คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คดีล้มละลาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 246 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3653/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีล้มละลาย: หนังสือมอบอำนาจครอบคลุมการฟ้องคดีแพ่งโดยรวม แม้ไม่ได้ระบุเฉพาะเจาะจง
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ระบุมอบอำนาจให้ ป. เป็นโจทก์และดำเนินคดียื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่ง แต่ปรากฏว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายนั้น เป็นหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่ง โดยโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งสามัญมาแล้ว โจทก์ไม่มีความจำเป็นต้องฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งสามัญอีก คดีล้มละลายถือเป็นส่วนหนึ่งของคดีแพ่งแม้โจทก์จะมิได้ระบุให้ชัดแจ้งว่ามอบอำนาจให้ฟ้องคดีล้มละลายก็น่าจะหมายถึงให้ฟ้องคดีล้มละลายได้ และการยื่นฟ้องขอให้ล้มละลาย ต้องยื่นต่อศาลซึ่งลูกหนี้มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 150โจทก์จึงมีอำนาจยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายต่อศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1506/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ตามคำพิพากษาและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
เจ้าหนี้ยึดทรัพย์จำนองที่จำเลยจำนองไว้เป็นประกันหนี้ออกขายทอดตลาดชำระหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาแต่ได้เงินไม่พอชำระหนี้ เมื่อหักยอดหนี้ที่ค้างชำระและคิดดอกเบี้ยจนถึงวันที่ขายทอดตลาดแล้ว จำเลยยังคงเป็นหนี้เจ้าหนี้รวมเป็นเงิน 96,551,833.69 บาท ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด เมื่อปรากฏว่าหนี้ที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้ดังกล่าว เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อพ้น 10 ปี นับแต่วันที่ คำพิพากษาในคดีแพ่งถึงที่สุดแล้ว หนี้ตามคำพิพากษาของเจ้าหนี้ จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/32 กำหนดเวลาให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 มิใช่อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องอันจะอยู่ ในบังคับแห่งบทบัญญัติว่าด้วยอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงไม่อาจนำบทบัญญัติ เกี่ยวกับอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้ ดังนี้ แม้โจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยโดยมีการยึด ทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดและได้เงินมาไม่พอชำระหนี้ ก็ตาม แต่เมื่อเจ้าหนี้มิได้บังคับคดีในหนี้ส่วนที่เหลือภายใน 10 ปี นับแต่วันที่คดีแพ่งได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด เจ้าหนี้ย่อมหมดสิทธิบังคับคดีในหนี้ที่เจ้าหนี้นำมา ขอรับชำระหนี้อีก หนี้ของเจ้าหนี้จึงต้องห้ามมิให้ ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4634/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค้างชำระในคดีล้มละลาย และอายุความฟ้องร้องตั๋วสัญญาใช้เงิน
แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยไว้ชั่วคราวในคดีล้มละลายเรื่องหนึ่งไว้แล้ว แต่หลังจากนั้นเจ้าหนี้ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายนี้อีกและศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยไว้เด็ดขาดในคดีนี้ เมื่อวันที่ 29ธันวาคม 2536 เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่ขอรับชำระหนี้ได้จนถึงวันที่ 29 ธันวาคม 2536 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยไว้เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 100
เจ้าหนี้ได้ฟ้องจำเลยและผู้ค้ำประกันให้ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินทั้ง 27 ฉบับ ต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2531 เมื่อนับถึงวันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ละฉบับถึงกำหนดใช้เงินยังไม่พ้น 3 ปี ถือว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยภายในอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1001 แล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยชั่วคราว แต่ต่อมาศาลชั้นต้นก็ได้พิพากษาให้ผู้ค้ำประกันรับผิดชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวแก่เจ้าหนี้ หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 27 ฉบับจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4327/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินและผลกระทบต่อการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
เมื่อปรากฏว่าหนี้ตามมูลหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินนับจากวันถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ละฉบับ จนกระทั่งถึงวันที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้คดีขาดอายุความ 3 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001 แล้วสัญญารับชำระหนี้ซึ่งระบุว่า "ข้าพเจ้ารับรองจะชำระหนี้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินคืนให้กับธนาคารตามกำหนดเวลาที่กล่าว หากวันกำหนดชำระคืนตรงกับวันหยุดทำการของธนาคารก็ให้ร่นมาชำระในวันทำการที่ถัดมา ในกรณีที่มิได้มีการตกลงให้คิดส่วนลดตามตั๋วสัญญาใช้เงินแล้ว ข้าพเจ้าจะชำระดอกเบี้ยตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้ธนาคารในอัตราร้อยละ 15.0 ต่อปี(สิบห้าต่อปี)" และลงลายมือชื่อลูกหนี้ (จำเลย) เป็นผู้ให้สัญญาหนังสือฉบับดังกล่าวเมื่อมีลักษณะเป็นหนังสือประกอบตั๋วสัญญาใช้เงินเท่านั้น ดังนั้น เมื่อหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินขาดอายุความหนังสือสัญญารับชำระหนี้ก็ขาดอายุความด้วย ย่อมต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตาม พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3101/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ตามคำพิพากษาศาล แม้ขาดอายุความเดิม ก็ยังขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้
ในการตรวจคำขอรับชำระหนี้และทำความเห็นของ จ.พ.ท.เสนอต่อศาล จ.พ.ท.มีอำนาจเต็มที่ที่จะสอบสวนและมีความเห็นในเรื่องหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ และศาลย่อมมีอำนาจพิจารณาสั่งตามมาตรา 106 และมาตรา 107แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483
แม้มูลหนี้เดิมตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะขาดอายุความตามที่จ.พ.ท.สอบสวนเสนอความเห็นต่อศาลก็ตาม แต่มูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้รายนี้โดยสภาพแห่งหนี้มิใช่หนี้ที่เจ้าหนี้จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ เมื่อเจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้ให้ชำระเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว ทั้งก่อนที่เจ้าหนี้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็ได้อาศัยหนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลาย ลูกหนี้ก็ไม่ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ว่ามูลหนี้หรือสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ขาดอายุความ จนศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว จึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด คดีแพ่งและคดีล้มละลายถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ หนี้ตามคำขอรับชำระหนี้รายนี้ย่อมมิใช่หนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ จึงไม่ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามความในมาตรา94 (1) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 จ.พ.ท.จะยกอายุความมาเป็นเหตุขอให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7255/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลคดีล้มละลาย: การฟ้องต้องยื่นต่อศาลที่มีภูมิลำเนาหรือสถานที่ประกอบธุรกิจของลูกหนี้
เมื่อมูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยทั้งเจ็ด มิใช่หนี้ร่วมที่จำเลยทั้งเจ็ดต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ หากแต่เป็นหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งจำเลยแต่ละคนจะต้องรับผิดต่อโจทก์ มูลความแห่งคดีที่จำเลยทั้งเจ็ดจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาจึงเป็นการชำระหนี้ที่อาจแบ่งแยกจากกันได้ หาได้เกี่ยวข้องกันไม่ ดังนี้ โจทก์จะเสนอคำฟ้องจำเลยทั้งเจ็ดรวมมาในคดีเดียวกันมิได้
การที่ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 4 ที่ 6 และที่ 7ไว้พิจารณาโดยขัดต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 150 ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนคำสั่งรับคำฟ้องจำเลยดังกล่าวอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสีย และมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับคำฟ้องจำเลยดังกล่าวได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 27 ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153และเมื่อความปรากฏต่อศาลชั้นต้นก่อนศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องเป็นไม่รับคำฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ที่ 4 ที่ 6และที่ 7 ถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นได้ใช้ดุลพินิจยอมรับคดีสำหรับจำเลยดังกล่าวซึ่งอยู่นอกเขตศาลชั้นต้นไว้พิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 14 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7255/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลในคดีล้มละลาย: การฟ้องต้องยื่นต่อศาลที่มีภูมิลำเนาหรือธุรกิจของลูกหนี้
เมื่อมูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยทั้งเจ็ด มิใช่หนี้ร่วมที่จำเลยทั้งเจ็ดต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ หากแต่เป็นหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งจำเลยแต่ละคนจะต้องรับผิดต่อโจทก์มูลความแห่งคดีที่จำเลยทั้งเจ็ดจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษา จึงเป็นการชำระหนี้ที่อาจแบ่งแยกจากกันได้ หาได้เกี่ยวข้องกันไม่ ดังนี้ โจทก์จะเสนอคำฟ้องจำเลยทั้งเจ็ดรวมมาในคดีเดียวกันมิได้
การที่ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 ไว้พิจารณาโดยขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 150 ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนคำสั่งรับคำฟ้องจำเลยดังกล่าวอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสีย และมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับคำฟ้องจำเลยดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 และเมื่อความปรากฏต่อศาลชั้นต้นก่อนศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องเป็นไม่รับคำฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 ถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นได้ใช้ดุลพินิจยอมรับคดีสำหรับจำเลยดังกล่าว ซึ่งอยู่นอกเขตศาลชั้นต้นไว้พิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7255/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลคดีล้มละลาย: การฟ้องจำเลยหลายคนที่มีภูมิลำเนาต่างเขต
เมื่อมูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยทั้งเจ็ด มิใช่หนี้ร่วมที่จำเลยทั้งเจ็ดต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ หากแต่เป็นหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งจำเลยแต่ละคนจะต้องรับผิดต่อโจทก์มูลความแห่งคดีที่จำเลยทั้งเจ็ดจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษา จึงเป็นการชำระหนี้ที่อาจแบ่งแยกจากกันได้ หาได้เกี่ยวข้องกันไม่ ดังนี้ โจทก์จะเสนอคำฟ้องจำเลยทั้งเจ็ดรวมมาในคดีเดียวกันมิได้
การที่ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 ไว้พิจารณาโดยขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 150 ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนคำสั่งรับคำฟ้องจำเลยดังกล่าวอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสีย และมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับคำฟ้องจำเลยดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 และเมื่อความปรากฏต่อศาลชั้นต้นก่อนศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องเป็นไม่รับคำฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 ถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นได้ใช้ดุลพินิจยอมรับคดีสำหรับจำเลยดังกล่าว ซึ่งอยู่นอกเขตศาลชั้นต้นไว้พิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5001/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความละเลยหน้าที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แม้โจทก์ไม่เสียสิทธิ แต่จำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหาย
ตามฟ้องของโจทก์กล่าวโดยสรุปว่า โจทก์มอบให้สำนักงานของจำเลยฟ้อง ส. ซึ่งเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาเป็นคดีล้มละลายต่อศาลชั้นต้นซึ่งจำเลยร่วมทนายประจำสำนักงานของจำเลยเป็นผู้ดำเนินการ ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด สำนักงานของจำเลยมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้รายนี้ แต่ปล่อยเวลาล่วงเลยจนพ้นกำหนดโดยไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ เป็นเหตุให้โจทก์หมดสิทธิได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้รายนี้ ทั้งที่ลูกหนี้มีทรัพย์พอชำระหนี้ได้ ขอให้บังคับจำเลยรับผิดใช้ค่าเสียหายตามจำนวนหนี้ที่ลูกหนี้ค้างชำระโจทก์อยู่ตามคำฟ้องดังกล่าวโจทก์อ้างว่าจำเลยต้องรับผิดเพราะเหตุที่โจทก์หมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คดีล้มละลายดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายของ ส. ลูกหนี้ (จำเลย) ตามมาตรา 135(2)แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งไม่ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้สินที่มีอยู่แต่อย่างใด โจทก์จึงยังไม่หมดสิทธิที่จะได้ชำระหนี้จากลูกหนี้โดยยังมีสิทธิขอบังคับคดีตามคำพิพากษาในคดีแพ่งเดิมที่โจทก์อาศัยมาเป็นมูลหนี้ในการฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายได้ ดังนี้เมื่อข้ออ้างของโจทก์ที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาให้จำเลยและจำเลยร่วมต้องรับผิดมิได้เป็นไปดังที่โจทก์อ้าง จึงไม่อาจจะบังคับให้จำเลยและจำเลยร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องได้ แต่การที่จำเลยและจำเลยร่วมไม่ยื่นคำรับชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ เป็นการไม่ปฏิบัติ หน้าที่ตามสัญญาให้สำเร็จลุล่วงต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้ ศาลจึงไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4717/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอพิจารณาใหม่ในคดีล้มละลาย จำเลยต้องแสดงเหตุการณ์นอกเหนือความสามารถในการควบคุมและระยะเวลาที่ทราบเรื่อง
จำเลยกล่าวอ้างมาในคำขอให้พิจารณาใหม่ว่า จำเลยเพิ่งทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องเป็นคดีล้มละลาย การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องรวมตลอดถึงการแจ้งวันนัดพิจารณาและคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดให้แก่จำเลยทั้งสองไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะจำเลยทั้งสองไม่ได้มีภูมิลำเนาอยู่ตามสถานที่ดังที่โจทก์ระบุในฟ้อง จำเลยทั้งสองจึงไม่ได้รับหมายดังกล่าว และไม่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีจำเลยทั้งสองไม่ได้จงใจขาดนัดพิจารณา แม้กรณีตามข้อกล่าวอ้างของจำเลยจะเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าพฤติการณ์นั้นได้เริ่มต้นและสิ้นสุดลงเมื่อใด เพราะจำเลยทั้งสองเพียงกล่าวอ้างลอย ๆ ว่า เพิ่งจะทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้นในคดีล้มละลายเท่านั้น การที่จำเลยทั้งสองไม่ได้ระบุให้แน่ชัดว่าทราบเรื่องดังกล่าวเมื่อใด และจำเลยทั้งสองได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบหรือไม่ คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยทั้งสองจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา208 ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
of 25