คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขายที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 115 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5755/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายที่ดินที่ได้มาจากการรับจำนองและการขายทอดตลาด ศาลยืนตามประเมิน
โจทก์ประกอบกิจการเงินทุน จัดหาเงินทุนจากประชาชนมาให้กู้ยืมโดยจำนองที่ดินเป็นประกัน โจทก์มีสิทธิได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์จากการชำระหนี้การประกันการให้กู้ยืมเงินหรือการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่รับจำนองไว้จากการขายทอดตลาดโดยคำสั่งศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แต่ต้องจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวภายในสามปีนับแต่วันที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตกมาเป็นของโจทก์หรือภายในกำหนดเวลากว่านั้น ตามที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย ดังที่พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ. 2522 มาตรา 20(1)(ข) บัญญัติไว้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ได้เงินคืนมาชำระหนี้จำนองและหนี้ที่โจทก์จัดหาทุนมาจากประชาชนกับเป็นกำไรของโจทก์อีกส่วนหนึ่งนั่นเอง วิธีการดังกล่าวเป็นธุรกิจปกติของโจทก์ ดังนั้น การที่โจทก์ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์รับจำนองไว้จากการขายทอดตลาดโดยคำสั่งศาลตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวจึงเป็นการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อมีไว้ในการประกอบกิจการ การที่โจทก์ขายที่ดินดังกล่าวให้แก่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530จึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร ดังที่พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางการค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) มาตรา 3(5)กำหนดไว้ โจทก์จึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตราร้อยละ 3ของรายรับ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 91/6(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5755/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินที่ได้จากการจำนองและประมูลเข้าข่ายเป็นการค้าหรือหากำไร ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
โจทก์ประกอบกิจการเงินทุนจัดหาเงินทุนจากประชาชนมาให้กู้ยืมโดยจำนองที่ดินเป็นประกันโจทก์มีสิทธิได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์จากการชำระหนี้การประกันการให้กู้ยืมเงินหรือการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่รับจำนองไว้จากการขายทอดตลาดโดยคำสั่งศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ต้องจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวภายในสามปีนับแต่วันที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตกมาเป็นของโจทก์หรือภายในกำหนดเวลากว่านั้นตามที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยดังที่พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ.2522มาตรา20(1)(ข)บัญญัติไว้ทั้งนี้ก็เพื่อให้ได้เงินคืนมาชำระหนี้จำนองและหนี้ที่โจทก์จัดหาทุนมาจากประชาชนกับเป็นกำไรของโจทก์อีกส่วนหนึ่งนั่นเองวิธีการดังกล่าวเป็นธุรกิจปกติของโจทก์ดังนั้นการที่โจทก์ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์รับจำนองไว้จากการขายทอดตลาดโดยคำสั่งศาลตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวจึงเป็นการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อมีไว้ในการประกอบกิจการการที่โจทก์ขายที่ดินดังกล่าวให้แก่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530จึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา91/2(6)แห่งประมวลรัษฎากรดังที่พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางการค้าหรือหากำไร(ฉบับที่244)มาตรา3(5)กำหนดไว้โจทก์จึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตราร้อยละ3ของรายรับตามประมวลรัษฎากรมาตรา91/6(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2112/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อที่ดินคืนของผู้เช่าเมื่อผู้ให้เช่าขายที่ดิน
คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลเมื่อไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ต่อ คชก.จังหวัด จึงเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 56 วรรคสอง
ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ถ้าผู้ให้เช่านาขายนาไปโดยไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 53ไม่ว่านานั้นจะถูกโอนไปยังผู้ใด ผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนนั้นตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อไว้หรือราคาตลาดในขณะนั้น แล้วแต่ว่าราคาใดจะสูงกว่ากัน
ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้โจทก์ซื้อที่พิพาทคืนได้และไม่พิพากษาให้โจทก์ชำระค่าที่ดินตอบแทน ดังนั้นเพื่อให้การบังคับตามสิทธิของโจทก์เสร็จสิ้นไปในเวลาอันสมควร คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะไม่ได้รับความเสียหาย ศาลฎีกาจึงกำหนดเวลาที่โจทก์จะต้องใช้สิทธิซื้อไว้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1414/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้ชอบด้วยกฎหมาย แม้เกิดจากการขายที่ดิน ไม่ใช่การกู้ยืม ศาลวินิจฉัยถูกต้อง ฟ้องไม่ซ้อน
จำเลยฎีกาว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำฟ้องโดยไม่มีข้อตกลงว่าหากป.ผิดนัดงวดหนึ่งถือว่าผิดนัดทั้งหมดเป็นการไม่ชอบเมื่อจำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้ดังกล่าวไว้ในคำให้การจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เมื่อผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้รับรองให้จำเลยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงได้แล้วจำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงได้ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยเพราะเห็นว่าอุทธรณ์ของจำเลยต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเป็นการไม่ชอบ โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่ป.ทำไว้กับโจทก์แม้มูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้จะมิได้เกิดจากการกู้ยืมดังที่โจทก์กล่าวอ้างแต่เกิดจากการขายที่ดินดังที่จำเลยให้การก็ตามหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ก็เป็นมูลหนี้ที่ชอบมีผลบังคับกันได้ตามกฎหมายส่วนมูลหนี้จะเกิดจากการกู้ยืมหรือเกิดจากการขายที่ดินหาใช่ข้อสำคัญไม่ที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้หาใช่การวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกฟ้องดังที่จำเลยฎีกาไม่ ข้อตกลงที่ป.จะโอนที่ดินให้แก่โจทก์แต่มิได้มีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นโมฆะจำเลยได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้วจึงมีประเด็นข้อนี้ในคดีแต่ในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นข้อนี้ไว้ซึ่งจำเลยได้แถลงโต้แย้งขอเพิ่มประเด็นข้อนี้ไว้แล้วที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อนี้โดยฟังว่าจำเลยไม่ได้ขอเพิ่มประเด็นข้อนี้ไว้จึงไม่ชอบศาลฎีกาเห็นว่าข้อตกลงดังกล่าวไม่ใช่เป็นการจะให้ที่ดินแก่โจทก์โดยตรงแต่เป็นการจะให้ที่เกิดจากข้อตกลงตามสัญญาแบ่งทรัพย์สินในการหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันระหว่างป.กับโจทก์ข้อตกลงดังกล่าวย่อมสมบูรณ์มีผลผูกพันกันได้โดยไม่ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของป.รับผิดชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่ป.ทำไว้กับโจทก์ส่วนอีกคดีเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องป.เป็นจำเลยให้ปฏิบัติตามหนังสือสัญญาหย่าที่ป.ทำไว้กับโจทก์แล้วป.ประพฤติผิดสัญญาดังนี้จำเลยในคดีนี้กับจำเลยในคดีดังกล่าวจึงเป็นคนละคนกันข้อพิพาทก็เป็นเรื่องคนละประเด็นกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน แม้จำเลยจะได้รับอนุญาตให้ต่อสู้คดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ก็สั่งให้จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ได้ประกอบกับโจทก์ได้แก้อุทธรณ์ไว้แล้วที่ศาลอุทธรณ์สั่งให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5096/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรวมต้องยินยอมในการขายที่ดินรวมทั้งหมด มิฉะนั้นสัญญาเป็นโมฆะและมีสิทธิฟ้องขับไล่ได้
โจทก์ซี่งเป็นเจ้าของรวมในที่พิพาทมิได้ให้ความยินยอมด้วยในการที่ ว.เจ้าของรวมอีกคนหนึ่งทำสัญญาจะขายที่พิพาทกับจำเลย จำเลยเข้าครอบครองที่พิพาทโดยทำสัญญาดังกล่าวเป็นการเข้าครอบครองตัวทรัพย์ทั้งหมดหรือที่พิพาททั้งแปลง มิใช่ครอบครองเฉพาะส่วนของ ว. เช่นนี้ ว.จะกระทำได้ก็แต่โดยได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทุกคน สัญญาจะขายที่พิพาทจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ ถือไม่ได้ว่าจำเลยครอบครองที่พิพาทโดยชอบ โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1305/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากรายได้จากการขายที่ดิน และการใช้เอกสารหลักฐานทางบัญชีของบริษัทคู่สัญญาประกอบการพิจารณา
สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับบริษัท ส. ตามเอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 20 ระบุไว้ชัดเจนว่าบริษัท ส.ผู้ซื้อได้ชำระค่าที่ดินจำนวน 70 ล้านบาท ให้โจทก์ผู้ขายเรียบร้อยแล้ว สัญญาดังกล่าวทำต่อเจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนตามกฎหมายเชื่อว่า ได้มีการชำระค่าที่ดินครบถ้วนตามนั้น ที่โจทก์นำสืบว่า การชำระราคาที่ดินเป็นไปตามสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 16 และ 17กล่าวคือ ชำระเป็นเงินสด 35 ล้านบาท โดยผ่อนชำระเป็น5 งวด งวดละ 7 ล้านบาท แต่ละงวดห่างกัน 1 ปี จำนวนที่เหลือ3 ล้านบาท ชำระเป็นหุ้นของบริษัท ส. ในปี 2526 และ 2527ได้รับชำระมาแล้วปีละ 7 ล้านบาท ปี 2528 ไม่ได้รับ ปี 2529ได้รับชำระเพียง 2 ล้านบาท นั้น เป็นการนำสืบที่ขัดต่อสัญญาซื้อขายเอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 20 อีกทั้งสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 16 ถึง 17 เป็นสัญญาที่ทำกันเองระหว่างโจทก์กับบริษัท ส. กรรมการและผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ของทั้งสองฝ่ายเป็นญาติกัน อาจจะทำสัญญาดังกล่าวกันอย่างไรหรือเมื่อใดก็ได้ และจะให้มีผลผูกพันกันจริงหรือไม่ก็ได้ และตามบัญชีงบดุลของบริษัท ส.ก็ลงไว้ว่า ได้ชำระค่าที่ดินให้แก่บริษัทโจทก์เป็นเงิน7 ล้านบาท และตั้งบริษัทโจทก์เป็นเจ้าหนี้ 70 ล้านบาทและลงว่าได้ชำระค่าหุ้นเป็นเงิน 35 ล้านบาท รวมเป็นเงิน70 ล้านบาท ซึ่งตามเอกสารดังกล่าวแสดงว่าบริษัท ส.ได้ชำระค่าที่ดินให้แก่โจทก์แล้วจำนวน 70 ล้านบาทยิ่งไปกว่านั้นเมื่อบริษัท ส. ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากโจทก์ก็ได้นำไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ยืมธนาคารในวันเดียวกันจำนวน 70 ล้านบาท แสดงว่า บริษัท ส.นำเงินที่กู้ยืมดังกล่าวมาชำระราคาที่ดินให้โจทก์ และโจทก์ได้จ่ายเป็นค่าหุ้นให้บริษัท ส.35 ล้านบาทและให้บริษัท ส. กู้ยืมจำนวน 28 ล้านบาท จึงเชื่อได้ว่าโจทก์มีรายได้จากการขายที่ดินจำนวน 70 ล้านบาท การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ทำการประเมินและมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ โดยนำรายได้ดังกล่าวมาลงบัญชีรวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2526 จึงชอบแล้ว คดีนี้ถ้าตรวจดูเฉพาะเอกสารหลักฐานทางบัญชีของโจทก์เท่านั้นก็ไม่สามารถทราบได้ว่าโจทก์หลีกเลี่ยงกำหนดรายได้ให้น้อยลงเพื่อที่จะเสียภาษีให้น้อยกว่าความเป็นจริงและไม่มีกฎหมายห้ามมิให้เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยถือเอาเอกสารหลักฐานทางบัญชีของบริษัทที่ติดต่อเกี่ยวข้องกับโจทก์มาประกอบการพิจารณาแต่อย่างใด ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยนำเอกสารหลักฐานทางบัญชีของโจทก์มาพิจารณาประกอบการประเมิน จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7254/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมขายที่ดินไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ กรณีสัญญาจะซื้อจะขายมีเงินมัดจำ
คดีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยที่ 3 และที่ 4จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมบ้านพิพาทในส่วนของจำเลยที่ 3และที่ 4 ให้โจทก์ โดยให้โจทก์ทั้งสองชำระเงินแก่จำเลยที่ 3และที่ 4 คนละ 187,500 บาท จำเลยที่ 3 และที่ 4 ฎีกาขอให้พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 4 ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 สามารถแยกกันได้แต่ละจำนวนที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ต้องรับผิดตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 แม้จำเลยที่ 3 และที่ 4 จะยื่นฎีการวมกันมา ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาก็ต้องแยกกันตามจำนวนที่แต่ละคนต้องรับผิด เมื่อทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่เกินคนละสองแสนบาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่จะขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ทั้งสองวางเงินมัดจำไว้เป็นจำนวน 20,000 บาทซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับไว้แล้ว สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยทั้งสี่จึงมิใช่กรณีที่จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 3 และที่ 4 แต่อย่างใดไม่ดังนั้น ความยินยอมหรือการมอบอำนาจของจำเลยที่ 3 และที่ 4หาจำต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 3 และที่ 4ไม่เช่นกัน กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 798

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5376/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าต่างตอบแทน ผู้ให้เช่าผิดสัญญาเมื่อไม่จดทะเบียนและขายที่ดินก่อนกำหนด
สัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนชนิดหนึ่งโดยผู้ให้เช่ามีหนี้ต้องให้ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และผู้เช่ามีหนี้จะต้องชำระค่าเช่าเพื่อการนั้น เมื่อผู้เช่าได้ชำระค่าเช่าตามสัญญาแล้วผู้ให้เช่าจึงมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ตอบแทน ซึ่งรวมถึงต้องไปจดทะเบียนการเช่าให้ผู้เช่าภายในกำหนดเวลาที่ตกลงกันด้วยการที่ผู้ให้เช่าโอนขายที่ดินที่ให้เช่าให้แก่บุคคลภายนอกไปแม้จะก่อนถึงกำหนดเวลาจดทะเบียนการเช่าจึงเท่ากับผู้ให้เช่าไม่ชำระหนี้ตอบแทนตามสัญญา ผู้ให้เช่าจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาโดยไม่อาจยกประโยชน์แห่งเงื่อนเวลามาอ้างได้ โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ได้ชำระค่าเช่าล่วงหน้าจำนวนเงิน120,000 บาท ให้ ผ. เจ้ามรดกซึ่งเป็นผู้ให้เช่า และเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ผ.จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยได้ชำระเงินดังกล่าวคืนให้โจทก์แล้วจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์อีก ซึ่งศาลชั้นต้นได้ตั้งประเด็นว่า จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์หรือไม่เพียงใด เท่ากับศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นที่ว่าจำเลยคืนเงินค่าเช่าล่วงหน้าดังกล่าวให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่รวมเข้าไปด้วยแล้ว ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฟังว่าจำเลยยังไม่คืนเงินค่าเช่าล่วงหน้าให้แก่โจทก์ แล้ววินิจฉัยให้จำเลยคืนเงินค่าเช่าล่วงหน้าให้แก่โจทก์ จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2359/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องนายหน้าขายที่ดิน: ศาลยืนตามสัญญาโอนที่ดินหรือชดใช้ราคา หากจำเลยไม่ปฏิบัติตาม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีที่ดินเนื้อที่ประมาณ 26 ไร่ต้องการขายที่ดินดังกล่าวจำนวน 14 ไร่เศษ ซึ่งจำเลยมีโครงการจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินจัดสรรขายแก่บุคคลทั่วไปเพื่อนำเงินไปชำระหนี้แก่ธนาคารเพราะจำเลยได้จำนองที่ดินจำนวน 26 ไร่ไว้แก่ธนาคารและธนาคารบอกกล่าวบังคับจำนอง จำเลยจึงติดต่อโจทก์กับผู้มีชื่อให้เป็นนายหน้าขายที่ดินของจำเลยโดยสัญญาว่าจะยกที่ดินให้คนละ 1 ไร่ เป็นค่าตอบแทนในการเป็นนายหน้าต่อมากลางปี 2530 โจทก์สามารถติดต่อขายที่ดินให้จำเลยได้สำเร็จแต่จำเลยไม่ยอมจดทะเบียนโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญา จึงมีคำขอ บังคับให้จำเลยชำระเงินค่าที่ดิน 120,000 บาท หากไม่ปฏิบัติ ตามให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ดังนี้ฟ้องโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง แล้ว จำเลยสามารถต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้องส่วนโจทก์จะติดต่อให้ผู้ใดมาซื้อที่ดินกับจำเลยในราคาเท่าใดเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม สัญญานายหน้าทำขึ้น 2 ฉบับ เมื่อเอกสารดังกล่าวอยู่ในความครอบครองของจำเลย 1 ฉบับ กรณีย่อมเข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90(2) โจทก์จึงไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่จำเลยก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าสาม ฉบับ ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอบังคับให้จำเลยชำระเงิน120,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ก่อน หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามก็ให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แต่เมื่อลำดับการขอบังคับตามคำขอท้ายฟ้องดังกล่าวมิได้เป็นไปตามขั้นตอนของการบังคับชำระหนี้ตามที่โจทก์มีสิทธิ ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้บังคับไปตามขั้นตอนของสิทธิของโจทก์ที่จะบังคับชำระหนี้ที่ถูกต้องได้โดยพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ก่อน หากโอนไม่ได้จึงจะให้ชำระเงิน 120,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้จากการขายที่ดิน: พิจารณาเจตนาและพฤติการณ์ในการซื้อขาย
ก่อนส่งหมายเรียกโจทก์และภรรยากับบุตรมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 261/6-8 ตลอดมา โดยโจทก์มีสถานภาพเป็นหัวหน้าโจทก์และครอบครัวแจ้งย้ายทะเบียนบ้านไปอยู่บ้านเลขที่ 496/8-9หลังจากมีการส่งหมายเรียกเกือบ 1 ปี การส่งหมายเรียกให้โจทก์ณ บ้านเลขที่ 261/6-8 ถือว่าเป็นการส่งให้โจทก์ ณ บ้านของผู้รับเมื่อผู้ที่บรรลุนิติภาวะ และอยู่ในบ้านนั้นรับหมายไว้แทนโจทก์จึงเป็นการส่งหมายที่ชอบแล้ว โจทก์ซื้อที่ดินเนื้อที่รวมประมาณ 30 ไร่ อ้างว่าจะทำสวนกล้วยไม้ เป็นการกล่าวอ้างเพียงลอย ๆ ไม่มีพยานอื่นมาประกอบข้ออ้างดังกล่าวนี้จึงฟังไม่ขึ้น ส่วนที่โจทก์อ้างว่าต้องขายที่เพื่อชำระหนี้ธนาคารนั้น ลูกหนี้ธนาคารมิใช่ตัวโจทก์และธนาคารก็มิได้ฟ้องเร่งรัดหนี้ ทั้งที่ดินที่ขายก็มิได้ติดจำนองธนาคารโจทก์ขายที่ดินภายหลังจากซื้อมาในระยะเวลาอันสั้น ส่อแสดงว่าโจทก์ขายที่ดินโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้พึงประเมินมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้.
of 12