วกำหนดให้ที่ดินที่ระบุของเจ้ามรดกคงเป็นสมบัติของเจ้ามรดกอยู่เสมอไปและให้มีผู้ดูแลรักษาที่ดินนั้นไว้เป็นที่อยู่อาศัยแก่วงศ์ญาติผู้หาที่อยู่ไม่ได้แต่ผู้ที่อยู่อาศัยไม่มีกรรมสิทธิ์ หากจำเป็นต้องขายหรือแลกเปลี่ยนที่ดินด้วยความประสงค์แห่งรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ผู้จัดการ(มรดก)เอาเงินนั้นหาซื้อที่อื่นและจัดการให้เป็นไปตามความประสงค์ในพินัยกรรมโดยดีที่สุดที่จะทำได้ ดังนี้เมื่อผู้จัดการมรดกขายที่ดินดังกล่าวไปก็มีหน้าที่ต้องนำเงินไปซื้อที่ใหม่เพื่อให้วงศ์ญาติของเจ้ามรดกได้อยู่อาศัยตามข้อกำหนดในพินัยกรรม จะนำเงินที่ได้จากการขายที่ดินมาแบ่งให้แก่ทายาทเพื่อไปจัดซื้อที่อยู่ใหม่เอาเองหาได้ไม่เพราะมีผลเท่ากับถือเอาว่าทายาทผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งเป็นผู้มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว ซึ่งทำให้ที่ดินที่กำหนดไว้ตามพินัยกรรมให้เป็นที่อยู่อาศัยของวงศ์ญาติต้องสลายตัวไป แม้จะมีเจตนาแบ่งเงินให้ทายาทเพื่อไปจัดซื้อที่อยู่อาศัยใหม่เอาเอง ที่ดินที่ซื้อใหม่ก็เปลี่ยนสภาพมิใช่เป็นที่รวมสำหรับวงศ์ญาติอาศัยอยู่ แต่กลายเป็นกรรมสิทธิ์ของทายาทผู้ซื้อแต่ละคนซึ่งมีอำนาจหวงกันมิให้ทายาทหรือวงศ์ญาติอื่นๆ เข้าไปอยู่อาศัยอันเป็นการขัดต่อข้อกำหนดแห่งพินัยกรรม
การที่ผู้จัดการมรดกขายที่ดินที่ระบุในพินัยกรรมไปและต้องเอาเงินที่ขายได้จัดหาซื้อที่อื่นและจัดการให้เป็นไปตามความประสงค์นั้นเป็นการหาที่ดินมาแทนที่ดินที่ขายไปซึ่งผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนดในพินัยกรรมซึ่งยังมีผลใช้บังคับอยู่หาใช่เป็นการก่อตั้งทรัสต์ขึ้นใหม่ในขณะนี้นอกเหนือจากข้อกำหนดในพินัยกรรมไม่ จึงนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1686มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ไม่ได้
ข้อความในพินัยกรรมดังกล่าวแล้ว ที่กำหนดให้ที่ดินที่ระบุไว้เป็นอาศัยสถานแก่วงศ์ญาตินั้น เจ้ามรดกมีเจตนาที่จะให้ที่ดินนั้นเป็นที่รวมสำหรับวงศ์ญาติ ผู้ไม่มีที่อยู่อาศัยจะได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยต่อไปซึ่งหมายถึงทั้งวงศ์ญาติที่มีตัวอยู่ในขณะเจ้ามรดกถึงแก่กรรมและที่เกิดมาในเวลาข้างหน้า โดยไม่ประสงค์ให้ใครถือเอาที่ดินนั้นเป็นของตน และเพื่อมิให้ขัดกับหลักกฎหมายในเรื่องกรรมสิทธิ์และมรดกและให้มีผลบังคับได้ เจ้ามรดกจึงได้นำพินัยกรรมขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อขอพระราชทานพระบรมราชโองการเพื่อจะได้มีผลใช้บังคับได้ตลอดไปโจทก์เป็นเหลนของเจ้ามรดกแม้จะเกิดหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้วโจทก์ก็เป็นวงศ์ญาติคนหนึ่งที่มีส่วนจะได้รับประโยชน์ในการเข้าอยู่อาศัยในที่ดินตามที่กำหนดไว้ในพินัยกรรม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้จัดการมรดกที่มิได้จัดการมรดกให้เป็นไปตามพินัยกรรมเพื่อรักษาประโยชน์ของโจทก์ในฐานะวงศ์ญาติคนหนึ่งที่อาจได้รับความเสียหายจากการกระทำของผู้จัดการมรดกได้
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11-16/2515)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1005/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทรัพย์สินที่ได้มาโดยมิได้มุ่งค้าหรือหากำไร ต้องแสดงรายการในแบบ ภ.ง.ด.9 หากมีมูลค่าเกิน 10,000 บาท จึงจะได้รับการยกเว้นภาษี
ผู้ที่ขายทรัพย์สินที่มีหลักฐานทางทะเบียน ซึ่งเงินที่ได้จากการขายนั้นมีจำนวนตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป แม้การได้ทรัพย์สินนั้นมาและขายไปนั้นมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดไว้โดยอนุมัติรัฐมนตรีกล่าวคือต้องแสดงรายการตามที่กำหนดไว้ในข้อ 14 แห่งแบบ ภ.ง.ด. 9 มิฉะนั้นจะไม่ได้รับยกเว้นให้ไม่ต้องนำเงินได้จากการขายทรัพย์สินนั้นมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 16/2514)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1005/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทรัพย์สินที่ไม่มุ่งหากำไร ต้องแสดงรายการใน ภ.ง.ด.9 หากมีมูลค่าเกิน 10,000 บาท จึงจะได้รับการยกเว้นภาษี
ผู้ที่ขายทรัพย์สินที่มีหลักฐานทางทะเบียน ซึ่งเงินที่ได้จากการขายนั้นมีจำนวนตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป แม้การได้ทรัพย์สินนั้นมาและขายไปนั้นมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดไว้โดยอนุมัติรัฐมนตรีกล่าวคือต้องแสดงรายการตามที่กำหนดไว้ในข้อ 14 แห่งแบบ ภ.ง.ด.9.มิฉะนั้นจะไม่ได้รับยกเว้นให้ไม่ต้องนำเงินได้จากการขายทรัพย์สินนั้นมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 16/2514)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 907/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ: แม้มีการให้เช่า/ขายทรัพย์สิน ห้างหุ้นส่วนยังไม่เลิกจนกว่าจะตกลงเลิกกัน
โจทก์จำเลยกับพี่น้องทำสัญญาหุ้นส่วนโรงสีได้ดำเนินกิจการเรื่อยมาโดยจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จนถึง พ.ศ. 2498 หรือ พ.ศ. 2499 ได้ให้บริษัท ข. เช่าไป แม้ พ.ศ. 2509 จำเลยจะได้ขายโรงสีให้แก่บริษัท ข. ก็ตาม ห้างหุ้นส่วนสามัญนี้ยังอยู่มิได้เลิกกัน โจทก์ฟ้องขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนสามัญนี้ได้เสมอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับที่ดินเป็นทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วน ทำให้มีอำนาจขายได้หลังเลิกห้าง
จำเลยทั้งสามให้การร่วมกันว่า ที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้จำเลยที่ 2,3 ซึ่งเป็นบุตรจำเลยที่ 1 ไม่ได้ทำผิดข้อบังคับของห้างหุ้นส่วน. เพราะจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ถอนเอาที่ดินคืนออกจากห้างหุ้นส่วนเลย. โจทก์ก็ทราบแล้วและไม่คัดค้าน. ดังนี้ ตามคำให้การของจำเลยทั้ง 3 เป็นการยอมรับว่าที่ดินนั้นยังคงเป็นของห้างหุ้นส่วนอยู่. แม้จะมีชื่อจำเลยที่ 2,3 ถือกรรมสิทธิ์.จำเลยก็หาได้โต้แย้งไม่ว่าที่ดินนั้นเป็นของจำเลยไม่ใช่ของห้างหุ้นส่วน. จำเลยจะมาโต้เถียงภายหลังว่าที่ดินไม่ใช่ของห้างหุ้นส่วนย่อมไม่ได้.
ที่ดินเป็นของห้างหุ้นส่วน เมื่อเลิกห้างหุ้นส่วนและมีการชำระบัญชีกัน. ผู้ชำระบัญชีก็มีอำนาจที่จะขายทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนเอาเงินชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ได้.
จำเลยให้การรับว่า ที่ดินยังเป็นของห้างหุ้นส่วนอยู่.เมื่อคู่ความตกลงกันให้ตั้งผู้ชำระบัญชี. และให้ขายทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมดเพื่อนำเงินมาแบ่งกัน.ดังนี้ แสดงว่าจำเลยตกลงยอมให้ขายที่ดินซึ่งเป็นของห้างหุ้นส่วนด้วย. จำเลยจะมาอ้างภายหลังว่าขณะนั้นยังไม่ทราบว่าผู้ชำระบัญชีจะเอาที่ดินเป็นของห้างหุ้นส่วนด้วยหรือไม่. ย่อมฟังไม่ขึ้น.และเมื่อจำเลยตกลงยอมให้ขายทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมดแล้ว. ก็ถือได้ว่าจำเลยสละสิทธิที่จะถอนหุ้นเอาที่ดินของตนคืน.
ที่ดินเป็นของห้างหุ้นส่วน เมื่อเลิกห้างหุ้นส่วนและมีการชำระบัญชีกัน. ผู้ชำระบัญชีก็มีอำนาจที่จะขายทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนเอาเงินชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ได้.
จำเลยให้การรับว่า ที่ดินยังเป็นของห้างหุ้นส่วนอยู่.เมื่อคู่ความตกลงกันให้ตั้งผู้ชำระบัญชี. และให้ขายทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมดเพื่อนำเงินมาแบ่งกัน.ดังนี้ แสดงว่าจำเลยตกลงยอมให้ขายที่ดินซึ่งเป็นของห้างหุ้นส่วนด้วย. จำเลยจะมาอ้างภายหลังว่าขณะนั้นยังไม่ทราบว่าผู้ชำระบัญชีจะเอาที่ดินเป็นของห้างหุ้นส่วนด้วยหรือไม่. ย่อมฟังไม่ขึ้น.และเมื่อจำเลยตกลงยอมให้ขายทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมดแล้ว. ก็ถือได้ว่าจำเลยสละสิทธิที่จะถอนหุ้นเอาที่ดินของตนคืน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทรัพย์สินล้มละลายนอกการขายทอดตลาด ต้องแจ้งกรรมการเจ้าหนี้เป็นหัวข้อประชุมชัดเจน เพื่อความชอบธรรมทางกฎหมาย
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขายทรัพย์สินที่รวบรวมได้มาโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดนั้น เป็นข้อยกเว้นจากหลักทั่วไป จึงต้องแปลความโดยเคร่งครัด โดยต้องแจ้งให้กรรมการเจ้าหนี้ทราบล่วงหน้าโดยระบุเป็นหัวข้อประชุมให้ชัดแจ้ง ฉะนั้น เมื่อแจ้งความนัดประชุมของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ครบถ้วนและกรรมการเจ้าหนี้บางคนไม่ได้ไปประชุมเพราะป่วยหรือไม่ได้รับหมายนัดประชุมแล้ว มติของที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้ที่ให้ขายทรัพย์โดยวิธีอื่นนั้น จึงหาชอบด้วยกฎหมายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1210/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงในสัญญาเช่าให้สิทธิผู้ให้เช่าขายทรัพย์สินและให้ผู้เช่ามีสิทธิซื้อก่อน หากไม่ซื้อถือเป็นการยินยอมให้เช่าสิ้นสุด
ในสัญญาเช่า โจทก์จำเลยตกลงกันไว้ว่า "ถ้าผู้ให้เช่าตกลงขายทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้ใดก่อนครบกำหนดการเช่าตามสัญญาแล้ว ผู้ให้เช่าจะแจ้งให้ผู้เช่าทราบล่วงหน้าเพื่อผู้เช่าเตรียมตัวออกจากทรัพย์สินที่เชาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองเดือน และผู้ให้เช่าจะต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบด้วยว่าจะตกลงขายให้แก่ผู้ใดเป็นเงินเท่าใด เพื่อผู้เช่าจะได้มีโอกาสตกลงซื้อได้ก่อนในเมื่อเห็นว่าเป็นราคาสมควร ฯลฯ" ไม่ถือว่าเป็นความยินยอมไว้ล่วงหน้าเพื่อหลีกเลี่ยพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินฯแต่ถือได้ว่าเป็นความยินยอมตามมาตรา 17(5) แห่งพระราชบัญญัตินี้ ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ตกลงจะขายที่ดินให้แก่ผู้มีชื่อ ได้บอกกล่าวให้จำเลยซื้อที่ดินก่อนตามข้อตกลงในสัญญาเช่า หรือให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปและขอบอกเลิกการเช่ากับจำเลย จำเลยก็เฉยเสียไม่ตอบและไม่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และไม่ออกไปจากที่เช่า จึงขอให้ขับไล่ จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยเช่าเพื่ออยู่อาศัย จึงได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504 จำเลยไม่ได้สู้ไว้ให้ชัดเจนว่าโจทก์ไม่ได้ตกลงขายให้แก่ผู้มีชื่อและราคาไม่จริง กลับแถลงรับว่าได้รับจดหมายจากโจทก์จริงแต่ไม่ตอบไปเพราะไม่ติดใจซื้อ โดยโจทก์ขายราคาแพงมาก ดังนี้ ย่อมฟังข้อเท็จจริงได้ว่าโจทก์ได้ตกลงขายที่ดินให้แก่ผู้มีชื่อจริง และราคาจริง โจทก์ไม่จำต้องสืบอีก (อ้างฎีกาที่ 1448/2503)
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ตกลงจะขายที่ดินให้แก่ผู้มีชื่อ ได้บอกกล่าวให้จำเลยซื้อที่ดินก่อนตามข้อตกลงในสัญญาเช่า หรือให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปและขอบอกเลิกการเช่ากับจำเลย จำเลยก็เฉยเสียไม่ตอบและไม่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และไม่ออกไปจากที่เช่า จึงขอให้ขับไล่ จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยเช่าเพื่ออยู่อาศัย จึงได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504 จำเลยไม่ได้สู้ไว้ให้ชัดเจนว่าโจทก์ไม่ได้ตกลงขายให้แก่ผู้มีชื่อและราคาไม่จริง กลับแถลงรับว่าได้รับจดหมายจากโจทก์จริงแต่ไม่ตอบไปเพราะไม่ติดใจซื้อ โดยโจทก์ขายราคาแพงมาก ดังนี้ ย่อมฟังข้อเท็จจริงได้ว่าโจทก์ได้ตกลงขายที่ดินให้แก่ผู้มีชื่อจริง และราคาจริง โจทก์ไม่จำต้องสืบอีก (อ้างฎีกาที่ 1448/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1210/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงขายทรัพย์สินก่อนครบกำหนดสัญญาเช่าและการคุ้มครองผู้เช่าตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน
ในสัญญาเช่า โจทก์จำเลยตกลงกันไว้ว่า "ถ้าผู้ให้เช่าตกลงขายทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้ใดก่อนครบกำหนดการเช่าตามสัญญาแล้ว ผู้ให้เช่าจะแจ้งให้ผู้เช่าทราบล่วงหน้าเพื่อผู้เช่าเตรียมตัวออกจากทรัพย์สินที่เช่าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองเดือน และผู้ให้เช่าจะต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบด้วยว่าจะตกลงขายให้แก่ผู้ใดเป็นเงินเท่าใด เพื่อผู้เช่าจะได้มีโอกาสตกลงซื้อได้ก่อนในเมื่อเห็นว่าเป็นราคาสมควร ฯลฯ" ไม่ถือว่าเป็นความยินยอมไว้ล่วงหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินฯ แต่ถือได้ว่าเป็นความยินยอมตามมาตรา 17(5) แห่งพระราชบัญญัตินี้ ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ตกลงจะขายที่ดินให้แก่ผู้มีชื่อ ได้บอกกล่าวให้จำเลยซื้อที่ดินก่อนตามข้อตกลงในสัญญาเช่า หรือให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปและขอบอกเลิกการเช่ากับจำเลย จำเลยก็เฉยเสียไม่ตอบและไม่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และไม่ออกไปจากที่เช่า จึงขอให้ขับไล่ จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยเช่าเพื่ออยู่อาศัย จึงได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504 จำเลยไม่ได้สู้ไว้ให้ชัดเจนว่าโจทก์ไม่ได้ตกลงขายให้แก่ผู้มีชื่อและราคาไม่จริง กลับแถลงรับว่าได้รับจดหมายจากโจทก์จริงแต่ไม่ตอบไปเพราะไม่ติดใจซื้อ โดยโจทก์ขายราคาแพงมาก ดังนี้ ย่อมฟังข้อเท็จจริงได้ว่าโจทก์ได้ตกลงขายที่ดินให้แก่ผู้มีชื่อจริง และราคาจริงโจทก์ไม่จำต้องสืบอีก (อ้างฎีกาที่ 1448/2503)
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ตกลงจะขายที่ดินให้แก่ผู้มีชื่อ ได้บอกกล่าวให้จำเลยซื้อที่ดินก่อนตามข้อตกลงในสัญญาเช่า หรือให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปและขอบอกเลิกการเช่ากับจำเลย จำเลยก็เฉยเสียไม่ตอบและไม่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และไม่ออกไปจากที่เช่า จึงขอให้ขับไล่ จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยเช่าเพื่ออยู่อาศัย จึงได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504 จำเลยไม่ได้สู้ไว้ให้ชัดเจนว่าโจทก์ไม่ได้ตกลงขายให้แก่ผู้มีชื่อและราคาไม่จริง กลับแถลงรับว่าได้รับจดหมายจากโจทก์จริงแต่ไม่ตอบไปเพราะไม่ติดใจซื้อ โดยโจทก์ขายราคาแพงมาก ดังนี้ ย่อมฟังข้อเท็จจริงได้ว่าโจทก์ได้ตกลงขายที่ดินให้แก่ผู้มีชื่อจริง และราคาจริงโจทก์ไม่จำต้องสืบอีก (อ้างฎีกาที่ 1448/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าสองฉบับ ผลผูกพันเมื่อมีการขายทรัพย์สินเช่า การที่เจ้าของใหม่ไม่ต้องผูกพันตามสัญญาเดิม
ทำสัญญาเช่าสวนกันมีกำหนด 8 ปี 6 เดือน โดยทำเป็นหนังสือ จดทะเบียนที่หอทะเบียนที่ดิน แล้วต่อมาได้ทำสัญญาเช่ากันอีก 1 ฉะบับ มีกำหนด 2 ปี นับตั้งแต่วันหมดกำหนดอายุสัญญาเช่าฉะบับแรก แต่สัญญาฉะบับที่ 2 นี้ทำกันทีอำเภอ ดังนี้ สัญญาเช่าฉะบับที่ 2 นี้ มีผลว่าถ้าครบกำหนดสัญญาเช่าเดิม ผู้ให้เช่าจะให้เช่าต่อไปอีก 2 ปี ฉะนั้นถ้าผู้ให้เช่าขายกรรมสิทธสวนนั้นไปเมื่อก่อนครบกำหนดอายุสัญญาเช่าฉะบับแรก ผู้ให้เช่านั้นก็ไม่มีสิทธิที่จะให้เช่าตามสัญญาเช่าต่อ ที่ทำล่วงหน้าให้ไว้แล้วนั้นได้ต่อไป เพราะได้ขายกรรมสิทธิไปเสียก่อนแล้ว ส่วนเจ้าของคนใหม่ก็ไม่มีภาระที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาที่เจ้าของเดิมทำล่วงหน้าไว้