คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้าราชการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 278 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งไล่ออกข้าราชการกรณีร่ำรวยผิดปกติ: แยกพิจารณาเรื่องทรัพย์สินกับเรื่องการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ในวงราชการ พ.ศ. 2518 มาตรา 20 จำแนกวิธีดำเนินการไว้เป็น 2 ส่วน กล่าวคือ ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ถูกกล่าวหาเป็นกรณีตามความในวรรคหนึ่ง ต้องได้ความว่าผู้นั้นร่ำรวยผิดปกติและไม่สามารถแสดงได้ว่าร่ำรวยขึ้นในทางที่ชอบ ให้ถือว่าผู้นั้นใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบนายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งลงโทษไล่ออก มีลักษณะครอบคลุมกว้างขวางถึงพฤติการณ์ของผู้ถูกกล่าวหา มิใช่มุ่งเฉพาะแต่ตัวทรัพย์สินที่ตรวจสอบพบและให้ถือว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ โดยมิชอบ ซึ่งเป็นการลงโทษตามบทกฎหมายพิเศษเฉพาะเรื่อง แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ถูกกล่าวหาเป็นกรณีตามความในวรรคสุดท้าย หากเจ้าหน้าที่ ของรัฐผู้นั้นแสดงให้ศาลเห็นว่าตนได้ทรัพย์สินนั้นมาในทางที่ชอบศาลก็ไม่อาจริบทรัพย์สินนั้นเป็นของแผ่นดิน จึงเป็นเรื่องเฉพาะ เกี่ยวกับตัวทรัพย์สินตามคำร้องขอ ซึ่งมีปัญหาเพียงว่า สมควรริบทรัพย์สินให้ตกเป็นของแผ่นดินหรือไม่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับ ปัญหาว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นร่ำรวยขึ้นในทางมิชอบและถือว่า เป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบตามความในวรรคหนึ่ง ดังนั้น คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่เป็นคำสั่งตามความใน มาตรา 20 วรรคหนึ่ง เป็นคนละส่วนแยกต่างหากจากวรรคสุดท้าย โจทก์จึงไม่อาจยกคำวินิจฉัยของศาลซึ่งถึงที่สุดที่เกี่ยวเฉพาะตัว ทรัพย์สินตามคำร้องตามความในวรรคสุดท้ายขึ้นอ้างเพื่อหักล้าง ข้อเท็จจริงที่ว่าตนร่ำรวยขึ้นในทางมิชอบ และถือว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบได้ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งมีลักษณะเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ ของฝ่ายบริหารโดยเฉพาะ โดยใช้ดุลพินิจตามขั้นตอน และมีกฎหมายรองรับทั้งไม่ปรากฏว่ากระบวนการในการออกคำสั่ง นั้นไม่ชอบ คำสั่งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6124/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งปลดข้าราชการชอบด้วยกฎหมาย มีพยานหลักฐานยืนยันการกระทำผิด
ตามสำนวนการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงและการสอบสวนทางวินัย ปรากฏว่าทางราชการได้ดำเนินการสืบสวน ความผิดของโจทก์ไปตามระเบียบและขั้นตอน ของกฎหมายเริ่มตั้งแต่มีการตั้งคณะกรรมการสืบสวนสอบสวน หาข้อเท็จจริงคณะกรรมการได้สอบปากคำพยานบุคคล และเอกสารผู้เกี่ยวข้อง เมื่อเห็นว่ามีมูลความจริงแล้ว จำเลยจึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 86 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 ที่แก้ไขแล้ว แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่โจทก์ ซึ่งคณะกรรมการ ก็ได้สอบสวนทั้งพยานบุคคลจำนวนหลายปากและพยานเอกสาร ได้ความสอดรับกันตั้งแต่ต้น แล้วจำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ ออกจากราชการ เมื่อเป็นคำสั่งที่อาศัยผลจากการสอบสวน ทางวินัยของคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยที่จำเลย ตั้งขึ้นตามกฎหมาย ซึ่งมีทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารยืนยันกัน ว่าโจทก์มีส่วนร่วมในการเรียกเอาทรัพย์ตามที่ถูกกล่าวหาแม้ต่อมาโจทก์จะได้อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยต่อคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) แต่ในที่สุดนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการดังกล่าวก็มีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์เสีย ดังนี้ ที่โจทก์อ้างว่าคำสั่งของจำเลยเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเป็นคำสั่งที่ปราศจากพยานหลักฐานที่จะยืนยันว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาจึงไม่เป็นความจริงจึงชอบที่ศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5644/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับบำนาญข้าราชการเมื่อกลับเข้ารับราชการใหม่ และการเรียกร้องเงินบำนาญเกินสิทธิ
สิทธิของจำเลยในการขอรับบำนาญจากโจทก์เมื่อกลับเข้า รับราชการใหม่จะต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติ บำเหน็จบำนาญ ข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2500 มาตรา 34 ที่กำหนดว่า ถ้าเงินเดือนที่ได้รับในขณะที่เข้ารับราชการครั้งใหม่น้อยกว่า เงินเดือนเดิมเมื่อก่อนออกจากราชการจะขอรับบำนาญรวมกัน ไปด้วยก็ได้ แต่ถ้าเงินเดือนรวมกับบำนาญสูงกว่าเงินเดือนเดิม ต้องลดบำนาญลงในระหว่างที่รับราชการครั้งหลังจนเงินเดือน ใหม่รวมกับบำนาญไม่สูงกว่าเงินเดือนเดิม ถ้าเงินเดือนใหม่ เท่าหรือสูงกว่าเงินเดือนเดิมก็ให้งดบำนาญในระหว่างนั้น ดังนั้น เมื่อจำเลยได้รับเงินเดือนใหม่ในอัตราเดือนละ 750 บาท จำเลยมีสิทธิได้รับบำนาญเพียงเดือนละ 250 บาท ซึ่งเมื่อรวม กับเงินเดือนแล้วไม่สูงกว่าเงินเดือนก่อนลาออกจากราชการ ที่รับอยู่ในอัตราเดือนละ 1,000 บาท และเมื่อเงินเดือนใหม่ ของจำเลยสูงขึ้น สิทธิในการรับบำนาญของจำเลยก็จะต้องลดลง จนเมื่อเงินเดือนใหม่เป็นอัตราเดือนละ 1,000 บาท ขึ้นไป จึงให้งดบำนาญเสียทั้งหมด สิทธิในการรับบำนาญของจำเลยในกรณีที่กลับเข้ารับราชการใหม่กับไม่เข้ารับราชการใหม่ จึงไม่ เหมือนกันและเป็นหน้าที่ของจำเลยในอันที่จะต้องแจ้งให้โจทก์ ทราบว่าจำเลยกลับเข้ารับราชการใหม่ในหน่วยราชการอื่น เพื่อ โจทก์จะได้จ่ายเงินบำนาญให้แก่จำเลยได้ถูกต้องตามสิทธิของ ของจำเลย การที่จำเลยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงการกลับ เข้ารับราชการใหม่ทำให้โจทก์จ่ายเงินบำนาญแก่จำเลยไปเกินกว่า สิทธิที่จำเลยจะได้รับนั้นเป็นการปิดบังโจทก์ทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ในฐานะเจ้าของเงินย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกเงินจำนวนนี้ คืนจากจำเลยอันเป็นการใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์ ของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ กรณีไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4681/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังเอกสารสำเนาบัตรข้าราชการและลายมือชื่อเพื่อเปรียบเทียบ
เมื่อเอกสารสำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการที่โจทก์อ้างส่งต่อศาล จำเลยไม่คัดค้าน อีกทั้งจำเลยยังได้เบิกความยอมรับถึงความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าว ดังนี้ ศาลย่อมรับฟังลายมือชื่อของจำเลยในเอกสารดังกล่าวเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับลายมือชื่อของผู้ค้ำประกันที่พิพาทได้ ตามนัยแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 93 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: การระบุอาชีพจำเลยในคำฟ้องมีผลต่ออำนาจพิจารณาคดี แม้ภายหลังจะอ้างเป็นข้าราชการ
ขณะที่โจทก์ยื่นคำฟ้องต่อศาลชั้นต้นได้ระบุอาชีพของจำเลยไว้อย่างชัดแจ้งว่าเป็นข้าราชการบำนาญ จำเลยทราบคำฟ้องแล้วมิได้คัดค้านโต้แย้งทั้ง ๆ ที่อยู่ในวิสัยของจำเลยอันพึงต้องกระทำ จึงถือได้ว่าจำเลยมิใช่บุคคลที่อยู่ ในอำนาจศาลทหารในขณะกระทำผิดตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารพ.ศ. 2498 มาตรา 13,16(1) ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่ง ประทับฟ้องแล้วดำเนินคดีต่อมาตามขั้นตอนแม้จะปรากฏจากฎีกา ของจำเลยในภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารก็ตามศาลล่างทั้งสองซึ่งเป็นศาลพลเรือนด้วยกันก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารฯมาตรา 15 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8341/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดซื้อพัสดุโดยมิชอบตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย การกระทำละเมิดของข้าราชการและการรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2522 ข้อ 14 ระบุว่าการซื้อโดยวิธีพิเศษ ได้แก่ การซื้อครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกินกว่า 10,000 บาท ให้กระทำได้เฉพาะกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้ (3) เป็นพัสดุที่จำเป็นต้องซื้อเร่งด่วน หากล่าช้าอาจจะเสียหายแก่หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น(5) เป็นพัสดุที่จำเป็นต้องซื้อจากผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายโดยตรง แต่หนังสือแบบทดสอบประเมินผลฉบับบูรณาการชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 นั้น มิใช่แบบเรียนที่ได้กำหนดไว้ในหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติเพียงแต่เป็นหนังสือเสริมการเรียนการสอนเท่านั้น ดังนั้นแม้ทางโรงเรียนจะเปิดเรียนถึงเทอมที่ 2 ก็ไม่ใช่กรณีเร่งด่วนเพราะเป็นหนังสือประกอบการเรียนการสอนเท่านั้น แม้จะล่าช้าไปบ้างก็ไม่น่าจะทำให้ทางราชการเสียหาย และแม้ว่าเป็นช่วงปลายปีงบประมาณก็ไม่ใช่เป็นเหตุเร่งด่วนที่จะต้องจัดซื้อตามระเบียบดังกล่าวอีกทั้งร้านสหกรณ์กลาโหม จำกัด ก็ไม่ใช่ผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายโดยตรงตามข้อ 14(5) แห่งระเบียบดังกล่าวนั้น การที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เริ่มต้นเสนอเรื่องขออนุมัติจัดซื้อหนังสือดังกล่าวจากร้านสหกรณ์กลาโหมจำกัด โดยผ่านจำเลยที่ 2 ที่ 3 และจำเลยที่ 4 เป็นผู้อนุมัติเมื่อการกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นเหตุให้โจทก์ต้องซื้อหนังสือพิพาทแพงไป ย่อมถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่ได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์เสียหายอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6248/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษทางวินัยข้าราชการ: การพิจารณาความร้ายแรงของการกระทำผิดและระเบียบพัสดุ
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518มาตรา 83 และมาตรา 85 การลงโทษผู้กระทำผิดวินัยที่ยังไม่ถึงขั้นเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง หากเป็นการกระทำผิดวินัยเล็กน้อยอาจลงโทษภาคทัณฑ์ก็ได้ และหากเป็นการกระทำผิดครั้งแรกจะงดลงโทษ โดยว่ากล่าวตักเตือนหรือให้ ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือไว้ก่อนก็ได้ นอกจากนี้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2521 ได้วางระเบียบในการลงโทษผู้กระทำผิดวินัยของเจ้าหน้าที่พัสดุไว้ในข้อ 8(3) ว่า ถ้าการกระทำไม่เป็นเหตุให้ทางราชการเสียหายให้ลงโทษภาคทัณฑ์หรือว่ากล่าวตักเตือน โดยทำคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร ดังนั้น เมื่อกรณีของโจทก์เป็นการกระทำผิดวินัยขณะปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่พัสดุ โดยไม่ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2521โดยโจทก์กระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง และไม่ทำให้ทางราชการเสียหาย การลงโทษทางวินัยโจทก์จึงต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ตามข้อ 8(3) ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุพ.ศ. 2521 คือภาคทัณฑ์หรือว่ากล่าวตักเตือน โดยทำคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร การที่จำเลยที่ 2 ลงโทษตัดเงินเดือนโจทก์ร้อยละ 10 มีกำหนด 2 เดือน ซึ่งขัดต่อระเบียบดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6107/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว แม้เป็นข้าราชการ แต่ไม่พยายามชำระหนี้ จึงมีเหตุให้ล้มละลายได้
แม้จำเลยจะมีเงินเดือนเดือนละ 15,420 บาทแต่ก็เป็นเงินเดือนของข้าราชการไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 286(2) โจทก์ย่อมไม่สามารถบังคับคดีแพ่งให้จำเลยชำระหนี้ด้วยเงินเดือนได้ ที่จำเลยอ้างว่ามีรายได้พิเศษจากการเป็นพนักงานขายของเดือนละประมาณ 10,000 บาทแต่จำเลยก็ไม่เคยผ่อนชำระให้แก่โจทก์เลย ส่วนทรัพย์สินที่ มารดา จะยกให้นั้น แม้จะมีอยู่จริงแต่ก็ไม่แน่นอนว่ามารดาจะยกให้จริงหรือไม่ ข้ออ้างของจำเลยดังกล่าวคงฟังได้เฉพาะเรื่องเงินเดือนเท่านั้น ส่วนทรัพย์สินอื่น ๆฟังไม่ได้ดังที่อ้าง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยมีทรัพย์สินอื่นใดที่จะยึดมาชำระหนี้ได้ ถือได้ว่าจำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินพ้นตัว แม้จำเลยจะเป็นข้าราชการ แต่ไม่พยายามชำระหนี้หรือขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้โดยสุจริตจึงไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้าราชการยึดของกลางต้องรับผิดชอบความเสียหายจากการดูแลรักษาทรัพย์สิน
จำเลยที่ 2 เป็นสารวัตรใหญ่ และจำเลยที่ 3 เป็นพนักงานสอบสวน คนทั้งสองต่างเป็นข้าราชการในสังกัดของกรมตำรวจ จำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยึดรถยนต์พิพาทของโจทก์เป็นของกลางเป็นการปฏิบัติหน้าที่อย่างหนึ่งตามระเบียบข้อบังคับและคำสั่งที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 มีหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติงานของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้เป็นไปตามระเบียบและคำสั่งเพื่อมิให้เกิดความเสียหาย เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ยึดรถยนต์พิพาทไว้เป็นของกลางในคดีความผิดต่อ พ.ร.บ.จราจรทางบก ซึ่งมีคนตายและได้รับบาดเจ็บในกรณีนี้เป็นการปฏิบัติหน้าที่อย่างหนึ่งและมีฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงมีหน้าที่ดูแลรักษาทรัพย์ของกลางเหมือนเช่นวิญญูชนพึงดูแลทรัพย์สินของตน แต่เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้ดูแลรักษารถยนต์พิพาทของกลางตามสมควร เป็นเหตุให้รถยนต์พิพาทสูญหาย กรณีจึงเป็นการกระทำละเมิดในฐานะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล ตาม ป.พ.พ.มาตรา 76 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายแก่โจทก์ด้วย จะอ้างว่าตนไม่มีอำนาจในการยึดสิ่งของในคดีอาญามาปฏิเสธความรับผิดของตนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหน่วยงานราชการต่อความเสียหายจากละเมิดของข้าราชการในการยึดและดูแลของกลาง
จำเลยที่2เป็นสารวัตรใหญ่และจำเลยที่3เป็นพนักงานสอบสวนคนทั้งสองต่างเป็นข้าราชการในสังกัดของกรมตำรวจจำเลยที่1การที่จำเลยที่2และที่3ยึดรถยนต์พิพาทของโจทก์เป็นของกลางเป็นการปฏิบัติหน้าที่อย่างหนึ่งตามระเบียบข้อบังคับและคำสั่งที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่1และจำเลยที่1มีหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติงานของจำเลยที่2และที่3ให้เป็นไปตามระเบียบและคำสั่งเพื่อมิให้เกิดความเสียหายเมื่อจำเลยที่2และที่3ยึดรถยนต์พิพาทไว้เป็นของกลางในคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบกซึ่งมีคนตายและได้รับบาดเจ็บในกรณีนี้เป็นการปฏิบัติหน้าที่อย่างหนึ่งและมีฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่1จำเลยที่2และที่3จึงมีหน้าที่ดูแลรักษาทรัพย์ของกลางเหมือนเช่นวิญญูชนพึงดูแลทรัพย์สินของตนแต่เมื่อจำเลยที่2และที่3ไม่ได้ดูแลรักษารถยนต์พิพาทของกลางตามสมควรเป็นเหตุให้รถยนต์พิพาทสูญหายกรณีจึงเป็นการกระทำละเมิดในฐานะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แทนของจำเลยที่1ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา76วรรคหนึ่งจำเลยที่1จึงต้องร่วมกับจำเลยที่2และที่3รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายแก่โจทก์ด้วยจะอ้างว่าตนไม่มีอำนาจในการยึดสิ่งของในคดีอาญามาปฏิเสธความรับผิดของตนไม่ได้
of 28