คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อจำกัด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 541 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2992/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมซ้ำหลังศาลฎีกาย้อนสำนวน และข้อจำกัดในการอุทธรณ์ตามกฎหมาย
ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษากำหนดค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและศาลแรงงานกลางได้มีคำพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายโดยใช้ดุลพินิจตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 แล้ว ดังนั้น การที่โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางดังกล่าวต่อ ศาลฎีกาเกี่ยวกับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมอีก อ้างว่าเมื่อจำเลยแพ้คดีตามคำท้าจำเลยต้องชำระค่าเสียหายเต็มตามคำฟ้อง ดังนี้ ข้ออุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในประเด็นที่ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดไปแล้ว จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 299/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงและข้อที่มิได้ยกขึ้นในศาลอุทธรณ์, อายุความมิใช่สภาพแห่งข้อหา
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้ทราบถึงการตายของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2536 เมื่อโจทก์อุทธรณ์โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งว่าคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวถูกต้องหรือไม่อย่างไร ปัญหาที่ว่าโจทก์ได้ทราบถึงการตายของจำเลยที่ 1 เมื่อใดจึงเป็นอันยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเมื่อทุนทรัพย์พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ฎีกาของโจทก์ที่ว่า โจทก์เพิ่งทราบถึงการตายของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2540 นอกจากจะเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงอันต้องห้ามแล้วยังเป็นฎีกาในข้อที่โจทก์มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง อีกด้วย
อายุความไม่ใช่สภาพแห่งข้อหา โจทก์จึงไม่ต้องกล่าวมาในฟ้องว่า คดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความเพราะเหตุใด ดังนั้นที่โจทก์ฎีกาว่า หลังจากจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ต่อโจทก์คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ไม่ขาดอายุความจึงมิใช่เรื่องฎีกานอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2098/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดเงินค่าหุ้นสมาชิกสหกรณ์โดยเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แม้มีข้อจำกัดตามกฎหมายสหกรณ์
แม้พระราชบัญญัติสหกรณ์ฯ มาตรา 42 วรรคสอง จะกำหนดว่าในระหว่างที่สมาชิกภาพของสมาชิกยังไม่สิ้นสุดลง ห้ามมิให้เจ้าหนี้ของสมาชิกใช้สิทธิเรียกร้องในค่าหุ้นของสมาชิกผู้นั้นก็ตาม แต่เงินค่าหุ้นที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาและเป็นสมาชิกของสหกรณ์ผู้ร้องได้ชำระให้แก่ผู้ร้องไปแล้วนั้น ถือว่าเป็นเงินทุนของผู้ร้องที่จำเลยที่ 1 ยังมีสิทธิเรียกร้องเอาคืนได้ ซึ่งตามระเบียบของผู้ร้องก็ระบุว่า จำเลยที่ 1 จะโอนหรือถอนคืนค่าหุ้นบางส่วนหรือทั้งหมดในระหว่างที่ตนเป็นสมาชิกไม่ได้ สิทธิของจำเลยที่ 1 ในการถอนคืนเงินค่าหุ้นดังกล่าวจึงมีเงื่อนไข ซึ่งการชำระเงินค่าหุ้นคืนของผู้ร้องก็มีเงื่อนไขในทำนองเดียวกัน อย่างไรก็ตามเจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจออกคำสั่งอายัดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 310 ทวิ ประกอบด้วยมาตรา 311 วรรคสอง ทั้งนี้ ไม่ว่าหนี้ของผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนั้นจะมีข้อโต้แย้ง ข้อจำกัดหรือเงื่อนไขใดและได้กำหนดจำนวนไว้แน่นอนหรือไม่ก็ตาม ในเมื่อสิทธิเรียกร้องนั้นไม่อยู่ในข้อยกเว้นในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286 แต่จะกำหนดในคำสั่งอายัดให้เป็นการฝ่าฝืนข้อจำกัดหรือเงื่อนไขแห่งหนี้นั้นหาได้ไม่ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งอายัดให้ผู้ร้องส่งเงินค่าหุ้นของจำเลยที่ 1 แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อจำเลยที่ 1พ้นจากการเป็นสมาชิกของผู้ร้องแล้ว จึงหามีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ร้องไม่ ทั้งคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดียังสอดคล้องกับเงื่อนไขแห่งหนี้ที่ผู้ร้องต้องชำระแก่จำเลยที่ 1กรณีจึงไม่เป็นคำสั่งอายัดที่ขัดต่อพระราชบัญญัติสหกรณ์ฯ มาตรา 42 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9652/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยผู้จัดการมรดกนอกอำนาจ และผลกระทบต่อสิทธิผู้ซื้อที่ทราบข้อจำกัด
คดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยบางส่วน โดยวินิจฉัยว่าจำเลยคดีดังกล่าวจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์คดีดังกล่าวเป็นการทำนอกขอบอำนาจในฐานะผู้จัดการมรดก ย่อมเป็นการเสียเปรียบแก่ทายาทของ จ. และผู้ที่มีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในฐานะที่จะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อนทั้งโจทก์คดีดังกล่าวรับซื้อที่ดินพิพาทไว้โดยทราบดีอยู่แล้วว่าทายาทของ จ. และผู้มีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทได้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทหลายปีแล้ว และควรจะได้รู้อยู่แล้วว่าจำเลยคดีดังกล่าวกระทำในฐานะผู้จัดการมรดก จึงเป็นการไม่สุจริต ดังนี้การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนการซื้อขายที่ดินพิพาทถือว่าโจทก์ถูกรอนสิทธิ แต่โจทก์ทราบถึงสิทธิของผู้ก่อการรบกวนในที่ดินพิพาทแล้วในเวลาซื้อขาย ฉะนั้น จำเลยซึ่งเป็นผู้ขายจึงไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 476 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยคืนเงินค่าที่ดินพิพาทแก่โจทก์ตามส่วนที่ถูกเพิกถอนการซื้อขายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9519/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 249 วรรคแรก กรณีข้อเท็จจริงใหม่ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง แม้มีเหตุจำเป็นก็ไม่อาจใช้ข้อ ยกเว้นมาตรา 249 วรรคสองได้
ปัญหาที่โจทก์จะยกขึ้นฎีกาเพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสองมิได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9230/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาคดีผสมระหว่างคดีไม่มีทุนทรัพย์กับคดีมีทุนทรัพย์ และข้อจำกัดในการฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยพร้อมกับเรียกค่าเสียหายจากจำเลยจึงถือไม่ได้ว่าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ส่วนหนึ่งกับคดีมีทุนทรัพย์อีกส่วนหนึ่งปนกันมา ดังนี้ จะฎีกาข้อเท็จจริงได้หรือไม่ต้องแยกจากกัน กล่าวคือถ้าหากฎีกาประเด็นเรื่องขับไล่ก็ต้องพิจารณาว่าค่าเช่าเกินเดือนละ10,000 บาทหรือไม่ เมื่อโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยมีอัตราค่าเช่าเดือนละ10,500 บาท ฎีกาของจำเลยในส่วนเรื่องขับไล่จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคสอง ส่วนในเรื่องค่าเสียหายปรากฏว่าทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกามีจำนวนเพียง 132,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่ได้รับความเสียหายหรือหากโจทก์ได้รับความเสียหายก็ไม่เกินเดือนละ 10,500 บาทนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8524/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงโทษจากความผิดฐานกระทำชำเราเด็กโดยมีเหตุฉกรรจ์เป็นไม่ฉกรรจ์ และข้อจำกัดในการฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสาม ลงโทษจำคุก 25 ปีศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสอง ลงโทษจำคุก 7 ปีจึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้จากความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปีโดยประกอบด้วยเหตุฉกรรจ์คือขณะกระทำผิดจำเลยมีมีดเป็นอาวุธเป็นความผิดฐานเดิมโดยไม่ประกอบด้วยเหตุฉกรรจ์คือขณะกระทำผิดจำเลยไม่มีอาวุธทั้งความผิดทั้งสองวรรคต่างก็เป็นความผิดอันยอมความกันไม่ได้จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 แก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี คดีต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7752/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนและลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี โดยการโต้เถียงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการตรวจค้น
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกกระทงละไม่เกิน 5 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน คู่ความต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 3 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และที่จำเลยฎีกาว่า การตรวจค้นบ้านจำเลยไม่มีหมายค้นเพราะไม่ใช่การกระทำความผิดซึ่งหน้าเนื่องจากเจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปเคาะประตูบ้านจำเลยแล้วภริยาจำเลยออกไปเปิดประตู ในขณะนั้นจำเลยยังนอนอยู่ยังไม่ตื่น ไม่มีการล่อซื้อแต่อย่างใด เจ้าพนักงานตำรวจเข้าค้นโดยพลการกระทำผิดกฎหมายในการตรวจค้น เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฟังมา เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงอันต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการบังคับคดีและการฟ้องล้มละลาย: ข้อจำกัดของโจทก์ที่ไม่ใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และการบังคับใช้กฎหมายล้มละลายที่แตกต่างกัน
จำเลยเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องชำระหนี้เงินกู้แก่จำเลย 450,000 บาท แต่สิทธิในการบังคับคดีดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 กำหนดให้เป็นสิทธิของคู่ความฝ่ายที่ชนะคดี (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) เท่านั้น ที่จะร้องขอให้บังคับคดีได้ โจทก์มิใช่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดี จึงไม่มีสิทธิตามมาตรา 271 และโจทก์ไม่อาจเข้าสวมสิทธิในการบังคับคดีของจำเลย ซึ่งเป็นสิทธิที่กฎหมายให้ไว้แก่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดี
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 ใช้บังคับและคดียังคงค้างพิจารณาอยู่ในศาลจึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ที่เป็นกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5)พ.ศ. 2542 ใช้บังคับตามพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542มาตรา 34 จึงไม่อาจนำหลักเกณฑ์จำนวนหนี้ขั้นต่ำที่อาจฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฉบับดังกล่าวมาเปรียบเทียบและถือเป็นเหตุอันไม่สมควรให้จำเลยล้มละลายในคดีนี้ได้ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6845/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลตาม พรบ.รับขนฯ และข้อจำกัดการอุทธรณ์ในคดีทรัพย์สินทางปัญญา
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับฟังพยานหลักฐานในสำนวน ไม่ถูกต้อง พยานบุคคลหรือพยานเอกสารไม่มีข้อใดที่บ่งชี้ได้ถึงขนาดที่ศาลจะรับฟังได้ว่า สินค้าพิพาทในคดีนี้เสียหาย หรือความเสียหายได้เกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลย และจำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งอื่นได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สินค้าพิพาท เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับพยานหลักฐานของศาลอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 200,000 บาท อุทธรณ์ดังกล่าวของจำเลยจึงต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 41
เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งและจำเลยที่ 3 ผู้ขนส่งอื่นต้องร่วมกันรับผิดเพื่อความเสียหายแก่สินค้าพิพาทและ ตามใบตราส่งสินค้าพิพาทซึ่งจำเลยที่ 1 ออกให้แก่ผู้ส่งของระบุว่าสินค้าพิพาทเป็นเคมีภัณฑ์สำหรับผลิตแชมพูจำนวน 34 ถัง และ 10 ถังตามลำดับ จึงเป็นกรณีที่มีการระบุจำนวนและลักษณะของหน่วยการขนส่งไว้ในใบตราส่ง ต้องถือว่า สินค้าพิพาทมีจำนวนหน่วยการขนส่งเป็นถังตามที่ระบุไว้ ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 59 (1) ส่วนใบตราส่งที่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งอื่นออกให้แก่บริษัท ฮ. ซึ่งเป็นผู้ขนส่งอื่นที่มาว่าจ้างจำเลยที่ 3 ให้ขนส่งสินค้าพิพาทอีกทอดหนึ่ง เป็นใบตราส่งที่ออกให้ระหว่าง ผู้ขนส่งอื่นด้วยกัน หาอาจนำมาใช้ยันผู้ส่งของได้ไม่
of 55