พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1884/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินมือเปล่า การได้สิทธิครอบครอง และผลกระทบต่ออายุความคดีมรดก
การซื้อขายที่ดินมือเปล่า เมื่อผู้ขายได้สละสิทธิครอบครองโดยมอบที่ดินให้ผู้ซื้อเข้าครอบครองแล้ว ผู้ซื้อก็ได้สิทธิครอบครองทันที
เมื่อผู้ซื้อได้สิทธิครอบครองในที่มือเปล่าแล้ว ข้อที่ผู้ซื้อเรียกให้ทายาทผู้ขายปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายเมื่อเกินกำหนด 1 ปี นับแต่วันผู้ขายตาย คดีขาดอายุความแล้วก็ตาม ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป
เมื่อผู้ซื้อได้สิทธิครอบครองในที่มือเปล่าแล้ว ข้อที่ผู้ซื้อเรียกให้ทายาทผู้ขายปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายเมื่อเกินกำหนด 1 ปี นับแต่วันผู้ขายตาย คดีขาดอายุความแล้วก็ตาม ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกฟ้องคดีมรดกเมื่อทรัพย์สินถูกโอนไปแล้ว และสิทธิในการฟ้องร้องเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องคดีที่ดินมรดกโดยอ้างว่าโจทก์เป็นทายาทผู้มีส่วนได้รับร่วมกับจำเลยด้วย แต่จำเลยไปใส่ชื่อจำเลยในโฉนดเสียแต่ผู้เดียวโจทก์มีคำขอท้ายฟ้องว่าขอให้ลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินนั้นด้วยต่อมาในระหว่างคดีปรากฏว่าจำเลยได้โอนขายที่พิพาทนั้นไปยังบุคคลที่สามดั่งนี้ เป็นอันว่าวัตถุที่โจทก์เรียกร้องนั้นไม่มีที่จำเลยจึงเป็นการพ้นวิสัยที่ศาลจะพิพากษาบังคับให้ตามคำขอท้ายฟ้องและจะพิพากษาว่าโจทก์มีส่วนกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทซึ่งเป็นของคนอื่นโดยสิ้นเชิงแล้วก็ย่อมไม่ได้จึงต้องพิพากษายกฟ้อง
คดีที่ต้องยกฟ้องเพราะจำเลยโอนทรัพย์พิพาทให้พ้นคดีไปเสียนั้นไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะว่ากล่าวฟ้องร้องต่อไปอีก
จำเลยดำเนินคดีให้โจทก์ต้องถูกยกฟ้องเพราะจำเลยโอนทรัพย์พิพาทไปยังบุคคลอื่นเสียก่อนเช่นนี้ควรให้จำเลยเสียค่าธรรมเนียมแทนโจทก์
คดีที่ต้องยกฟ้องเพราะจำเลยโอนทรัพย์พิพาทให้พ้นคดีไปเสียนั้นไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะว่ากล่าวฟ้องร้องต่อไปอีก
จำเลยดำเนินคดีให้โจทก์ต้องถูกยกฟ้องเพราะจำเลยโอนทรัพย์พิพาทไปยังบุคคลอื่นเสียก่อนเช่นนี้ควรให้จำเลยเสียค่าธรรมเนียมแทนโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 550/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีมรดก: การอ้างเหตุภายนอกที่มิได้ยกขึ้นในฟ้องเป็นเหตุให้คดีขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องคดีมรดกเกิน 1 ปี นับแต่ได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกโดยโจทก์มิได้เป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกนั้น
คดีโจทก์ขาดอายุความ
โจทก์กล่าวมาในอุทธรณ์ว่าโจทก์อาศัยระยะเวลาที่พนักงานที่ดินอำเภอสั่งให้ไปฟ้อง คดีจึงยังไม่ขาดอายุความ แต่ปรากฏว่าเป็นการกล่าวอ้างเอาข้อความนอกฟ้องนอกประเด็นมาอุทธรณ์รับพิจารณาไม่ได้
คดีโจทก์ขาดอายุความ
โจทก์กล่าวมาในอุทธรณ์ว่าโจทก์อาศัยระยะเวลาที่พนักงานที่ดินอำเภอสั่งให้ไปฟ้อง คดีจึงยังไม่ขาดอายุความ แต่ปรากฏว่าเป็นการกล่าวอ้างเอาข้อความนอกฟ้องนอกประเด็นมาอุทธรณ์รับพิจารณาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 668/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีมรดกต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่วันรู้ถึงการเสียชีวิตของเจ้ามรดก หากเกินกำหนดฟ้องขาดอายุความ
คดีมรดกต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันเจ้ามรดกตายหรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรจะได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกตามมาตรา1754
โจทก์เป็นสามีผู้ตายเจ้ามรดก. เวลาเจ้ามรดกตายโจทก์ก็รู้และนับแต่วันตายมาถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกิน 1 ปีแล้วทั้งมรดกที่พิพาทกันโจทก์ก็มิได้เป็นผู้ครอบครองร่วมกับจำเลย(มารดาผู้ตาย)เช่นนี้ โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ถูกปิดบังทรัพย์โจทก์เพียงทราบว่าผู้ตายมีทรัพย์มรดกอยู่เมื่อระยะภายใน 1 ปีนี้เองอายุความตาม มาตรา 1754 ไม่บังคับถึงนั้นไม่ได้
โจทก์เป็นสามีผู้ตายเจ้ามรดก. เวลาเจ้ามรดกตายโจทก์ก็รู้และนับแต่วันตายมาถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกิน 1 ปีแล้วทั้งมรดกที่พิพาทกันโจทก์ก็มิได้เป็นผู้ครอบครองร่วมกับจำเลย(มารดาผู้ตาย)เช่นนี้ โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ถูกปิดบังทรัพย์โจทก์เพียงทราบว่าผู้ตายมีทรัพย์มรดกอยู่เมื่อระยะภายใน 1 ปีนี้เองอายุความตาม มาตรา 1754 ไม่บังคับถึงนั้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17502/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีมรดก: การฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากทายาทหลังพ้นกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย
เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวผู้รับโอนทรัพย์มรดกและในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. อ้างว่าจำเลยจัดการมรดกโดยไม่ชอบเพื่อขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการโอนและให้จำเลยโอนที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกกลับคืนมาเป็นกองมรดกของ พ. เป็นการฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากทายาทคนหนึ่ง จึงเป็นคดีมรดก จำเลยมีสิทธิยกอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์และบุตรทุกคนของ พ. ไม่เคยติดตามการจัดการทรัพย์มรดกของ ส. และการที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2551 เป็นเวลา 22 ปี นับแต่ พ. ถึงแก่ความตายและเกือบ 20 ปี นับแต่วันที่ ส. โอนที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลย สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในทรัพย์มรดกของ พ. จึงเป็นอันขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคท้าย โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่ ส. โอนที่ดินให้แก่จำเลย
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์และบุตรทุกคนของ พ. ไม่เคยติดตามการจัดการทรัพย์มรดกของ ส. และการที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2551 เป็นเวลา 22 ปี นับแต่ พ. ถึงแก่ความตายและเกือบ 20 ปี นับแต่วันที่ ส. โอนที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลย สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในทรัพย์มรดกของ พ. จึงเป็นอันขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคท้าย โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่ ส. โอนที่ดินให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีมรดก: การครอบครองทรัพย์มรดกแทนกัน ทำให้ไม่ต้องติดอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 1754
อายุความฟ้องคดีมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 เป็นกรณีที่ทายาทที่ไม่ได้ครอบครองทรัพย์มรดกฟ้องขอแบ่งมรดกในฐานะที่มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมาย แต่หากเป็นกรณีที่ทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งและทายาทผู้นั้นยังครอบครองทรัพย์มรดกอยู่หรือมีทายาทอื่นครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนแล้ว กรณีนี้ทายาทผู้นั้นย่อมสามารถฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้ตามมาตรา 1748 ไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 1754 ทั้งนี้เพราะไม่มีกฎหมายใดบังคับให้ทายาทที่มิได้ครอบครองทรัพย์มรดกด้วยตนเองแต่มีทายาทอื่นครอบครองแทนต้องฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี และการที่ทายาทบางคนได้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่นแล้วแม้ครอบครองแทนนานเพียงใด หากยังไม่ได้เปลี่ยนเจตนาการยึดถือครอบครอง ยังถือว่าเป็นการครอบครองแทนอยู่นั่นเอง เมื่อได้ความว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ครอบครองสิทธิในกิจการโรงเรียนอันเป็นทรัพย์มรดกแทนโจทก์ และมิได้แสดงเจตนาเปลี่ยนการยึดถือครอบครอง แม้โจทก์จะฟ้องเอาทรัพย์มรดกดังกล่าวเกิน 10 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย คดีย่อมไม่ขาดอายุความ และไม่อาจยกเอาอายุความมรดกตามมาตรา 1754 มาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14174/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดกและการใช้สิทธิของทายาทโดยธรรมในการยกอายุความต่อสู้คดี
โจทก์ฟ้องเพิกถอนนิติกรรมระหว่าง อ. กับจำเลย โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า โจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ก. และ อ. ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสของบิดามารดาโจทก์ เมื่อ ก. บิดาของโจทก์ถึงแก่ความตายที่ดินพิพาทจึงเป็นมรดกตกทอดมายังโจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ก. ด้วย แต่ อ. มารดาโจทก์กลับจดทะเบียนยกที่ดินทั้งแปลงให้แก่จำเลยโดยเสน่หา โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอม จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของ ก. และ อ. จึงไม่มีอำนาจฟ้องและคดีโจทก์ขาดอายุความมรดกแล้ว คดีจึงมีประเด็นพิพาทว่า โจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ก. และเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกในที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ ก. หรือไม่ จึงเป็นการฟ้องคดีมรดกตกอยู่ในบังคับแห่งอายุความมรดกซึ่งห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดก เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง อีกทั้งยังอยู่ในบังคับแห่ง มาตรา 1754 วรรคสี่ ที่บัญญัติว่า "ถึงอย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อน ๆ นั้น มิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย" แม้ตามคำฟ้องจะไม่ปรากฏว่า ก. ถึงแก่ความตายเมื่อใด แต่ตามคำฟ้องระบุว่า ก. ถึงแก่ความตายก่อนวันที่ 15 มีนาคม 2517 ที่ อ. ยื่นคำร้องขอรังวัดออกโฉนดที่ดินพิพาท เมื่อคำนวณนับถึงวันฟ้องวันที่ 5 เมษายน 2550 พ้นกำหนดสิบปี นับแต่ ก. ถึงแก่ความตายแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสี่ แม้จำเลยจะมิใช่ทายาทหรือผู้จัดการมรดกของ ก. ก็ตาม แต่ อ. ผู้โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยเป็นคู่สมรสซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ก. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1635 จำเลยจึงเป็นบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของ อ. ทายาทโดยธรรมของ ก. ยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1755
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจร้องสอด: ศาลวินิจฉัยสถานะภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อพิจารณาการมีส่วนได้เสียในคดีมรดก
การพิจารณาว่าจะอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นผู้ร้องสอดหรือไม่ มีประเด็นต้องวินิจฉัย 2 ประเด็น คือ ประเด็นว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดีอันจะเป็นเหตุให้ผู้ร้องมีอำนาจร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความได้หรือไม่ และประเด็นว่ากรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้เข้ามาในคดีได้หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกซึ่งเป็นเหตุให้ผู้ร้องมีส่วนได้เสียในคดีนี้ จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็นเรื่องอำนาจร้องสอดของผู้ร้อง คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกคำร้องสอดหรือนอกประเด็น แม้คำวินิจฉัยที่ว่า ผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบ ของเจ้ามรดกมีผลกระทบต่อสิทธิ ของโจทก์ในฐานะทายาทของเจ้ามรดก ซึ่งทำให้โจทก์มีสิทธิฎีกา ขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่ใช่ภริยาโดยชอบก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาสำคัญที่สมควรนำไปวินิจฉัย ในคดีที่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาโดยตรงของคดีเมื่อคดีนี้ผู้ร้องไม่ได้ ฎีกาคำสั่งของศาลอุทธรณ์ ที่ยกคำร้องสอด เพราะไม่เห็นสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดี ปัญหาในเรื่องการร้องสอดของผู้ร้องจึงยุติไปแล้ว การที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยฎีกาข้อนี้ของโจทก์ ไม่ว่าวินิจฉัยในทางใดย่อมไม่มีผลเปลี่ยนแปลงคำสั่งศาลล่าง ฎีกาข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ในคดีนี้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 219 วรรคสอง และพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 23 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 851/2551 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับใช้กฎหมายอิสลามในคดีมรดก: การพิจารณาศาสนาของผู้คัดค้าน
แม้คดีจะเกิดขึ้นในเขตจังหวัดสตูลและผู้ร้องซึ่งเป็นอิสลามศาสนิกเริ่มต้นคดีอย่างไม่มีข้อพิพาท โดยยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของ ท. ผู้ตายซึ่งเป็นอิสลามศาสนิกก็ตาม แต่เมื่อมีการคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 ก็มีผลให้คดีกลายเป็นคดีมีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 (4) โดยผู้ร้องและผู้คัดค้านมีฐานะเป็นคู่ความ เมื่อปรากฏว่าผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งมีฐานะเสมือนจำเลยมิใช่อิสลามศาสนิก จึงไม่ต้องด้วยมาตรา 3 ของ พ.ร.บ. ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูลฯ ถือไม่ได้ว่าเป็นคดีแพ่งเกี่ยวด้วยเรื่องครอบครัวและมรดกของอิสลามศาสนิกในเขตจังหวัดสตูล ต้องใช้บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. บรรพ 6 บังคับแก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 851/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับใช้กฎหมายอิสลามในคดีมรดก: ผู้คัดค้านมิใช่อิสลามศาสนิก จึงใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
แม้คดีจะเกิดขึ้นในเขตจังหวัดสตูลและผู้ร้องเป็นอิสลามศาสนิกเริ่มต้นคดีอย่างไม่มีข้อพิพาท โดยยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของนายทวี ผู้ตาย ซึ่งเป็นอิสลามศาสนิกก็ตาม แต่เมื่อมีการคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 ก็มีผลทำให้คดีกลายเป็นคดีมีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 (4) โดยผู้ร้องและผู้คัดค้านมีฐานะเป็นคู่ความ เมื่อปรากฏว่าผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งมีฐานะเสมือนจำเลยนับถือศาสนาพุทธ จึงมิใช่อิสลามศาสนิก จึงไม่ต้องด้วยมาตรา 3 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลาและสตูล พ.ศ.2489 ถือไม่ได้ว่าเป็นคดีแพ่งเกี่ยวด้วยเรื่องครอบครัวและมรดกของอิสลามศาสนิกในเขตจังหวัดสตูล ต้องใช้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 บังคับแก่คดี