พบผลลัพธ์ทั้งหมด 55 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 862/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนข้อเรียกร้องแรงงานทำให้สิทธิปิดงานของนายจ้างระงับ และนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้าง
การที่เจ้านายหรือลูกจ้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะยื่นขอเรียกร้องเพื่อกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 13 วรรคแรก บังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือยื่นต่ออีกฝ่ายหนึ่ง ไม่มีข้อยกเว้นว่าการยื่นขอเรียกร้องสามารถทำเป็นข้อเสนอในการเจรจาได้ เมื่อลูกจ้างซึ่งเป็นฝ่ายยื่นข้อเรียกร้องได้ถอนข้อเรียกร้องของฝ่ายตน ข้อพิพาทแรงงานที่เกิดขึ้นจากสาเหตุที่ลูกจ้างยื่นข้อเรียกร้องย่อมระงับไป สิทธิของนายจ้างที่จะปิดงานย่อมระงับไปด้วย นายจ้างจะอ้างเหตุว่าในระหว่างเจรจาต่อรองได้เสนอให้อายุสัญญาข้อตกลงมีกำหนด 2 ปี เป็นการยื่นข้อเรียกร้องของนายจ้างแล้วไม่ได้ เพราะไม่ได้ดำเนินการดังที่กฎหมายบัญญัติไว้
ข้อพิพากแรงงานระงับไปโดยลูกจ้างถอนข้อเรียกร้องแล้วนายจ้างยังเปิดบริษัทดำเนินกิจการอยู่ตลอดมา แต่บ่ายเบี่ยงปิดงานไม่ยอมรับเฉพาะลูกจ้างซึ่งยื่นข้อเรียกร้องเข้าทำงาน เมื่อสัญญาแรงงานยังมีอยู่นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างตลอดระยะเวลาที่ยังปิดงานเฉพาะลูกจ้างดังกล่าวนั้น
ข้อพิพากแรงงานระงับไปโดยลูกจ้างถอนข้อเรียกร้องแล้วนายจ้างยังเปิดบริษัทดำเนินกิจการอยู่ตลอดมา แต่บ่ายเบี่ยงปิดงานไม่ยอมรับเฉพาะลูกจ้างซึ่งยื่นข้อเรียกร้องเข้าทำงาน เมื่อสัญญาแรงงานยังมีอยู่นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างตลอดระยะเวลาที่ยังปิดงานเฉพาะลูกจ้างดังกล่าวนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3923/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้องทางแรงงาน ไม่จำเป็นต้องระบุเหตุผลว่าไม่เป็นธรรมหรือไม่
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 31 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า.'เมื่อได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องตามมาตรา 13 แล้ว ถ้าข้อเรียกร้องนั้นอยู่ในระหว่างการเจรจา การไกล่เกลี่ย หรือ การชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานตามมาตรา 13 ถึงมาตรา 29 ห้ามมิให้ นายจ้างเลิกจ้างหรือโยกย้ายหน้าที่การงานลูกจ้างผู้แทนลูกจ้างกรรมการ อนุกรรมการ หรือสมาชิกสหภาพแรงงาน หรือกรรมการหรือ อนุกรรมการสหพันธ์แรงงานซึ่งเกี่ยวกับข้อเรียกร้อง' การที่โจทก์ บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำ โดยไม่เป็นธรรม ไร้เหตุผลในระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้องซึ่งโจทก์ ได้ยื่นข้อเรียกร้องไว้ต่อจำเลยตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 นั้น เป็นการบรรยายการกระทำผิดของจำเลยทั้งสอง ครบองค์ประกอบความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว ส่วนการกระทำ ของจำเลยทั้งสองเป็นกรณีไม่เป็นธรรมหรือไร้เหตุผลหรือไม่ ไม่ใช่องค์ประกอบของความผิดนั้นฉะนั้นโจทก์จะบรรยายฟ้องไว้หรือไม่ก็ตาม ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2607-2608/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อเรียกร้องไม่ครบตามกฎหมาย, นัดหยุดงานโดยมิชอบ, การเลิกจ้างที่เป็นธรรม
เมื่อโจทก์กับพวกยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลยตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 13 มีลายมือชื่อผู้เรียกร้องไม่ครบร้อยละสิบห้า ข้อเรียกร้องจึงไม่มีผลและถือได้ว่าตกไป การที่มีการยื่นลายมือชื่อผู้เรียกร้องเพิ่มขึ้นหาทำให้ข้อเรียกร้องดังกล่าวกลับถูกต้องตามกฎหมายไม่ โจทก์จึงไม่มีมูลฐานที่จะยกขึ้นอ้างเพื่อนัดหยุดงานได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยให้โจทก์กลับเข้าทำงานแต่โจทก์ก็ยังคงนัดหยุดงานกันต่อไป จึงเป็นกรณีที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2607-2608/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อเรียกร้องไม่ครบ 15% ไม่มีผล นัดหยุดงานโดยมิชอบ เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าว
เมื่อโจทก์กับพวกยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลยตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 13 มีลายมือชื่อผู้เรียกร้องไม่ครบร้อยละสิบห้าข้อเรียกร้องจึงไม่มีผลและถือได้ว่าตกไปการที่มีการยื่นลายมือชื่อผู้เรียกร้องเพิ่มขึ้นหาทำให้ข้อเรียกร้องดังกล่าวกลับถูกต้องตามกฎหมายไม่โจทก์จึงไม่มีมูลฐานที่จะยกขึ้นอ้างเพื่อนัดหยุดงานได้โดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อจำเลยให้โจทก์กลับเข้าทำงานแต่โจทก์ก็ยังคงนัดหยุดงานกันต่อไป จึงเป็นกรณีที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรจำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2955/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้ขาดคุณสมบัติ แม้เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องแรงงาน นายจ้างทำได้โดยชอบ
แม้โจทก์จะเป็นกรรมการสหภาพแรงงานการประปาแห่งประเทศไทยและเป็นผู้เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องที่สหภาพแรงงานการประปาแห่งประเทศไทยยื่นต่อจำเลยและยังอยู่ในระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้องก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้ขาดคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ ในเรื่องไม่สามารถทำงานให้แก่รัฐวิสาหกิจได้เต็มเวลา จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้ โดยถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1600/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่มีส่วนร่วมเตรียมข้อเรียกร้องถือเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
จำเลยเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเตรียมการยื่นข้อเรียกร้องต่อโจทก์นายจ้าง โดยเข้าร่วมประชุมปรึกษากับลูกจ้างอื่น แม้จะไม่มีชื่อและลายมือชื่อของจำเลยในหนังสือแจ้งข้อเรียกร้องที่ยื่นต่อโจทก์ ก็ถือได้ว่าจำเลยเป็นลูกจ้างที่ยื่นข้อเรียกร้องด้วย การที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยจึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1600/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่มีส่วนร่วมในการยื่นข้อเรียกร้อง ถือเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
จำเลยเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเตรียมการยื่นข้อเรียกร้องต่อโจทก์นายจ้าง โดยเข้าร่วมประชุมปรึกษากับลูกจ้างอื่นแม้จะไม่มีชื่อและลายมือชื่อของจำเลยในหนังสือแจ้งข้อเรียกร้องที่ยื่นต่อโจทก์ ก็ถือได้ว่าจำเลยเป็นลูกจ้างที่ยื่นข้อเรียกร้องด้วย การที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยจึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518 มาตรา 121(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1005/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นอัมพาต และความคุ้มครองตามมาตรา 31 พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ต้องแสดงความเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง
การที่ลูกจ้างจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์มาตรา 31 ซึ่งห้ามนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง ในระหว่างการเจรจาการไกล่เกลี่ย หรือการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน นั้น ลูกจ้างจะต้องบรรยายฟ้องว่าลูกจ้างเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องและจะได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอย่างไร เมื่อลูกจ้างมิได้บรรยายฟ้องว่าลูกจ้างเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องอย่างไรแล้ว ลูกจ้างจะอาศัยประโยชน์จากบทบัญญัติมาตรา 31 มาเป็นการตัดสิทธินายจ้างมิให้ เลิกจ้างลูกจ้างในระหว่างที่ยังไม่มีการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานมิได้
โจทก์เป็นอัมพาตทำงานให้จำเลยไม่ได้ จำเลยย่อมเลิกจ้าง โจทก์ได้กรณีเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควร มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์เป็นอัมพาตทำงานให้จำเลยไม่ได้ จำเลยย่อมเลิกจ้าง โจทก์ได้กรณีเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควร มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3546/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจผู้แทนในการเจรจาข้อพิพาทแรงงาน ไม่ต้องติดอากรแสตมป์ ผูกพันจำเลย หากสืบเนื่องจากข้อเรียกร้อง
การแจ้งชื่อตนเองหรือผู้แทนของฝ่ายรับข้อเรียกร้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 16 นั้น กฎหมายมิได้กำหนดว่าจะต้องกระทำในรูปแบบใด เพียงแต่บังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ ดังนั้นหนังสือมอบอำนาจที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้ลูกจ้างจำเลยสองคนมาเป็นผู้แทนในการเจรจาตกลงกับฝ่ายเรียกร้องจึงใช้บังคับได้ แม้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรก็ตาม
การประนอมข้อพิพาทแรงงานตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ นั้นหมายถึงทั้งสองฝ่ายต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันเพื่อที่จะระงับข้อพิพาทแรงงานอันเกิดจากการเรียกร้องของลูกจ้างดังนั้นข้อตกลงที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกันโดยมีเหตุสืบเนื่องมาจากการยื่นข้อเรียกร้องของลูกจ้างนั้นย่อมใช้บังคับได้
ข้อบังคับของบริษัทที่ว่าต้องมีกรรมการลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทจึงจะผูกพันบริษัทนั้น หมายถึงบริษัททำการเอง ไม่ใช้แก่กิจการที่ผู้แทนบริษัททำแทนบริษัท
การประนอมข้อพิพาทแรงงานตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ นั้นหมายถึงทั้งสองฝ่ายต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันเพื่อที่จะระงับข้อพิพาทแรงงานอันเกิดจากการเรียกร้องของลูกจ้างดังนั้นข้อตกลงที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกันโดยมีเหตุสืบเนื่องมาจากการยื่นข้อเรียกร้องของลูกจ้างนั้นย่อมใช้บังคับได้
ข้อบังคับของบริษัทที่ว่าต้องมีกรรมการลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทจึงจะผูกพันบริษัทนั้น หมายถึงบริษัททำการเอง ไม่ใช้แก่กิจการที่ผู้แทนบริษัททำแทนบริษัท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3109/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างในภาวะขาดทุนและการคุ้มครองตามมาตรา 123 พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ กรณีลูกจ้างไม่ได้เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง
โจทก์ที่ 1 เป็นบริษัทในเครือเดียวกับโจทก์ที่ 2 เมื่อปรากฏว่าสหภาพแรงงานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอลูมิเนียมและโลหะยื่นข้อเรียกร้องต่อโจทก์ที่ 2 เท่านั้น มิได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อโจทก์ที่ 1 ด้วย ลูกจ้างของโจทก์ที่ 1 จึงมิใช่ลูกจ้างซึ่งเกี่ยวกับข้อเรียกร้องอันจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 123 แม้โจทก์ที่ 1 จะทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับสหภาพแรงงานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอลูมิเนียมและโลหะด้วยก็ตาม
แม้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 123 จะกำหนดเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้เพียง 5 ประการก็ตาม แต่ก็มิได้หมายความว่า เมื่อมีเหตุจำเป็นนอกเหนือไปจาก 5 ประการแล้วนายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างมิได้ เมื่อปรากฏว่าการดำเนินกิจการของนายจ้างประสบภาวะขาดทุนตลอดมา ย่อมมีเหตุเพียงพอและสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างได้ กรณีมิใช่เป็นการกลั่นแกล้งอันจะถือได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
แม้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 123 จะกำหนดเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้เพียง 5 ประการก็ตาม แต่ก็มิได้หมายความว่า เมื่อมีเหตุจำเป็นนอกเหนือไปจาก 5 ประการแล้วนายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างมิได้ เมื่อปรากฏว่าการดำเนินกิจการของนายจ้างประสบภาวะขาดทุนตลอดมา ย่อมมีเหตุเพียงพอและสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างได้ กรณีมิใช่เป็นการกลั่นแกล้งอันจะถือได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม