คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อต่อสู้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 347 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนเช็คโดยคบคิดฉ้อฉล: ผู้รับโอนยกข้อต่อสู้ได้หากพิสูจน์ได้ว่าเช็คไม่มีมูลหนี้
คำเบิกความของจำเลยและทนายจำเลยถึงข้อเท็จจริงที่ว่าเมื่อจำเลยได้รับหนังสือทวงถามจากทนายโจทก์ จำเลยได้นำหนังสือไปปรึกษากับทนายจำเลย ทนายจำเลยจึงติดต่อกับทนายโจทก์เพื่อเจรจาเรื่องเช็คจำนวนเงิน 200,000 บาท โดยทนายโจทก์ยอมลดค่าเสียหายให้เหลือ 30,000 บาทนั้น แม้จำเลยจะไม่ได้ถามค้านพยานโจทก์ในเรื่องนี้ไว้แต่เป็นเพราะโจทก์ได้ยื่นบัญชีพยานระบุอ้าง น. ทนายโจทก์ไว้ แต่โจทก์ไม่ประสงค์จะสืบ จำเลยจึงไม่มีโอกาสถามค้านไว้ได้ ส่วนตัวโจทก์เองไม่ได้เป็นพยานผู้รู้เห็นหรือร่วมเจรจา จำเลยจึงไม่ได้ถามค้านไว้ คำเบิกความของจำเลยและทนายจำเลยจึงไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5654/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำต้องห้ามตามกฎหมาย เมื่อโจทก์มิได้ยกข้อต่อสู้เรื่องไม่ได้รับเงินในคดีเดิม
คดีก่อน จำเลยในคดีนี้ฟ้องเรียกให้โจทก์ชำระเงินตามสัญญากู้ยืมและบังคับจำนอง โจทก์มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การว่าโจทก์ไม่ได้ รับเงินตามสัญญาเพื่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาท อันเป็นความบกพร่อง ไม่รอบคอบของโจทก์ ดังนี้เมื่อศาลพิพากษาว่าได้มีการกู้เงินไปตามฟ้องจริงและคดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์จะกลับมาฟ้องขอให้ห้ามมิให้คำพิพากษาในคดีเดิมมีผลใช้บังคับแก่โจทก์ โดยอ้างเหตุว่าความจริงแล้วโจทก์ ไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้ยืมและบังคับจำนองจากจำเลย เท่ากับ เป็นการรื้อร้องฟ้องคดีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด ทั้ง ๆ ที่เป็นคู่ความ รายเดียวกันซึ่งต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวนั้นให้ต้อง กลับมาวินิจฉัยซ้ำในเหตุเดียวกันอีกว่าได้มีการกู้เงินไปตามฟ้องจริงหรือไม่จึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4184/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเหตุอำนาจศาลในชั้นอุทธรณ์ และผลของการยอมรับอำนาจศาลโดยปริยาย
จำเลยมิได้ยกเรื่องอำนาจศาลขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การเพิ่งมายกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ ทั้งปัญหาเรื่องอำนาจของศาลชำนัญพิเศษกับอำนาจของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชั้นเดียวกันจะต้องยุติในศาลชั้นต้นเพื่อไม่ให้เป็นช่องทางแก่คู่ความประวิงคดี หากคู่ความไม่โต้แย้งหรือศาลชั้นต้นไม่ยกปัญหาขึ้นจนกระทั่งศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว แสดงว่าคู่ความยอมรับอำนาจศาล ปัญหาดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3873/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอ้างเหตุเลิกจ้างภายหลังหนังสือเลิกจ้าง
แม้นายจ้างจะอ้างว่าลูกจ้างกระทำผิดต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างอันมีลักษณะตามข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าก็ตาม แต่เมื่อนายจ้างมิได้อ้างเหตุดังกล่าวไว้ในหนังสือเลิกจ้างโดยนายจ้างเพิ่งจะยกเหตุดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การเมื่อถูกลูกจ้างฟ้องคดีศาลแรงงานย่อมไม่สามารถจะหยิบยกข้อต่อสู้ของนายจ้างมาประกอบการพิจารณาได้เพราะต้องห้ามตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1719/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยต้องรับผิดชำระราคาสินค้า แม้ต่อสู้ว่าสินค้าไม่มีคุณภาพ แต่ไม่สามารถนำสืบหลักฐานยืนยันได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์หลายครั้งแล้วยังไม่ชำระราคาจำเลยให้การรับว่าซื้อสินค้าจากโจทก์จริง ที่จำเลยไม่ชำระราคาเพราะสินค้าที่โจทก์ส่งมอบไม่มีคุณภาพ จำเลยนำไปใช้แล้วเกิดความเสียหาย เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเรื่องสินค้าไม่มีคุณภาพขึ้นปฏิเสธความรับผิดชำระราคาสินค้า จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบ หากพยานหลักฐานของจำเลยไม่อาจรับฟังได้สมกับข้อต่อสู้ตามคำให้การ จำเลยจึงต้องแพ้คดีโดยศาลไม่จำต้องอาศัยพยานหลักฐานโจทก์มาวินิจฉัยว่าสินค้าของโจทก์ไม่บกพร่องอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 906/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีซ้ำๆ และการไม่นำสืบพยานสนับสนุนข้อต่อสู้ ทำให้จำเลยต้องรับผิดตามเช็ค
จำเลยตั้งทนายความไว้ 2 คน คือ ธ.และ อ. การเลื่อนคดีครั้งแรก จำเลยอ้างเหตุว่า ธ.ทนายความเจ็บป่วยท้องเสียเพราะอาหารเป็นพิษโจทก์ไม่ค้าน ความจริงจำเลยที่ 1 อาจให้ อ.เข้าทำหน้าที่ได้เพราะไม่ปรากฏว่าในวันดังกล่าว อ.มีภาระกิจหรือความจำเป็นอื่นใด ต่อมาในการสืบพยานจำเลยครั้งที่ 2 จำเลยขอเลื่อนคดีอ้างว่าตัวจำเลยที่ 1 ติดประชุม โดยตัวจำเลยที่ 1ก็ทราบวันนัดในครั้งนี้ล่วงหน้านานแล้ว ตามบัญชีระบุพยานจำเลยนอกจากจะอ้างจำเลยเป็นพยานแล้ว ยังอ้าง ว.และสมุห์บัญชีธนาคาร ก.เป็นพยานอีกด้วยโดยเฉพาะ ว.เป็นพยานนำ แต่จำเลยก็มิได้นำพยานเหล่านี้มาสืบแสดงให้เห็นความไม่ขวนขวายเท่าที่ควรอยู่ในตัว ในการเลื่อนครั้งที่ 2 นี้ ศาลได้กำชับว่าให้จำเลยเตรียมพยานมาให้พร้อม มิฉะนั้นถือว่าไม่ติดใจสืบพยานเนื่องจากจำเลยได้เลื่อนคดีติดกันเป็นครั้งที่ 2 แล้ว ต่อมาในวันสืบพยานจำเลยครั้งที่ 3 จำเลยขอเลื่อนคดีอีกโดยอ้างว่า ธ.ทนายความป่วยกล้ามเนื้อขาอักเสบ ตามรายงานแพทย์ไม่มีรายละเอียดอื่น แสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้นำพาต่อคำสั่งกำชับของศาล ทั้งจำเลยที่ 1 อาจให้ทนายคนอื่นซักถามพยานแทนได้ แต่ไม่ทำเช่นนั้น ประกอบกับโจทก์คัดค้านการขอเลื่อนคดี ที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานจำเลยที่ 1 นั้นชอบแล้ว
โจทก์ได้รับแลกเช็คพิพาทซึ่งมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นผู้อาวัล โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คและได้รับประโยชน์แห่งข้อสันนิษฐานตามกฎหมายว่าเป็นผู้ทรงโดยสุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 6ประกอบกับมาตรา 904 เมื่อจำเลยมีหน้าที่นำสืบว่าโจทก์ไม่สุจริตคบคิดกันฉ้อฉลกับจำเลยที่ 2 ดังที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การต่อสู้คดี เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้นำสืบในข้อนี้จึงต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8794/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินถูกซ่อนไว้ภายใต้สัญญากู้เงิน การนำสืบอยู่ในขอบเขตข้อต่อสู้
จำเลยให้การว่า สัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องทำขึ้นเพื่อเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างโจทก์กับผู้มีชื่อ ซึ่งโจทก์ได้มอบหมายให้จำเลยเป็นผู้ดำเนินการซื้อขายแทนโจทก์ เป็นคำให้การที่แสดงโดยชัดแจ้งแล้วในเหตุแห่งการปฏิเสธ และเป็นคำให้การที่อ่านเข้าใจได้ว่า นิติกรรมอันแท้จริงที่ถูกอำพรางไว้ คือนิติกรรมที่โจทก์มอบหมายให้จำเลยซื้อขายที่ดินแทนโจทก์ แต่โจทก์จำเลยได้ทำนิติกรรมด้วยการแสดงเจตนาลวงไว้ว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์
ศาลชั้นต้นตั้งประเด็นพิพาทว่า สัญญากู้เงินระหว่างโจทก์จำเลยเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินหรือไม่ การที่จำเลยนำสืบว่า โจทก์เป็นผู้เจรจาขอซื้อที่ดินจนเป็นที่ตกลงในราคา 220,000 บาท โจทก์เป็นผู้วางมัดจำ10,000 บาท และทำสัญญาจะซื้อจะขายไว้ แล้วโจทก์มอบหมายให้จำเลยไปจดทะเบียนรับโอนที่ดินแทน ลงชื่อสามีจำเลยเป็นผู้ซื้อ ซึ่งโจทก์ออกเงินค่าที่ดินอีก200,000 บาท จึงเป็นเรื่องเดียวกับข้อต่อสู้ของจำเลยและประเด็นพิพาทที่ศาลชั้นต้นตั้งไว้ และแม้จำเลยจะนำสืบด้วยว่า โจทก์เข้าหุ้นกับจำเลย ก็พอฟังได้ว่า เป็นเรื่องที่โจทก์ซื้อที่ดินแล้วใช้ที่ดินมาเข้าหุ้น ทางนำสืบของจำเลยอยู่ในขอบเขตของข้อต่อสู้ในคำให้การและประเด็นพิพาทที่ศาลชั้นต้นตั้งไว้ ย่อมไม่ต้องห้ามมิให้รับฟัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4897/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งเพิกถอนสัญญาเมื่อมีข้อต่อสู้เรื่องโมฆะอยู่แล้ว ศาลไม่รับฟ้องแย้งซ้ำ
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า สัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และจำเลย ที่โจทก์นำมาฟ้องตกเป็นโมฆะเพราะเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมหากศาลพิจารณาได้ความจริงดังที่จำเลยกล่าวอ้าง ศาลก็มีอำนาจชี้ขาดให้ยกฟ้องโจทก์ ซึ่งมีผลให้จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ได้อยู่แล้ว จำเลยจึงไม่จำต้องฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนและทำลายสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวให้สิ้นผลบังคับต่อกันอันจะเป็นเหตุให้ศาลต้องวินิจฉัยชี้ขาดปัญหานั้นซ้ำอีกจึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4897/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งเพิกถอนสัญญาเมื่อมีข้อต่อสู้เรื่องโมฆะอยู่แล้ว ศาลไม่รับฟ้องแย้งซ้ำ
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า สัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และจำเลยที่โจทก์นำมาฟ้องตกเป็นโมฆะเพราะเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม หากศาลพิจารณาได้ความจริงดังที่จำเลยกล่าวอ้าง ศาลก็มีอำนาจชี้ขาดให้ยกฟ้องโจทก์ซึ่งมีผลทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ได้อยู่แล้ว จำเลยจึงไม่จำต้องฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนและทำลายสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวให้สิ้นผลบังคับต่อกันอันจะเป็นเหตุให้ศาลต้องวินิจฉัยชี้ขาดปัญหานั้นซ้ำอีก จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4713/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกข้อต่อสู้ไม่ขึ้นในชั้นอุทธรณ์และฎีกา ศาลไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่ที่ไม่ได้ยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับโอนไว้แทนโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 หาได้ให้การปฏิเสธว่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของโจทก์ อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในปัญหาว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลภายนอกซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในปัญหานี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 35