พบผลลัพธ์ทั้งหมด 58 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องและการจำหน่ายคดี: ผลกระทบต่อสิทธิในการฟ้องคดีใหม่
ในวันนัดไต่สวนมูลฟ้องนัดแรกโจทก์ขอเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตและสั่งให้โจทก์นำส่งหมายแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบใน 7 วันต่อมาเจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่าโจทก์ไม่นำส่งหมายนัดภายในกำหนด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดี คำสั่งดังกล่าวย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้อง รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆ อันมีมาภายหลังยื่นคำฟ้อง กระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องเลย กรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายให้อำนาจศาลยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2617/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบุคคลภายนอกในคดีประนีประนอมยอมความ: สิทธิในการโต้แย้งและการดำเนินคดีใหม่
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้นำเอาสิทธิการทำเหมืองแร่มาจับสลากแบ่งปันกัน โจทก์เป็นฝ่ายจับสลากได้ศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมแล้ว ดังนี้ ผู้ร้องจะร้องต่อศาลขอให้สั่งเพิกถอนการปฏิบัติของคู่ความตามสัญญาประนีประนอมยอมความและเพิกถอนคำพิพากษาตามยอม โดยอ้างว่าสิทธิการทำเหมืองแร่พิพาทเป็นของผู้ร้อง ผู้ร้องไม่ใช่ คู่ความในคดี ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความและ คำพิพากษาตามยอมไม่ ผูกพันผู้ร้อง หาได้ไม่ หากผู้ร้องเห็นว่าการกระทำใด ๆ ของคู่ความเป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้อง ผู้ร้องก็ชอบที่จะว่ากล่าวกันเป็นคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 164/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าช่วงและการฟ้องแย้ง สิทธิการเช่าช่วงเป็นของจำเลยหากจำเลยเป็นผู้ชำระค่าเช่าทั้งหมด การฟ้องแย้งให้เพิกถอนการจดทะเบียนเช่าช่วงต้องฟ้องเป็นคดีใหม่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกแถว และให้คืนหรือใช้ราคาสินค้าที่อยู่ในตึกแถวนั้นจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยเป็นผู้ออกเงินค่าเช่าช่วงตึกแถวนั้น และฟ้องแย้งให้โจทก์ไปจดทะเบียนเพิกถอนการจดทะเบียนการเช่าช่วง สภาพแห่งข้อหาของโจทก์เป็นเรื่องขับไล่จำเลยออกจากตึกแถว หากจำเลยนำสืบได้ว่า จำเลยเป็นผู้ออกค่าเช่าช่วงตึกแถวพิพาททั้งหมดสิทธิในการเช่าช่วงตึกแถวพิพาทย่อมตกเป็นของจำเลยโจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยจากตึกแถวพิพาท แต่การที่จำเลยฟ้องแย้งให้โจทก์ไปจดทะเบียนเพิกถอนการจดทะเบียนการเช่าช่วงตึกแถวพิพาทกับบริษัท ก. นั้น เป็นคำฟ้องแย้งที่มีคำขอบังคับต่อบุคคลภายนอก จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม จำเลยต้องฟ้องเป็นอีกคดีหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม ศาลไม่รับฟ้องแย้งต้องฟ้องเป็นคดีใหม่
โจทก์ฟ้องให้จำเลยโอนบ้านและสิทธิการเช่าที่ดินตามสัญญาจำเลยให้การต่อสู้และฟ้องแย้งให้โจทก์ชำระหนี้ที่ต้องรับผิดต่อคนภายนอกกึ่งหนึ่งตามที่สัญญาว่าโจทก์จะชำระหนี้ตอบแทนการโอนบ้านและสิทธิการเช่าดังนี้ เป็นคนละเรื่องกันกับฟ้องเดิมศาลไม่รับฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนทรัพย์ของกลาง: 'วันคำพิพากษาถึงที่สุด' หมายถึงคำพิพากษาคดีริบทรัพย์เดิม แม้มีการฟ้องคดีใหม่
การขอคืนทรัพย์ของกลางตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36 ซึ่งเจ้าของทรัพย์ที่มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิด ย่อมมีสิทธิขอคืนต่อศาลได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดนั้น คำว่า"วันคำพิพากษาถึงที่สุด" ย่อมหมายถึงคำพิพากษาในคดีที่ศาลมีคำสั่งให้ริบทรัพย์
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ในข้อหาฐานความผิดเดียวกันและมีคำขอให้ริบของกลางมาด้วย จำเลยที่ 1 ที่ 2 ให้การรับสารภาพส่วนจำเลยที่ 3 ให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้แยกฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีใหม่ และพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 2 คนละ 9 เดือน ปรับคนละ 4,000 บาท ริบของกลางทั้งหมดคดีถึงที่สุด ต่อมาโจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีใหม่ ตามคำสั่งศาลชั้นต้นแม้โจทก์จะได้บรรยายฟ้องกล่าวถึงทรัพย์สินอันเป็นของกลางในคดีก่อนมาด้วยอีก ก็เพื่อให้ฟ้องสมบูรณ์เท่านั้นหาได้นำมาอยู่ในอำนาจศาลในคดีหลังแต่ประการใดไม่ ของกลางดังกล่าวจึงมิใช่ของกลางในคดีหลัง เมื่อผู้ร้องมาร้องขอคืนของกลางภายหลังวันที่คำพิพากษาคดีแรกถึงที่สุดแล้วเกิน 1 ปี จึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ในข้อหาฐานความผิดเดียวกันและมีคำขอให้ริบของกลางมาด้วย จำเลยที่ 1 ที่ 2 ให้การรับสารภาพส่วนจำเลยที่ 3 ให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้แยกฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีใหม่ และพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 2 คนละ 9 เดือน ปรับคนละ 4,000 บาท ริบของกลางทั้งหมดคดีถึงที่สุด ต่อมาโจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีใหม่ ตามคำสั่งศาลชั้นต้นแม้โจทก์จะได้บรรยายฟ้องกล่าวถึงทรัพย์สินอันเป็นของกลางในคดีก่อนมาด้วยอีก ก็เพื่อให้ฟ้องสมบูรณ์เท่านั้นหาได้นำมาอยู่ในอำนาจศาลในคดีหลังแต่ประการใดไม่ ของกลางดังกล่าวจึงมิใช่ของกลางในคดีหลัง เมื่อผู้ร้องมาร้องขอคืนของกลางภายหลังวันที่คำพิพากษาคดีแรกถึงที่สุดแล้วเกิน 1 ปี จึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1371/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าเช่าและฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีใหม่กับจำเลยที่ไม่เคยเป็นคู่ความเดิมไม่ถือเป็นการฟ้องซ้อน
ค้างค่าเช่าผ้าประจำเดือนพฤษภาคม 2516 ฟ้องวันที่ 31 กรกฎาคม 2517 ไม่ขาดอายุความ ซึ่งเริ่มนับเมื่อใช้สิทธิเรียกร้องได้ไม่เกิน 2 ปี
คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีใหม่ จำเลยที่ 1 ไม่ใช่คู่ความในคดีก่อน ไม่เป็นฟ้องซ้อน
คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีใหม่ จำเลยที่ 1 ไม่ใช่คู่ความในคดีก่อน ไม่เป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำสืบ - ฟ้องแย้ง - ที่ดินมือเปล่า: ศาลต้องแยกพิจารณาฟ้องแย้งเสมือนคดีใหม่ และพิจารณาหน้าที่นำสืบของแต่ละฝ่าย
เมื่อโจทก์ฟ้องและจำเลยทั้งสามให้การแล้ว เฉพาะจำเลยที่ 1ยังฟ้องแย้งโจทก์ และมีคำขอให้บังคับโจทก์ตามฟ้องแย้งด้วยแต่คำท้าของคู่ความที่ว่า ถ้าฝ่ายใดมีหน้าที่นำสืบก่อน ให้ฝ่ายนั้นแพ้คดีนั้น มิได้มีข้อจำกัดไว้ว่าให้วินิจฉัยจากฟ้องโจทก์กับคำให้การจำเลยอย่างเดียว จึงต้องแยกวินิจฉัยตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1กับคำให้การแก้ฟ้องแย้งด้วย เสมือนเป็นคนละสำนวนกับฟ้องเดิมของโจทก์
ฟ้องของโจทก์อ้างว่า ที่นาพิพาทเป็นของโจทก์ ให้จำเลยที่ 1เช่าทำแล้วไม่ชำระค่าเช่า โจทก์จะเข้าทำ จำเลยทั้งสามกลับบุกรุกเข้าทำทั้งแปลง เป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย จึงฟ้องเรียกค่าเช่ากับค่าเสียหายจำเลยทั้งสามให้การว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยเช่านาพิพาทจากโจทก์เมื่อ 12 ปีมานี้ โจทก์ขายนาพิพาทให้จำเลยที่ 1 แล้วมอบที่พิพาทให้จำเลยที่ 1 ครอบครองตลอดมาเกินกว่า 10 ปีจนบัดนี้ ไม่ใช่ที่ของโจทก์และจำเลยทั้งสามไม่เคยบุกรุกที่ดินโจทก์ ดังนี้ เป็นคำให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยตลอด และที่นาพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า ส.ค.1 ของโจทก์ไม่ใช่หนังสือสำคัญสำหรับที่พิพาทนี้ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบก่อนว่าโจทก์ให้จำเลยที่ 1 เช่าทำนาพิพาทและจำเลยทั้งสามบุกรุกที่ของโจทก์จริงหรือไม่ เมื่อโจทก์ไม่นำสืบ โจทก์ก็ต้องแพ้คดีตามคำท้า คือยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยทั้งสาม
ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ที่ว่าโจทก์ขายนาพิพาทให้จำเลยครอบครองตลอดมากว่า 10 ปี ไม่เคยเช่าจากโจทก์นั้น โจทก์ให้การปฏิเสธฟ้องแย้งอยู่ว่า ไม่เคยขายให้จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ทำนาอยู่โดยเช่าจากโจทก์ ดังนี้ แม้จะเป็นที่ดินมือเปล่า จำเลยที่ 1 ก็ยังมีหน้าที่ต้องนำสืบก่อนให้สมฟ้องแย้งจึงจะบังคับห้ามโจทก์เกี่ยวข้องกับที่พิพาทได้ตามคำขอท้ายฟ้องแย้ง ส่วนคำขอบังคับให้โจทก์โอนที่พิพาทต่อเจ้าพนักงานอำเภอนั้น บังคับไม่ได้ เพราะเป็นที่ดินมือเปล่า ศาลได้แต่พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิครอบครองที่พิพาทเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1ไม่นำสืบ ก็ต้องยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 เช่นเดียวกัน
ฟ้องของโจทก์อ้างว่า ที่นาพิพาทเป็นของโจทก์ ให้จำเลยที่ 1เช่าทำแล้วไม่ชำระค่าเช่า โจทก์จะเข้าทำ จำเลยทั้งสามกลับบุกรุกเข้าทำทั้งแปลง เป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย จึงฟ้องเรียกค่าเช่ากับค่าเสียหายจำเลยทั้งสามให้การว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยเช่านาพิพาทจากโจทก์เมื่อ 12 ปีมานี้ โจทก์ขายนาพิพาทให้จำเลยที่ 1 แล้วมอบที่พิพาทให้จำเลยที่ 1 ครอบครองตลอดมาเกินกว่า 10 ปีจนบัดนี้ ไม่ใช่ที่ของโจทก์และจำเลยทั้งสามไม่เคยบุกรุกที่ดินโจทก์ ดังนี้ เป็นคำให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยตลอด และที่นาพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า ส.ค.1 ของโจทก์ไม่ใช่หนังสือสำคัญสำหรับที่พิพาทนี้ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบก่อนว่าโจทก์ให้จำเลยที่ 1 เช่าทำนาพิพาทและจำเลยทั้งสามบุกรุกที่ของโจทก์จริงหรือไม่ เมื่อโจทก์ไม่นำสืบ โจทก์ก็ต้องแพ้คดีตามคำท้า คือยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยทั้งสาม
ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ที่ว่าโจทก์ขายนาพิพาทให้จำเลยครอบครองตลอดมากว่า 10 ปี ไม่เคยเช่าจากโจทก์นั้น โจทก์ให้การปฏิเสธฟ้องแย้งอยู่ว่า ไม่เคยขายให้จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ทำนาอยู่โดยเช่าจากโจทก์ ดังนี้ แม้จะเป็นที่ดินมือเปล่า จำเลยที่ 1 ก็ยังมีหน้าที่ต้องนำสืบก่อนให้สมฟ้องแย้งจึงจะบังคับห้ามโจทก์เกี่ยวข้องกับที่พิพาทได้ตามคำขอท้ายฟ้องแย้ง ส่วนคำขอบังคับให้โจทก์โอนที่พิพาทต่อเจ้าพนักงานอำเภอนั้น บังคับไม่ได้ เพราะเป็นที่ดินมือเปล่า ศาลได้แต่พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิครอบครองที่พิพาทเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1ไม่นำสืบ ก็ต้องยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1803/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเดิม vs. การฟ้องคดีใหม่ เมื่อพบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องจำเลยในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินสำนักงานก.พ. ให้รับผิดในยอดเงินขาดบัญชีที่อยู่ในความรับผิดชอบ. ระหว่างพิจารณาปรากฏผลการตรวจสอบครั้งหลังว่ายอดเงินขาดบัญชีมีจำนวนเพิ่มขึ้นอีก 9,600 บาท. เช่นนี้ โจทก์ชอบที่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนทุนทรัพย์ในฟ้องเดิมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179,180. โจทก์จะฟ้องเป็นคดีใหม่อีกต่างหากในเรื่องเดียวกันนี้เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 173(1). และปัญหาอำนาจฟ้องนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยฯที่ศาลหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้.แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1062-1065/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยุติในคดีก่อนไม่ผูกมัดคดีใหม่ การเบิกความเท็จต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงในขณะนั้น
ในกรณีที่ผู้ใดถูกฟ้องหาว่าได้เบิกความเท็จไว้ในคดีใดที่ศาล. แม้ในที่สุดศาลจะได้ยอมรับฟังเป็นยุติไว้ในคดีนั้นโดยเชื่อตามที่ผู้นั้นได้เบิกความไว้. กรณีก็ไม่เป็นการผูกมัดในคดีใหม่นี้ว่าข้อความที่ผู้นั้นเบิกความไว้ครั้งนั้นจะต้องถือเอาเป็นยุติว่าเป็นความจริง. เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว หากเผอิญศาลรับฟังคำเบิกความของผู้ใดไว้เป็นยุติในคดีใด. ผู้นั้นก็ไม่อาจจะมีโทษฐานเบิกความเท็จได้เลย ทั้งๆที่ความจริงของคำเบิกความนั้นได้เป็นเท็จ.และสามารถพิสูจน์ให้เห็นชัดได้ในคดีที่ถูกฟ้องในชั้นหลังนี้. คำชี้ขาดของศาลในคดีที่พยานเบิกความไว้เป็นคำชี้ขาดที่ยุติระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีนั้นเท่านั้น. หาใช่เป็นการยุติระหว่างโจทก์ในคดีนั้นกับตัวพยานที่เบิกความเท็จในคดีนั้นด้วยไม่. แม้ว่าในคดีนี้ จำเลยที่ถูกฟ้องหาว่าเบิกความเท็จนั้นได้เป็นตัวจำเลยอยู่ในคดีเดิมที่มีการเบิกความดังกล่าวนั้นเอง. แต่จำเลยได้เข้าเบิกความในคดีนั้นในฐานะพยาน ซึ่งเป็นอีกฐานะหนึ่งต่างหากจากการเป็นตัวจำเลย. เมื่อจำเลยถูกฟ้องหาว่าเบิกความเท็จ. ก็จะยกเอาข้อยุติในฐานะเป็นจำเลยของคดีนั้นมาใช้บังคับด้วยหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1747/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์มรดกหลังขายทอดตลาด: บุคคลภายนอกต้องฟ้องคดีใหม่เพื่อเรียกร้องสิทธิ
ทรัพย์ซึ่งคู่ความในฐานะทายาทพิพาทกันอ้างว่าเป็นมรดกของผู้ตาย และคู่ความตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันให้ขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งกันในระหว่างคู่ความ ซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว ในชั้นบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์เพื่อปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ บุคคลภายนอกจะร้องขอเข้ามาในคดีอ้างว่ามีส่วนเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ขายทอดตลาดอยู่ครึ่งหนึ่ง และขอรับเงินส่วนแบ่งจากการขายทอดตลาดโดยคู่ความเดิม ไม่ ยินยอม หาได้ไม่ เพราะเป็นกรณีที่บุคคลภายนอกนั้นตั้งประเด็นขึ้นใหม่พิพาทกับคู่ความเดิมเกี่ยวกับทรัพย์ซึ่งศาลพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
หากบุคคลภายนอกมีสิทธิในทรัพย์ที่ขายทอดตลาดอย่างไรหรือถูกโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายประการใด ก็ชอบที่จะฟ้องร้องเป็นคดีใหม่
หากบุคคลภายนอกมีสิทธิในทรัพย์ที่ขายทอดตลาดอย่างไรหรือถูกโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายประการใด ก็ชอบที่จะฟ้องร้องเป็นคดีใหม่