คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อห้าม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 60 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 44/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องซ้ำในคดีบังคับคดี การอุทธรณ์คำสั่งศาล และข้อห้ามในการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
คำร้องฉบับแรกและฉบับหลังของจำเลยมีใจความอย่างเดียวกันว่าโจทก์ยึดที่ดินที่โจทก์นำยึดไม่ได้ เพราะเป็นสินสมรส ต้องขอแยกเสียก่อน ขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด เมื่อศาลมีคำสั่งยกคำร้องฉบับแรก จำเลยไม่พอใจอย่างไร ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ได้ แต่จำเลยไม่อุทธรณ์ กลับมายื่นคำร้องใหม่ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2493/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบเพื่ออธิบายข้อความในเอกสารสัญญาเช่า ไม่ขัดต่อข้อห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทจากโจทก์ ท. ตัวแทนโจทก์ทำบันทึกเอกสารหมาย ล.1 มอบให้จำเลยมีข้อความว่าได้รับฝากเงินค่าต่อสัญญาหนึ่งหมื่นสองพันสองร้อยบาท ดังนี้ จำเลยนำสืบได้ว่า เหตุ ที่ต้องจ่ายเงินจำนวนนั้นให้โจทก์ก็เพราะโจทก์ต่อสัญญาเช่าให้อีก 3 ปี อันเป็นการนำสืบอธิบายข้อความในเอกสารให้ชัดเจน ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1472/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตเลื่อนนัดสืบพยาน และการอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 20,000 บาท ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดี แม้จำเลยจะได้ยื่นคำแถลงโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ ก็เป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในปัญหาข้อนั้นเป็นคุณแก่จำเลย และโจทก์ฎีกาต่อมา แต่เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมายแล้ว ก็ย่อมไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยมิได้นำสือบว่าโจทก์ยินยอมตกลงรับจะปฏิบัติตามเงื่อนไขในใบรับของ จำเลยจึงไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ให้พ้นความรับผิด จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ยอมรับปฏิบัติตามเงื่อนไขนั้นแล้ว ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ข้อนี้โดยเห็นว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น และให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่อยู่แล้วจึงมิได้วินิจฉัยปัญหานี้ ดังนี้ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าไม่ชอบที่จะให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไปเสียเลยก็ได้ และวินิจฉัยว่าเป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2286/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าทองคำโดยไม่ได้รับอนุญาตและเจตนาหลีกเลี่ยงข้อห้ามตามกฎหมายศุลกากร
มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติพระราชกฤษฎีกาควบคุมการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2494 บัญญัติห้ามมิให้นำทองคำเข้ามาในราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวนิยมคำว่าทองคำไว้ว่า "ทองคำ หมายความถึงเนื้อทองคำไม่ว่าจะเป็นแท่ง ก้อน แผ่น หรือรูปอื่น หรือผสมกับสิ่งอื่นใดด้วย แต่ไม่หมายความถึวเครื่องรูปพรรณทองคำซึ่งตามปกติและโดยสภาพใช้ในการประดับร่างกาย" ทองคำแผ่นของกลางทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีขนาดเท่ากันและมีตราประทับไว้เท่านั้น ทองคำแผ่นของกลางจึงไม่ใช่เครื่องรูปพรรณทองคำซึ่งตามปกติและโดยสภาพใช้ในการประดับร่างกาย ทองคำแผ่นของกลางจึงเป็นของต้องห้ามไม่ให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว การที่จำเลยรับทองคำแผ่นของกลางไว้ โดยรู้ว่าเป็นทองคำแผ่นที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาต จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ ซึ่งเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2499 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2135/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คทางไปรษณีย์: การพิสูจน์ข้อห้ามส่งตามระเบียบอธิบดี
พระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ.2477 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2483 ไม่ได้บัญญัติว่าเช็คเป็นของมีค่าซึ่งห้ามส่งทางไปรษณีย์ จึงมิใช่ข้อกฎหมายที่ศาลรู้เอง แต่ต้องสืบพยานว่ามีระเบียบข้อบังคับที่อธิบดีวางไว้ตาม มาตรา 21(1)(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2139/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับมรดกความของผู้รับประโยชน์กับข้อห้ามฟ้องผู้บุพการี และอำนาจศาลในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย
คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์มรณะส.ร้องขอรับมรดกความแต่ปรากฏว่าจำเลยเป็นปู่ของส.ซึ่งอยู่ในฐานะผู้บุพการี การรับมรดกความของ ส. จึงถือได้ว่าอยู่ในฐานะเป็นผู้ฟ้องบุพการี อันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534 แม้จำเลยมิได้คัดค้าน คำร้องของ ส. และศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้รับมรดกความไปแล้ว แต่เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าเข้าลักษณะเป็นอุทลุม ย่อมยกขึ้นวินิจฉัยในเวลาพิพากษาคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าเป็นคดีอุทลุม ส. ผู้รับมรดกความคงอุทธรณ์คัดค้านในประเด็นสำคัญข้อเดียวว่าการรับมรดกความของ ส.ไม่เป็นการฟ้องผู้บุพการีส.มีอำนาจที่จะดำเนินคดีต่อไปได้ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะรับวินิจฉัยให้เฉพาะประเด็นแห่งอุทธรณ์เท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก้าวล่วงเข้าไปสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยเห็นว่าศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ ส. เข้ารับมรดกความเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น หาใช่ประเด็นที่ขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์โดยตรงไม่ อนึ่ง การขอรับมรดกความของ ส. ก็นับว่าเป็นไปโดยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42,43 ทั้งจำเลยก็มิได้คัดค้านคำร้องของ ส. แต่อย่างใด ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งอนุญาตได้ หาเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบไม่
ในชั้นอุทธรณ์ ก. ผู้จัดการมรดกของโจทก์ผู้มรณะตามคำสั่งศาลยื่นคำร้องขอรับมรดกความร่วมกับ ส. เป็นการยอมรับให้ ส. มีฐานะเป็นผู้รับมรดกความต่อไป ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจสั่งตั้ง ก. ให้เข้ารับมรดกความแทนที่ ส. ซึ่งผิดไปจากคำขอ ทั้ง ก. ก็เพิ่งขอเข้ามารับมรดกความภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ไปแล้วและเกินกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์มรณะจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้ ก. เข้ามารับมรดกความ
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์จะดำเนินการให้ฟ้องเป็นคดีใหม่ภายในกำหนดอายุความนั้น ยังไม่เป็นการถูกต้อง เพราะ ส. อาจจะแก้ไขอำนาจฟ้องของตนให้สมบูรณ์ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534 ได้อยู่แล้ว ไม่มีปัญหาเรื่องการรื้อร้องฟ้องเกี่ยวกับประเด็นวินิจฉัยชี้ขาดซ้ำแต่อย่างใด จึงไม่ใช่กรณีอันจำเป็นจะต้องกำหนดเงื่อนไข ในการฟ้องคดีใหม่ ให้เป็นคุณแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148(3) ซึ่งจะกลายเป็นว่า ส. ผู้รับมรดกความยังอยู่ในฐานะเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้บุพการีอย่างคดีเดิมได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมทุนทรัพย์ฟ้องเดิมและฟ้องแย้งเพื่อพิจารณาข้อห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
คดีตามฟ้องโจทก์มีทุนทรัพย์ไม่ถึง 5,000 บาท ส่วนคดีตามฟ้องแย้งของจำเลยก็มีทุนทรัพย์ไม่ถึง 5,000 บาทฟ้องเดิมกับฟ้องแย้งเป็นคนละคดีจะถือเอาทุนทรัพย์รวมกันเพื่อพิจารณาว่าฎีกานั้นต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 หรือไม่ ย่อมไม่ได้ ฎีกาจำเลยจึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมทุนทรัพย์ฟ้องเดิมกับฟ้องแย้งเพื่อพิจารณาข้อห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248
คดีตามฟ้องโจทก์มีทุนทรัพย์ไม่ถึง 5,000 บาท. ส่วนคดีตามฟ้องแย้งของจำเลยก็มีทุนทรัพย์ไม่ถึง 5,000 บาท.ฟ้องเดิมกับฟ้องแย้งเป็นคนละคดีจะถือเอาทุนทรัพย์รวมกันเพื่อพิจารณาว่าฎีกานั้นต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 หรือไม่. ย่อมไม่ได้. ฎีกาจำเลยจึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 543/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพยานโจทก์ ศาลชอบที่จะยกฟ้องได้ และฎีกาไม่ขัดต่อข้อห้ามตามมาตรา 226(2)
โจทก์ ทนายโจทก์ และพยานโจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ครั้งที่สองโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง คงมาแต่ฝ่ายจำเลยทนายจำเลยแถลงต่อศาลว่า 'ขอให้ศาลยกฟ้องของโจทก์เสียเพราะถือได้ว่าโจทก์ไม่มีพยานมาให้ศาลสืบ' ดังนี้ย่อมหมายความว่า หน้าที่นำสืบก่อนตกแก่โจทก์เมื่อโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ ศาลก็ชอบที่จะยกฟ้องของโจทก์เสียการที่โจทก์ขาดนัดเช่นนี้ กรณีไม่เข้าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 ซึ่งว่าด้วยการขาดนัดในคดีที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานหาใช่ขาดในนัดต่อๆมาไม่ศาลจะดำเนินกระบวนพิจารณาไปอย่างไรแล้วแต่รูปคดีไม่ได้ต้องผูกมัดว่าจะต้องจำหน่ายคดีตามมาตรา 201
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปศาลชั้นต้นได้นัดสืบพยานแล้วโจทก์จึงยื่นฎีกาภายในกำหนดเวลาดังนี้ ถือว่าฎีกาของโจทก์ไม่ต้องห้าม และกรณีไม่เข้า มาตรา 226(2) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เพราะโจทก์ฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หาได้ฎีกาเพราะคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้นัดสืบพยานจำเลยในครั้งหลังนี้อันเป็นคำสั่งที่สืบเนื่องมาจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่เมื่อคดีชั้นศาลอุทธรณ์พิพากษายังอยู่ในระหว่างอายุความฎีกาโจทก์ย่อมยื่นฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ & ข้อห้ามสืบพยานเพิ่มเติมเอกสาร
ผู้มอบอำนาจให้ดำเนินคดีได้ลงลายพิมพ์นิ้วมือในหนังสือมอบอำนาจ และมีบุคคล 2 คนลงลายมือชื่อเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจนั้น แม้มิได้มีข้อความไว้ด้วยว่ารับรองลายพิมพ์นิ้วมือของผู้มอบอำนาจ ก็นับว่าเป็นพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือนั้นด้วย
(อ้างฏีกาที่ 521/2496) ผู้เช่าอสังหาริมทรัพย์จะขอนำสืบพยานบุคคลว่า ได้มีข้อตกลงกันไว้ว่าเมื่อหมดสัญญาเช่าแล้วก็ต้องทำสัญญาเช่ากันใหม่ โดยในหนังสือสัญญาเช่าไม่มีข้อความเช่นว่านั้นเลย หาได้ไม่เพราะเป็นการขอสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมข้อความในเอกสารซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.แพ่ง ม.94
of 6